#เหตุที่จิตสงบยาก
พระฝรั่งรูปหนึ่งเคยบ่นกับหลวงพ่อชาว่า ทำไมพวกเราตั้งอกตั้งใจมากแต่สงบยาก ในเมื่อเพื่อนพระไทยหลายรูปดูจะสงบง่ายกว่าเราเยอะ หลวงพ่อตอบว่า “คนมีการศึกษามากมักจะคิดมาก สงสัยมาก สงบยาก พระไทยส่วนใหญ่เป็นลูกชาวนา มีการศึกษาน้อย ไม่คิดมาก ไม่สงสัยมาก ศรัทธาท่านแรงกล้า จึงสงบง่ายหน่อย” อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อให้กำลังใจ “จิตของพวกท่านเหมือนบ้านหลังใหญ่ มีหลายห้อง จะทำความสะอาดก็ต้องใช้เวลามากกว่ากระต๊อบก็จริง แต่สะอาดแล้วคงจะน่าอยู่กว่า ทำอะไรได้มากกว่า”
ทุกวันนี้คนไทยมีการศึกษามากขึ้น คนในเมืองนิสัยคิดมากสงสัยมากกำลังถึงระดับอินเตอร์เสียแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว ขออย่าท้อแท้ จิตถึงจะฝึกยากก็ฝึกได้ ถ้าขยันทำความเพียรต่อเนื่อง ในที่สุดกระแสความคิดฟุ้งซ่านจะแปลงเป็นพลังปัญญา
พระเทพพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ)
...สติเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะไขเข้าไปสู่ธรรมอื่นๆ ถ้าไม่มีสติก็จะทำสมาธิไม่ได้ ไม่มีสมาธิก็จะเจริญปัญญาไม่ได้ ไม่มีปัญญาก็จะหลุดพ้นไม่ได้
."เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกัน" สติสำคัญที่สุด ..ไม่มีสติก็ทำบุญให้ทานไม่ได้ รักษาศีลไม่ได้ คนเสียสติทำบุญให้ทานไม่ได้ รักษาศีลไม่ได้
. อย่าไปพูดถึง เรื่องการนั่งสมาธิหรือเจริญปัญญาเลย พวกเราพอมีสติที่จะทำบุญได้ รักษาศีลได้ แต่นั่งสมาธิได้บ้างไม่ได้บ้าง ปัญญาแทบจะไม่ได้เจริญกัน วิมุตติการหลุดพ้นก็ยังไม่ปรากฏ เพราะ.."สติมีกำลังไม่มากพอ"
. ถ้าสติมีกำลังมากพอ "ก็จะทำจิตให้สงบได้ ให้นิ่งได้" พอจิตนิ่ง สงบ กิเลสก็ต้องนิ่งตาม พอกิเลสนิ่ง เวลาเจริญปัญญา "ก็จะ เห็นตามที่พิจารณา". ......................................... จุุลธรรมนำใจ ๒๔ กัณฑ์ที่ ๔๒๐ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
#การนอนการสงบเข้าฌาน_เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง
สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วนวิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วพัก เข้าจิต พักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้ ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จีงจะเอาตัวพ้นจาก กิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล มหาสมาธิ มหาปัญญา มีศีลทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิต เจตสิก พร้อมทั้งกรรมบท ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติ เป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายใน สว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็น ชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน นิพพานมี ๒ อย่าง #นิพพานมีชีวิตอยู่๑ #นิพพานตายแล้ว๑
#หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต #จากบันทึกธรรมคำสอนหลวงปู่มั่น #โดยหลวงปู่หลุย_จันทสาโร #จากหนังสือจันทสาโรบูชา
เรื่อง "การสร้างบารมีให้สูงขึ้นอย่างแท้จริง"
ปุจฉา : นอกจากจะนั่งปฏิบัติภาวนาแล้วนั้น เหตุของการขึ้นสูงของการสร้างบารมี ต้องทำอย่างไรบ้างครับ ?
