...ในพระสูตรนี้ ท่านสอนพระภิกษุให้นั่งสมาธิก่อน ให้ไปหาที่สงบตามโคนไม้ ตามป่าตามเขา แล้วก็ให้นั่งขัดสมาธิ หลับตา กําหนดจิตดูลมหายใจเข้าออก
"เมื่อออกจากสมาธิก็ให้มีสติอยู่กับ การเดิน ยืน นั่ง นอน แล้วก็ให้พิจารณาดูกาย พิจารณาดูอาการ ๓๒ ดูซากศพ ดูอสุภะ อะไรต่างๆ เหล่านี้ แล้วก็ให้พิจารณาดูเวทนา ว่ามีสุข มีทุกข์ มีไม่สุขไม่ทุกข์ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็..ให้ปล่อยวางตามความเป็นจริง"
อ่านหนังสืออยู่เกือบ ๓ เดือน แต่ยังไม่ได้นั่งสักครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง ก็ถามตัวเองว่า "ทําไมยังไม่นั่งสักที" พอได้สติปั๊บ ก็นั่งเลย...นั่งตอนนั้นเลย "เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติ"
..ถ้าไม่เริ่มปฏิบัติ..ก็จะไม่ได้ปฏิบัติ.. จะมีเรื่องนั้นเรื่องนี้มาคอยหลอกล่ออยู่ตลอดเวลา ก็จะผัดวันไปเรื่อย อาทิตย์หน้า เดือนหน้า ให้เสร็จเรื่องนี้ก่อน. ........................................ มหาเศรษฐีที่แท้จริง หน้า 28 ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
เรื่อง "ฝากคนอื่นไปทำบุญแทน จะได้บุญหรือไม่"
(วิสัชนาธรรมโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
โยม : ถ้าให้คนอื่นทำบุญแทน เราจะได้บุญหรือเปล่า ?
หลวงพ่อพุธ : ถ้าเป็นสมบัติของเรา เราให้คนอื่นเขาทำแทน เราจะได้บุญหลายทอด
ทอดที่ ๑ เป็นบุญเพราะสละสมบัติของเราออกไป ทอดที่ ๒ เป็นการแบ่งบุญให้เขา เมื่อเราให้คนอื่นเขาทำ เราก็ได้บุญเพิ่มขึ้น เป็นการแบ่งปันความสุขให้กันและกัน
โยม : ถ้าฝากคนอื่นเขาทำบุญ แล้วเราจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลได้หรือไม่ ?
หลวงพ่อพุธ : ทำได้ มีปัญหาอยู่ว่าคนเฒ่าคนแก่โบราณ มักจะพูดว่า "ทำบุญแล้วไม่กรวดน้ำจะไม่ได้บุญ" อันนี้ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แล้วก็แก้กันอยู่บ่อยๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว เราทำอะไรลงไปแล้ว เราจะได้รับผลอย่างแน่นอน เราไม่ต้องการกรวดน้ำเราก็ได้ แต่หากเราจะทำบุญเพื่ออุทิศให้ใครสักคนหนึ่ง ถ้าเราไม่น้อมใจนึกถึงเขา เขาก็จะไม่ได้รับส่วนบุญจากเรา จึงมี "พิธีกรวดน้ำ" เพื่ออุทิศส่วนกุศล แต่ถ้าหากพูดถึงเรื่องส่วนตัว เราจะกรวดก็ตาม ไม่กรวดก็ตาม ทำลงไปแล้วจะได้ผลเฉพาะตัวเรา ถ้าจะให้คนอื่นด้วย ต้องตั้งจิตอธิษฐานว่าเราจะให้ส่วนบุญแก่คนๆนั้น เขาก็จะได้รับส่วนบุญจากเรา
โยม : ถ้าอุทิศส่วนกุศลไปแล้ว บุญของเราจะเหลืออยู่หรือเปล่า ?
หลวงพ่อพุธ : สำหรับการให้ส่วนบุญ เป็นการแบ่งส่วนความดีที่เราทำให้กับคนอื่น "บุญที่เราทำนั้นไม่ได้หมด" แต่ยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้น แทนที่จะได้เฉพาะส่วนที่เราทำอย่างเดียว แต่เราได้ให้ส่วนบุญแก่คนอื่นด้วย การให้ส่วนบุญคนอื่นนั้น เรียกว่า "ทานบุญ" ให้บุญเป็นทาน และถ้าสมมุติว่าเราเดินไปในที่ไหนๆก็ตาม ไปเห็นใครเขาทำบุญสุนทาน คนที่เขาทำจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม แต่เราเห็นแล้ว "เราอนุโมทนา" แสดงความยินดีในบุญที่เขาทำ เราก็ได้บุญเหมือนกัน คือ "บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา"
โยม : การทำบุญจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทำกับพระสงฆ์ ถ้าทำกับคนทุกข์คนยากจะได้บุญหรือไม่ ?
หลวงพ่อพุธ : "การทำบุญ" คือ "การให้" ไม่เฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนาอย่างเดียว แต่เป็นอุบายผูกมิตรไมตรีระหว่างเพื่อนมนุษย์ เราอยู่ร่วมกัน ต่างคนต่างให้ซึ่งกันและกัน ให้วิชาความรู้ ให้สิ่งของ ให้การช่วยเหลือ ได้ชื่อว่า "การให้ทาน" ทั้งสิ้น ผู้ใดมีศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างถนนหนทาง สร้างโรงพยาบาล สร้างสาธารณะประโยชน์ ฯลฯ นับเป็นการให้ทาน เป็นการทำบุญ ได้บุญเหมือนกัน
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
เรื่อง "อำนาจกรรมทำให้มนุษย์มีเหลื่อมล้ำต่ำสูง"
เกิดเป็นมนุษย์ มันก็ต้องมี "เหลื่อมล้ำต่ำสูง" กว่ากัน ความเป็นอยู่ในครอบครัวของแต่ละครอบครัวเกิดขึ้นมา ก็เพราะการ "สร้างกรรม" ก็ต้องอยู่ตามกรรมไปตามกรรม ที่เราสร้างไว้นั่นแหละ ถ้าสร้างกรรมดีไว้มาก ก็จะได้เกิดเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี แต่ถ้าสร้าง ไว้ไม่มาก ก็จะเหมือนกับพวกเรา สุขบ้างทุกข์บ้าง ทุกข์กว่าเราก็เยอะ ขอทานก็มี ก็อยู่ที่การสั่งสมบุญ เพราะเราแต่ละคนสั่งสมบุญกุศลมาไม่เหมือนกัน ถึงได้เกิดมาเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากัน ฉะนั้นต้องพยายามทำตามหลักธรรมคำสอนของพุทธเจ้า ให้เชื่อพุทธเจ้า ถ้าใจเรายังมืดบอด มองไม่เห็นอันไหนเป็นบุญอันไหนเป็นบาป ก็ต้องพยายามศึกษาตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเดินรอยตามองค์ท่าน เรื่องการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ตามกำลังศรัทธาที่เราจะปฏิบัติได้ ถ้าเราต้องการความสุข ก็จะเจอความสุขมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้าใครไม่เชื่อหลักธรรมคำสอนของพุทธเจ้าก็จะเจอแต่ความทุกข์ ก็เชื่อแต่กิเลสของเจ้าของก็จะต้องเจอแต่ความทุกข์ไปเรื่อยๆแหละ หัวใจของเราถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสมาช้านานต้องใช้ธรรมะของพุทธเจ้าเท่านั้น ถึงจะขัดเกลากิเลสออกจากหัวใจเราได้
โอวาทธรรม หลวงปู่บุญทัน ฐิตสีโล
เรื่อง "สัมมาทิฏฐิ เป็นใหญ่ในมรรค ๘"
"การปฏิบัตินี้ทางที่จะพาให้พ้นทุกข์ได้ คือ มรรค ๘ มรรค ๘ ข้อต้นนั้น ได้แก่ "สัมมาทิฏฐิ" ความเห็นชอบ เห็นชอบ เห็นอะไร คือ เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ คืออะไร คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคคือ มรรค ๘ ฉะนั้น เมื่อปฏิบัติสัมมาทิฏฐิข้อเดียว จึงเท่ากับปฏิบัติทั้งหมด ๘ ข้อ ทุกข์คืออะไร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครคือผู้เกิดผู้ตาย คือร่างกายของเรานี้ ฉะนั้น ร่างกายของเรานี้จึงเป็นตัวทุกข์ เพราะจิตเข้าไปยึดมั่น"
โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"..ฉะนั้น เราอย่าประมาท ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นี้ พยายามทำบุญกันให้มากๆ ทำให้มันมากกว่าทำบาป
เพราะว่า เวลาตายไปนี้ บุญกับบาปจะมาแย่ง กายทิพย์ของเราไป ทางใดทางหนึ่ง
ถ้าบุญมีกำลังมากกว่าบาป บุญก็จะดึงเราไปสวรรค์กัน
ถ้าบาปมีกำลังมากกว่าบุญ บาปก็จะดึงเราไปอบายกัน
นี่คือเรื่องกฎแห่งกรรม "
โอวาทธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
" การบริจาคก็เรียกว่า "ทานมัยกุศล"
บุญซึ่งเนื่องด้วยการ สำรวมกายวาจา ให้เป็นปกติเรียกว่า "สีลมัยกุศล"
และบุญซึ่งเนื่องด้วย การบำเพ็ญจิตใจ ให้บริสุทธิ์สะอาดก็เรียกว่า "ภาวนามัยกุศล"
ฉะนั้น "การภาวนา" จึงเป็นยอดของกุศลทั้ง 3 นี้ และมีคุณภาพสูง
คือสามารถที่จะดึงดูด บุญกุศลน้อยใหญ่ ให้เข้ามารวมอยู่ ในดวงจิตของเราได้ "
โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธัมมธโร
"พวกเราทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันนี้ เป็นญาติกันนะ ญาติความเกิด ญาติความแก่ ญาติความเจ็บ ญาติความตาย ฉะนั้น พวกเราอย่าเอารัดเอาเปรียบกัน ให้มีธรรมไว้ในใจ"
หลวงปู่ชา สุภัทโท
“มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็นจะต้องพูด ด้วยความมีสติ รู้ตัวอยู่
การพูดมาก มีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์ แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้ จะได้ประโยชน์กว่า
คนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังนี่โทษน้อย หรือไม่มีเลย และเป็นผู้ได้รู้ มากกว่าผู้พูด”
หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
ใช้ปัญญาค้นหา. ในดวงจิตอันนี้. อย่าไปเบิ่งผุอื่น. เบิ่งจิตเบิ่งใจจะของนิละสำคัญ .
หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
เมื่อจิตสงบลง จิตรวมลง จึงได้รู้ในสิ่งที่สงสัย มันกะหายสงสัยเลยบัดนิ พุทโธ หรือพระพุทธเจ้ากะอยู่นี้ พระธรรมเจ้ากะอยู่นี้ พระสังฆเจ้ากะอยู่นี้ อยู่ในดวงจิตดวงใจของใครของเราหนี่ละ
ดวงจิตทุกผู้ทุกคนเป็นดวงจิตพระอรหันต์ทั้งนั้น แล้วแต่ไผสิค้นพ้อ มันขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม มีศีลเป็นฐานเบี่ยงต้น มีสมาธิ
ใช้ปัญญาค้นหาในดวงจิตอันนี้ อย่าไปเบิ่งผุอื่นเบิ่งจิตเบิ่งใจจะของนิละสำคัญ ..
คติธรรมหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
ให้พยายาม. เร่งบำเพ็ญตน. ด้วยความพากเพียร. อย่าไปคิดทางอื่นเรื่องอื่น. นอกจากเรื่องของตัว ให้เสียเวลา. และทำให้จิตท้อถอยอ่อนแอไปด้วย
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
|