นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 7:08 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ขันติคือความอดทน
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 30 ส.ค. 2020 7:47 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
ช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนป่วยโรคมะเร็งฝากคำถามเรื่องการปฏิบัติกับจิตใจของเขาก่อนที่จะตายกับหลวงพ่อ จริงๆแล้ว บางคนอาจจะมองว่าเป็นคำถามและคำตอบทั่วๆไป เพราะมันไกลตัว แต่สำหรับเราแล้ว คนถามเขาเตรียมตัวดี สำหรับการรับมือกับปลายทางของชีวิต ถ้าเขาทำตามที่หลวงพ่อสอนได้ เขาคงอำลาโลกนี้ไปอย่างมีความสุข

ถาม : หนูป่วยมะเร็ง ถ้าช่วงสุดท้ายของชีวิตมาถึงขณะลมหายใจกำลังจะดับจะกำหนด และปฏิบัติอย่างไรคะ จึงจะไปให้สูงที่สุดและไม่ลงอบายภูมิ

หลวงพ่อ : ก็ต้องปล่อยวางร่างกาย ปล่อยให้มันตายไป ทำใจให้เฉยๆ ถ้าไม่เฉยก็ใช้สติประคับประคอง ให้มันเฉย คือพุทโธๆๆไป อย่าไปอยากให้มันไม่ตาย ให้รู้เฉยๆ แล้วใจจะไปดี ไปสู่อริยภูมิคือละปล่อยวาง ละสักกายทิฏฐิได้ ปล่อยวางร่างกายว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา มันจะตายก็ให้มันตายไป เราเป็นผู้รู้ก็ให้รู้เฉยๆ แยกผู้รู้ออกจากร่างกาย อย่าไปคิดว่าเป็นร่างกาย ถ้าคิดว่าเป็นร่างกายก็จะอยากให้ร่างกายไม่ตาย ถ้าปล่อยให้ร่างกายตายก็แสดงว่าไม่ได้คิดว่าเป็นร่างกายของเราแล้ว เราถึงปล่อยได้ เช่นเวลาคนอื่นตายเราปล่อยได้ไหม แต่ถ้าเราตายแล้วเราปล่อยเหมือนกับปล่อยคนอื่นได้ก็ถือว่า เราปล่อยร่างกาย ไม่ได้ถือว่าเป็นของเราแล้ว

ดังนั้นเราต้องปล่อย ถ้าปล่อยแล้วเราก็จะละสักกายทิฏฐิได้ เราก็จะไปอริยภูมิ ไปเป็นพระโสดาบันได้.

..................................
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๙

...
ถาม : ดิฉันป่วยเป็นมะเร็ง ถ้าก่อนที่ลมหายใจจะดับ มีความเจ็บปวดมีเวทนาทางร่างกายด้วยอาการของโรค จะปฏิบัติอย่างไรให้แยกกายออกจากจิตได้คะ

หลวงพ่อ : ก็อย่างที่สอนนี้ ให้คิดว่าความเจ็บเป็นธรรมดา ความตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บไปไม่ได้ ล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ ให้ท่องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดลมหายใจ แล้วใจจะไม่ทุกข์กับความเจ็บ จะไม่ทุกข์กับความตาย.

..................................
ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน
วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี









#พูดอะไรโดยไม่คิด

"เท่ากับพ่นยาพิษใส่ตัวเอง
โกรธคนอื่น เหมือนจุดไฟ
เผาตัวเอง เมตตาคนอื่น
เหมือนอาบน้ำให้ตัวเอง
อย่าระแวงคนอื่นยิ่งกว่า
ระแวงตัวเอง ถ้าจริงจัง
กับโลกเกินไปจะต้องตาย
เพราะความเศร้า...
ชีวิตไม่พอกับตัณหา เวลา
ไม่พอกับความต้องการ
ที่พักครั้งสุดท้ายของชีวิต
คือ.. ป่าช้า... "

#หลวงปู่ขาว_อนาลโย










#ธรรมะที่แท้จริงอยู่ที่ไหน

คำพูด..หนังสือ..คัมภีร์..เจดีย์..
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียง...
"เ ง า" ของธรรมะ ส่วนตัวจริง
ของธรรมะนั้นอยู่ที่ "จิ ต ใ จ"

#ท่านพ่อลี_ธัมมธโร









"... คำว่าบุญ​นี้เราต้องรู้จักทำเองสร้าง​เอง ไม่ใช่นั่งอยู่บ้านแล้วอนุโมทนา​สาธุ​เอาอย่างเดียว​ จะได้บุญ​เต็ม​ร้อยเลย มันก็ไม่ใช่แล้ว​ มีแต่คนได้บุญ​ ถ้าอย่างนั้นคนทุกวันนี้คงไม่มีใครทุกข์ยากปากหม๋องแล๋ว..."

โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์
หลวง​ปู่​อ้ม​ สุข​กา​โม
วัด​ป่า​ภู​ผาผึ้ง​ อ.ดง​หลวง​ จ.มุกดาหาร









"ถ้าเราทำดี พูดดี คิดดีแล้ว คนอื่นเขาว่า
เราทำไม่ดี ก็ไม่เป็นไร เมื่อเราทำดีแล้ว
คนอื่นว่าไม่ดีมันเป็นเรื่องของเขา

เราอย่าไปทิ้งความดีของเรา ความดี
มันอยู่ที่ตัวเราไม่ใช่คนอื่นมอง อย่าลืม
ว่ากรรมใครก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่น
ถือมั่น และ..อย่าจับตาดูผู้อื่น... "

#หลวงปู่ชา_สุภทฺโท
#วัดหนองป่าพง
อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี









"ถ้าตายแล้ว ก็แล้วกันไป
ถ้ายังไม่ตาย เมื่อตื่นนอนทุกเช้า
ก็ทำใจไว้ว่า วันนี้กับวันที่ผ่านมาแล้ว
แต่ละวันๆ จะไม่เหมือนกัน

วันนี้เราจะเจอเหตุการณ์อะไรอีก
ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย
เราต้องเตรียมตัวเอาไว้
อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด
นี่นักปฏิบัติต้องทำอย่างนี้"

หลวงปู่ทูล ขิปฺปปญฺโญ










“อย่าได้หลงไหลว่าเราจะสวย จะงาม
หรือหนุ่มสาว อยู่เสมอไป ย่อมจะมีแก่
และเจ็บ เป็นธรรมดา

ดังนี้ ความดีอันใด ที่ควรจะทำได้ ก็จงทำเสีย
ตั้งแต่ร่างกายยังมีกำลังวังชาอยู่ เมื่อทำไว้เสร็จแล้ว
ถึงเวลาตาย ก็จะได้ไม่ห่วงใยในสิ่งใดอีก”

หลวงปู่ลี กุสลธโร









"การมองกัน อย่ามองในแง่ร้าย
ให้มองกันในแง่เหตุผลเสมอ
หากมีเหตุผล หรือความจำเป็น
ที่จะมองกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกัน
ในการอยู่ร่วมกัน ให้คิดเผื่อไว้เสมอ
คือ ความเมตตา ความให้อภัย ซึ่งกันและกัน
นี้เป็นหลักของผู้ปฏิบัติธรรม"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน











#หลวงปู่ฝากไว้

คำว่าบุญนี้เรามาคิดดูในภาษาของเรา เราก็ไม่ทราบว่าคืออะไร เราก็เรียกติดปากคุยกันวนเป็นทำเนียมเป็นภาษาของเราไปเลย อาตมาก็คิดว่าแต่แรกคำว่าบุญนี้ คงจะไม่ใช่ภาษาไทย น่าจะยืมหรือติดมาต่างศาสนา แต่ละศาสนาผ่านมานภพภูมิเรานี้

ตามที่ทราบมานั้นอาจผิดก็ได้อาจจะถูกก็ได้ นี่ศาสนาพราหมณ์ก็มาก่อน ก็ใช้คำว่าบุญนี้ให้ประชาชนที่ต้องการปรารถนาบุญ ภายหลังพุทธศาสนามาทีหลัง ก็ใช้คำเดียวกันนี่ล่ะ คำว่าบุญ เป็นอันว่าประชาชนในถิ่นที่ได้รับอิทธิพลทางศาสนาทั้งพราหมณ์ และ พุทธศาสนา เข้าใจคำว่าบุญนี้มาก่อนแล้ว ต่อมานานๆเข้าหลายชั่วอายุคนก็พูดกัน คำว่าบุญ

เมื่อลองพิจารณาแล้วว่าบุญคืออะไร ก็เลยมีความหมายแตกต่างกันไป โดยมากปราชญ์ทั้งหลายจะกล่าวว่า บุญคือความสุข เพราะความสุขเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาถึงความสุขแล้วในทัศนะของแต่ละบุคคลคงจะไม่ตรงกันทั้งหมด บางคนก็ปรารถนาความสุขไปในทางอามิส ผู้ที่ได้รับการศึกษาและอบรมฝึกหัดปฏิบัติในทางปฏิบัติมามากแล้ว อาจปรารถนาความสุขไปในทางปราศจากอามิส ท่านจึงว่า