วิสัชนา : หลวงพ่อตอบว่า
สูงที่แท้ คือสูงด้วยความคิด สูงด้วยจิตใจ สูงด้วยจิตใจ ก็ทำจิตใจให้สบาย ยิ้มให้ได้ทั้งวันก็ได้ ใครด่าเรา เราก็ยิ้ม เขาแช่งเรา เราก็ยิ้ม เขาขอบคุณเรา เราก็ยิ้ม พยายามทำใจของเรากับอารมณ์ อย่าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราได้ยิน ได้เห็น และคิดอะไร เราได้ยินอะไรก็อย่าฟังให้มันรู้เรื่อง อย่างเช่น ชาวเขา ชาวป่า ชาวดอย ถ้าเขาด่าเรา เราก็ฟังไม่รู้เรื่อง เราก็ยิ้ม ถ้าเราฟังออกเราก็โกรธ ให้เปรียบเสมือนผ้าขาว พอดีดน้ำใส่ ผ้าก็ซึมซับน้ำ พอซึมซับแล้วก็หายไป ใจเราก็เหมือนกัน
หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
สติอยู่ที่ไหน สติก็อยู่ที่ใจนั้นแหละคล้าย ๆ กับว่าเอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ ก็เอาสติที่มีอยู่กับตัวเองรักษาตัวเอง แล้วก็เสกพุทโธลงไป เสกให้มากเท่าที่จะมากได้
ถ้าใครอยากเจอของดีอันที่มีในตัวเอง ไม่จำเป็น กับเรื่องอื่นคือเราเสกพุทโธให้มาก เรียกว่า พุทธาภิเษกตัวเอง เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ..
หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
"สติ"เป็นอาการของจิตที่ตามรู้ตามเห็น คือ ตามรู้ตามเห็นอาการกิริยาของจิต แต่มิใช่เห็นตัวจิต
จิตแท้คือผู้รู้ ผู้ตามรู้ตามเห็น "อาการของจิต" ไม่มีวันจะทันจิตได้เลย
เหมือนบุคคลผู้ตามรอยโคที่หายไป ไม่เห็นตัวมันจึงตามรอยของมันไป แต่โคเป็นวัตถุ ไม่เหมือนจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เอาจิตไปตามอาการของจิต มันก็ผิดวิสัย เมื่อไรจะเห็นตัวจิตสักที
คำว่า “รู้เท่าทัน” ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ผู้รู้คือจิต รู้เท่าก็คือรู้เท่าที่จิตรู้นั้น ไม่เหลือไม่เกิน เมื่อรู้เท่าอย่างนี้แล้ว อาการของจิตไม่มี เมื่ออาการของจิตไม่มี รอยของจิตก็ไม่มี แล้วใครจะเป็นผู้ไปตามรอยของจิตอีกเล่า รวมความแล้ว สติระลึกอยู่ตรงไหน ใจผู้รู้ก็อยู่ตรงนั้น สติกับผู้รู้เท่ากันอยู่ ณ ที่เดียวกัน ทำงานร่วมกันขณะเดียวกัน
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)
"การประพฤติตัวก็เหมือนเราเดินทาง ย่อมสำคัญทางผิดว่าเป็นทางถูกแล้วเดินไป ถ้าไม่หลงก็ไม่เดินทางผิด เดินทางที่ถูกเรื่อย ๆ ไป ถ้าไม่หลงก็ไม่ทำผิด ไม่พูดผิด ไม่คิดผิด ไม่ถือผิด ผลก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเอง
การหลงทางก็เป็นโทษอันหนึ่ง ที่ทำให้เสียเวล่ำเวลาและเหนื่อยเปล่า ๆ การทำผิด การพูดผิด คิดผิด ก็ทำให้ทั้งเสียเวลา ทั้งเป็นโทษทุกข์เกิดขึ้นแก่ตัว นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการทำผิด พูดผิด คิดผิด ของผู้ประพฤติตามอารมณ์ใจชอบ"...
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
"ของดี มีค่าไม่เท่ากัน"
พระพุทธรูปธรรมดาราคาน้อย พระแก้วมรกตมีค่าสูงกว่ารัตนะทั้งหลาย ของดีนำหนักเท่ากัน แต่มีค่าไม่เท่ากัน
เหมือนกับเงินทองและเพชร ซึ่งมีน้ำหนัก ๔ บาทเท่า ๆ กัน แต่ราคาไม่เหมือนกัน
ทำทาน ๑๐๐ ครั้ง ไม่เท่ารักษาศีล ๑ วัน รักษาศีล ๑๐๐ วัน ก็ไม่เท่าเจริญภาวนา ๑ วัน...
