...ถ้าเจริญอสุภะได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา ..มองครั้งใดก็ “จะเห็นอสุภะทันที ..ดับสุภะทันที” อย่างนี้ก็จะเบื่อตลอดเวลา ไม่มีกามราคะ ไม่มีปฏิฆะ หลงเหลืออยู่ภายในใจ
.”ใจก็จะหมดความวุ่นวาย ไปกับเรื่องของร่างกาย”
.จะเห็นร่างกายทุกสัดทุกส่วน เห็นตั้งแต่สักกายทิฐิมา ว่าเกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอสุภะ เป็นปฏิกูล . ......................................... กำลังใจ54 กัณฑ์ 425 ธรรมะบนเขา 12/6/2554 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
“ความฝันท่านไม่ให้ยึดถือ”
“....การปฏิบัติบูชา การภาวนา การรวมจิตใจให้มาสงบตั้งมั่นนี้ จึงเป็นอุบายธรรมอันสำคัญยิ่ง ในทางพุทธศาสนา
เมื่อจิตสงบตั้งมั่น จิตเย็น จิตสบาย ไปไหนมาไหนก็คล่องตัว จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็มีความรู้สึกอย่างนั้น จิตใจนี้ไม่ได้หายไปไหน มีอยู่ในตัวในใจของคนเรา แม้นอนหลับไปแล้ว จิตใจก็อยู่ในตัวนี้แหละ แต่ว่ามันมีความฝันในอารมณ์ มีอารมณ์อยู่ในจิตในใจอย่างไรมันก็ฝันไป ฝันร้ายก็ไม่มีอะไรได้...ไม่มีอะไรร้าย ฝันดีก็ไม่มีอะไร ตื่นแล้วมันก็หายไปเท่านั้นเอง
จิตใจของผู้ภาวนาอย่าไปหลงใหลกับความฝัน บางคนฝันร้ายตื่นมาใจไม่ดี วุ่นวายไปหมด นี่ล่ะท่านว่า ความฝันท่านไม่ให้ยึดถือ ดี-ชั่ว มันมีอยู่ตามธรรมดานั่นแหละ ไม่ใช่ว่า ฝันร้ายจิตมันจะร้าย ฝันดีจิตมันจะบริสุทธิ์ผุดผ่องใส...ไม่ใช่อย่างนั้น..”
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
"ดูเอาลูกหลานบรรดาพี่น้องทั้งหลาย ลูกเราหลานเรา เดี่ยวนี้เด็กผิดปกติ สิบเอ็ดสิบสองปีมีแฟน ผิดปกติมากอายุสั้น อันนี้เปี้ยเลยเทวาบุตรบอกไว้ อายุสั้นทันตาเห็น สิบเอ็ดสิบสองปีมีแฟนแต่งงาน แล้วจะมีอะไร ไม่มีอะไรเลย พ่อแม่ก็จะได้เลี้ยง ได้ดูแลแทน พวกนี้มันใจสั้น คนใจสั้น ยุคใจสั้น ที่กตัญญูกตเวทีไม่ค่อยมี พวกพ่อแม่เรา ที่เกิดก่อนก็คิดกว้างคิดขวางอยู่เด้"
หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
"ดูเอาลูกหลานบรรดาพี่น้องทั้งหลาย ลูกเราหลานเรา เดี่ยวนี้เด็กผิดปกติ สิบเอ็ดสิบสองปีมีแฟน ผิดปกติมากอายุสั้น อันนี้เปี้ยเลยเทวาบุตรบอกไว้ อายุสั้นทันตาเห็น สิบเอ็ดสิบสองปีมีแฟนแต่งงาน แล้วจะมีอะไร ไม่มีอะไรเลย พ่อแม่ก็จะได้เลี้ยง ได้ดูแลแทน พวกนี้มันใจสั้น คนใจสั้น ยุคใจสั้น ที่กตัญญูกตเวทีไม่ค่อยมี พวกพ่อแม่เรา ที่เกิดก่อนก็คิดกว้างคิดขวางอยู่เด้"
หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
