เรื่อง "พระอรหันต์เป็นพระธาตุทุกองค์หรือไม่"
พระอรหันต์นี้ จะต้องเป็นพระธาตุทุกองค์ไปหรือ ท่านอาจจะอธิษฐานอย่างไรก็ได้ในจิตของท่าน อธิษฐานไม่ให้เป็นพระธาตุ หรือให้เป็นพระธาตุชนิดไหนนี้ก็เป็นได้ เพราะอำนาจของจิตอธิษฐานไว้
(ธรรมเทศนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔)
จิตของท่านบริสุทธิ์ครองขันธ์อันนี้ ความบริสุทธิ์นี้กระจายออกไปให้ขันธ์สะอาดไปตามส่วนของขันธ์ที่หยาบ จนกลายเป็นพระธาตุได้ ครองขันธ์นานเท่าไรก็ยิ่งมีเวลาที่จะซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นความบริสุทธิ์ตามส่วนแห่งธาตุหยาบของตน ๆ ไป ยิ่งเวลาท่านเข้าสมาธิสมาบัติเข้าภาวนา รวมกระแสของจิตที่เป็นแง่ออกสู่สมมุตินี้เข้ามาสู่ภายในหมด นั้นเรียกว่าซักฟอกร้อยเปอร์เซ็นต์ ๆ เลย พอเข้าสู่ความสงบปั๊บก็เป็นการซักฟอกในตัว พอกระแสจิตรวมเข้ามาสู่จุดใหญ่คือความบริสุทธิ์นี้แล้วก็จ้าออกไป อันนี้เป็นเอง เวลาท่านมรณภาพแล้วอัฐิของท่านจึงกลายเป็นพระธาตุ เรียกว่าเป็นธาตุที่ละเอียดไป แม้จะหยาบตามส่วนของวัตถุก็ตาม แต่ก็เป็นส่วนที่ละเอียดไปตามความบริสุทธิ์ของใจ จึงกลายเป็นพระธาตุได้ นั่นต่างกันอย่างนั้นนะ
ถ้าองค์ใดที่บำเพ็ญมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่สมาธิหนุนมาเรื่อย ๆ ถึงขั้นปัญญาก็ก้าวไปเรื่อยเสมอ ๆ องค์นี้เวลาบรรลุธรรมปึ๋ง เรียกว่าตรัสรู้หรือบรรลุธรรมแล้วนิพพานไปเสียอย่างนี้ ธาตุขันธ์ท่านก็มีโอกาสที่จะเป็นพระธาตุได้อย่างธรรมดา ง่าย เร็ว แต่ท่านผู้เป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็วแล้วนิพพานไปเสียอย่างนี้ ก็เป็นพระธาตุได้ช้า ต่างกันนะ
ไม่ใช่ว่าพอบรรลุปึ๋งเป็นพระธาตุไปเลยอย่างนั้น คือพระธาตุนี้เกี่ยวกับจิตที่ซักฟอกอยู่ภายในตัวเองนั้นแหละ อันนี้ก็ยังมีข้อแม้อีกอันหนึ่ง ใคร ๆ อาจไม่คิดได้ ว่าบรรดาพระอรหันต์นี้จะต้องเป็นพระธาตุทุกองค์ไปหรือ อันนี้ขึ้นอยู่กับจิตซึ่งเป็นองค์ครองธาตุขันธ์ จิตนี้มีอำนาจมาก ท่านอาจจะอธิษฐานอย่างไรก็ได้ในจิตของท่าน อธิษฐานไม่ให้เป็นพระธาตุหรือให้เป็นพระธาตุชนิดไหนนี้ก็เป็นได้ อำนาจของจิตเป็นได้ หรือท่านอธิษฐานไม่ให้เป็นพระธาตุนี้ก็อาจเป็นได้ เพราะอำนาจของจิตอธิษฐานไว้ ตั้งกึ๊กไว้เลยให้เป็นไปตามนั้น คือเป็นพระธาตุ หรืออาจเป็นพระธาตุแปลก ๆ ต่าง ๆ ไปตามคำอธิษฐานก็ได้
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนโน
"พ่อพาเฮ็ดพาทำบ่แม่นเพื่อพ่อเด้ เพื่อให้พวกลูกได้สร้างบุญเอาไว้ เทื่อตายไปสิได้บ่ตกไปอบายภูมิ"
หลวงปู่ปั่น สมาหิโต (อายุ ๙๕ ปี) วัดป่าศิริดำรงวนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
“..อดีต ผ่านไปแล้วกลับไปแก้ไขไม่ได้ อนาคต ยังมาไม่ถึงไม่ต้องไปคิดไปห่วง อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดี ใช้จิตพินิจพิจารณาให้เกิดปัญญา จะได้ธรรมอันสูงสุด..”
