“อุบายความโกรธ”
...ความโกรธเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์จะใช้สอนลูกศิษย์ลูกหา ท่านจะยั่วยุแหย่โทสะลูกศิษย์อยู่เรื่อย ลูกศิษย์ก็รู้ว่าโกรธครูบาอาจารย์ไม่ได้ ก็โกรธอยู่ข้างในนั้นแหละ แต่ในที่สุดก็ดับได้ เพราะท่านช่วยคุ้ยเขี่ยให้เรา
.บางคนพอได้สมาธิแล้ว ก็คิดว่าบรรลุแล้ว ไม่โกรธแล้ว บางคนฟังเทศน์ฟังธรรมจนซาบซึ้งจิตใจแล้ว ก็คิดว่าไม่มีความโกรธแล้ว เหมือนนิทานเรื่องคุณหญิงคุณนาย ที่ ฟังเทศน์ ฟังธรรมกับหลวงพ่อองค์หนึ่ง ฟังจนซาบซึ้งใจ จนจิตสงบ กิเลสสงบราบ ความโลภความโกรธไม่มีเหลืออยู่ในใจ ก็เลยดีใจไปเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า
.ตั้ ง แ ต่ ห นู ไ ด้ ฟั ง เ ท ศ น์ ฟั ง ธ ร ร มหลวงพ่อแล้ว เดี๋ยวนี้จิตใจหนูเย็นสบาย ไม่โกรธไม่แค้นเลย. หลวงพ่อตอบไปว่า “ อี ต อ แ ห ล ” เท่านั้น ความโกรธก็โผล่ขึ้นมาเลย
.เหมือนเวลาไปกราบหลวงปู่เจี๊ยะ ต้องทําใจมากๆ พอไปถึงท่านจะถามว่า “มาทําไมวะ” เมื่อก่อนเวลาใครไปกราบหลวงตา ท่านจะพูดว่า “มายุ่งทําไม มาไม่ได้เรื่อง ได้ราว” ท่านจะไล่ใหญ่เลย นั่นแหละอุบายของครูบาอาจารย์ สอนเราตั้งแต่ก้าวแรก ที่เข้าไปในวัด ท่านจะแย็บใส่เราก่อนเลย
.ฉะนั้น สิ่งที่ต้องทําใจก็คือ ต้องโดนดุแน่ๆ จะได้ธรรมะจากการทําใจนี่แหละ โดยธรรมชาติ กิเลสชอบการสรรเสริญ ชอบการต้อนรับขับสู้ พอถูกขับไล่ ทําใจ ไม่ค่อยได้ พอไปถึงแทนที่จะต้อนรับกลับถามว่า “มาวุ่นวายทําไม” เป็นเพียงการแย็บดูใจของเราว่า จะเป็นอย่างไร
.ถ้ารับไม่ได้ใจก็ล้มพับไปแล้ว พวกที่รู้ทันก็จะเฉยๆ ท่านจะว่าอย่างไรก็ว่าไป มีหน้าที่ฟังก็ฟังไป เพราะไปก็เพื่อไปฟัง ไม่ได้ไปให้ท่านต้อนรับขับสู้ ลูบหน้าปะจมูกเราชมว่าดีอย่างนี้ดีอย่างนั้น ไปเพื่อฟังธรรมะ คนที่ต้องการธรรมะก็จะทําใจให้สงบ เป็นเหมือนผู้รักษาประตูฟุตบอล คอยรับลูกอย่างเดียว ไม่กําหนดกฎเกณฑ์ว่าจะต้องเตะแบบไหน ต้องรับได้ทุกรูปแบบ จะเตะมาแรงก็ได้ มาค่อยก็ได้
สมัยนั้นจึงไม่ค่อยมีคนไปวัดป่าบ้านตาดกัน เพราะกลัวหลวงตา แต่ก็ดีไปอย่าง สงบเงียบดี ข้าวของก็มีไม่มาก มีพอใช้ ไม่เดือดร้อนอะไร . ...................................... มหาเศรษฐีที่แท้จริง หน้า121-122 ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ
เวลาทำบุญ ให้ทำบุญด้วยรอยยิ้ม ยิ้มก็ถือว่าเป็นบุญ...
หลวงปู่เชอรี่ อภิเจโต
“เวลามันหลง ระลึกได้ขึ้นมา รู้สึกตัว เวลามันโกรธ ระลึกได้ขึ้นมา รู้สึกตัว เวลามันทุกข์ ระลึกได้ขึ้นมา รู้สึกตัว เวลามันกลัว ระลึกได้ขึ้นมา รู้สึกตัว รู้สึกตัว ระลึกได้อย่างนี้คือ การปฎิบัติธรรม”
หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
"เรือที่นายช่างต่อดีแล้ว อย่างแข็งแรง เมื่อถูกคลื่นกระทบแล้ว ไม่เสียหายฉันท์ใด จิตของบุคคลใด เมื่อฝึกฝนให้ดีแล้ว คลื่นของกิเลสกระทบเข้า ย่อมไม่หวั่นไหว ก็ฉันท์นั้น จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้"
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
“..อาศัยความเพียร เท่านั้นแหละ เราจะเพียร อยู่นี่ เกิดภพไหนชาติไหน ก็จะเพียรอยู่นี่แหละ เราไม่ประมาทแหละ
เรารักษาศรัทธาความเชื่อ ของเรา เพราะอะไรทุกอย่าง ก็ล้วนแต่ของเก่าทั้งหมด สาวกพระพุทธเจ้าที่ว่าง่าย ก็ท่านฝึกฝนมายากมาก่อนแล้ว
เอาชีวิตแลกเอา ก็ยังไม่ได้ในอดีตชาติ ปัจจุบันจึงได้ง่ายน่ะ..”
โอวาทธรรม หลวงปู่อว้าน เขมโก
" "ศีล" จัดเป็นเครื่องมือ สำหรับกลั่นกรองคน ออกจากสัญชาตญาณ ของสัตว์ทั่วไปได้ ดีที่สุด
เพราะว่า สัญชาตญาณของมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมา ในโลกนี้ ย่อมมี ความเห็นแก่ตัวเป็นมูลฐาน แล้วก็อิจฉา ริษยา ฆ่าฟัน บั่นทอนกำลังของผู้อื่น
เพื่อจะยื้อแย่ง หยิบฉวย เอาเนื้อหนังแลทรัพย์สิ่งของ ของคนอื่นมาเป็นของตัว
ไม่คิดถึงความชั่วช้า สามานย์ ในการกระทำ อันเป็นบาปกรรมนั้นเลย
"ศีล" ถึงแม้ว่าจะเป็น เครื่องกลั่นกรองอย่างหยาบ ก็ยังได้ชื่อว่า "ละบาป ทางกายและวาจา" ซึ่ง ปรากฏออกมาแก่สายตา ของสามัญชนทั่วไป "
โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
" ทำ "ใจ" ของตนให้แน่วเเน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่า ปรุงแต่งขึ้น
เป็นความพอใจ ไม่พอใจ มันเกิด มันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน
ถ้ารู้เท่าทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป
ตัดอดีต อนาคต ลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ ในปัจจุบัน ละ ในปัจจุบัน ทำ ในปัจจุบัน แจ้ง ในปัจจุบัน
การพิจารณา ต้องน้อมเข้าสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้ง เห็นจริง
เมื่อรู้เเจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็ วางเอง "
โอวาทธรรม หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ
หลวงปู่เทสก์.. ท่านสอนเรื่อง #กรรม..
คนเราเกิดมาไม่มีใครที่จะไม่ทำกรรมเลย.. แต่อยู่ที่ว่าใครจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วเท่านั้นเอง.. พระโสดาบัน.. ท่านไม่ทำกรรมชั่วแล้ว.. คือ ท่านมีศีล5 คนมีศีล.. รักษาศีลไว้ได้ คือ คนที่เกรงกลัวต่อบาป ไม่กล้าที่จะทำบาปอีก..
หลวงปู่สอนว่าคนที่เป็นพุทธแท้จริงๆนั้น.. มีน้อยนัก.. น้อยมาก.. ส่วนใหญ่นับถือไม่จริง.. คนที่เป็นพุทธแท้ ต้องเคารพพระรัตนตรัย ไม่ทำบุญนอกพระพุทธศาสนา ต้องเชื่อกรรม รักษาศีลได้ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือเรื่องหาโชคลาภ และการบวงสรวงต่างๆ ไม่ถือความขลังความคงกระพันในรูปและเหรียญ ท่านบอก.. มีรูปเหรียญของครูบาอาจารย์ ท่านให้ถือกันที่คุณความดีของท่านนั้นๆ.. ให้ระลึกถึงคุณความดี.. ไม่ให้เชื่อเรื่องคงกระพัน.. ให้เชื่อกรรม.. คนเราเกิดมาแล้วต้องตาย.. ไม่มีใครอยู่คงกระพัน..
ฟังพระธรรมเทศนา.. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ใจของเรา. จะไม่ว้าเหว่. เงียบเหงา. ซึมเซา. เพราะเรา. มีพุทโธ. ในใจ.
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
|