“ พุทโธ “ ดีที่สุด... ท่องได้ทุกขณะจิต ทำงานก็ท่องได้ นั่งก็ท่องได้ ท่องให้ขึ้นใจ ทำให้ขึ้นใจ นี้ล่ะดี ไหว้พระ สวดมนต์ รักษาศีล ๕ ศีล ๘ คุณพระจะรักษา อินทร์พรหมเทวดาจะคุ้มครอง.."
คติธรรม : หลวงปู่ครูบาบุญยัง ปัญญาวโร
ศิษย์ : บ่อยครั้งไปหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็สอนว่า เข้าวัดมานานแล้ว ทำทานมามากแล้ว
"ภาวนาให้มากๆ จะดีกว่า"
ท่านว่าอย่างนั้น .. บางทีเราก็อดไม่ได้ เพราะนิสัยทำทานมันมีมานาน
พระอาจารย์ : ไม่ใช่นิสัยทำทานหรอก
"ขี้เกียจภาวนามากกว่า". .................................. . ตอบปัญหาคาใจเล่ม1 หน้า57 ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูกข้อนั้นผิด เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คะแนนฝ่ายดีกับคะแนนฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมันมากน้อยกว่ากัน กลับไปตรวจตัวเองเด้อ"
หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
เรื่อง "ขอให้ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา อันเป็นธรรมอันเอกของโลก" ขอให้พี่น้องทั้งหลายได้ภาคภูมิใจในความเป็นมนุษย์ของเรา ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วยังได้พบพระพุทธศาสนา อันเป็นธรรมอันเอกของศาสดาผู้มีพระทัยอันบริสุทธิ์ ซึ่งแสดงไว้แล้วอย่างกระจ่างแจ้งไม่มีปิดบังลี้ลับ ตามหลักความจริงที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างไร พระองค์ไม่ทรงลบล้าง เช่น พวกเปรต พวกผีมี พระองค์ก็บอกว่ามี เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหมมี พระองค์ทรงรู้ทรงเห็นประจักษ์พระทัยแล้วก็บอกว่ามี นรกมี มีกี่หลุม พระองค์ก็บอกไว้หมด อันนี้เป็นที่เสวยกรรมของสัตว์ที่มีหนักเบาต่างๆ กัน สวรรค์มีกี่ชั้นที่ภูมิ พระองค์ก็ทรงแสดงไว้เรียบร้อยแล้วทุกอย่าง ไม่ทรงลบล้าง จนกระทั่งนิพพานพระองค์ก็ทรงแสดงไว้
(คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒)
อย่าไปดูหัวใจคนอื่น เรื่องของเขา... เรามีหน้าที่ของเรา นักปฏิบัติต้องตัดอย่างนั้นนะ
หลวงปู่ลี กุสลธโร
"ความเสื่อมไปแห่งสังขาร" เสื่อมไปอย่างไร เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนมันเป็นน้ำเขาเอามาทำให้เป็นก้อน แต่มันก็อยู่ไม่นานหรอกมันก็เสื่อมไป เอาก้อนน้ำแข็งใหญ่ๆเท่าเทปนี้ไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็งก็เหมือนสังขารนี้ มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก้อนน้ำแข็งก็จะหมด ละลายเป็นน้ำไป นี่เรียกว่าเป็นขะยะวัยยัง ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมา เราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วยไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดเราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน ดังนั้นองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า ขะยะ-วัยยัง ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย เรานั่งอยู่บนศาลานี้ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งหมดนี้ มีแต่ก้อนเสื่อมทั้งนั้นนี่ที่ก้อนมันแข็ง เปรียบเช่นก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนเป็นน้ำ มันเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วก็เสื่อมไป เห็นความเสื่อมมันไหม ดูอาการที่มันเสื่อมซี ร่างกายของเรานี่ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไปเล็บมันก็เสื่อมไป หน้ามันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น"
หลวงปู่ชา สุภัทโธ
ทำไม? "มันเกิด" อยู่ไม่หยุด ๆ ๆ
"มันเกิด" มาจาก "จิต" อันเดียวนี้ มันเป็นมาตั้งแต่เกิด มันก็ยังเกิดไม่หมดเป็น
"ดู" ลงไปที่ "จิต" เพ่งเข้าไปที่ "จิต" เพ่งเข้าไป ๆๆๆ เพ่งเข้าไปหาจิต เพราะมันเกิดจาก "ที่นี่" ทั้งนั้น "ตัวหลง" ก็ "จิตตัวนี้" หลง
ทำไม "จิตจึงหลง" เพราะ "จิตไม่เห็นตัวจิต" ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดจาก "จิต" ตัวนี้
ถ้า "จิต" มันเห็น "จิต" ชัดแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะไม่มีในจิต เพราะ "ธรรมชาติจริงๆ" จะไม่มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง
เพราะเรา "ไม่เห็นจิต" ของเรา
