การทำบุญให้ผู้ตายนี้ ท่านแสดงไว้ว่ายากนักที่ผู้ตายจะได้รับ เหมือนกับงมเข็มอยู่ในก้นบ่อ แต่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ก็ชอบทำ นับว่าเป็นความดีของผู้นั้นอย่างยิ่ง
ท่านเปรียบไว้ สมมุติว่าบุญที่ทำลงไปนั้นแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนที่ ๑๖ นั้นมาแบ่งอีก ๑๖ ส่วน ผู้ตายไปจะได้รับเพียง ๑ ส่วน เท่านั้น ฟังดูแล้วน่าใจหาย
เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงไม่ควรประมาท ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ มีสิ่งใดควรจะทำก็ให้รีบทำเสีย ตายไปแล้วเขาทำบุญไปให้ ไม่ทราบว่าจะได้รับหรือไม่ ถึงแม้จะได้รับก็น้อยเหลือเกิน....
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (องค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...ข้อสอบของอารมณ์ของพวกเรา ก็คือ ความเจ็บไข้ได้ป่วยและความตายของร่างกายนี้เอง ถ้าไม่มีเหตุการณ์จริงนี้ เราอาจจะหลอกตัวเราเองก็ได้ว่าเราสอบผ่าน โอ๊ย ไม่กลัวหรอกความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นธรรมดา ทุกคนก็เกิดมาก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยกัน ไม่กลัวหรอกเรื่องของความตายเพราะเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องตายกัน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ล่วงพ้นความเจ็บไข้ได้ป่วยไปไม่ได้ ล่วงพ้นความตายไปไม่ได้” ...ตอนนี้แหละเราจะได้รู้ความจริงว่า การปฏิบัติของเรานี้คืบหน้าหรือยังไม่คืบหน้า สอบได้หรือสอบตก ตอนนี้ดูที่ใจของเรา ใจของเรายังกลัวกันอยู่รึเปล่า ยังกลัวกับ "โรคภัยที่กำลังระบาดอยู่นี่กันอยู่รึเปล่า"
.. ยังทุกข์ยังไม่สบายใจกันอยู่รึเปล่า ยังกลัวความตายอยู่รึเปล่า นี่แหละเป็นโอกาส ที่พวกเราจะได้พิสูจน์จะได้ทำข้อสอบกัน
.. ต้องเวลามีเหตุการณ์จริงปรากฏขึ้นมา ถ้าเราไม่รู้สึกเดือดร้อนเหมือนกับ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อตอนต้นปี ตอนที่เราฉลองวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กัน ตอนนั้นเราเฮฮาปาร์ตี้กันสนุกสนานกัน
.. ตอนนี้เรายังเป็นอย่างนั้นได้หรือเปล่า หรือว่าตอนนี้เรามีแต่ความวิตกกังวล มีแต่ ความหวาดกลัว ถ้าเรามีความวิตกกังวล มีความหวาดกลัว ก็แสดงว่า เรายังมีความทุกข์อยู่ ก็แสดงว่า..
"เรายังสอบไม่ผ่าน". ........................................ . สนทนาธรรม สดๆ ร้อนๆ ธรรมะหน้ากุฏิ 2/4/2563 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
“สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์ สงบจากความดีใจเสียใจ ได้มาก็ไม่ดีใจ เสียไปก็ไม่เสียใจ มันเป็นเรื่องที่ทั้งไม่เกิด และไม่ตาย
เรื่องเกิดเรื่องตายนี้ ไม่ได้หมายถึง อวัยวะร่างกายอันนี้ แต่หมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่มันไม่มีแล้วหมดแล้ว”
หลวงปู่ชา สุภัทโท
"ให้ทุกคนปรับปรุงตัวเอง ทำตัวเองให้ดีก่อนอื่น เมื่อปรับปรุงตัวเองให้ดีแล้ว เท่ากับได้ปรับปรุงคนอื่น พร้อมกันไปด้วย เพราะการสอนที่ดี คือ การทำให้ดู เป็นตัวอย่างนั่นเอง"
หลวงปู่จันทร์ กุสโล
อำนาจคุณความดี. จะคุ้มครองเราเสมอ. ไม่ต้องดูฤกษ์ดูยาม.
โอวาทธรรม พระอาจารย์อารยวังโส
#ถ้าเราทำจิตให้เป็นปัจจุบันได้นะเราจะหาทุกข์มาจากไหน
นี่...เรื่องเมื่อเช้า ก็เอามาคิดตอนเย็น เรื่องตอนเย็น ก็เอามาคิดตอนเช้า แล้วเรา...จะอยู่กับปัจจุบัน ได้ยังไง
#ธรรมะ_มันต้องลงที่ปัจจุบันนี่ #เป็นปัจจุบันเท่านั้น_ไม่มีอดีต_ไม่มีอนาคต
นั่นถ้าจิต เป็นปัจจุบัน มันจะลงไปสู่ความว่างเองอัตโนมัติ นั่นละ ธรรมถึงจะเกิดขึ้น จิตที่มีธรรมที่แท้จริง คือ จิตปัจจุบันนี่ละ
โอวาทธรรม : หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล...วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชต จ.สุรินทร์
พรที่ประเสริฐสุด. คือความสงบแห่งจิตใจ. เราเกิดมาในโลกนี้. เราปรารถนาอะไร. ลองถามใจตัวเองดู.
โอวาทธรรม พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
"..การที่ เราไปเห็นกิเลสคนอื่น ไม่ได้เกิดคุณใดๆ แก่เราเลย
ซ้ำยังจะทำให้ หลงว่าตัวดีกว่าเขา ทั้งที่ตัวก็เต็มไปด้วยกิเลส
การมาเห็น กิเลสของตนนี้ต่างหาก เมื่อเห็นแล้วรังเกียจ ว่าเป็นของสกปรก ต้องชำระสะสางแก้ไข นี้แหละที่ปราชญ์ ท่านสรรเสริญ
อย่าไปเที่ยววิ่ง รังเกียจคนโน้นคนนี้ เพราะนั่นแหละ คือกิเลสความหลงตัว ของเราว่าดีกว่าเขา
เมื่อรู้ระงับความเห็น ในการไปหาตำหนิ ติเตือนผู้อื่น แล้วย้อน เข้าแก้ไขตน นั่นแล "มรรค" ทางดำเนินออกจากทุกข์.."
โอวาทธรรม หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร
"..การปฏิบัติ สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ครอบทั้งหมดในโลก
เป็นทางสายเอก เหมือนประตูพระนคร ทั้ง ๔ ประตู
ใครจะมาจากทิศไหน ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศเหนือ เข้าได้ทั้ง ๔ ประตูนี้
การปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อจะให้ฆ่ากำราบ เสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย ทั้งหมดอันมีอยู่ในขันธสันดาน
คนใดที่ได้มีการปราบ ซึ่งกิเลสถือว่าเป็นผู้มี โชคดีในชีวิต
ต้องปราบนาน ชั่วโมงไม่เกิด สองชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมง ไม่เกิด วันหนึ่งไม่เกิด ๒ วัน ๓ วันไม่เกิด
ปราศจากกิเลสนั้น ถือว่าเป็นคนมีโชค วันนั้น คืนนั้น วันนั้น ยามนั้น เป็นผู้มีโชค ที่กิเลสไม่เกิดขึ้นกับตน "
โอวาทธรรม หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล
"อยู่ในโลกต้องอดทน โลกมันมีปัญหา ต้องแก้อยู่ตลอด ถูกใจบ้าง..ผิดใจบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าไม่อดทน ก็อยู่ในโลกไม่ได้"
- หลวงปู่ลี ตาณังกโร
" ธรรมไม่มีเพศ เพราะฉะนั้น ไม่ว่า เพศหญิงเพศชาย นักบวช ฆราวาส จึงบำเพ็ญหรือทำได้ ด้วยกัน เพราะจิตไม่มีเพศ
จิตเป็นธรรมชาติ ที่รู้เท่านั้น ส่วน ธาตุขันธ์นี้จึงเป็นเพศ เป็นสมมุติประเภทหนึ่ง ธรรมจึงเข้ากันได้กับจิต
เพราะธรรมไม่มีเพศ จิตก็ไม่มีเพศ ประพฤติ ปฏิบัติธรรมได้ บุญบาป ไม่มีเพศ สุขทุกข์ไม่มีเพศ
เมื่อทำดีต้องเป็นสุขขึ้นมา ทำชั่วต้องเป็นทุกข์ขึ้นมา ให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชาย นักบวชหรือฆราวาส
เพราะฉะนั้นเราจึง ปฏิบัติธรรมได้ด้วยกัน "
โอวาทธรรม หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
|