Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ความดีให้รีบทำ

ศุกร์ 12 มี.ค. 2021 4:55 am

บางคนมาวัด
นำอาหารมาถวายพระ
ท่านฉันของเราหรือเปล่า
พอท่านไม่ฉัน
ก็เกิดความน้อยใจ
ท่านไม่ฉันของเรานะ

นั้นแสดงว่า
ยังห่วงในทานที่ทำ
ให้แล้วก็จบ ลองแบมือดู
ให้แล้วจบไม่มีเหลือ
คือให้แล้ว..ก็จบๆ กันไป

"ให้แล้วจบ..อานิสงส์มากมายเลย"

ท่านพ่อไพบูลย์ สุมงฺคโล








" เมื่อถึงความสงบแล้ว...
ยัง ไม่จบนะ
ภพ ยังไม่สิ้น
ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ

ที่มันไม่จบ
ก็เพราะ...ยังมีทุกข์อยู่
ให้เอาตัวสมถะ ตัวสงบนี่
พิจารณาต่อไป ค้นหาเหตุผลจนกระทั่ง...
จิต...ไม่ติด ในความสงบ

เพราะความสงบ...
ก็เป็นสังขาร อันหนึ่ง
ก็ เป็นสมมุติ ก็ เป็นบัญญัติอีก
ที่ติดอยู่นี้
ก็ ติดสมมุติ ติดบัญญัติ

เมื่อติดสมมุติ ติดบัญญัติ
ก็ติดภพ ติดชาติ
ภพชาติ ก็คือ...
ความดีใจ ใน...ความสงบนั่นแหละ

เมื่อหายความฟุ้งซ่าน
ก็ติด...ความสงบ
ก็เป็นภพอีก เกิดอยู่...อย่างนี้
ภพชาติเกิดขึ้นมา
ทำไม ? พระพุทธเจ้าจะไม่รู้ ?."

ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต










“Happy birthday..ข้าพเจ้าได้ยินบ่อยๆ
วันนี้วันเกิดหนูค่ะ.. วันนี้วันเกิดผมครับ”
..............................................................
...ความทุกข์ก็คือ”การเกิด”
เกิดแล้วก็ต้องมาเจอความแก่
ความแก่ก็ทุกข์
ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ทุกข์
ความตายก็ทุกข์
การพลัดพรากจากกันก็ทุกข์

.นี่คือ ..“ภัยที่เราจะต้องเจอกัน
เวลาเรา..มาเกิด”.
.........................................
สนทนาธรรมมะบนเขา
วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี









ทำสติให้ดี ระลึกให้มั่น ว่าจะไม่ทำชีวิตใดชอกช้ำด้วยฝีมือเราโดยเฉพาะชีวิตของเราเองด้วย และจงเชื่อเถิดว่า
ทันทีที่มีความตั้งใจจริงด้วยความรู้สึกเป็นบุญ
คือด้วยเมตตาจริงใจทันทีทีเดียวที่จะเกิดผล
แม้จะไม่อาจเห็นได้ด้วยสายตาสามัญชนเช่นเราท่านทั้งหลาย แต่สายตาอันเป็นทิพย์ของผู้เป็นทิพย์ทั้งปวงย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมอนุโมทนาการ และย่อมบันดาลผลดีตอบสนอง ควรแก่ความหนักแน่นจริงใจในการตั้งใจอธิษฐาน "
.
--- พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร








ดอกไม้บานเอง...เมื่อถึงเวลา
ความดีที่สั่งสมมา เมื่อถึงเวลา...ก็ส่งผลเอง

หลวงปู่ทองดี อนีโฆ
วัดใหม่ปลายห้วย อ.สามง่าม จ.พิจิตร







#การรู้ธรรม_เห็นธรรม

ส่วนมากเรามักจะเข้าใจกันว่า การรู้ธรรม เห็นธรรมคือต้องเห็นสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เห็นโครงกระดูกแล้วรู้ว่า เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เราไปหมายเอาหมวดใหญ่ที่ท่านเขียนเอาไว้ในคัมภีร์ การตีความหมายอย่างนั้นก็ไม่ผิด เป็นการถูกต้องกับการรู้ธรรมเห็นธรรม โดยธรรมชาติที่จิตมันจะรู้เองด้วยพลังของสติสัมปชัญญะ

#แต่เราจะไปรู้ในกฎเกณฑ์ที่ท่านวางไว้เป็นแบบฉบับเท่านั้นไม่ได้

การรู้ธรรมเห็นธรรมโดยธรรมชาติมันจะต้องรู้ขึ้นมาเอง เป็นกระท่อนกระแท่น ไม่ติดต่อสืบเนื่องกันเป็นเรื่องยืดยาว

#การรู้ธรรมเห็นธรรมขอกำหนดหมายอย่างนี้

๑) คือการรู้ว่าจิตของเราคืออะไร เห็นว่าจิตของเราคืออะไร เป็นเบื้องต้น

๒) เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์ก็รู้ว่าจิตสัมผัสรู้อารมณ์

๓) เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์แล้วมีอะไรเกิดขึ้น จิตของเรายินดีไหม จิตของเรายินร้ายไหม จิตของเราพอใจไหม หรือเกลียดในอารมณ์นั้น

ในเมื่อรู้ว่ายินดีหรือยินร้ายเกลียดหรือชอบ ก็ดูต่อไปว่าความเกลียดและความชอบบังเกิดขึ้นภายในจิตเป็นอย่างไร ทำให้จิตร้อนหรือเย็น ทำให้จิตสุขหรือทุกข์

ถ้าหากว่าจิตรู้สึกสุขก็ผ่านไป แต่ถ้าจิตของเรารู้สึกทุกข์ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นความร้อนภายในจิต เรารู้ความร้อนของจิต

ในเมื่อเรารู้ความร้อนของจิตแล้ว ความร้อนเป็นทุกข์ เราจะต้องถามหาเหตุว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร

ในเมื่อจิตรู้ว่าความทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาจากอำนาจของโลภะ เกิดมาจากอำนาจของโทสะ เกิดมาจากอำนาจของโมหะ จิตมันก็จะยอมรับว่าไฟ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

#เป็นอันว่าจิตรู้ธรรมเห็นธรรม คือเห็นทุกข์ในจิต เห็นสุขในจิต

ในเมื่อจิตเห็นทุกข์คือจิตร้อน เพราะไฟโลภะ โทสะ โมหะ ผู้ปฏิบัติควรจะทำอย่างไร

เราจะไล่ความร้อนของไฟโลภะ โทสะ โมหะ ให้หายไปอย่างนั้นหรือ เราไม่มีทางจะไปตั้งใจไล่ เพราะจิตของเราเกิดความชินชาต่อการปรุงกิเลส ให้เกิดไฟโลภะ โมหะ โทสะ

#แล้วถ้าไม่มีทางที่จะขับไล่ ไม่มีทางที่จะละ เราจะทำอย่างไร

เราก็ทำสติกำหนดรู้ คือรู้ว่ามันเป็นไฟโลภะ โทสะ โมหะ รู้ว่าฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ มันทำจิตให้ร้อน

ให้ดูความร้อนที่มีอยู่ในจิต ดูความเย็นที่มีอยู่ในจิต จนกระทั่งจิตรู้ซึ้งเห็นจริงลงไป แล้วจิตยอมรับความเป็นจริงว่า ฤทธิ์ของโลภะ โทสะโมหะนี้เป็นไฟเผาให้ร้อน มันร้อนอย่างนี้หนอ

#เมื่อจิตยอมรับความจริงแล้วก็เกิดความเข็ดหลาบในตัวของมันเอง

ภายหลังมันก็จะไม่สร้างเหตุเดือดร้อนให้เกิดขึ้นมาอีก

เปรียบเหมือนคนเรา ที่เราว่าถ่านไฟมันร้อน เมื่อมีใครนำถ่านไฟร้อนมาวางไว้ตรงหน้าเรา แล้วบอกกับเราว่า ดูซิ ถ่านไฟนี้มันสวย ดูซิมันเย็น แต่เรารู้แล้วว่าถ่านไฟนี้มันร้อน เราก็จะไม่ไปจับถ่านไฟนั้น

ในทำนองเดียวกัน ในเมื่อจิตมันรู้ฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ อย่างแท้จริงแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว มันก็จะไม่ก่อเรื่องให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอีก มีแต่ค่อยพิจารณาปลดเปลื้องโลภะ โทสะ โมหะ ของเก่าที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง​ เบาบางลงไป

#การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก

การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ การภาวนายุบหนอ-พองหนอ ก็ทำยุบหนอ-พองหนอ ให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ การภาวนาสัมมาอรหัง ก็ทำสัมมาอรหังเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติทั้งหลายเหล่านี้ หรืออย่างอื่นๆก็ตาม

ใครภาวนาแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องทำจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาเหมือนกัน

#สมาธิเป็นสัจธรรม เป็นของจริง

ในเมื่อสัจธรรมของจริงคือสมาธิมีอยู่ ใครจะรู้แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน เป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายอย่าไปยึดมั่นอยู่เพียงวิธีการเท่านั้น

#ขอให้ทุกท่านพิจารณาดูความจริงที่จะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา

ในขณะที่เราภาวนา สมาธินี้เป็นของจริง ใครจะภาวนาแบบไหน อย่างไร จะเกิดมีแนวโน้มเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด

#และขอเตือนไว้อีกอย่างหนึ่งว่า
การรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็ดี สิ่งที่เราเห็นในระหว่างจิตมีสมาธิ สงบ สว่าง เราเห็นนิมิตต่างๆ เกิดอุทานธรรมขึ้นมาก็ดี สิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วให้เราทำสติไว้ให้ดี

#เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)







ผู้จะต้องถึง มรรค ผล นิพพาน ได้นั้น
จะต้อง "ทำทางใจ" ถ้าไม่ทำทางนี้แล้ว
จะทำ การกุศลสักเท่าไร
ก็ถึง มรรค ผล นิพพาน ไม่ได้

นิพพานนี้ จะต้องถึงด้วย
ข้อปฏิบัติทางใจ เท่านั้น
ที่เรียกว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา"

ศีล เป็นเหตุ แห่งสมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุ แห่งปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุ แห่งวิมุตติ

"สมาธิ" เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้ง
แห่ง "ปัญญา-และ-ญาณ"
อันเป็นองค์สำคัญ ของมรรค
แต่จะขาดสมาธิไม่ได้ ถ้าขาดแล้ว
ก็ได้แต่ จะคิดๆ นึกๆ เอา ฟุ้งซ่านไปต่างๆ
ปราศจาก หลักฐานสำคัญ

(พระธรรมคำสอน…ท่านพ่อลี ธัมมธโร)










เรียนจิตแล้ว. ก็หายสงสัยโลกทั้งหมด. เมื่อหายสงสัยโลกแล้ว. ทุกข์มันก็ไม่มี.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








การพิจารณาขันธ์. คือการพิจารณา. เพื่อจิต. ที่เข้าไปหลง. นี่เอง.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน







"..หันหน้าเข้าวัด คือ หันหน้าเข้าธรรม
หันหน้าเข้าธรรม คือหันหน้าเข้า
ดูความวุ่นวายในใจของตัวเอง

นั่นละความวุ่นวายในโลกนี้
ไม่อยู่ที่ไหนนะอยู่ที่ใจ
ขอให้ท่านทั้งหลายจำเอาไว้
ฟืนไฟอยู่ที่ใจ
เครื่องหลอกลวงให้เราหลง
เป็นบ้าไป ก็อยู่ที่ใจ
เครื่องหลอกก็คือกิเลส
หลอกลวงไปเรื่อย..."

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








ทุกข์. ก็ทราบว่า. ทุกข์. อย่าไปยึดมัน.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน









ทำไมเราจะกลัวแต่ตาย. แล้วหนีพ้นไหมล่ะ. ความตาย.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








" ถ้าเรานั่งอยู่ มีคนเดินมาด่า
เรา เราจะโกรธมั้ย คนทั่วไป
ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมจิตใจ
มา ย่อมมีความโกรธเป็นธรรมดา

แต่คนได้รับการฝึกฝนมา
จะไม่โกรธ กลับสงสารว่า
เขาไม่เคยเจอความสุขที่
แท้จริง เขาน่าสงสาร

ถ้าเรารักตัวเอง เราจะไม่
ส่งจิตออกไปโกรธ แต่จะมี
สติรักษาจิตใจให้มีความสุข
สงบเย็น "

โอวาทธรรม
หลวงพ่อสุดใจ ทันตมโน








"ผู้ที่ตกในสภาวะอับจน
ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยาก
ควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่
ก็จะค่อยๆ หาทางออกให้แก่ตนได้

เพราะปัญหาทุกอย่าง
ที่ไม่มีทางออกทางแก้
ย่อมไม่มีในโลก

ดูเอาเถอะว่า
แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์
อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้
สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อย
จะไม่มีคําตอบได้อย่างไร"

โอวาทธรรม
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล







"ดูหัวใจเจ้าของนั่นซิ อย่าไปดูหัวใจคนอื่น
ไปตำหนิคนนั้น ไปเกลียดคนนี้ ไปชังคนนั้น
ไม่เกิดประโยชน์อะไร มีแต่เข้าเนื้อเจ้าของทั้งนั้น
ดูเจ้าของมันบกพร่องตรงไหน ดูเจ้าของซ่อมเจ้าของลงไป
ให้เต็มที่แล้วพอแล้ว เท่านั้นพอ"

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน









"อะไรที่ดีงามให้รีบทำเสีย
อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
เมื่อโอกาสที่ทำได้ผ่านพ้นไป
จะไม่มีโอกาส เช่นนั้นอีก"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
ตอบกระทู้