โดยมากคนเรามักเชื่อจิตใจตัวองนะ ถ้าหากขี้เกียจ ก็ขี้เกียจเลย หยุดเลย หยุดทำงานเลย ถ้าง่วงนอน ก็นอนเลย ถ้าเหนื่อย ก็เหนื่อยเลย เชื่อแต่ใจตัวเองอยู่อย่างนั้นนะ ถ้าอยากไปในด้านฝ่ายต่ำ ไปได้ง่ายนะ มันเป็นอย่างนั้นนะ แต่อะไรพอที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองแล้ว จึงค่อยเชื่อมัน ถ้าทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง แม้มันไม่อยากทำก็ข่ม บังคับฝืนกระแสมันเลย ถ้าด้านเสียประโยชน์ ด้านมัวเมาลุ่มหลง ด้านเพลิดด้านเพลิน
นี่เราตัดกระแสไว้บ้าง ตรงนั้นฝืนไว้บ้าง ส่วนมากไม่รู้จักวิธีฝืนวิธีข่มนะ เวลาควรที่พยุงท่านก็ให้พยุงเรื่องจิตใจ เวลาควรข่มก็ให้ข่ม เรียกว่า ทมะ ไม่ใช่ว่าจะปล่อยไปตามยะถาใจของเรานะ ปล่อยไปตามเรื่องของใจไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องฝึกหัดจิตใจมันผิดจากทำนองครองธรรมคำสอนของท่าน เราต้องพยายามทวนกระแสอยู่เรื่อยนะมันจึงค่อยได้
หลวงปู่ศรี มหาวีโร เทศนา เรื่อง ทวนกระแส : ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๓
#อุปนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่น
"ท่านภาวนาสถานที่เป็นมงคล มีเทวดามานมัสการ ตั้งหมื่น ท่านรู้ได้ด้วยภาวนา ขั้น ละเอียดฯ อมนุษย์ท่านก็รู้ได้ " "ท่านอาจารย์มั่น ท่านเป็นคนเด็ดเดี่ยวสละชีวิตถึงตาย สลบไป 3 คราว และท่านต้องการคนใจเด็ดเป็นสานุศิษย ฯ " "ท่านทำตัวของท่านใหม่อยู่ในตระกูลทั้งหลาย ไม่ทำตัวของท่านใหคุ้นเคยในตระกูลเลย การไปมาของท่าน ไปโดยสะดวก มาโดยสะดวกไม่ขัดข้องในตระกูล " "เป็นคนมักน้อยขอบใช้บริขารของเก่าๆ ถึงได้ใหม่บริจาคทานให้คนอื่น ข้อวัตรหมดจดดี สติตั้งอยู่ในสติปัฏฐานเสมอ เป็นผู้ไม่ละกาลวาจาพูดก็ดีเทศน์ก็ดี ไม่อิงอามิสลาภ สรรเสริญวาจาตรงตามอริยสัจตามความรู้ความเห็น อ้างอริยสัจเป็นหลักฐานเสมอ กาย วาจา ใจ เป็นอาชาไนยล้วน " "ท่านประพฤติตนเป็นคนขวนขวายน้อยอามิส หมดจดในข้อวัตร และหมดจดในธรรมะ พ้นวิสัยเทวดา และมนุษย์ที่จะติเตียนได้ ไม่เป็นข้อล่อแหลมในศาสนา ท่านได้วัตถุสิ่งใดมา ท่านสละทันที สงเคราะห์หมู่พรหมจรรย์ฯ " "สิ่งของอันใดท่านอยู่ที่ไหน เขาถวาย ท่านก็เอาไว้ให้พระเณรใช้ ณ ที่นั้น ท่านไม่ได้เอาไปด้วยฯ " "มีคนไปหาท่านอาจารย์มั่น ท่านไม่ดูคน ท่าน ดูจิตของท่านเสียก่อน จึงแสดงออกไปต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น อนึ่ง ท่านหันข้างและหันหลังใส่แขกท่านพิจารณาจิตของท่านก่อน แล้วพิจารณานิสัยของผู้อื่น นี้เป็นข้อลี้ลับมาก ต่อนั้นถ้าจะเอาจริงจังต้องประชันต่อหน้ากันจึงเห้นความจริงฯ" "จิตของท่านผ่าอันตรายลงไปถึงฐานของธรรมะนี้มีราคามาก บ่งความเห็นว่าเป็นอาชาไนยโดยแท้ " "ปฎิบัติธรรมท่านพูดทรมานใครแล้วย่อมได้ดีทุกๆคน ถ้าหมิ่นประมาทแล้วย่อมเกิดวิบัติใหญ่โต " "ท่านมีนิสัยปลอบโยนเพื่อคัดเลือกคนดีหรือไม่ดี ในขณะท่านพูดเช่นนั้น ท่านหันกลับเอาความจริง เพราะกลัวศิษย์จะเพลิน ฯ " "นิสัยท่านเป็นคนใจเดียว ไม่เห็นแก่หน้าบุคคล ในเวลาถึงคราวเด็ดเดี่ยวต่อธรรมะวินัยจริงๆฯ" " ท่านเป็นคนไม่อวดรู้ แต่ธรรมะของท่านบอกเหตุผลไปต่างหากนี้เป็นข้อพึงวินิจฉัย " "หาบุคคลที่จะดูจริตของท่านรู้ได้ยาก เพราะท่านเป็นคนนิสัยลึกลับ จะรู้นิสัยได้ต่อเมื่อบุคคลที่มีภูมิจิตส่วนเดียว ฯ " "ท่านผู้มีอำนาจในทางธรรมะ ทำอะไรได้ไม่ครั่นคร้าม ชี้เด็ดขาดลงไป ไม่มีใครคัดค้าน นี่เป็นอัศจรรย์มาก ฯ " "ท่านถือข้างใน ปฏิปทาความรู้ความเห็นของท่านเกิดจากสันตุฎฐี ความสันโดษของท่าน ท่านนิสัยไม่เป็นคนเกียจคร้าน ขยันตามสมณกิจวิสัย หวังประโยชน์ใหญ่ในศาสนา ฯ " "ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้ที่สะอาด ไตรจีวร และ เครื่องอุปโภคของท่านไม่ให้มีกลิ่นเลย ถูย้อมบ่อย ๆ"
"ท่านบวชในสำนักพระอรหันต์ ๓ องค์ แต่เมื่อชาติก่อนๆโน้น " "ท่านไม่ใคร่พยากรณ์ใครๆเหมือนแต่ก่อน ท่านพูดแต่ปัจจุบันอย่างเดียว นิสัยท่านชอบเก็บเอาเครื่องบริขารของเก่าไว้ใช้ เพราะมันภาวนาดี เช่นจีวรเก่าเป็นต้น ฯ " "ท่านไม่ติดอามิส ติดบุคคล ติดลาภ ยศ สรรเสริญ ท่านถือธรรมะเป็นใหญ่ ไปตามธรรมะ อยู่ตามธรรมะฯ" "ท่านพูดธรรมะไม่เกรงใจใคร ท่านกล้าหาญ ท่านรับรองความรู้ของท่าน ฉะนั้นท่านจึงพูดถึงพริกถึงขิง ตรงอริยสัจ พูดดังด้วย พูดมีปาฏิหาริย์ด้วยเป็นวาจาที่บุคคลจะให้สิ้นทุกข์ได้จริง ๆ เป็นวาจาที่สมถะวิปัสสนาพอ ไม่บกพร่องกำหนดรู้ตามในขณะกาย วาจา จิตวิกาลตรงกับไตรทวารสามัคคีเป็นวาจาที่เด็ดเดี่ยวขลังดีเข้มแข็งดี เป็นอาชาไนยล้วน วาจาไม่มีโลกธรรมติด เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ พระเณรอยู่ในอาวาสท่านได้สติมาก เพราะบารมีของท่านเสื่อม ถ้าขืนประมาทท่านเกิดวิบัติ ฯ " "ท่านอาจารย์มั่น เทวดาและอมนุษย์ไปนมัสการท่าน เท่าไรพันหรือหมื่นท่านกำหนดได้ " "ท่านรักษาระวังเทวดามนุษย์ประมาทท่าน เช่นเยี่ยงท่านก็มีระเบียบแม้กิจเล็กๆน้อยๆเป็นระเบียบหมด ฯ " "ท่านอาจารย์ท่านพูดโน้น คำนี้อยู่เสมอ เพื่อจะให้สานุศิษย์หลงเพื่อละอุปาทานถือในสิ่งนั้น ๆ ท่านทำสิ่งที่บุคคลไม่ดำริไว้ สิ่งใดดำริไว้ท่านไม่ทำ นี้ส่อให้เห็นท่านไม่ทำตามตัณหาของบุคคลที่ดำริไว้ ฯ " "จิตของท่านอาจารย์มั่นผ่าอันตรายลงไปตั้งอยู่ด้วยอมตธรรม บริบูรณ์ด้วยมหาสติ มหาปัญญา มีไตรทวารรู้รอบ มิได้กระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง และมีญาณแจ่มแจ้ง รู้ทั้งเหตุผลพร้อมกัน เพราะฉะนั้น แสดงธรรมมีน้ำหนักมาก พ้นวิสัยคนที่จะรู้ตามเห็นตาม เว้นแต่บุคคลบริบูรณ์ด้วยศีลและสมาธิมาแล้ว อาจที่ฟังเทศนาท่านเข้าใจแจ่มแจ้งดี และบุคคลนั้นทำปัญญาสืบสมาธิต่อ ฯ " "จิตท่านอาจารย์มั่นตื่นเต้นอยู่ด้วยวามรู้ ไม่หยุดนิ่งได้ มีสติรอบเสมอ ไม่เผลอทั้งกายและวาจา เป็นผู้มีอริยธรรมฝังมั่นอยู่ในสันดาน ไม่หวั่นไหว ตอนนี้ไม่มีใครที่จะค้านธรรมเทศนาของท่านได้ เพราะวาจาเป็นอาชาไนย และมีไหวพริบแก้ปฤษณาธรรมกายได้ฯ " "ธาตุของท่านอาจารย์เป็นธาตุนักรู้เป็นธาตุที่ตื่นเต้นในทางธรรมะ เป็นผู้ที่รู้ยิ่งเห็นจริงในอริยสัจธรรม ท่านดัดแปลงนิสัยให้เป็นบรรพชิต ไม่ให้มีนิสัยหิน เพศติดสันดาน ท่านประพฤติตนของท่านให้เทวดาและ มนุษย์เคารพ และท่านไม่ประมาทในข้อวัตรน้อยใหญ่ ฯ " "ท่านไม่ให้จิตของท่านนอนนิ่งอยู่อารมณ์อันเดียว ท่านกระตุกจิต จิตของท่าน ค้นคว้าหาเหตุหาผลของธรรมะอยู่เสมอ ท่านหัดสติให้รอบรู้ในอารมณ์และสังขารทั้งปวงฯ" "ท่านอาจารย์มั่นท่านเก่งทางวิปัสสนา ท่านเทศน์ให้บริษัทฟัง สัญญา มานะเขาลด เจตสิก เขาไม่เกาะ เมื่อไม่เกาะเช่นนั้น ยิ่งทำความรู้เท่าเฉพาะในจิต ตรวจตราในดวงจิตขณะที่นั่งฟัง ต่อนั้นจะเห็นอานิสงส์ทีเดียว ไม่ทำเช่นนั้นหาอานิสงส์การฟังธรรมมิได้ ถ้าประมาทแล้วจะเกิดวิบัติเพราะคามานะทิฐิของตน วินิจฉัยธรรมมิได้ " "ท่านเทศน์อ้างอิงตำราและแก้ไขตำราดุจของจริงทีเดียว เพราะท่านบริบูรณ์วิปัสสนาและสมถะพอ และท่านยกบาลีเป็นตัวเหตุผลแจ่มแจ้ง " "ท่านอาจารย์มั่นอุบายจิตของท่านพอทุกอย่างไม่บกพร่อง คือพอทั้งสมถะ พอทั้งวิปัสสนาทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ท่านเทศนาจิตของผู้ฟังหดและสงบ และกลัวอำนาจ เพราะนิสัยคนอื่นไม่มีปัญญาที่จะชอนเข็มโต้ถามได้ ตรงกับคำว่าพอทั้งปัญญา พอทั้งสติ ทุกอย่างเป็นอาชาไนยล้วน รวบรัดจิตเจตสิกของคนอื่นๆมิอาจจะโต้แย้งได้ " "ท่านว่า แต่ก่อนท่านเป็นคน " โกง " คน " ซน " คน " มานะกล้า " แต่ท่านมีธุดงค์ข้อวัตรทุกอย่างเป็นยอด ทำความรู้เท่าทันกิเลสเหล่านั้น เดี๋ยวนี้นิสัยก่อนนั้นกลายเป็นธรรมล้วน เช่น "โกงสติ " " ซนสติ " "มานะสติ" เป็นคุณสมบัติสำหรับตัวของท่าน" "ความรู้ความฉลาดของท่าน ไปตามธรรมคืออริยสัจ ใช้ไหวพริบทุกอย่าง ตรงตามอริยสัจ ตรงกับคำว่าใช้ธรรมเป็นอำนาจ คณาจารย์บางองค์ถืออริยสัจก็จริง แต่มีโกงนอกอริยสัจ เป็นอำนาจบ้างแฝง แฝงอริยสัจ ตรงกับคำที่ว่า ใช้อำนาจเป็นธรรมแฝงกับความจริง" "ท่านอาจารย์เป็นนักปราชญ์แปดเหลี่ยมคม คมยิ่งนัก ธรรมชาติจิตของท่านที่บริสุทธิ์นั้น กลิ้งไปได้ทุกอย่างและไม่ติดในสิ่งนั้นด้วย ดุจน้ำอยู่ในใบบัว กลิ้งไปไม่ติดกับสิ่งอื่นๆเพราะฉะนั้นจิตของท่านถึงผลที่สุดแล้ว มิอาจจะกระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง เพราะสติกับปัญญารัดจิตบริสุทธิ์ให้มั่นคง ใฃ้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิตย์" ---------------------------------- #บันทึกโดย_หลวงปู่หลุย_จนฺทสาโร
"ภาวนาแล้วอย่าลืมแผ่บุญกุศลให้บิดามารดา เพราะว่าขันธ์ ๕ ที่เราได้มาได้ใช้ทำบุญสุนทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวนาเอาจิตออกจากความมืด ได้ชื่อว่าเป็นหนี้บุญคุณมหาศาล ท่านไม่มีโอกาสมานั่งภาวนาอย่างเรานี่หรอก เราเป็นผู้มีบุญมาก เราก็แผ่ส่วนกุศลให้ไป และมีโอกาสสนองคุณพ่อแม่ทุกๆวัน ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความกตัญญู เป็นผู้เจริญ.."
หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
"..ธรรมะของจริงอยู่กับ บุคคลทุกคน เว้นไว้แต่คน ไม่ทำ ถ้าทำต้องมีทุกคน
เพราะธรรมะเป็นของจริง ต้องทำจริงจึงจะเห็นธรรมะ ของจริง การกระทำต้องทำ จิตใจให้สงบ ใจจะสงบได้ ก็ต้องอาศัยการพยายาม
ทำจิตใจให้มันดี ทำจิตใจ ให้พอใจในใจเพราะธรรมะ เป็นของละเอียดลึกซึ้ง ของจริงมันมีทุก ๆ คน ธรรมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรม ขันธ์ ก็มีอยู่ในคนทุกคน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็มีอยู่ทุกคน
แต่เราทำไม่ถึง ไม่ถึงพระพุทธ ไม่ถึงพระธรรม ไม่ถึงพระสงฆ์.."
โอวาทธรรม หลวงปู่สาม อกิญจโน
" ธรรมะ เป็นเครื่องชำระจิตใจ บุคคลให้ผ่องแผ้ว มีความสุข คนเรามีอุปนิสัยใจคอต่างๆ กัน คือ บางคนก็หยาบ ปานกลาง และประณีต
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรง แสดงธรรม ตามนิสัยโดย ปริยาย คือ นำของสั้นๆ มาพูดให้ยาวๆ เรียกว่า ปกิณกะ
เช่น บางครั้งก็แสดงอานิสงส์ ในการบริจาคทาน บางครั้ง ก็กล่าวถึงอานิสงส์ในการ รักษาศีล บางทีก็แสดง อานิสงส์ของการปฏิบัติ ขัดเกลาจิตใจ ที่เรียกว่า ภาวนา
แต่จุดที่พุทธประสงค์จริงๆ คือ ต้องการสอนให้คนทำใจ ให้บริสุทธิ์ นอกนั้นก็เป็น ธรรมปริยาย "
โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธัมมธโร
ถ้าเข้าถึงตัว. ใจ. มันก็หมดเรื่อง.
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ถ้าสมาธิ. ไม่ก้าวหน้า. ต้องใช้. ปัญญา. หนุนหลัง.
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
#ปัญญาอบรมสมาธิ
ตามแนวแถวสายหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นพูด หลวงปู่มั่นเทศน์ให้ฟัง ท่านบอกว่าใจของเราปรุงฟุ้งอยู่ตลอด มันคิดมันเอาไม่อยู่ พอเอาสมาธิกำหนดพุท-โธ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก พุท-โธมันไม่อยู่ มันมีแต่ออกอย่างเดียว
ถ้ามันออก จากนั้นท่านว่าใช้ปัญญานะ ใช้ปัญญาพิจารณาร่างกายดูสิ แยกส่วน แบ่งส่วนของร่างกาย เกศา-ผม โลมา-ขน นะขา-เล็บ ทันตา-ฟัน ตะโจ-หนัง มังสัง-เนื้อเอ็นกระดูก ชำแหละกระดูก ชำแหละเนื้อ เอาตับ เอาปอดมากองไว้
จากนั้นก็พิจารณากระดูกทุกท่อนทุกข้อ ตั้งแต่กะโหลกศีรษะลงไปถึงฝ่าเท้า นิ้วเท้า แล้วก็ย้อนจากนิ้วเท้าขึ้นมาหากะโหลกศีรษะ ย้อนไปย้อนมา ย้อนมาย้อนไป เห็นกระดูกท่อนไหนที่มันชัดในขณะที่พิจารณาอยู่นั่น เพื่อไม่ให้ใจไปทางอื่น คือใช้ปัญญา ปัญญาพิจารณาไม่ใช่สมาธินะ
สมาธิคือนิ่ง เข้ามาสมถะ คือ นิ่งทำจิตใจให้สงบ กำหนดลมหายใจเข้า- พุท หายใจออก-โธ พุทโธ ก็นิ่ง จากนั้นพอจิตใจนิ่งเป็นสมาธิแล้วก็นำจิตใจที่นิ่ง มาพิจารณาทางวิปัสสนา อันนี้แปลว่า สมาธิอบรมปัญญา เมื่อมีสมาธิเดินปัญญา แต่นี้เดินปัญญาซะก่อน กำหนดลมดูร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าตลบไปตลบมาจนหลายครั้งต่อหลายหน จากนั้นกระดูกท่อนไหนที่มันชัดในความรู้สึกของเรา เราเห็นเลือด เราเห็นตรงไหนที่มันชัด ลองพิจารณาร่างกายของเรา ก็เอาจิตอยู่จุดนั้นไม่ต้องให้ขยับ ให้นิ่งจ่อดูจุดนั้น เมื่ออยู่จุดนั้นจิตใจก็สงบพึ๊บเลยหยุดนิ่ง และจิตใจเข้าสู่ความสงบ เมื่อจิตใจเข้าสู่ความสงบแล้ว ยังเดินวิปัสสนาพิจารณากลั่นกรองไตร่ตรองอีกต่อไป อันนี้เรียกว่าปัญญาอบรมสมาธิ ให้ใช้ปัญญาซะก่อน เพราะมันเอาความรู้สึกไม่อยู่ในขณะที่มันปรุงฟุ้งนั้นน่ะ
แต่เรา สำหรับเราท่านว่านะหลวงตามหาบัว ท่านว่า สำหรับเรา เราถลกหนัง เราถลกหนังออกมา เราเห็นแผ่นหลังของเรา เห็นแผ่นหลังของเราแดงเถือกท่านว่านะ เลือดอาบ เราถลกหลังออกไป เมื่อเราเห็นแผนหลังของเราแดงเถือกแล้วก็ดูจิตใจ ใจของเราก็จ่อดูที่แผ่นหลังของเราที่มันแดงเถือกนั่นน่ะ ไม่ให้จิตใจขยับไปที่อื่น จิตใจก็รววมสงบท่านว่า อันนี้คือว่า ปัญญาอบรมสมาธิ แต่ไม่มีในพระไตรปิฎกนะลูกหลานศรัทธาญาติโยมในจุดนี้นะ แต่หลวงตาท่านอธิบายให้ฟังก็มีเหตุผล
แต่สำหรับหลวงพ่อเอง หลวงพ่อยอมรับว่าหลวงตาพูดถูก ถ้าปฏิบัติแล้วเป็นลักษณะอย่างนั้น ถ้าผู้ปฏิบัตินะ เว้นเสียผู้ปฏิบัติเอาตำรามาพูดเถียงกันคอเป็นเอ็นเหมือนกันนะ ก็ไม่ว่ากันนานาจิตตังนานาทัศนะ ก็ไม่เห็นจะเสียหาย ไม่เห็นมันจะเสียที่ตรงไหน มีเสียหายไหม ถึงจะไม่พูดตามพระไตรปิฎกเสียหายไหม ไม่เสียหาย มันก็ไปแนวลักษณะเดียวกันใกล้ๆกันเคียงคู่เคียงกันสำหรับผู้ปฏิบัติ อันนี้แหละในหนังสือขององค์หลวงตามหาบัวจะมีลักษณะอย่างนี้บ้างนิดๆหน่อยๆ แต่ถึงยังไงก็ตาม ท่านก็เน้นการเป็นแนวความคิดของพระไตรปิฎก แต่พวกเราจะให้พวกเราไปอ่านในพระไตรปิฎกไปอ่านนะลูกหลานนะ
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก จากพระธรรมเทศนา “อย่านอนรอความตาย” แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๓
#ในเรื่องของอินทรียสังวรศีลต้องยืนหลักปกติเป็นพื้น
เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียงอะไรมันจะได้ไม่ออกไปพอใจหรือไม่พอใจ แล้วความเป็นกลางของจิตจะต้องมีให้มาก ความเผลอเพลินจะได้น้อย
เราต้องพยายามทำจริงด้วยกันทุกคนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือว่าให้ เพียรเผากิเลสอยู่ทุกอิริยาบถ นี่เป็นข้อปฏิบัติรวมหมดเลย ไม่ว่าใคร จะต้องอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ให้มาก
เพราะถ้าไม่เพียรเผากิเลสทุกอิริยาบถแล้ว เราตรวจดูซิว่าจิตสงบหรือไม่สงบ กิเลสนี่รอบข้าง มันเผลอไผลในขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง มันเคยชินกันมาทั้งนั้น เพราะไม่ได้สำรวมไม่ได้ระวัง
แล้วข้อปฏิบัติมันต้องรวมเข้ามารู้ที่เดียว รู้จิตใจของตัวเองในการที่จะรับอารมณ์หรือรับผัสสะ ยืนหลักปกติได้ ความเผลอเพลินน้อย ความชอบไม่ชอบน้อยลง
#อุบาสิกากี #นายายน (ท่าน ก.เขาสวนหลวง)
#สติอย่าได้หวั่นไหว
สติเป็นรั้วรอบของจิต อย่าให้จิตเศร้าหมอง ให้จิตผ่องใส ให้จิตประภัสสร
เหมือนเด็กน้อยที่เพิ่งออกจาก ท้องแม่
#คุณยายชีโสดา #โสสุด
#การดำรงสติเวลารู้สึกปลาบปลื้มที่มีคนเห็นตรงกับเรา
ครั้งหนึ่งในคืนวันพระ หลังจากอาตมาแสดงธรรมแก่ญาติโยมบ้านบุ่งหวายจบลง มีชายวัยกลางคนตรงเข้ามาหาด้วยท่าทางนอบน้อม สีหน้าเบิกบาน เขาบรรจงกราบสามครั้ง แล้วพนมมือพูดว่า
-กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่แสดงธรรมได้ยอดเยี่ยมจริงๆ-
อาตมาถามว่า มีคำสอนเรื่องใดที่ทำให้ประทับใจเป็นพิเศษหรือเปล่า
เขาตอบว่า “ไม่มีครับ ผมชอบหมดเลย ท่านอาจารย์เทศน์ตรงกับที่ผมเข้าใจทุกเรื่อง”
อาตมาจึงยิ้มแล้วบอกว่า “ไม่แน่นะ บางทีเราอาจจะผิดด้วยกันทั้งคู่ก็ได้นะโยม ”
ธรรมะคำสอน โดย #พระอาจารย์ชยสาโร แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ
|