#หากบุคคลใดได้สร้างคุณงามความดีเอาไว้
ได้ทำบุญทำทานการกุศลรักษาศีลเจริญภาวนา ละบาปความชั่วออกจาก กาย วาจา ใจของตนแล้ว น้อมนึกถึงแต่คุณงามความดีที่ตนเองสร้างเอาไว้
#เราสร้างบุญอะไรได้บวชลูกบวชหลาน ทำบุญทำทานการกุศล สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา โรงร้าน ขุดน้ำบ่อ สร้างถนนให้คนเดินไปมา ทานผ้าผ่อนท่อนสไบ เภสัชปัจจัยทั้งหลาย ได้สร้างสมอบรมไว้ตามอำนาจของกรรมของตนเองเอาไว้ นึกขึ้นมามีคนบอกทำความดีไว้ นึกขึ้นมาว่า รักษาศีลเราก็ได้ รักษาศีลตามกำลังอำนาจของตนที่จะรักษาได้
#ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมมจำคำเทศน์ครูบาอาจารย์สั่งสอนเอาไว้ น้อมนำมาปฏิบัติ เราฟังเทศน์ก็ได้ฟัง เรามาพินิจพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญ เราได้นั่งเจริญเมตตา พัฒนาฝึกฝนอบรมจิตใจ ให้สงบเป็นสมาธิ จิตใจหนักแน่นมั่นคง จิตใจมีความสงบสุขเกิดขึ้น เข้าใจ เราได้เจริญเมตตาภาวนา ไตร่ตรอง
#ควรสร้างสมอบรมจิตใจของเราให้แก่กล้าได้เพียงไหน มีความอบอุ่นใจเรียกว่าวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิตใจ
#เมื่อจิตใจได้ที่พึ่งอย่างนี้เอง เมื่อบุคคล จะบอกหรือไม่บอกก็ตาม เขาเรียกว่า นิจกรรม-กรรมเนืองนิตย์ อยู่ในจิตใจที่มีความสุข อยู่กับคุณงามความดีของตน
#เมื่อจิตวิญญาณจะออกจากรูปร่างกายแล้วจิตใจนั้นไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุขเกิดขึ้น จิตใจของบุคคลที่มีความสุขเวลาออกจากรูปร่างกาย ก็ไปแต่สุคติตามฐานะของบุคคลที่สร้างเอาไว้..
#โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปที่โป
...ถ้า "มีสมาธิ มีจิตที่สงบ" จะเห็นอริยสัจ ๔ ปรากฏขึ้นในใจ เวลามีความอยากให้..ร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
.พอ “เกิดความอยากขึ้นมา” ซึ่งเป็นสมุทัย ต้นเหตุของความทุกข์ ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ทุกข์กาย..ไม่ใช่ทุกขเวทนา พอคิดถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย "ใจก็..ทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ด้วยอำนาจของสมุทัย"
.ที่ไปคิดว่าร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.."เป็นตัวเราของเรา" ก็อยากจะให้สุข ไม่ให้ทุกข์ ถ้าสุข..ก็อยากให้สุขไปนานๆ ถ้าทุกข์..ก็อยากจะให้หายไปเร็วๆ "อยาก"ให้ร่างกายอยู่ไปนานๆ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
.อย่างนี้เป็นตัณหาความอยาก.. เป็นสมุทัย "ต้นเหตุของความทุกข์ใจ" เวลาบรรลุธรรมก็บรรลุตรงนี้ "ตรงที่เห็นอริยสัจ ๔ ภายในใจอย่างชัดเจน" ได้เห็นทุกข์ ได้เห็นสมุทัย
.ถ้าเคยได้ยินได้ฟังธรรมคือ มรรค ที่พระองค์ทรงสอนว่า.. "ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" พอเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็จะละอุปาทาน ละตัณหา ความอยากให้ขันธ์ ๕... เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เพราะรู้ว่า ไม่สามารถฝืนความจริงของขันธ์ ๕ ได้ “เป็นอย่างไร ก็ต้องยอมรับ”
.พอยอมรับความจริง "ทุกข์ที่มีอยู่ในใจ ก็ดับไปทันที" เพราะ..สมุทัยหยุดทำงาน "หยุดอยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย" ปล่อยให้เป็นไปตามความจริง
.จะเป็นอย่างไรก็สักแต่ว่ารู้ รู้ด้วยสติ..รู้ด้วยปัญญา รู้ว่าเป็นไตรลักษณ์ ..รู้ว่าต้องปล่อยวาง พอปล่อยวางได้.."ความทุกข์ใจก็หายไป" นี่..คือ "อริยมรรค อริยผล". ......................................... กำลังใจ54 กัณฑ์ 425 ธรรมะบนเขา 12/6/2554 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"การที่จะหลุดพ้นความทุกข์ในวัฏสงสารนี้ได้ ไม่ใช่มาจากการอ่านตำรา แต่มาจากการทำความเพียร เจริญจิตภาวนา เพราะกิเลสนั้นอยู่ภายในใจ ไม่ได้อยู่ในสมอง ถ้ากิเลสอยู่ในสมองจริงๆ ก็คงไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถ้าตายไป สมองก็ตาย กิเลสก็ตายไปด้วย แต่เหตุการณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อไปเกิดใหม่กิเลส ทุกอย่างมันตามไปด้วยทั้งหมด
การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จึงต้องฝึกกันที่ใจ ไม่ใช่ที่กาย กายนี้สักวันต้องทิ้ง สิ่งที่นำไปได้มีเพียงบุญและบาป ที่อยู่ภาย ในใจ หากใจดี ก็ไปสู่ภพภูมิที่ดี หากใจชั่ว ก็ต้องอยู่ในภพภูมิที่ชั่ว ธรรมดาของโลกของธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้.. " ------------------------- #คติธรรมคำสอน #หลวงปู่พรหม_จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
#ต้นธรรม
หลวงพ่อเยื้อน : ท่านคมอยู่ไหน เข้ามานี่ ผมเป็นปุ๋ย ท่านคมเป็นน้ำ เราช่วยกันปลูกต้นธรรม ต้นนี้คือต้นธรรม พวกท่านทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาต้นธรรมนะ เอาให้ถึงธรรมแท้ ให้ถึงจิตนะ..
คำกล่าวของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ขณะปลูกต้นไม้ (ต้นธรรม) ร่วมกับพระอาจารย์คม อภิวโร ณ วัดป่าธรรมคีรี (จันดีอนุสรณ์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
..ชีวิตของคนเรานี้ได้เกิดมาด้วยอำนาจของกรรม สูงๆต่ำๆดำๆขาวๆ สวยสดงดงาม ขี้ร้ายขี้เหร่ก็ดี ร่ำรวยมั่งมีทุกข์จนก็ด้วยอำนาจของกรรมทั้งนั้น
เมื่อเราแน่ใจ เห็นว่าทำดีมีความสุขใจ ทำบาปความชั่วมีความทุกข์ใจ ด้วยกายวาจาใจ แม้จะทำบาปด้วยกายทำบาปด้วยการพูดการจา ทำบาปด้วยการคิดในจิตในใจ
ก็เป็นหนทางให้เกิดทุกข์แก่บุคคล ที่สร้างบาปเกิดขึ้นกับตน ก็ได้รับผลตามนั้นตามกรรมของตนที่ได้สร้างเอาไว้
บุคคลที่ได้ทำความดีด้วยกาย เกิดขึ้นมาแล้วมีกายบริสุทธิ์บริบูรณ์ดี ก็เรียกว่ามาด้วยบุญด้วยกุศลที่ตนเองได้สร้างเอาไว้
พูดจาปราศรัยก็ดี มีเหตุมีผลมีคุณงามความดีชักชวนกันทำซึ่งคุณงามความดีก็ดี พูดจาก็ไพเราะเสนาะหูซึ่งกันและกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เป็นวาจาที่เราควรจะศึกษากันพูดจาปราศรัยกัน
จะได้ไม่ถกเถียงทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้น ให้อยู่ด้วยกันด้วยความสมานสามัคคีปรองดองซึ่งกันและกัน เราจะอยู่ด้วยกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
การพูดการจาก็ดี ทางด้านจิตใจได้คิดถึงคุณงามความดีที่เราได้สร้างสมอบรมเอาไว้
ก็ไม่มีคนคิดอย่างนั้นอย่างนี้คิดไม่ดีกับตน เพราะพวกเราคิดแต่คุณงามความดีเอาไว้แล้ว คิดแต่ให้คนอื่นที่มีทุกข์ก็ให้พ้นจากทุกข์
ที่มีความสุขก็ให้สุขยิ่งๆขึ้นไป เราควรสร้างสรรค์ในการคิดการอ่านของตนเอง ก็เรียกว่าได้ทำคุณงามความดีทางด้านจิตใจ ดังนั้นจิตใจของคนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