สามมิสสุข สุขประกอบไปด้วยอามิส คือ กามคุณ

นิรามิสสุข สุขที่เกิดจากการปราศจากอามิสทั้งหลาย

อันนี้อาตมามาพิจารณาดูแล้วก็มาพบคำแปลอีกแห่งหนึ่งว่า คำว่าบุญ แปลว่าความสุข นี่ก็หมายถึง ผล หมายถึงผลที่มาจาก เหตุ เหตุของการได้รับความสุขก็คือเรียกว่า เหตุให้เกิดบุญ ได้แก่ความสะอาด , ความถูกต้อง , ความชอบธรรม เนี่ย 3 คำนี้คือสิ่งเดียวกัน ความสะอาด ความบริสุทธิ์ชอบธรรม นั่นล่ะคือตัว เหตุ มาคิดได้ประโยคสั้นๆด้วยข้อเปรียบเทียบ

อย่างเราต้องการความสะอาดของผ้า ที่เราใช้มาแล้วมันมีมลทิน มันมีมลทินแปดเปื้อนซึ่งผ้าที่เราใช้ เราต้องการความสะอาดของผ้านั่นก็คือ ซัก การซักผ้านั้นต้องมีอุปกรณ์การซักคือ ผงซักฟอกและน้ำ พร้อมการซักอย่างถูกวิธี คือ ขยี้ ขย้ำ หรือ ทุบ กิริยาทั้ง 3 อย่างนี้เพื่อการชำระมลทินของผ้าให้สะอาด ผงซักฟอกจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ ขอให้ซักแล้วสะอาดก็ใช้ได้ทั้งนั้น เพราะฉนั้นกิริยาของการซักผ้าประกอบด้วยองค์ 3 คือ เครื่องซักฟอกและน้ำ กับกิริยาที่ซักคือ ทุบ ขย้ำ ขยี้ ผ้านั้นก็สะอาด แต่ถ้าเราซักอย่างถูกต้องอย่างถูกวิธี ผงซักฟอกก็มียี่ห้อที่ดี

แต่กับน้ำคลำเนี่ยคิดว่าผ้านั้นคงไม่สะอาดเท่าที่ควร เพราะการกระทำในองค์ 3 นี้ มีองค์หนึ่งเป็นเหตุเศร้าหมอง คือน้ำคลำ เพราะฉนั้นการซักด้วยวิธีที่ถูกต้องครบสมบูรณ์แบบในหลักการซักคือน้ำสะอาดด้วย มลทินผ้ามันก็หลุดไปผ้าเราก็สะอาด

นี้ก็เปรียบกับการทำบุญที่ท่านกล่าวในเบื้องต้นว่า ความถูกต้อง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ในสันดานของสัตว์ด้วยการกระทำดังกล่าวนี้ คือกิริยาที่ทำทานอย่างหนึ่ง ศีลและภาวนา หลัก 3ประการนี้เป็นหลักใหญ่หลักรวมในกิริยาของการกระทำ

มาพิจารณาดูในการกระทำทั้ง 3 อย่างนี้ แต่ละอย่างมันมีความหมายว่า เป็นการชำระ เป็นการชำระความเห็นแก่ตัว คนเราทุกคนในบรรดาสามัญชน มักจะมีความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว คือตนคือตัว เป็น อัตตา หรือ ทิฐิ ทุกคนมีอย่างนั้นแม้พระเจ้าพระสงฆ์ยังมีเหมือนกัน

การปฏิบัติในกรณีที่เรียกว่า ทำบุญทุกรูปแบบก็เป็นการชำระความเห็นแก่ตัวให้ลดละน้อยลง จุดหมายปลายทางอันสูงสุดนั้นก็คือ หมดความเห็นแก่ตัวด้วยประการทั้งปวง นี่แหละคือจุดหมายปลายทาง

ถ้าใช้ว่าเราเดินตามเส้นทางของ พุทธะ ไปสู่จุดหมายปลายทางที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะให้เราไป ตั้งแต่ก้าวแรกก็ผ่านในสิ่งที่เราต้องการปรารถนาคือ อามิส ทั้งหลายเป็นการตอบแทนการกระทำความดีทุกรูปแบบนั้น ในที่สุดก็ละๆไปโดยลำดับ

เหมือนเราขึ้นบันได ขึ้นบันไดไปสู่บนบ้าน การเหยียบขั้นแต่ละขั้น แต่ละขั้นก็ต้องละโดยลำดับ เหยียบขั้นที่1เพื่อละพื้น เหยียบขั้นที่2ละขั้นที่1 เหยียบขั้นที่3 เพื่อละขั้นที่2 ไปจนถึงขั้นสุดท้ายแล้วก็ก้าวไปอีกต่อนึงถึงบ้าน

ขั้นบันไดแม้จะเป็นการให้เราก้าวไปที่ละขั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ให้เราอยู่ในขั้นบันไดนั้น ยังไม่ถึงบ้าน พระพุทธเจ้าทรงสอนตั้งแต่

ฐิทธรรมมิคทประโยชน์ ประโยชน์พื้นๆโดยที่สามัญชนต้องการ

สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในเบื้องหน้าคือ อนาคต

และประโยชน์สูงสุดก็คือ ปรมัตถประโยชน์ นั่นคือขั้นตอนของพระพุทธศาสนา เหมือนขึ้นบันไดเมื่อกี้นั้น ตราปใดที่เรายังเหยียบในขั้นบันไดอยู่ ก็ชื่อว่ายังจะต้องก้าวเดินไป ยังจะต้องทำกิจ คือยังต้องขึ้น เมื่อสุดหมดขั้นบันไดแล้ว เหยียบไปอีกขั้นหนึ่งก้าวไปอีกก็ถึงบ้าน หมดขั้นบันไดแล้ว ขั้นบันไดนี้มีปราชญ์ท่านเรียกว่า ขั้นสูงสุดก็เหมือน ภพอันละเอียด แม้จะเป็นภพละเอียด ภพหยาบขนาดไหนก็ตามที ก็ชื่อว่า ภพ เมื่อมีภพแล้วก็ต้องมี ชาติ มีชราพยาธิ มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายา เวียนกันไปอย่างนี้ ภพหยาบภพละเอียดก็ต้องมี

เพราะฉพนั้นการก้าวไปให้พ้นจากขั้นบันไดสุดท้ายจนไปถึงบ้าน หมายความว่า ละ ละแล้วซึ่งภพ ละแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อละหมดแล้ว ก็ชื่อว่า หมดกิจ หมดกิจที่จะต้องทำ นี่คือคำสอนของพระพุทธศาสนา มีขั้นตอน3ขั้นตอนดังที่กล่าวแล้ว

#หลวงปู่เอียน #ฐิตวิริโย
เทศนาธรรมวันที่ 26 มิถุนายน 2561
ณ ชมรมพุทธการไฟฝ้าฝ่ายผลิต









" พาล แปลว่า อับปัญญา
ไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง

คนพาล คือ คนเขลา
ไม่รู้เท่าทันโทษ
แห่งการประพฤติทุจริต
ทางกาย วาจา ใจ

การไม่คบคนพาล จึงเป็น
เหตุนำมาซึ่งความเจริญ
ทำให้พ้นจากโอกาส
ที่จะหลงเข้าสู่ความผิด

นำมาซึ่งความสรรเสริญ
ของคนทั่วไป ประสบแต่
ความก้าวหน้าในชีวิต "

พระโอวาทธรรม
สมเด็จพระอริย
วงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก








" เป็นเพชรที่แตกร้าว
ย่อมไม่เหลือราคาของเพชร

ย่อมเป็นเหมือน
กระเบื้องกะลา
หาราคาไม่ได้ฉันใด

เป็นมนุษย์ ที่ไม่รักษา
ค่าความเป็นมนุษย์ไว้
ปล่อยให้เสื่อมสลายไป

ก็ย่อมเป็นเหมือน
เศษกระเบื้องกะลาฉันนั้น

จะหาความภาคภูมิใจ
ได้อย่างไร
พึงคำนึงถึงความจริงนี้ด้วยดี "

พระคติธรรม
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร









“ มนุษย์เรามีคุณค่า
เพราะศีล เพราะธรรม
เพราะความประพฤติ

ไม่ได้มีคุณค่า
ทางเนื้อทางหนัง
เหมือนสัตว์ทั้งหลาย ”

โอวาทธรรม
หลวงตาพระมหาบัว
ญาณสัมปันโน








" ธรรมะของพระพุทธเจ้า
ข้อขันติ คือความอดทน
มีอยู่ ทำไมไม่เอามาใช้

คนอื่นไม่ดี เราจะไม่ดี
ตามเขาหรือ

ทำความดีของเราไปสิ
ทำให้มันล้นทับความไม่ดี
ไปเลย ทำได้มั้ย "

โอวาทธรรม
พระอาจารย์เชอรี่ อภิเจโต


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 122 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO