นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 9:36 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 14 มี.ค. 2021 5:30 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
" สติ...กำกับจิตตลอด
ต้องตั้งสติ...
มองดู...จิต ของตนตลอดเวลา
ไม่เลือกกาล เลือกสถานที่
ไม่เลือกหนาว เลือกร้อน
เลือกฝนตก เลือกแดดออก
เลือกสบาย หรือเลือกป่วยไข้
ต้องเป็นผู้ มีสติ...
อยู่...ทุกกาล ทุกสถานที่ และทุกอิริยาบถ

สติ...กำกับจิต
สติ...ต้องอยู่ตลอด ไม่ว่าจิต...จะอยู่ในขั้นใด
ขั้น เริ่มฝึกหัด
ขั้น จิตเป็นสมาธิ
ขั้น เริ่มฝึกหัดทางปัญญา

จะเจริญสมถะ
หรือวิปัสสนา ขั้นใดก็ตาม
ต้องอาศัยสติ...กำกับดูแลตลอด
หากขาดสติ...
สมาธิ และปัญญา ก็จักไม่เจริญไปได้."

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม










...ถ้าทำบุญทุกวัน รับรองได้ว่า
“ตายไปนี้
ไม่ต้องมารอรับส่วนบุญของผู้อื่น”

.ผู้ที่มารอรับส่วนบุญนี้
เป็นพวกที่ทำบุญน้อย หรือ ไม่ทำเลย

.บางพวกก็ไม่ยอมทำบุญเลย
วันเกิดก็ไม่ทำ วันพระ วันปีใหม่ก็ไม่ทำ
วันอะไรก็ไม่ทำทั้งนั้น

.“เอาเงินไปกิน
ไปดื่ม ไปเที่ยว ไปเล่นกันดีกว่า “
สนุกกว่าสบายกว่า

.พวกนี้แหละ..เป็นพวกที่
“จะต้องมาคอยรับส่วนบุญ”.
.......................................
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี










ให้รักษาใจของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน

จึงสอนคนอื่น จึงจะถูก จะสอนแต่คน

แต่ตัวเองไม่ประพฤติ ใช้ไม่ได้...

หลวงปู่หา สุภโร











กินก๋วยเตี๋ยวเรายังอยากกินที่ดีๆ ที่อร่อยๆ ทำบุญเราก็ต้องทำกับเนื้อนาบุญที่ดีสิ มันถึงจะได้บุญมาก

พระอาจารย์โสภา สมโณ








ผู้มีปัญญา เปรียบเหมือนกับหอกที่มีคม ๓ คม จะเหวี่ยงไปทางขวาก็ทะลุ เหวี่ยงไปทางซ้ายก็ทะลุ พุ่งตรงไปข้างหน้าก็ทะลุ เหตุนั้น จึงเป็นผู้ปลอดภัย คือ จะคบกับผู้ใหญ่หรือนักปราชญ์ก็ได้ความรู้ จะคบกับเด็กหรือคนที่เลวกว่าก็ได้ความรู้
ส่วนคนที่ไม่มีปัญญานั้น ท่านเรียกว่าเป็นคนไม่ปลอดภัย ไปคบคนมีปัญญาเข้าก็ถูกเขาไล่ออกมา ไปคบคนชั่วเข้าก็หน้าเหี่ยวหน้าแห้งกลับมาอีก มันเป็นเช่นนี้แหละจึงเรียกว่าไม่ปลอดภัย
คนมีปัญญานั้น เขาจะต้องถือประโยชน์ได้ทุกด้านทุกมุม แต่ไม่ใช่ประโยชน์ของโลก เป็นประโยชน์ในทางธรรม คือความสุข

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร











เวทนามี ๓ คือสุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุข ในชีวิตประจำวันนักปฏิบัติจงฝึกให้รู้เท่าทันเวทนาที่เกิดดับๆ ตลอดเวลา เพราะถ้าเวทนาเกิดขึ้นในขณะที่เราขาดสติ มันจะกลายเป็นตัณหา เหตุให้เกิดทุกข์

สุขเวทนาปรากฏในจิตที่ขาดสติแล้ว
ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ย่อมเกิดขึ้นทันที

ทุกขเวทนาปรากฏในจิตที่ขาดสติแล้ว
ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ย่อมเกิดขึ้นทันที

อทุกขมสุขเวทนาปรากฏในจิตที่ขาดสติแล้ว
โมหะ ความเพลิน ความประมาท ย่อมเกิดขึ้น

จิตรู้เวทนาว่าสักแต่ว่าเวทนา เห็นว่าไม่มีแก่นสารสาระอะไร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจะเป็นผู้เสวยเวทนา แต่ไม่เป็นทุกข์กับมัน

พระอาจารย์ชยสาโร











กล้วย มะพร้าว

เปรียบง่าย ๆ ให้ฟัง เราไปซื้อกล้วยหรือซื้อมะพร้าวใบหนึ่งจากตลาดแล้วก็เดินหิ้วมา อีกคนหนึ่งก็ถาม “ท่านซื้อกล้วยมาทำไม”
“ซื้อไปรับประทาน”

“เปลือกมันต้องรับประทานด้วยหรือ”
“เปล่า”

“ไม่เชื่อหรอก ไม่รับประทานแล้วเอาไปทำไมเปลือกมัน” หรือเอามะพร้าวใบหนึ่งมาก็เหมือนกัน

“เอามะพร้าวไปทำไม”
“จะเอาไปแกง”

“เปลือกมันแกงด้วยหรือ”
“เปล่า”

“จะเอาไปทำไมล่ะ”
เอ้า...จะว่าอย่างไรล่ะ จะตอบปัญหาเขาอย่างไร

ด้วยความอยาก ถ้าไม่อยาก...เราก็ไม่ได้ทำให้มันมีปัญญานะ การทำความเพียรก็เป็นเช่นนั้น คือทำด้วยการปล่อยวาง อย่างกล้วยอย่างมะพร้าว เอาไปทำไมเปลือกมัน ก็เพราะว่ายังไม่ถึงเวลาที่เอามันทิ้ง มันก็ห่อเนื้อในมันไปอยู่นั้น ยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งก็ถือมันไว้ก่อน การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน สมมติ วิมุตติ ก็ต้องปนกันอยู่อย่างนั้น เหมือนมะพร้าวมันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อ เราก็เอามาทั้งหมดแหละ เขาจะหาว่าเรากินเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขา เรารู้จักของเราอยู่

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)











สำหรับพวกเราซึ่งยังเป็นปุถุชน เป็นผู้มีจิตใจหนาไปด้วยกองกิเลส การที่เราได้เข้ามาปฏิบัติเช่นนี้ ก็เนื่องมาจาก ปุพเพกตปุญญตา คือ บุญเก่าที่เราได้สร้างสมอบรมไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน ก่อนที่เราจะมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบัน ได้สนับสนุนให้จิตของเรามีศรัทธา คือความเชื่อมั่น ปสาทะ ความเลื่อมใส เกิดขึ้นในจิตใจของเราว่า การที่ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนานี้ เป็นของที่มีจริง เป็นของที่ทำได้จริง ได้ผลจริง

ข้อสำคัญอยู่ที่เราตั้งใจทำอย่างจริงจัง แม้วันหนึ่งๆใน ๒๔ ชั่วโมงนั้น เราจะทำได้เพียง ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที อย่างนี้ก็ยังดีกว่าที่เราไม่ได้ทำเลย ทีนี้เมื่อทำบ่อยๆเข้า หลายๆครั้งเข้า บุญเหล่านั้นก็มารวบรวมกัน เป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นรูปธรรมขึ้นมาในใจของเราได้ในวันใดวันหนึ่ง ข้อสำคัญอย่าละ คือให้พยายามทำ ในเวลาว่าง โอกาสที่ว่างเรามี ก่อนที่เราจะหลับจะนอนนั้นเป็นโอกาสที่เราจะได้กำหนดจิตใจของเราได้เป็นอย่างดี

หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป








การไม่คบคนพาล. ให้คบบัณฑิต. ก็อยู่ที่จิตเรานั่นแหละ. เพราะตัวเราเอง. เป็นได้ทั้งคนพาล. และบัณฑิต. ให้เลือกเอา.

พระอาจารย์ คม อภิวโร










สมัยก่อน เห็นหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านสวดมนต์นาน สวดโดน กะเลยถามเพิ่นว่า เป็นหยังคือสวดมนต์นานแท้ขะน้อย

หลวงปู่ขาว เพิ่นตอบว่า การสวดมนต์เฮ็ดให้ใจตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถ้าบ่เป็นสมาธิ มันสิสวดบ่ได้ สวดผิดสวดถูก

ต่อมาถามหลวงปู่จันทา ถาวโร ว่า จิตเป็นสมาธินี่เป็นจังได๋ครับ เพิ่นตอบว่าสมาธิมีอยู่ 3 ขั้น ได้แก่ ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ คือจังอยู่ในนักธรรมตรี โท เอก ที่เฮาเรียน

แต่ว่าสมาธิอิหลีนั่น มันต้องเฮ็ดเอา มันอยู่ในใจเฮานี่ล่ะ ถ้าสมาธิตั้งใจมั่นแล้ว เมื่อมีสิ่งมากระทบ มันสิบ่แล่นไปนำอารมณ์ต่างๆ ถ้าแล่นไปนำอารมณ์ต่างๆ อยู่นั่น ยังบ่เป็นสมาธิ ยังบ่ตั้งมั่น

ในคำสอนเพิ่นว่ามันกะบ่ผิด เพิ่นกะบอกไว้เป็นปริยัติให้เฮาทำตาม ให้เฮาปฏิบัติ แต่เฮ็ดอิหลีมันบ่คือจังที่เรียน มันต่างกันอยู่ มันต้องเฮ็ดใจของเฮานั่นให้มันเป็นสมาธิ

คือจังเขาเรียนนักธรรมตรี โท เอก มหา 9 ประโยค ฮู้เบิ๊ด เว้าได้เบิ๊ด แต่บ่ได้ทำใจตัวเองให้เป็นสมาธิ กิเลสยังเต็มหัวใจอยู่ มันละกิเลสบ่ได้ เว้าฮอดนิพพานกะซ่างแหล่ว สึกไปเอาเมียกะหลายอยู่เด้ล่ะ

นักเทศน์หมู่นี่ เว้าได้เบิ๊ด แต่บ่พากันเฮ็ด เทศน์หลายเว้าหลายกะตำหนิกัน ผู้นี้เทศน์ดี ผู้นั้นเทศน์บ่ดี

จังได๋กะซ่าง คนฟังกะต้องฟังไว้ก่อน มีหน้าที่ฟัง ให้กำลังใจกัน อย่าฟ้าวไปตำหนิกัน

เหตุผลนี้หลวงปู่กะเลยบ่เทศน์ บ่บอก บ่สอน อยู่ซื่อๆ ฝึกหัดดัดแปลงแก้ไขแต่เจ้าของ ผู้ได๋พอบอกพอสอนได้กะจังสอน

#หลวงปู่ชนะ #อุตตมลาโภ
#อุตมลาโภวาท
#ทิดไก่ 9/3/2564









#ฤกษ์ดี #ฤกษ์ชั่ว

พิธีการอะไรต่ออะไรทั้งหมดนี่ นี่ จะเข้าบ้านจะอะไรก็ต้องมีพิธีการ จะยกบ้านก็ต้องมีพิธีการ ต้องดูฤกษ์ดูยาม

ดูไปแล้ว ถ้าหากว่าได้รับความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย นี่ ก็เรียกว่าได้ทำอย่างนั้นมันถูกต้อง เป็นเพราะอันนั้น ไม่ได้คิดถึงว่าบุญกุศล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่คิดถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

#ฤกษ์ดีคืออะไร

คือมีการทำความดีอยู่ เว้นจากความชั่วด้วยประการทั้งปวงนั้นแหละ ในขณะใดขณะนั้นเรียกว่าฤกษ์ดี

นี่ ไม่เห็นว่าต้อง 9 นาฬิกา 9 นาที 9 นาฬิกา 39 นาที ไม่เห็นมี นาฬิกามันจะเป็นฤกษ์เป็นยามอะไร ไม่ไขลานมันก็หยุด

#ฤกษ์งามยามดีมันอยู่กับการกระทำของเรานี่

ฤกษ์มันไม่งามยามมันชั่ว ก็อยู่กับการกระทำของเรานี่เหมือนกัน ความเป็นมงคลหรือความเป็นอัปมงคล อยู่ในเรานี่ทั้งนั้น

เพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงเทศนา เรื่องฤกษ์งามยามดีเอาไว้ นี่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม คือการกระทำที่ดีทางกาย การกระทำที่ดีทางวาจา การกระทำที่ดีทางใจ อันนี้ล่ะฤกษ์ดี

ขณะใดมีการกระทำความดี ทางกาย ทางวาจา ทางใจ นั่นล่ะ ขณะนั้นฤกษ์ดีของเรา

ขณะใดมีการทำความไม่ดี ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ นั่นล่ะ ฤกษ์ชั่ว

#พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร
(#หลวงปู่แบน #ธนากโร )
วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร









มรรค-ผล-นิพพาน. อยู่กับสติ. อยู่กับความพากเพียร. ของเรานะ.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน










#ที่เห็นได้ชัดๆว่ามีอยู่_แต่มันไม่มีอยู่จริง

เช้าวันหนึ่งหลวงพ่อฉันภัตตาหารเสร็จ ก็ชี้ไปทางทิวทัศน์ที่มีภูเขาแวดล้อมสุดสายตา ให้พระทุกรูปดู พร้อมพูดออกมาอย่างนุ่มนวล

“..เห็นขอบฟ้าตรงนั้นไหม มันเหมือนใกล้แต่ก็ไกล มันเหมือนไกลแต่ก็ใกล้แค่นี้เองนะ แต่ไม่มีใครไปถึงตรงนั้นจริงๆสักคน ไม่มีใครเอื้อมถึงสักที..