ธรรมคำสอน หลวงพ่อเสถียร คุณวโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.บึงกาฬ
...นี่คือความประเสริฐของการเจริญสติ ที่พวกเราต้องทำในชีวิตประจำวัน
. "อย่าไปรอเจริญสติเวลาที่ไปอยู่วัด" เพราะจะไม่ทันการณ์.
. ต้องเจริญสติในชีวิตประจำวันทุกวัน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนหลับไป ควบคุมจิตให้อยู่กับร่างกาย เรียกว่า.."กายคตาสติปัฏฐาน" ตั้งสติอยู่ที่ร่างกาย . ...................................... . จุลธรรมนำใจ 26กัณฑ์ที่ 427 ธรรมะบนเขา 7/8/2554 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
#สิ่งต่างๆในโลกนี้_มันก็อยู่ที่จิตนี่เอง
ความรู้สึกของเราอยู่ที่ไหน จิตใจก็อยู่ที่นั่น หลวงปู่มั่นท่านก็เคยพูดว่า อยู่ที่ใจของเจ้า โลกนี้ไม่มีใจก็ไม่มีความหมาย โลกกับธรรมมันอิงกันอยู่ ก็อยู่อย่างไม่ขัดโลกขัดธรรมเขา รูปนาม ถ้าแยกออกก็เป็นอภิธรรมทั้งหมด
#รูปกับนาม_เป็นจุดแรกของปัญหา
เรื่องราวต่างๆ ที่เราไม่รู้ ก็เพราะไม่ได้ค้นคว้ากำหนด ท่านว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นวัฏฏะ หมุนเวียนตั้งแต่จุดเล็กไปถึงจุดใหญ่ เหมือนกับความมืดกับความแจ้ง มันต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่คนละช่วง มันเกิดพร้อมกันไม่ได้
#ความจริง_รูปนาม_มันมีอยู่แล้ว
ถ้าปลงความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มี ท่านก็ไม่มีอะไรจะพูด เมื่อไม่มีอะไรจะพูด มันก็หยุดเป็นวิมุตติไป ถ้าเอามาพูดถึงมันก็เป็นสมมติไป ธรรมะจริงๆ จะพูดหรือไม่พูด มันมีอยู่แล้ว
#หลวงปู่เหลือง #ฉันทาคโม
“ถ้าคิดได้ ให้ช่วยคิด ถ้าคิดไม่ได้ ให้ช่วยทำ ถ้าทำไม่ได้ ให้ความร่วมมือ ถ้าร่วมมือไม่ได้ ให้กำลังใจ แม้ให้กำลังใจก็ไม่ได้ ให้สงบนิ่ง”
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ
การไม่คบคนพาล ในความหมายทางปรมัตถ์ไม่ใช่การไม่คบคนดื่มสุรา เล่นการพนัน หรือไม่คบคนมัวเมาอบายมุข นี่เป็นคนพาลนอกตัว คนพาลตัวจริง คือตัวความคิดเรานี่ ถ้าเราคิดไม่ดี ความคิดพาเราไปโลภ ไปโกรธ ไปหลง พาเราไปเกิดกิเลสตัณหา นี่คือคนพาล การคบบัณฑิตคือการมีความคิดดีอยู่ในจิตใจของเรา เช่นเมื่อเกิดปัญหาก็รู้จักปล่อยวาง-ช่างหัวมัน-ไม่เป็นไร-มันเป็นเช่นนั้นเอง นี่คือบัณฑิต หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
ให้ขันธ์ห้า เป็นทาน ท่านกล่าวว่า ย่อมสูงกว่า เงินทอง ของทั้งสิ้น พินิจขันธ์ห้า ให้ว่าง เป็นอาจิณ ทุกข์ดับสิ้น จิตสงบ พบนิพพาน
หลวงปู่ชา สุภัทโท
|