เราจะพากันมาที่นี่มาทำบุญทำทานการกุศลได้ ก็อาศัยซึ่งจิตใจของพวกเราอยากมา อยากมาสร้างคุณงามความดีให้ชีวิตของเรานั้นเป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ตน
ก็อาศัยบุญอาศัยกุศลเป็นที่พึ่งของตนอยู่แล้ว บุคคลที่ได้ถวายพระพุทธรูปอันเป็นองค์ตัวแทนของพระพุทธเจ้า ผู้นั้นก็จะได้อานิสงส์ร่างกายสวยสดงดงามหนึ่ง จะได้พบพระพุทธศาสนาหนึ่ง ได้ชักชวนบุคคลอื่นเข้ามาในพระพุทธศาสนาศึกษาให้ถูกต้อง ก็จะเป็นอานิสงส์ของผลบุญ
ผู้ใดได้ถวายเครื่องนุ่งห่มผ้าท่อนท่อนสไบ เครื่องประดับประดา ให้สวยสดงดงามก็ต้องอาศัยเครื่องนุ่งห่ม เหตุฉะนั้นร่างกายของคนเราจึงต้องอาศัยเครื่องนุ่งห่มประดับประดา หน้าหนาวอย่างนี้ก็ยิ่งไปกันใหญ่
บุคคลที่ทุกข์ยากไร้เข็ญใจอนาถา อยู่ในป่าในเขาก็ดี อยู่ในสลัมต่างๆในเมืองใหญ่ก็ดี ก็ทุกข์ยากลำบาก
ฉะนั้นผู้ที่ได้ทำไว้แล้วสร้างไว้แล้ว เขาก็มีเครื่องนุ่งเครื่องห่ม ก็มาได้ด้วยกุศลทั้งหลายที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว
บุคคลได้บริจาคยารักษาโรคภัยไข้เจ็บก็ดี คนนั้นก็เรียกว่าเกิดมาภพใดชาติใด ก็ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ร่างกายตั้งแต่เล็กจนถึงเฒ่าถึงแก่ อยู่สบายๆไม่เคยไปโรงพยาบาลสักที เป็นอานิสงส์ของผลบุญ
บุคคลใดที่ได้สร้างสมผลบุญสร้างศาลาอาสนะ ก็ดี สร้างโบสถ์สร้างวิหารสร้างสาธารณประโยชน์ก็ดี
เหมือนเราทำศาลาเล็กๆหลังน้อยๆไว้ที่ข้างทางหลวง ตามสี่แยกสามแยกนั้นก็เป็นบุญเป็นกุศล
ผู้ใดที่ได้สร้างไว้ในวัดก็เป็นบุญเหมือนกัน เพราะคนทั้งหลายเมื่อฝนตกก็ดีแดดออกก็ดี ก็ได้มาอาศัย ได้มาพักผ่อนได้รับความสะดวกสบาย ก็เรียกว่าได้ให้ความสุขแก่บุคคลอื่น
เกิดมาภพใดชาติใดพวกเราก็จะมีบ้านมีช่องมีสถานที่ได้พักพาอาศัยหลับนอน ที่อยู่สะดวกสบาย เป็นอานิสงส์ของผลบุญ..
โอวาทธรรม หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญปทีโป 26 มกราคม 2556
#คำสั่งหลวงพ่อเรื่องการสอนมโนมยิทธิ
#รวมความแล้วเรื่องคำสั่งของหลวงพ่อ #พระราชพรหมยาน_ให้ถือตามนี้... "
[๑] ขอให้สอนเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อ และต้องการให้สอน
[๒] คนที่อยากให้สอน แต่แนะนำ แล้วไม่ปฏิบัติตาม ให้ละเสีย จนกว่า จะปฏิบัติตามคำแนะนำ
[๓] ผู้ได้แล้วต้องทำเสมอ ให้ใช้ได้ ทุกขณะจิต
[๔] พวกอวดวิเศษที่เขารังเกียจ จงอย่าสอนเป็นอันขาด
[๕] ถ้าไม่มีใครให้สอน จงอย่าสอน และอย่าพยายามชักชวนเพื่อมาเรียน ของดีไม่ต้องเร่ขาย เราไม่ได้รับจ้างสอน สอนให้ด้วยเมตตา ถ้าเขาไม่พอใจจง เลิกสอนเลย
#จากหนังสือลูกศิษย์บันทึกพิเศษหน้าที่_๙๐_๙๑
ไหนยิ้มให้ดูหน่อยซิ ถ้าเราสร้างเวรสร้างกรรม ภพชาติหน้าเราต้องใช้เขานะ
หลวงปู่เชอรี่ อภิเจโต พระภิกษุชาวต่างชาติ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
" วันและคืน มันล่วงไป จะเป็น เวลาเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เราได้ สร้างคุณงามความดีแล้ว ใช้ได้
คุณงามความดี ที่จะเกิดขึ้น นั้น เกิดขึ้นจากจิตใจบริสุทธิ์ จิตใจที่จะบริสุทธิ์ ได้นั้น จิตใจต้องปราศจากอารมณ์
เมื่ออารมณ์ถูกขจัดไป จิตใจของเราก็เป็นหนึ่ง ด้วยการนึกพุทโธ อารมณ์เดียว
เมื่อเป็นอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็เป็นหนึ่ง เมื่อจิตเป็นหนึ่ง แล้ว จิตก็เป็นสมาธิ จิตก็ผลิตพลังจิต.."
โอวาทธรรม หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
กายคตาสติ_หลวงตามหาบัว
ทีแรกก็พิจารณาร่างกายก่อน พิจารณาร่างกายจนมีความชำนิชำนาญ กำหนดให้เป็นอย่างไรเป็นไปตามต้องการ ให้แตกกระจัดกระจายต่อหน้าต่อตา
-กำหนดเมื่อไรได้ทั้งนั้นๆ นี่เรียกว่าปัญญามีความคล่องแคล่ว-
พิจารณาส่วนนี้ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะอสุภัง ค้นอยู่ในร่างกายของเขาของเรา ภายนอกภายในเป็นกรรมฐานด้วยกัน นั่นละปัญญาให้พิจารณาอย่างนั้น
-เมื่อปัญญาออกแล้วจะเป็นการถอนกิเลส-
ลำพังสมาธิไม่ได้ถอนกิเลส เพียงตีกิเลสให้สงบตัวเข้ามาเท่านั้น ปัญญาต่างหากที่คลี่คลายออกไป ฆ่ากิเลสโดยลำดับลำดา ตั้งแต่ส่วนหยาบ จนกระทั่งกิเลสสุดยอด ไม่เหนืออำนาจของปัญญาไปได้เลย จึงต้องพิจารณาทางด้านปัญญา
#พิจารณาอาการ_32
“..ผู้ใดประมาทกายคตาสติ ก็คือประมาทในพระนิพพาน ผู้ใดพิจารณากายคตาสติบ่อยๆ ราคะของผู้นั้นก็จะเบาลง หรือหายไป ก็ถึงอนาคามี..”
หลวงตามหาบัว
เราควรรู้ว่าร่างกายนั้น.เขาวางเราและหนีเราไปทุกวัน. แต่เราสิ ไม่เคยหนีเขา.ไม่ยอมวางเขาเลยสักที
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
#การพิจารณากาย
ท่านก็บอกว่า ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ท่านก็บอกชัดเจนอยู่แล้ว ว่ามันเป็นของไม่เที่ยง อนิจจังท่านก็ว่าของไม่เที่ยง อนัตตาท่านก็ว่าไม่ใช่ตัวของเรา
-พิจารณาได้ เมื่อจิตรู้สภาพความเป็นจริงอย่างแท้จริง-
พิจารณาไปตามแนวทางนี้ ถ้าเรียกว่าเดินเข้าสู่วิปัสสนา การที่เราทำอยู่นี้คือ สมถะ เมื่อทำจิตใจสงบแนบแน่นแท้จริงแล้ว ต้องพิจารณารูปขันธ์ ๕ ให้รู้ตามแนวทาง เป็นอย่างนี้
-ทุกอย่างก็ต้องทำความสงบทางจิตใจก่อน-
เมื่อได้สมาธิแล้วก็ต้องทำไปเรื่อยๆ การที่จะเกิดปัญญานั้น ก็ต้องอาศัยการฝึกอีกเหมือนกัน การพิจารณากาย ดูกายว่าเป็นของเราแท้จริงหรือไม่
-ตั้งปัญหาถามใจของเราดู-
การที่เราอยู่นี้ เราอาศัยรูปร่างกายอันนี้ ใจก็อาศัยอยู่ คล้ายกับว่าเราอาศัยบ้านเรือนของเรา ร่างกายก็เหมือนกับเรือนนั่นแหละ เป็นเรือนของใจเป็นที่อยู่ของใจ แต่เราไปยึดเอาเรือนร่างกายนี้เป็นตัวเป็นตนตลอดเวลา อะไรเกิดขึ้นก็ถือเป็นตัวเป็นตนตลอด
-ท่านจึงให้พิจารณาให้รู้ตามความเป็นจริง-
ให้แยกแยะดูทั้งภายนอกและภายใน คนที่มองดูกันได้ก็มีแต่หนังหุ้มเนื้อ เอ็น เข้าไปข้างในก็มีแต่โครงกระดูก ลึกเข้าไปข้างในก็มีตับไตไส้พุง แล้วที่มีสาระแก่นสารมันอยู่ตรงไหนเล่า
-ก็รูปร่างกายนี้เป็นเครื่องอาศัยของใจเท่านั้น-
ไม่มีสาระแก่นสารตรงไหน มันเป็นความจริงหรือไม่ให้พิจารณาดู มันเป็นของไม่เที่ยงจริงหรือไม่จริง