เหมือนนักเดินเรือออกเดินทางไปสุดขอบโลก ก็เห็นขอบฟ้าอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่เคยไปถึง..”

หลวงพ่อหันมาถามพระร่วมโต๊ะ
ท่านว่า.. “เหมือนใจของคนเราไหม..”

“..ที่แท้จริงแล้วไม่มีอะไร แต่ความคิดดันคิดตามสิ่งที่เห็น. ต้องดิ้นรน แสวงหา ทำให้มีรักโลภโกรธหลงขึ้นมามากมาย. หลงอยู่กับสิ่งลวงตา ลวงใจ คิดว่ามันมีอะไร ไม่เคยหยุด ไม่เคยพอเลย.

ความสุข ความสงบ จากการดิ้นรนแสวงหาภายนอก มันก็มีจริง แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราว การหลงอยู่ในความคิดของตัวเองก็เหมือนกัน เหมือนขอบฟ้าตรงนั้น.. #ที่เห็นชัดๆว่ามีอยู่_แต่ก็ไม่มีอยู่จริง ”

หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล









ถ้ามีสติ. จิตก็อยู่กับ. ปัจจุบัน. ถ้าไม่มีสติ. จิตก็วิ่งไป. อดีต-อนาคต. ทันที. เหยียบหัวปัจจุบันไปเลย.

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน








"..ความรู้สึกนึกคิดของเรา
ไปมีอุปาทานมั่นหมายมัน
ขึ้นเมื่อไร มันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น

ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ
ท่านจึงให้ปล่อยวาง.."

โอวาทธรรม
หลวงปู่ชา สุภัทโท









หลวงพ่อไขข้อข้องใจ

ปุจฉา : การอโหสิกรรม เมื่อเจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้แล้ว ผู้นั้นยังจะต้องรับกรรมอีกหรือไม่?

หลวงพ่อพุธ : อันนี้ต้องทำความเข้าใจ กรรมที่เราทำโดยมีคู่กรณี เช่น ชกต่อยตีกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันในเมื่อทำลงไปแล้วต่างคนต่างเจ็บแค้นใจ มันผูกกรรมจองเวรกัน คือคอยที่จะล้างผลาญกัน แก้แค้นกันอยู่เสมอ ทีนี้ในเมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้ว ต่างคนต่างก็ยกโทษให้กัน อโหสิกรรมให้กัน การผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรมันก็หมดไป เพราะเราไม่คิดที่จะทำร้ายกันต่อไปอีก แต่บาปกรรมที่ไปตีหัวเขานั้นมันอโหสิไม่ได้ เพราะมันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ เราไปด่าเขามันก็เป็นบาป มันผิดศีลข้อมุสาวาท ตีเขาฆ่าเขามันก็เป็นฉายาแห่งปาณาติบาตถึงเขาไม่ตายก็ตาม ถ้าเขาตายก็เป็นปาณาติบาต แม้ว่าผู้ที่ถูกทำร้ายจะอโหสิกรรมให้คือไม่จองเวรกันต่อไป กรรมที่ผู้นั้นกระทำลงไปแล้วย่อมแก้ไม่ตก นี่ต้องเข้าใจกันอย่างนี้

ทีนี้เราทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเขาได้รับส่วนกุศลของเรา เขาได้เกิดดีถึงสุขพ้นจากที่ที่เขาอยู่ ซึ่งมันเป็นที่ทุกข์ทรมาน เขาดีอกดีใจเขานึกถึงบุญถึงคุณเราเขาก็อโหสิกรรมให้เราได้ แต่กรรมที่เราฆ่าเขานั้นมันก็ยังเป็นผลกรรมที่เราจะต้องสนองอยู่ เพราะฉะนั้น ผู้ใดต้องการตัดกรรมตัดเวรก็ต้องให้มีศีล ๕ ข้อ จึงจะตัดเวรตัดกรรมได้

พระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)








"ถ้าหากอยากจะเห็นพาลและบัณฑิตแล้ว
ให้เอากระจกส่องหน้าของเรา ก็จะพบได้
มันมีครบอยู่ในตัวเรานี่เอง"

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

.


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 160 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO