"อย่ามัวขวนขวายวัตถุภายนอกจนลืมพุทโธนะ #พระรัตนตรัยคือพุทโธเท่านั้นที่จะพาให้หลุดพ้นได้ สิ่งของอย่างอื่นช่วยไม่ได้นะ"
หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร
ถาม : เวลาปฏิบัติอยู่ที่บ้าน จะตรวจสอบได้อย่างไร ว่าก้าวหน้า มาถูกทาง
พระอาจารย์ : ดูที่อารมณ์ว่า แรงขึ้นหรือเบาลง ความหงุดหงิดรำคาญใจ น้อยลงหรือมากขึ้น ถ้า..สบายใจ ปล่อยวางได้ รับกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ "ก็แสดงว่า ก้าวหน้า" ถ้ารับไม่ได้ "แสดงว่า ยังไม่ก้าวหน้า"
การปฏิบัติก็เพื่อ ..ให้ยอมรับความจริง..ว่า "ไม่มีอะไร เป็นไปตามความต้องการของเรา". ..................................... . จุลธรรมนำใจ25 กัณฑ์423 ธรรมะบนเขา 24/4/2554 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
#ร่างกายมันแก่ไปทุกวันทุกวัน #มันมันไม่ได้ฟังเสียงใคร เรามีความแก่เป็นธรรมดา นั่นฟังสินั้น #เราพ้นความแก่ไปไม่ได้ แต่อันนี้มันธรรมดา ๆ ๆ พากันหมั่นละความชั่วนะ ไหนมันจะแก่เราไม่ประมาท
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ๆ ๆ รู้เป็นความจริงแล้วเป็นธรรมชาติ ไม่ประมาท เราจะพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นเเดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ นั่น มีกรรมเป็นผู้ติดตาม เราจะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น ๆ เราควรพิจารณาอย่างนี้ทุกวัน ๆ เถิด พุทธเจ้าท่านว่า
ไปพิจารณา... #ผมหงอกแล้วก็หาย้อม กลัวจะไม่ดำ ย้อมแล้วก็งอกเหมือนเดิม มันตื่นตัวเองเกินไป สัตว์โลกมันตื่นตัวเอง ตาขีดคิ้วเข้า เหลือเกินมันผิดธรรมชาติ สร้างให้เจ้าของทุกข์ . พ่อแม่ครูอาจารย์องค์หลวงปู่ปรีดา หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
#ธรรมะจากใจ
ตอน #ชีวิตคนเรามีทางอยู่สองแพร่ง โดย #พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์
...ชีวิตของคนเรานั้นมีทางอยู่ ๒ แพร่ง
แพร่งหนึ่งนั้นคือ #ทางไม่ดี เรียกว่า #ความชั่ว แพร่งหนึ่งนั้นเรียกว่า #ทางดี คือ #ความดี
และความดีนั้นและความชั่วนั้นมีผลแตกต่างกัน
ความชั่วการทำบาป การคดโกง การหลอกลวง การฆ่าฟันซึ่งกันและกัน การที่ลักขโมย การที่ประพฤติกาเมสุมิจฉาจาราลูกเมียคนอื่น การดื่มกินซึ่งสุราเมรัยยาเสพติด นี้เรียกว่าความชั่ว
ความชั่วนั้นจะต้องเดินทางไปเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งจะต้องไปเกิดที่นั้นหลายร้อยปี
ส่วนทางดีนั้นเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้วก็ต้องไปสู่สวรรค์ สวรรค์คือสถานที่รื่นเริงและมีความสุข อยากได้อะไรคิดเอาก็ได้ เรียกว่าสวรรค์ชั้นเทพ
นอกเหนือจากนั้นเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็มาพบทางที่สุขสันต์มีความสุขด้วยประการทั้งปวง
มนุษย์จึงมีหนทางเลือกอยู่ ๒ ทาง...
คัดมาจากส่วนหนึ่งในหนังสือ "ธรรมะจากใจ" หน้า ๖๙ ย่อหน้าที่สอง
#พระพรหมมงคลญาณ วิ. #พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์สิรินฺธโร
สติ เป็น ตปะธรรม
คนที่ใจไม่อยู่กับตัว เที่ยวแส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งอดีต อนาคต ผู้นั้น ก็จะต้องพบกับความร้อนใจ ด้วยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนผู้ที่ไม่อยู่ในบ้านในเรือนของตัว วิ่งไปเที่ยวนอกบ้าน มันก็จะต้องโดนแดดบ้าง ฝนบ้าง ถูกรถชนบ้าง ถูกสุนัขบ้ากัดบ้าง อะไรต่างๆ เหล่านี้ ถ้าหากเราอยู่แต่ในบ้านของเราแล้ว ( ฝึกทำสมาธิ ๆ นี้เป็นบ้านที่น่าอยู่) แม้จะมีภัยอันตรายบ้าง ก็ไม่สู้มากนัก และก็จะไม่ต้องประสบกับความร้อนใจด้วย
ลมหายใจเข้า-ออก เปรียบเหมือนกับ ไส้เทียนหรือไส้ตะเกียง สติ ที่เข้าไปกำหนดอยู่ เหมือนกับไฟไปจ่อไส้ตะเกียงที่มีน้ำมัน อันเป็นเหตุนำมาซึ่งแสงสว่าง ไส้เทียนที่เขาควั่นแล้วจุดไฟขึ้น แม้เพียงเล่มเดียว สามารถจะทำลายเผาบ้านเมืองให้พินาศไปได้ฉันใด สติอันเดียวนี้ ก็สามารถทำลายแผดเผาความชั่วร้ายในตัวเรา คือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้พินาศหมดสิ้นไปได้ “สติ” จึงเป็นตัว ตปะธรรม ๑ สติ เป็น “ตัวเหตุ” เป็นตัวอุปการี (ควรฝึกสติ เพราะสติมีอุปการคุณมาก) ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมให้ “สมาธิ” ของเราเจริญขึ้น สตินี้ ท่านเรียกว่า มาติกากุสลา แปลว่า “แม่ของบุญกุศล”
๏ สติ คือเชือก จิต เหมือนลูกโค ลม เป็นหลัก ต้องเอา สติ ผูก จิต ไว้กับ ลม จิต จึงจะไม่หนีไปได้ สติ เป็นชีวิตของ ใจ ลม เป็นชีวิตของ กาย ถ้าลมหายใจของเรานี้อ่อนลง สติก็จะอ่อนตามด้วย ลมภายนอก กับลมภายในนั้น ต่างกัน ลมภายนอกนั้น แต่งไม่ได้ ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ลมภายในนั้น แต่งได้ ปรับปรุงแก้ไขได้ ถ้า จิตใจเรา ตั้งตรง เป็นหลัก อยู่กับที่ มีสติ อยู่กับลมหายใจเข้า-ออก อยู่เสมอแล้ว นิวรณ์ และ กิเลสทั้งหลาย ก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้
จิต ของเรา เหมือนอาหารที่อยู่ในชาม “สติ”เสมือน ฝาชาม ถ้าเรา ขาดสติ เท่ากับเปิดฝาชามไว้ แมลงวัน (กิเลส) ย่อมจะบินมาเกาะ เมื่อเกาะแล้วมันก็กินอาหาร แล้วก็ขี้ใส่บ้าง นำเชื้อโรคมาใส่ให้บ้าง ทำให้อาหารนั้น เป็นโทษ เป็นพิษ เมื่อเราบริโภคอาหารที่เป็นพิษ เราก็ย่อมได้รับทุกข์ประสบอันตราย ฉะนั้นเราจะต้องคอยระวังปิดฝาชามไว้เสมอ อย่าให้แมลงวันมาเกาะได้ จิตของเราก็จะบริสุทธิ์สะอาด เกิดปัญญา เป็นวิชชา ความรู้
อีกนัยหนึ่ง: จิตใจของเรา เหมือนขันหรือตุ่มน้ำ ขันนั้นถ้าปากมันหนาข้างบางข้าง ก็ย่อมตั้งตรงไม่ได้ น้ำก็จะต้องหก หรือตุ่มมันเอียง มันแตกร้าว น้ำก็ขังอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉันใดก็ดี “บุญกุศล” ที่จะไหลมาขังอยู่ “ในจิตใจ” ของเราได้เต็มเปี่ยม ก็ด้วยการทำจิตให้เที่ยง ไม่ตกไปในสัญญาอดีต อนาคต ทั้งดีและชั่ว บุญกุศล ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำบาดาล หรือน้ำตก ก็จะไหลซึมซาบมาหล่อเลี้ยง กาย ใจ ของเราอยู่เสมอ ไม่ขาดสาย ไม่มีเวลาหยุด เป็น “อกาลิโก” ให้ผลไม่มีกาล การปรับปรุงจิตใจนั้น เราต้องคอยตรวจตราดูว่า ส่วนใด ควรแก้ไข ส่วนใด ควรเพิ่มเติม ส่วนใด ควรปล่อยวาง จะแก้ไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะปล่อยไปอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูว่า สิ่งใดควร แก่ข้อปฏิบัติของเรา เราก็ทำ
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
"...การเลือกคู่ครองเพื่อหวังพึ่งเป็นพึ่งตายจริง ๆ ควรถือเป็นกรณีพิเศษกว่าสิ่งอื่นใด เพราะคู่ครองนั้นเป็นเหมือนกับใช้ลมหายใจและความเป็นอยู่ทุกด้านร่วมอันเดียวกัน ความสุข ทุกข์ น้อยมากย่อมเป็นสิ่งกระเทือนถึงกันทุกระยะ ผู้ได้คู่ครองที่ดี แม้ตัวจะต่ำบ้างทางฐานะความรู้ความฉลาด การประพฤติ จริตนิสัย แต่ก็ยังดีที่มีผู้คอยฉุดคอยลากคอยให้คติเตือนใจเสมอ และพาประพฤติดำเนินในกิจการต่าง ๆ ทั้งทางโลกอันเป็นเครื่องส่งเสริมครอบครัวให้มั่นคงและสงบสุข และทางธรรมซึ่งเป็นความดีงามแก่จิตใจ ตลอดการงานอย่างอื่นที่พลอยมีส่วนดีงามไปด้วย ไม่มืดมิดปิดตากำดำกำขาวไปถ่ายเดียว โดยหาความแน่นอนและรับรองผลไม่ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างดีด้วยกันก็เท่ากับต่างช่วยกันสร้างวิมานหลังใหญ่ในครอบครัว ให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันไปตลอดอวสาน ไม่มีการทะเลาะวิวาทถกเถียงกัน ครัวเรือนย่อมเป็นสุข ไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจมารบกวน เพราะต่างฝ่ายต่างสร้างสรรค์ ต่างฝ่ายต่างสำรวมระวัง ต่างฝ่ายต่างตั้งอยู่ในเหตุผลหลักธรรม ไม่ทำตามใจชอบที่ผิดจากหลักศีลธรรม อันเป็นหลักรับรองความร่มเย็นผาสุกต่อกัน คู่ครองแต่ละฝ่ายจึงเป็นผู้ช่วยกันสร้างกรรมดี ชั่ว สุข ทุกข์ บุญ บาป นรก สวรรค์เกี่ยวเนื่องกันแต่เริ่มต้นชีวิตร่วมกันเป็นต้นไปเหมือนลูกโซ่ ทั้งปัจจุบันชาตินี้ตลอดอนาคตของภพชาติต่อไป..."
:จากหนังสือชีวประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดยท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) จ.อุดรธานี (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๕๕๔)
" คนมา "ผ่านโลก" ไม่ได้มา "ประจำโลก" คือ มาพบกันชั่วคราว เท่านั้นเอง
ฉะนั้น "ตัวอกุศลมูล" มีโลภ โกรธ หลง ควรละเสียบ้าง ถึงละได้ไม่มาก ก็ยังดีกว่าสะสมมันเอาไว้ "
โอวาทธรรม หลวงพ่อไปล่ ฉันทสโร
“ใครจะว่าเราดีเราชั่วนั้น ไม่ใช่อยู่ที่คนพูด แต่อยู่ที่ การกระทำของเราต่างหาก ถ้าหากเขาว่าเราดี แต่เราไม่ดีจริง ก็ไม่มีความหมาย”
หลวงพ่อเกษม เขมโก
“นักบวช อย่าไปขอ อย่าไปเรี่ยไร ให้เป็นเรื่องของศรัทธาญาติโยม การก่อสร้างร่างแปลนใดๆ นั้น มีเงินพร้อมแล้ว จึงค่อยทำ เงินไม่มี อย่าไปทำ อย่าไปขอ อย่าไปเรี่ยไร เมื่อทำให้เป็นเรื่องของ ศรัทธาญาติโยม สูเจ้านักบวชให้ตั้งใจ รักษาพระธรรมวินัย ตั้งใจภาวนาไป”
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
อารมณ์ที่ผ่านเข้ามา. ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. พระองค์ทรงให้พิจารณาทันที.
หลวงปู่พุธ ฐานิโย
ความพอใจ. และความไม่พอใจ. มีอยู่ที่ใด. ความทุกข์. ย่อมปรากฏอยู่ที่นั่น.
