...ถ้าเจริญสติ สมาธิ ปัญญาตามลำดับ “ ความคิดต่างๆ “ ก็จะอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับ
.จะอยู่ในความสงบ จะคิดเมื่อมีความจำเป็น จะคิดไปในทาง..มรรค..เสมอ
.คิดด้วยเหตุด้วยผล คิดตามหลักของความจริง จะไม่ฝืนความจริง “จะไม่ทุกข์”. ............................................... จุลธรรมนำใจ 39 กัณฑ์ 416 ธรรมะบนเขา 19/9/2553 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"อย่าไปโมโหโกรธผู้อื่น มันเป็นไฟ มันจะไหม้หัวใจเจ้าของเอง ถ้าเขาไม่ดีมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา"
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
"..กรรมและเวร เป็นของ ร้ายกาจมาก เมื่อบุคคล ทำลงไปแล้วย่อมติดตามไป หาที่สิ้นสุดมิได้
เวร เป็นของน่ากลัวยิ่งกว่า กรรม เพราะเวรที่บุคคลทำ ด้วยจิตอาฆาตพยาบาท จองเวรในบุคคลโดยเฉพาะ
เมื่อบุคคลทำเวรต่อกัน จะมี ชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว ถ้า ไปเกิดยังมีรูปนามอยู่ จำเป็น ที่เวรจะต้องติดตามไปสนอง อยู่ตลอดเวลา ส่วนกรรมนั้น ถ้าเป็นกรรมเบา เราทำดี ก็อาจจะหายไปได้บ้าง
วิธีแก้กรรมเวรในพระพุทธ ศาสนา พระพุทธเจ้าสอน ให้ละเวรละกรรมด้วยจิตใจ เห็นโทษนั้นๆ แล้วมีเมตตา ต่อกันไม่ทำกรรมและเวรนั้นอีก
เมื่อคู่กรรมและเวรนั้น ยังมี ชีวิตอยู่ ต่างก็เห็นซึ่งกรรม และเวรที่ตนกระทำนั้น แล้ว พร้อมหน้ากันให้อโหสิกรรม ซึ่งกันและกัน กรรมและเวร นั้นเป็นอันสิ้นลงเพียงแค่นั้น
ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอม อโหสิกรรมให้ กรรมนั้น ก็ต้องจองเวรกันต่อไป "
โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
"วันนี้สุขภาพดี พรุ่งนี้อาจป่วยก็ได้ วันนี้ธุรกิจรุ่งโรจน์ พรุ่งนี้ธุรกิจอาจล้มละลาย วันนี้ครอบครัวราบรื่น แต่พรุ่งนี้ครอบครัวอาจแตกแยก ยังไม่ต้องพูดถึงคนรัก ที่วันนี้ยังอยู่ แต่พรุ่งนี้ อาจล้มหายตายจากไป
จำเพาะคนที่ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิต เห็นความไม่เที่ยงของสุขที่มีอยู่ จึงจะตระหนัก ถึงความจำเป็นในการเข้าหาศาสนา หรือปฏิบัติธรรม
แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักเพลิดเพลินในความสุขจน ประมาท มองไม่เห็นความเป็นอนิจจังของชีวิตและโลก จึงไม่คิดจะเตรียมพร้อม จะตื่นตัวก็ต่อเมื่อ ภัยมา ประชิดตัว แต่ถึงตอนนั้นก็อาจสายไปก็ได้ คือ โดนทุกข์ท่วมทับปางตาย ถึงตอนนั้น จึงค่อยเห็น คุณค่าของธรรม และนึกถึงศาสนาขึ้นมา"
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
#ทำบุญหนักๆ
ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ... อนันตริยกรรม คือกรรมที่หนักที่สุด ผมพอทราบแล้ว แต่ผมอยากทราบว่า ทำบุญที่ให้ผลหนักๆ มีบ้างไหมครับ?
หลวงพ่อ : มีๆ เอาหนักกี่ตันล่ะ ถวายของเป็นตันๆ ซิ หนักเท่านั้นแหละ อย่างสร้างพระพุทธรูป ๘ ศอก หนัก ๒ ตัน ใช่ไหม (หัวเราะ) ความจริงบุญหนักๆ ก็มีหลายอย่าง อย่างที่ญาติโยมนำสังฆทานมาเป็นแถวๆ นี่บุญหนักที่สุด จอมหนักเลย "ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง" เบารึ ?
ผู้ถาม : แล้วอย่างถวายแบบชุดเล็กๆ ล่ะครับ?
หลวงพ่อ : นี่ฉันพูดถึงบุญนะ ไม่ใช่พูดถึงของ อานิสงส์ที่จะพึงได้ แม้แต่การถวายของ แม้เพียงนิดหน่อย อย่าง พระสารีบุตร ถวายผ้ากว้างคืบ ยาวคืบ แล้วข้าวหยิบมือหนึ่ง กับนิดหนึ่ง น้ำหน่อยหนึ่ง ถวายเป็นสังฆทานแก่พระสงฆ์ แม่ที่อยู่เป็นเปรต เป็นนางฟ้าไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ นี่แหละบุญหนัก นี่จริงๆ นะ "สังฆทาน" เป็นยอดอานิสงส์ในด้าน "อามิสทาน" ที่สูงไปกว่านี้อีกอย่าง คือ "วิหารทาน" และนอกจากนั้น ถ้าจะเอาหนักอีกโดยไม่ต้องใช้วัตถุ คือ "อภัยทาน" กับ "ธรรมทาน" ๒ อย่างนี้ไม่ต้องใช้วัตถุ ความจริงอย่าง อาจารย์ยกทรง (เป็นผู้อ่านปัญหาที่ญาติโยมถามมา) ทำนี่ก็เป็นมหากุศลนะ บุญใหญ่มาก ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมเป็นทานชนะทานทุกอย่าง ถ้าเวลาตายนะ ก่อนจะตายหมาจะหอน
ผู้ถาม : เอะ! ทำไมอย่างนั้นล่ะครับ?
หลวงพ่อ : (หัวเราะ) เพราะอะไรรู้ไหม เทวดามารับมาก เพราะ "ธรรมทาน" องค์ต้น #ท่านโฆษกเทพบุตร ท่านเคยทำไว้ไงล่ะ
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน จาก "ธัมมวิโมกข์" ฉบับที่ ๔๓๘ เดือนกันยายน ๒๕๖๐ หน้า ๘๓ - ๘๔ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์
|