ก่อนนั้นเราเป็นเด็กไม่ใช่หรือ เดี๋ยวนี้เรามาเป็นคนแก่ คนชรา ครึ่งคนแล้ว มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ แต่เราไม่รู้ว่าสังขารร่างกายนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีแต่นับวัน นับเดือน นับปีเท่านั้น แต่พอเราเกิดมาเราก็ไม่อยากแก่เฒ่า ไม่อยากจะเจ็บจะตาย แต่แล้วก็ฝืนธรรมชาติไม่ได้
-พระพุทธเจ้าท่านก็บอกไว้แล้วว่า กรรมคือความตายนี้ไม่มีทางแก้-
เป็นความจริงหรือไม่ ที่คนเราเกิดมาแล้ว ถึงที่สุดก็ต้องตาย ให้พิจารณาดูการตายนี้ไม่มีเลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกคนเฒ่าคนแก่ คนหนุ่มคนสาว ทารกที่อยู่ในท้องก็ยังตายออกมา มันเป็นอย่างนี้
-ท่านจึงไม่ให้ประมาทในชีวิตความเป็นอยู่ของตน-
ให้มีสติรักษาจิตใจของตนตลอดเวลา เพราะความตายนี้มันอยู่ใกล้ชิดเหลือเกิน ไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ จะล้มตาย หรือนอนตาย เฒ่าแก่ตาย หรือตายในลักษณะใดก็ไม่รู้เหมือนกัน
-ฉะนั้นอย่าไปหลงละเมอเผลอตัวให้มีสติรักษาตัวอยู่ตลอด-
เพราะความตายมาอยู่ใกล้ชิด เดี๋ยวนี้ก็มีแต่ลมหายใจเข้าออก ให้กำหนดดูว่าเมื่อเราหมดลมหายใจเมื่อไหร่ก็กลายเป็นคนตาย ไม่เรียกว่าคนแล้ว เรียกว่าศพ ถ้าทิ้งเอาไว้แค่วันเดียวเท่านั้น ก็จะแสดงปฏิกิริยาออกมาให้เราเห็น เปลี่ยนสีสัน เปลี่ยนแปลงไปทุกอย่าง มันเป็นจริงหรือไม่ให้พิจารณาดู
-นั่นแหละให้พิจารณารูปร่างกายอันนี้-
ถ้าเรารู้ว่ารูปร่างกายอันนี้เป็นที่อยู่อาศัยของใจเท่านั้น ไม่เที่ยงแท้ เมื่อพิจารณารู้ตามความเป็นจริงแล้ว ความยึดความถือก็ค่อยๆเบาลง การยึดถือก็เพราะมันเกิดจากความเขลา
-จิตมันเป็นตัวโมหะ-
ยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ ถือตนถือตัวไม่พอยังไปยึดถือเอาสิ่งอื่นๆ ต่อเนื่องกันไป.
#หลวงปู่เผย #วิริโย
#ความผูกพันนั่นแลพาให้โลกเป็นทุกข์กันมากน้อย
ถ้าความผูกพันในใจไม่มี ก็ไม่เป็นทุกข์ ธรรมท่านจึงสอนให้รู้เท่า และปล่อยวางความผูกพัน อันเป็นตัวการให้ทุกข์ทั้งหลายเกิด ..
#หลวงตาพระมหาบัว #ญาณสัมปันโน คัดจากหนังสือ เมตตาธรรม
“คนไม่มีโรคทางกายนับว่าประเสริฐ แต่คนไม่มีโรคทางใจ คือ กิเลส ประเสริฐกว่า”
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
“ถ้าเราฝากความหวัง ในความสุข ในความมั่นคงของชีวิตไว้กับคนใดคนหนึ่ง เราก็ต้องทุกข์กับความไม่แน่นอนของคนนั้น”
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
"ลองพิจารณาดูเถิด ความไม่สมหวัง ความพลัดพราก ความสูญเสีย ในชีวิตประจำวันของเรานี้ มันคือแบบฝึกหัดอย่างดี สำหรับการเผชิญกับความตาย ซึ่งจะต้องมาถึงเรา ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง"
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
|