หลวงปู่พุธ ฐานิโย
#บุญนั้นไม่ได้เกิดแต่การบริจาคทานอย่างเดียว
บุญเกิดจากการรักษาศีล บุญเกิดจากการภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจริญภาวนา เป็นบุญที่สามารถทำได้ไม่เลือกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคนแก่คนเฒ่าหรือเด็ก หญิงหรือชาย หรือคนเจ็บป่วยก็ตาม สามารถทำได้ . #คนที่มีสติปัญญา_ยืนเดินนั่งนอน_ก็เป็นบุญแล้ว
ทำการทำงานก็เป็นบุญ ทุกสาขาอาชีพที่เป็นอาชีพบริสุทธิ์ ถ้าเราระลึกพุทโธคราวใด บุญก็เกิดขึ้นคราวนั้น ไม่ต้องหาไกล คนมีปัญญาไม่ต้องหาไกล หาอยู่ในกาย หาอยู่ในวาจา หาอยู่ในจิต . #หลวงปู่มั่น #ภูริทัตโต จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดยหลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
#หมาแมวทุกตัว_สัตว์ทุกตัว_มีจิตเหมือนเรา
บางตัวอาจดีกว่าเรา แต่กรรมก่อนตายบังคับ ให้เขา มาเกิดอย่างนี้..
อาจจะเป็นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ในอดีตก็ได้ หากเราไปเตะเขา เบียดเบียนเขา ก็เท่ากับ เตะญาติ ของตัวเอง...
เมื่อเขาตาย ก็ไปเสวยกรรมดีต่อ อาจเป็น เทวดา พรหม แล้วบำเพ็ญ บารมีต่อไปนิพพานก็ได้ ฉะนั้น เตะสัตว์ อาจมี บาปไม่มีประมาณ ก็ได้... "
#หลวงปู่บุดดา_ถาวโร
#การตายนั้น #นักปราชญ์บัณฑิตท่านเห็นเหมือนกับว่าเป็นการแก้ผ้าขี้ริ้วออกโยนทิ้งไปจากตัวเท่านั้น
จิตก็เหมือนกับตัวคน กายก็เหมือนกับเสื้อผ้า ไม่เห็นว่าเป็นการสลักสำคัญอะไรเลย
แต่พวกเรานี่สิกลัวนัก พอเห็นเสื้อผ้าขาดนิดขาดหน่อย ก็รีบหาอะไรมาปะมาเย็บให้มันติดต่อเข้าไปใหม่ ยิ่งปะยิ่งเย็บ มันก็ยิ่งหนา ยิ่งหนาก็ยิ่งอุ่น ยิ่งอุ่นก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งหลง ผลที่สุดเลยไปไหนไม่รอด
#นักปราชญ์บัณฑิตนั้น_ท่านเห็นว่าการอยู่การตายไม่สำคัญเท่ากับ_การทำประโยชน์
ถ้าการอยู่ของท่านมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว ถึงผ้ามันจะเก่า เสื้อมันจะขาดจนเป็นผ้าขี้ริ้ว ท่านก็ทนใส่มันได้ แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใครแล้ว ท่านก็แก้มันโยนทิ้งไปเลย
#ผิดกับคนธรรมดาสามัญอย่างเราที่ไม่มีใครอยากตาย
พอพูดถึงตาย ก็กลัวเสียแล้ว ถึงร่างกายมันจะตายก็ยังอยากจะให้มันอยู่ บางคนร่างกายมันจะอยู่ ก็อยากจะให้มันตาย ตายไม่ทันใจเอามีดมาเชือดคอให้มันตายเร็วเข้า เอาปืนมายิงให้มันตายบ้าง กระโดดให้รถไฟทับตายบ้าง กระโดดลงแม่น้ำให้มันจมตายบ้าง ฯลฯ
#อย่างนี้นี่เป็นเพราะอะไร ?
เพราะอวิชชา ความไม่รู้เท่าความเป็นจริงในสังขาร หลงผิด คิดผิดทั้งหมด อย่างนี้มันก็จะต้องตายไปตกนรกหมกไหม้ ไม่รู้จักผุดจักเกิด
#ทุกคนย่อมรักตัวของตัวเองยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด
แต่การรักตัวนั้น มี ๒ สถาน คือ รักอย่างลืมตัว เผลอตัวและหลงตัว นั้นอย่างหนึ่ง การรักเช่นนี้ ไม่เรียกว่า การรักตัว เพราะไม่กล้าจะทำความดีให้แก่ตัวเอง จะทำความดี ก็กลัวอย่างนั้นกลัวอย่างนี้ กลัวว่าตัวเองจะได้รับทุกข์ยากลำบากต่างๆ
เช่น อยากไปวัด ก็กลัวไกล กลัวลำบาก กลัวแดดกลัวฝน จะถือศีล อดข้าวเย็นก็กลัวหิวกลัวตาย จะให้ทานก็กลัวยากกลัวจน จะนั่งภาวนา ก็กลัวปวดกลัวเมื่อย
เช่นนี้เท่ากับคนนั้นตัดมือ ตัดเท้า ตัดปาก ตัดจมูก ตัดหู ฯลฯ ของตัวเอง ผลดีที่จะได้อันเกิดจากตัวก็เลยเสียไป นี่เป็นการรักตัวในทางที่ผิด
#การรักอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า_เมตตาตัว
คือ หมั่นประกอบบุญกุศลและคุณความดีให้มีขึ้นในตน ขณะใดที่จะเกิดประโยชน์จากตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ฯลฯ ของตนเองแล้ว ก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสให้เสียไป
มือของเราที่จะให้ทานก็ไม่ถูกตัด เท้าของเราที่จะก้าวเดินไปวัดก็ไม่ถูกตัด หูของเราที่จะได้ฟังเทศน์ก็ไม่ถูกตัด ตาที่จะได้พบเห็นของดีๆ ก็ไม่ถูกปิดมืด เราก็จะได้รับผลได้อันดีจากตัวของเราอย่างเต็มที่
#อย่างนี้เรียกว่า_เมตตาตัว
เป็นการรักที่ถูกทาง ผู้นั้นจะมีแต่ความสุข คนใดที่ขาดเมตตาตัวเอง เท่ากับฆ่าตัวเอง เรียกว่า เป็นคนใจร้าย
เมื่อฆ่าตัวเองได้ ก็ย่อมฆ่าคนอื่นได้ด้วย เช่น เขาจะไป ห้ามไม่ให้เขาไป เขาจะดู ห้ามไม่ให้เขาดู เขาจะฟัง ห้ามไม่ให้เขาฟัง ฯลฯ ทำให้ผลประโยชน์ของคนอื่นที่ควรจะได้พลอยเสียไปด้วย
นี่แหล่ะเป็นการฆ่าตัวเองและฆ่าคนอื่นให้ตายไปจากคุณความดี
#ท่านพ่อลี #ธมฺมธโร คัดลอกมาจาก : แนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. โดยชมรมกัลยาณธรรม. ปี ๒๕๕๒, หน้า ๖๕-๖๗.
#มาเพ่งโทษและจับผิดกันเถอะ...
การจับผิดและเพ่งโทษคนอื่นไม่สงบแน่ เพราะเป็นการค่อยๆ สะสมยาพิษคือพยายาทอยู่ในใจ
แต่การจับผิดและเพ่งโทษที่ดีก็มี การไม่เข้าข้างตัวเอง รับรู้และยอมรับกิเลสของตน คือการจับผิดแบบดี
#เพราะเป็นก้าวแรกไปสู่การเบื่อกิเลส และ #การหาทางปล่อยวาง
#การฝึกตนสำนึกในข้อเสียของสิ่งทั้งหลายที่เราชอบหลงไหล คือ #การเพ่งโทษแบบดี ทำให้เรารู้เท่าทันสิ่งทั้งหลาย อยู่อย่างไม่ประมาท
#จับผิดและเพ่งโทษอย่างนี้ไม่เสียหาย
พระอาจารย์ชยสาโร
#ซ้ำๆแต่ไม่เหมือนเดิม
สิ่งที่เรา #ดูเหมือนว่าทำซ้ำๆ #ที่จริงๆมีความใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ที่ซ้ำเหมือนเดิม มันเป็นเรื่องภายนอก เป็นเรื่องอากัปกริยาภายนอก เช่น เดินจงกรมดูภายนอกว่าซ้ำ สร้างจังหวะก็ซ้ำ #แต่ข้างในใจมันไม่ซ้ำ
เหมือนกับเราสวดมนต์ สวดบทซ้ำๆ แต่ว่า #ถ้าเรามีสติ #ใส่ใจกับการสวด #มันจะได้อะไรใหม่ๆอยู่เสมอ เพราะถึงแม้ว่าจะมีเป็นบทสวดซ้ำ แต่ #ใจไม่ซ้ำ #ใจไม่เหมือนเดิม สวดมาเป็นพันครั้งก็ยังได้อะไรใหม่ๆจากบทสวดมนต์เสมอ
อันนี้จากประสบการณ์ส่วนตัว #มันมีอะไรใหม่ๆให้ได้เรียนรู้ให้ได้คิด เพราะว่า ถึงว่าจะเป็นบทสวดที่ซ้ำ แต่ใจไม่ได้ซ้ำตลอดเวลา #มันเป็นอนิจจัง
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
#ความคิดเป็นจำเลยหมายเลข ๑
#ความคิด เป็นความหยาบคาย เป็นจำเลยหมายเลข ๑ ของบาป ของกุศล แต่ก่อนไม่รู้ความคิดว่า... เป็นจิตตานุปัสสนา นี่ไม่เคยเห็น
พอมาเป็นแล้ว โธ่ (ความคิด) จำเลยหมายเลข ๑ เป็นโทษหนัก
#กาย เป็นจำเลยหมายเลข ๒
#วาจา เป็นจำเลยหมายเลข ๓
ทำกรรมได้สำเร็จทั้งสามประการ ...
#ต้นตอมันคือความคิด ความคิดมันเกิดจากความหลง #สาวมันไป และ #มีความรู้ก็ควบคุมได้ .................. หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ จากหนังสือ “ทำไมต้องปฏิบัติธรรม
#การได้หลัก
การได้หลัก #หมายถึงเรามีความคล่องตัวในการดูความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เห็นความคิดปรุงแต่ง
เมื่อเกิดภาวะที่เห็น ก็ทำให้เราไม่เป็นไปกับความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้น
“#การเห็น” นี่เป็นหลัก #สำคัญเพราะสามารถถลุงและย่อยกิเลสออกทั้งหมด
#ภาวะที่ดูไปๆเรื่อยๆ นี้ #จะไปเห็นเรื่องสมมติ เห็นเรื่องทุกข์ภาวะที่ดู ทำให้เกิดความคล่องตัว คล้ายกับว่าเป็นเครื่องมืออย่างดี ทำให้ผ่านทางชีวิตได้ตลอดและไม่พบทางตัน
#การไม่เห็นทุกข์ หรือความทุกข์ที่เกี่ยวกับรูปและนาม #ทำให้เรายึดรูปทุกข์ #นามทุกข์ #เป็นภาระไปหมด
ครั้นเมื่อ #เราเห็นแจ้ง #ทุกข์บางอย่างหลุดทันที #เพราะเราเห็นโลกนี้เต็มไปด้วยสมมติ
หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
เ ผ ล อ แ ล้ ว เ อ า ใ ห ม่
ภาวะอาการที่จิตใจเลื่อนลอยขาดสติ จิตใจอึดอัดขัดเคืองนี้จะเป็นมากๆ ก็ในตอนที่เราเริ่มต้น ฝึกเจริญสติใหม่ๆ นี้แหละ จะเป็นกันทุกคน
เพราะแต่เดิมมา เราเคยชินมากับการคิดนึกอะไร ไปตามความคิด ตามอารมณ์ตามใจตนเองจนเคย เมื่อพยายามที่จะตั้งสติปลุกความรู้สึกตัวขึ้นมา จึงเป็นการทวนกระแส ทวนพฤติกรรมเก่าๆ ที่เราเคยเป็นมา
#อุปสรรคต่างๆ #จึงมีมากเป็นธรรมดา
ดังนั้นในขั้นต้นนี้ เราจึงต้องอาศัยใจรัก และมีความเพียรพยายามอย่างมากที่จะหัดตั้งสติ ครองความรู้สึกตัวขึ้นมาให้ได้ ตั้งใจทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสร้างจังหวะ เคลื่อนไหวกายไปมา
#หัดทำด้วยความรู้สึกตัว ให้มาก ใจเราจะเผลอคิด ไปทางอื่นสักร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เป็นไร ให้ถือว่าเรายังอ่อนหัดอยู่ยังเป็นผู้ใหม่อยู่
ให้มีกำลังใจ มีความเพียรพยายามเอาไว้ให้ดี ตั้งสติทำความรู้สึกตัวเอาไว้เรื่อยๆ เผลอไปแล้วก็กำหนดใหม่ เผลอแล้วเอาใหม่
หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
|