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ชีวิตมนุษย์นั้นมีขึ้นมีลง วันนี้สูงส่ง พรุ่งนี้อาจตกต่ำ ไม่มีสิ่งใดแน่นอน หรือยั่งยืนได้เลย หมั่นทำความดี หรือสร้างบุญกุศลกันไว้ให้มาก ๆ เถิด แม้ยามที่ชีวิตตกต่ำ ก็จะมีบุญกุศล หนุนนำช่วยให้พ้นจากความมืดมิด ได้อย่างแน่นอน บุคคลที่เป็นคนดีนั้น ย่อมเป็นที่รักไปทั้งสามโลก
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
สติอยู่ที่ไหน สติก็อยู่ที่ใจนั้นแหละคล้าย ๆ กับว่าเอาตัวเองรักษาตัวเอง ก็ใจนั้นมีสติ ก็เอาสติที่มีอยู่กับตัวเองรักษาตัวเอง แล้วก็เสกพุทโธลงไป เสกให้มากเท่าที่จะมากได้
ถ้าใครอยากเจอของดีอันที่มีในตัวเอง ไม่จำเป็น กับเรื่องอื่นคือเราเสกพุทโธให้มาก เรียกว่า พุทธาภิเษกตัวเอง เสกตัวเองให้เป็นพุทธะ..
หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก
เค้าด่าหรือชมก็ตาม. เหมือนเค้าเอาไฟเข้ามา. ถ้าเราเปิดประตูรับ. ไฟมันก็ลุกพรึ่บ.
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ศาสนาของพระพุทธเจ้า. ไม่ต้องไปมองที่อื่น. ให้มองที่ใจเรานี่แหละ.
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
#ไปบำเพ็ญที่ไหน_ก็เอาใจ_นั่นแหละไป
ในดงในป่าในภูเขา ที่ไหน ก็เอาใจนั่นแหละบำเพ็ญ นี่ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
#นักปฏิบัติทั้งหลาย_อย่าลืมตัว_อย่าหลงตัวเท่านี้แหละ
หมั่นฝึกหัดสติของตนให้กล้า เมื่อสติของเรามันกล้าพอแล้ว จะกำหนดดูที่ไหนมันก็ทะลุปรุโปร่งไปหมด
ถ้าสติมันกล้าพอแล้ว มันมีกำลังพอแล้ว กำหนดดูกายของตน มันก็ทะลุปรุโปร่งไปหมด หรือจะกำหนดดูอะไรก็รู้ซาบซึ้งอยู่ภายใน
คติธรรมคำสอน #หลวงปู่บุญจันทร์ #กมโล #วัดป่าสันติกาวาส อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
#การภาวนา
นักปฏิบัติต้องตรวจตราดูตนเองในแต่ละวัน วันนี้เราภาวนาอย่างนี้ เราฉันอาหารอย่างนี้ เราเดินจงกรมภาวนาอย่างนี้ เราปล่อยจิตปล่อยใจอย่างนี้ คบค้าสมาคมกับผู้คนอย่างนี้ การเก็บตัวของเราอย่างนี้
#การมองดูตัวเอง_ไม่มีใครที่จะรู้_ยิ่งกว่าตัวของเรา_แต่ให้สังเกต ในเมื่อเราสังเกตเราจะรู้จักวิธีการ มันขาดทุนกำไรอย่างไรในแต่ละวัน ถ้าดูตัวเองแล้วเราก็จะรู้ได้ว่า วันนี้เป็นลักษณะอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ทดลองดูซิ ผ่อนอาหารดูซิเป็นยังไง อดอาหารดูซิเป็นยังไง อด ๒-๓ วันเป็นยังไง อดนอนเป็นยังไง ทั้งอดนอนด้วย ทั้งผ่อนอาหารด้วยเป็นยังไง จิตใจของเราเป็นยังไง ในขณะที่เราอดนอนผ่อนอาหาร หรือเราอดอาหารหรือฉันอาหารให้อิ่มเต็มที่เป็นยังไง
#ไม่ใช่สังเกตร่างกายนะ_ให้สังเกตจิตใจ
ใจของเรากระเพื่อมยังไง ใจของเรามันหวั่นไหวไกวแกว่งอย่างไร ไปทางไหน ไปทางโลภ ทางโกรธหรือทางหลง หรือทางราคะ โทสะ โมหะ ใจของเรารู้
ถ้าเราทำอย่างนี้ใจมันร้อน มีอะไรเข้ามาหน่อยเดียวอารมณ์ก็ร้อน มันร้อนเพราะอะไร สาเหตุเพราะอะไร ทำไมใจของเราไม่มีเหตุมีผล เราต้องหาวิธีการเบรก หรือว่าพิจารณาหรือทำสมาธิ หรือจะใช้ปัญญาตัวไหน
#พวกเรามองออกนอกตัว_มากเกินไปหรือเปล่า
มันจึงมีอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ โมโห โกรธา ใครทำอะไรก็ผิดใจอยู่ตลอด แล้วมันเป็นยังไง เราเพ่งมองไปข้างนอก เราไปยึดว่าโลกนี้เป็นของตัวเองมากเกินไปอย่างนั้นใช่ไหม โลกทั้งโลกเป็นของเรา เราจะไม่หนีจากโลกตลอดอนันตกาลอย่างนั้นใช่ไหม
#อันนี้เราก็ต้องใช้ปัญญาอีกเหมือนกัน
ใช้ปัญญาทบทวน เมื่อเราใช้ปัญญาพิจารณากลั่นกรองไตร่ตรองด้วยสติด้วยปัญญาด้วยสมาธิแล้ว จากนั้นเราก็จะมองเห็นสิ่งต่างๆได้
#นี่แหละคือวิธีการสำหรับปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่ว่าวันไหนก็วันเก่า เวลาไหนก็เวลาเก่า เคยทำยังไงก็ทำไปอย่างนั้น ไม่มีการพลิกแพลง ไม่มีการสังเกตตัวเอง จิตใจของเราก็จะไม่ก้าวหน้า
#หลวงพ่ออินทร์ถวาย #สันตุสสโก จากพระธรรมเทศนา “นักปฏิบัติต้องหัดสังเกต”แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕
"..คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนให้ปฏิบัติ สอนให้ มีความพากความเพียร สอนให้มีความอดความทน สอนให้มี 'สติ' สอนให้มีปัญญา
บางคนว่า ทำยังไง ให้มีสติดีๆ ทำยังไง ให้มีสติมากๆ ทำยังไง ถึงมีสติติดต่อไม่หลงลืม
ให้บอกเขาว่า ปฏิบัติให้มาก ทำให้มากๆเท่านั้น ทำมากๆ แล้ว สติจะสมบูรณ์ขึ้น "
โอวาทธรรม หลวงปู่แบน ธนากโร
" ใครจะเจริญสมถะ หรือ วิปัสสนาขั้นใดก็ตาม ถ้า ขาด "สติ" แล้ว สมถะและ วิปัสสนานั้นไม่มีทางเจริญได้เลย
นับแต่เริ่มแรกปฏิบัติมาจน สุดทางเดิน ผมไม่มองเห็น ธรรมใดที่เด่นและฝังลึกในใจ เท่าสตินี่เลย
สติ เป็นทั้งพี่เลี้ยง เป็นทั้ง อาหาร เป็นทั้งยารักษาของ สมาธิ และปัญญาทุกขั้น ธรรมดังกล่าวนี้ จะเจริญได้ จนสุดขั้นของตนล้วนขึ้นอยู่ กับ สติ เป็นผู้บำรุงรักษา โดยขาดไม่ได้
ท่านจงฟังให้ถึงใจ ยึดไว้ อย่าหลงลืม สตินี่แลคือขุม กำลังใหญ่แห่งความเพียร ทุกด้านต้องผ่านสตินี้
ก่อนจะเคลื่อนไหวโยกย้าย ความคิดเห็นไปในทางใด หยาบหรือละเอียดในธรรม ขั้นใด ต้องมีสติเป็นตัวการ สำคัญในวงความเพียร "
โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
" การภาวนาที่มีอภินิหาร มากที่สุดคือการเห็นจิต เจ้าของ เห็นใจของเราเอง
มีสติต่อเนื่องเห็นใจของเรา ตลอดเวลา อันนี้สิวิเศษของจริง
เพราะกิเลสมันหายได้ พ้นทุกข์ได้ นักภาวนาต้อง เอา 'สติ' เป็นสำคัญ
อย่างอื่นอย่าไปสนใจมัน มากนัก อันนั้นมันของแถม ของเล่นเฉยๆ "
โอวาทธรรม หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
|