หลวงปู่ แบน ธนากโร. วัดดอยธรรมเจดีย์ ม. 3 ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
"จิต" นี้ "ไม่ได้เกิดไม่ได้ดับ" พร้อม
"ภาวนาสงบ" หมายถึง ตัวสัญญา สังขารนั้นสงบ ถ้าไม่สงบ ตัวสัญญา สังขารนั้น ฟูขึ้นมา เขาจะ สงบตัวลงไป หรือ เขาจะฟูขึ้นมา จิตของเรา ก็รู้ว่าสงบ จิตของเราก็รู้ว่าฟู หรือ รู้ว่าฟุ้ง
ความฟุ้งมันฟุ้งให้เราเห็น ความฟุ้งมันฟุ้งอยู่ตลอดกาล ตั้งแต่เราเกิดมา ฟุ้งมาประเดี๋ยวประด๋าว มันก็ผ่านไป ความฟุ้งมันเกิดขึ้น ความฟุ้งมันก็ดับไป สัญญาเป็นของไม่เที่ยง
สังขารเวลามันดับไปแล้ว ไม่มีอะไรตกค้าง มันเกิดในใจตลอดเวลา เกิดมาแล้วก็ดับไป สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น "คำสมมุติ" เป็น "กิริยาอาการ" มีอยู่ในจิตใจ เอามาสมมุติเป็นสื่อกันเท่านั้น
"ความคิด" มันเกิดขึ้น "ความคิด" มันดับไป เราไม่ต้องไปพูด ความจริงมันเป็นอย่างนั้น คนเกิด ไม่ต้องพูดว่าคนเกิด มันก็เกิดได้ คนแก่ไม่ต้องพูดว่าคนแก่มันก็แก่ได้ คนตายไม่ต้องพูดว่าตาย มันก็ตายกันทั้งโลก
ของจริงจะพูดหรือไม่พูด ของจริงมันก็เป็นไปอย่างนั้น
หลวงปู่ แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ ม. 3 ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
"ศีล" จึงไม่ต้องไปแสวงหา คำว่า "สมาธิ" ก็ไม่ต้องไปแสวงหา คำว่า "ปัญญา" ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปแสวงหา
เพราะเกิดขึ้นที่ "ใจ" ใจของเรา "เป็นเท่านั้น" จะไป "หาธรรม" ที่อื่นอาจจะเจอแต่ "ชื่อของธรรม"
"ชื่อของธรรม" กับ "ธรรมะ" คนละอัน "ยา" กับ "ชื่อของยา" ก็คนละชิ้นคนละอัน เรา "ปฏิบัติ" จนธรรมปรากฏขึ้นที่ใจ จนใจของเราสมบูรณ์ด้วยธรรม
ธรรมะ ธรรมชาติ เป็นธรรมกำจัดกิเลส เมื่อ "ธรรมปรากฏขึ้นที่ใจ" กิเลสจะสลายตัวในขณะนั้น
"ธรรมะส่วนใดส่วนหนึ่ง" ปรากฏขึ้นในใจ "กิเลส" ที่เป็นข้าศึก ต่อธรรมะนั้นจะ"สลายตัว" ไปเป็นชิ้น เป็นอย่างๆ แต่ละอย่างๆไป
เมื่อ "ใจเราเป็นธรรม" ขึ้นทั้งดวง เป็นธรรมขึ้นทั้งใจ กิเลสตัณหาที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจ "อยู่ไม่ได้" การปฏิบัติธรรมคือการปฏิบัติที่จิต
"ปัญญา" ก็ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน เมื่อ "จิต" ของเราสำรวมไว้ดี "จิต" ของเราแน่วแน่ "ปราศจากอารมณ์" มีแต่ "ความผ่องใส" มีแต่ความสว่างไสว ความผ่องใสหรือความสว่างไสวเรียกว่า "ปัญญา" หรือ "ปัญญา" เกิดขึ้นก็ได้ หรือ "ปัญญา" คือความสว่าง "จิต" ของเรา "เป็นปัญญา" ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน
เมื่อ "องค์ปัญญา" เกิดขึ้นแล้ว "ความมืด" หรือ "กิเลสตัณหา" ยากที่จะซ่อนเร้นอยูใน "จิตที่สว่างไสว" สมบูรณ์เป็นธรรมขึ้นทั้งใจนั้น
เมื่อใจไปกระทบกับธรรมะ มีแต่จะทำให้เย็นๆๆ มีความร่มเย็นเป็นสุขอย่างเดียวเท่านั้น
หลวงปู่ แบน ธนากโร. วัดดอยธรรมเจดีย์ ม. 3 ตำบลตองโขบ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร
"จงคิดเสมอว่า เรามีเวลาเหลืออยู่แค่วันนี้ หรือชั่วโมงนี้ จะได้รีบกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
มิใช่มานั่งโกรธ เกลียด นั่งคิดริษยากัน ให้เสียเวลา โดยเปล่าประโยชน์"
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม
"หากไม่มีความทุกข์เป็นแรงผลัก ก็ไม่อยากเข้าวัด หรือปฏิบัติธรรม เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สนุก หรือดึงดูดใจ
ขณะเดียวกัน เวลามีความสุข ก็ไม่เห็นประโยชน์ว่า จะเข้าวัดไปทำไม ในเมื่อฉันก็มีความสุขดีอยู่แล้ว
แต่เขาลืมไปว่า แม้วันนี้มีความสุข แต่ไม่ได้หมายความว่า พรุ่งนี้จะยังสุขอยู่"
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
อย่ามัวเมาในสังสาร
คนเราอายุ ๓๐ ลืมหน้า ๕๐ ลืมหลัง ๖๐-๗๐ ลุกก็ยาก นั่งก็ยาก หลังจากนั้นก็ร้องโอย หนังเหี่ยวเขี้ยวหล่น ตาหม่นตามัว หัวหงอกหัวขาว เฒ่าแก่แล้วควรพิจารณาดูกายตัวเราให้ชัด อุ้มลูกแล้วก็ยังว่าค่อยให้หลานแถม คนที่มีเงินพอหมื่นพอแสนแล้วก็ยังให้ได้ถึงล้านถึงโกฏิเล่า หลงเลี้ยงคราบเน่าไว้รอวันตาย
เราทั้งหลายควรที่จะหาช่องทางดี อย่าประมาททางศีลทางทาน อายุสังขารเรามันบ่อยู่ที่เก่า เป็นอันรู้เฒ่าชราไป ให้คิดไว้บ่อยๆ
จาก หนังสือประทีปธรรมในดวงใจ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
|