นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 8:47 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: มรดก นามธรรม รูปธรรม
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 14 ต.ค. 2020 7:03 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
มรดกมีสองประเภท
ประเภทแรก คือ มรดกที่เป็นรูปธรรม
ประเภทที่สอง คือ ที่เป็นนามธรรม

มรดกที่เป็นรูปธรรมมักจะบันทึกไว้ในพินัยกรรม เช่น เรื่องทรัพย์สมบัติ เงิน ทอง มีบ่อยครั้งที่เป็นเหตุให้เกิดกิเลส และความแตกแยกบาดหมางระหว่างผู้เป็นทายาทของมรดกนั้น มรดกยิ่งมากยิ่งอาจก่อปัญหามาก

ส่วนมรดกที่เป็นนามธรรม หมายถึง คุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับไป ซึ่งเคยเป็นที่ประทับใจของลูกหลานตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ความประทับใจในความดีนั้นคือมรดกมีค่ายิ่ง และไม่เคยเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกหรือบาดหมางในหมู่ทายาทเลย

เมื่อผู้ใหญ่ในตระกูลล่วงลับไป ขออย่าให้ความอยากได้มรดกที่เป็นรูปธรรมครอบงำจิตใจของทายาทเลย แต่ขอให้ทายาททุกคนสำนึกในมรดกที่เป็นนามธรรม เช่น ความเมตตา ความอดทน ความขยัน ของผู้ที่ล่วงลับไป รักษาไว้ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และถ่ายทอดให้ลูกหลานของเรา เพื่อให้คุณธรรมเหล่านั้นกลายเป็นคุณธรรมประจำตระกูล เป็นที่ภาคภูมิใจของทุกๆ คน

พระอาจารย์ชยสาโร









...เพราะธรรมะที่ฟังแต่ละครั้งนี้ จะได้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ท่านพูด ๑๐๐ คํา อาจจะได้เพียง ๑๐ คําเท่านั้นเอง หรือเข้าใจเพียง ๑๐ คํา เพราะจิตของเราวันนั้นอยู่ในระดับนั้น รับได้เพียงส่วนนั้น

.แต่ส่วนที่เหนือความสามารถของเราที่จะเข้าใจได้ก็จะไม่เข้าใจ พอได้ปฏิบัติธรรมได้ขยับขึ้นไปอีกหน่อย “พอกลับมาฟังกัณฑ์เดิมก็เหมือนได้ฟังกัณฑ์ใหม่” เหมือนไม่เคยได้ฟังมาก่อน คราวที่แล้วก็ฟังมาแล้ว แต่ทําไมไม่เหมือนกับคราวนี้ ได้อะไรใหม่ที่ไม่ได้ในคราวที่แล้ว

.จึงอย่าไปคิดว่าธรรมะที่ได้ฟังแล้วนี้ จะซ้ำซากจําเจ หรือไม่มีอะไรใหม่
“มันมี..แต่เราไม่รู้”
ควรฟังธรรมสลับกับการปฏิบัติ ให้ยึดเป็นแนวทางของการดําเนิน

.เวลาเข้าหาครูบาอาจารย์
ไม่ได้เข้าเพื่อเห็นหน้าเห็นตาท่าน
“ไปเพื่อฟังธรรม”
ฟังแล้วจะได้ประเด็นไปปฏิบัติต่อ
มีการบ้านไปทํา ธรรมที่ท่านแสดง
ที่เรายังทําไม่ได้ “เป็นการบ้านของเรา”
ถ้าทําได้แล้วก็หมดปัญหาไป

“การเข้าหาครูบาอาจารย์ต้องเข้าอย่างนี้”

.เวลาไปวัดถ้าไม่ได้นั่งข้างหน้า ไม่ต้องเดือดร้อนใจ ถ้ามีระบบเสียง ที่เราสามารถได้ยินได้ฟัง ก็เหมือนกับนั่งใกล้ชิดกับท่านก็ใช้ได้ “ไปเพื่อธรรมะ เพราะท่านมีธรรมะ” ไม่ต้องการอย่างอื่นจากท่าน.
.............................
มหาเศรษฐีที่แท้จริง หน้า84-85
ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี









“บุญ เป็นอย่างนี้
ลักษณะของบุญ คือ ใจเราดี
ใจเรามีความสุข ใจเรามีความสบาย
เย็นอกเย็นใจ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน
ไม่วุ่นไม่วาย นี่แหล่ะบุญ มีหรือยัง”

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร








"คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่า
มีผู้ดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น
แต่ทางพระพุทธศาสนา ได้แสดงว่า
คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกข์
ก็เพราะกรรม

พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม
ไม่ได้สอนให้ตกเป็นทาสของกรรม หรืออยู่
ใต้อำนาจของกรรม

แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม
ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ








มันไม่ถูกต้อง. ถ้าท่านจะคอยจับตาดูผู้อื่น. ถ้าท่านรำคาญใจ. ให้ดูความรำคาญใจนั้น.

หลวงปู่ชา สุภัทโท









"ทำบุญ ต้องเขียนใบปวารณา แจ้งชื่อสกุล ทีทำบาปไม่เห็นแจ้งชื่อบ้างล่ะ"

ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อปี 2545 ณ ที่พักสงฆ์กลุ่มพุทธธรรมลานทอง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ตามธรรมเนียมพระป่า ท่านจะไม่รับเงินทองด้วยตัวเอง แต่จะให้แจ้งชื่อเอาไว้ ว่าจะถวายอะไรเท่าไร ถวายเพื่ออะไร

ถ้ามีใบปวารณาก็ให้เขียน ถ้าไม่มีก็แจ้งด้วยวาจา แต่คนส่วนมากติดเขียน บางท่านก็มัวแต่เขียน ทำให้เสียเวลาคนอื่น ยิ่งคนมาใหม่ไม่รู้ธรรมเนียมพระป่า ก็อยากจะเขียน

ครั้งหนึ่ง มีคนจำนวนมากกำลังถวายปัจจัย ถวายสิ่งของแด่ครูบาอาจารย์ แต่ก็มีบางคนอยากจะเขียนใบปวารณา ทำให้คนอื่นต้องรอ

หลวงปู่จันทร์โสม ท่านก็เลยเตือนสติว่า ""ทำบุญ ต้องเขียนใบปวารณา แจ้งชื่อสกุล ทีทำบาปไม่เห็นแจ้งชื่อบ้างล่ะ"

เป็นข้อคิดคติเตือนใจนักทำบุญ อย่ามัวแต่รอเขียนใบปวารณามากไปกว่า ความเต็มใจ ความตั้งใจในการทำบุญ ซึ่งการทำบุญ ต้องเร็ว ๆ ไว ๆ อย่าเนิ่นช้า

ในอดีตสมัยหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ยังมีชีวิตอยู่ ท่านยกย่องทานของเจ๊กไฮ ถึงกับกล่าวว่า "ใครทำบุญก็ไม่เหมือนเจ๊กไฮทำบุญ เจ๊กไฮทำบุญ ได้บุญมากที่สุด พรเขาก็ไม่ต้องรับ คำถวายก็ไม่ต้องว่าเขาได้บุญตั้งแต่เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเต็มอยู่แล้ว ไม่ตกหล่นสูญหายไปไหน บุญเป็นนามธรรมอยู่ที่ใจ อย่างนี้จึงเรียกว่า ทำบุญได้บุญแท้.. "

นอกจากเรื่องการเขียนใบปวารณาแล้ว สมัยปัจจุบันยังมีเรื่องของการถ่ายรูปขณะทำบุญถวายของพระ จนครูบาอาจารย์บางท่านกล่าวว่า

#ไปนิพพานช้าก็เพราะมัวแต่ห่วงถ่ายรูป

ข้อคิดเหล่านี้ นักแสวงบุญควรนำไปคิดพิจารณาไตร่ตรองให้ดี "สิ่งใดที่บกพร่องอยู่ให้รีบแก้ไข เพื่อตัวเราเอง"

#หลวงปู่จันทร์โสม #กิตฺติกาโร
วัดป่านาสีดา อุดรธานี


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 88 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO