"ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นทรัพย์อันประเสริฐ"
หลวงปู่ขาว อนาลโย
ถวายอะไรได้บุญมากที่สุด?
โยม : หลวงปู่ครับ ถวายอะไรได้บุญมากที่สุด ผมอยากได้บุญมากๆ เวลาทำบุญ
หลวงปู่ : ถวายความอยากได้ของคุณน่ะ ได้บุญมากที่สุด
หลวงปู่หา สุภโร
ขอให้พี่น้องศรัทธาญาติโยมทุกคน ปฏิบัติศีล ปฏิบัติธรรม อย่าไปมุ่งหวังทางโลก อย่าไปหวังโลกามิส ให้หวังศีลหวังธรรม หวังมรรคผลนิพพาน ผู้มาอยู่ใกล้ก็มาเสาะแสวงหา ทำรูป ทำเหรียญหลวงพ่อไปขาย บ่แม่นแนวเด้อ อย่า! อย่าหาทำ คั่นผู้ใดเฮ็ด ได้ยินกะหยุดนะ มันบ่เป็นมงคลดอก หาความเจริญรุ่งเรืองบ่ได้ พอได้ไปก็บ่เจริญ เผลอ ๆ ยังฉิบหายต่อไปอีกต่างหาก
พวกเราคณะศรัทธาญาติโยมที่เป็นศิษยานุศิษย์หลวงพ่อ ให้ฟังเอาไว้ หลวงพ่อก็ประกาศบอกกล่าวไว้แล้วว่า ผู้ใดเฮ็ดรูปเฮ็ดเหรียญหลวงพ่อ บ่ได้นะ หลวงพ่อจะไม่ให้มาเหยียบวัดนะเว้ย หลวงพ่อก็บอกจังซั่นอยู่แล้ว พวกเราก็คงได้ยิน หลวงพ่อยังยืนพื้นคือเก่านั่นแหละนะศรัทธาญาติโยมลูกหลานนะ เพราะหลวงพ่ออินทร์เป็นคนผู้เก่า เว่าแบบเก่านั่นล่ะ แบบที่เคยเว่านั่นล่ะ เพราะฉะนั้น ลูกหลานทั้งหลาย อย่าไปดื้ออย่าไปด้าน อย่าไปหาอยากรวย ยอมขายรูปขายเหรียญ หลวงพ่อมองเห็นแล้วมันมีแต่เป็นพิษภัยเสียมากกว่า บ่มีคุณดอก
เพราะฉะนั้น อย่าเฮ็ด ทำมาค้าขายอย่างอื่น เก็บหอมรอมริบอย่างอื่น เสาะแสวงหาทรัพย์สมบัติด้วยสติ ด้วยปัญญา แล้วก็เก็บหอมรอมริบไว้จะดีกว่า ดีกว่าจะมาขายรูปขายเหรียญหลวงพ่อ มันบ่แม่นแนว
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก จากพระธรรมเทศนา “อย่าดื้อด้านทำรูปทำเหรียญหลวงพ่อ” แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
#โรค๑๖ประการ
เรารักษาโรคไม่ถูก...ไม่ถูกทาง !! จึงพากันป่วยเป็น "โรค๑๖ประการ" นี้ !!
รู้ว่าตัวเองป่วยไหม ถ้าฉันป่วยฉันก็นอน รพ.สิค่ะ ฉันจะมานั่งฟังทำไม หลวงตาพูดอะไรแปลกๆ เดียวก็จะมาต่อว่าอีก เราป่วยจริงๆน่ะ....โรคที่ป่วยน่ะ มันมีอยู่ ๑๖ ประการ โรคที่เบียดเบียนพวกเราน่ะ
โรคอะไรบ้าง เอดส์ มะเร็ง ใช่ไหม?......ไม่พูด !!
อันนี้มันโรคประจำกระแสโลก "โรค ๑๖ ประการ" ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประกาศบอกเอาไว้ในธรรมวินัย!!
โรค ๑๖ ประการมีอะไรบ้าง ?
๑.อภิชฌาวิสมโลภะ : ละโมบด้วยความไม่สม่ำเสมอ คือ ความเพ่งเล็ง (อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอ เห็นแก่ได้จนลืมตัว)
๒.โทสะ : ร้ายกาจ ( มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง จนฆ่าตัวตายก็มีซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ)
๓.โกธะ : โกรธ (มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ)
๔.อุปนาหะ : ผูกโกรธไว้ (ใครพูดอะไร ทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกันคิดทวนเรื่องในอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหน เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ)
๕.มักขะ : ลบหลู่คุณท่าน (ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น)
๖.ปลาสะ : ตีเสมอ ยกตนเทียบท่าน (ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้)
๗.อิสสา : ริษยาเห็นเขาได้ดีก็ทนอยู่ไม่ได้ (เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี)
๘.มัจฉริยะ : ความตระหนี่ (ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ ไม่อยากให้ใคร)
๙.มายา : ความเจ้าเล่ห์เพทุบาย (ไม่จริงใจ หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น)
๑๐.สาเถยยะ : ความโอ้อวด (หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข)
๑๑.ถัมภะ : ความหัวดื้อถือรั้น (ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง)
๑๒.สารัมภะ : ความแข่งดี ( มุ่งแต่จะเองชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้)
๑๓.มานะ : ความถือตัว (ทะนงตน)
๑๔.อติมานะ : ความดูหมิ่นท่าน (ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น)
๑๕.มทะ : ความมัวเมา (หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ)
๑๖.ปมาทะ : ความประมาทเลินเล่อ (ไม่คิดให้รอบคอบ อาการที่ขาดสติ ขาดปัญญา)
โรค ๑๖ ประการนี้ มันทำให้เราตกอยู่ในวัฏจักรวนเวียนกี่ภพกี่ชาติแล้ว เราป่วย เกิดๆตายๆวนเวียนอยู่นี้ ก็เพราะโรคเหล่านี้ โรค ๑๖ ประการนี้ ทำให้เราตกอยู่ในวัฏสงสารอันนี้ เรารักษาโรคไม่ถูก ไม่ถูกทาง จึงพากันป่วยอยู่มาในภพชาตินี้ พากันมาป่วยกันอีก
จะป่วยกันไปกี่ภพกี่ชาติกี่กัปกี่กัลป์ ที่จะเกิดๆตายๆอยู่นี้ เราป่วยจริงไหมโรคเหล่านี้ เราป่วย ใจเราป่วยหรือเปล่า อ่านใจตัวเองสิ เอาใจอ่านกายตัวเองสิ เอาใจอ่านวาจาคำพูดที่พูดออกไปสิ ดูให้มันเห็น มันมีอยู่ประจำโลกไม่ใช่หรอ ทำไมถึงไม่เห็น ทั้งๆที่รู้ทำไมถึงไม่รู้ ความรู้เหล่านี้มันมีอยู่แล้วประจำหมด แม้แต่ตัวตนสกลกายของตัวเอง เป็นก้อนธรรมก็ยังไม่รู้
ถอดจากเทปพระธรรมเทศนา หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร วัดโปร่งจันทร์ ต.คลองพลู อ.คิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
ถอดเทป/เรียบเรียง : นรินทร์ ศรีสุทธิ์
#ชีวิตเฮาใกล้ล่ะได๋_ฮู้ทางไปเจ้าของละบ่ ?
คนเฮาเกิดมานี่ พระพุทธเจ้าว่าอายุน้อย แต่เฮาก็ยังหลง หลงในวัยหลงในชีวิต หลงกับลาภยศสรรเสริญ หลงกับชื่อเสียงเพราะอะไร ก็เพราะกิเลสตัฐหาที่มีอยู่ในจิตในใจ พระพุทธเจ้าเพิ่นยังบอกว่า ให้เฮาเฮ็ดคือจั่งคนถืกไฟไหม้
"อัจจะยันติ อะโหรัตตา ชีวิตัง อุปะรุชฌะติ" วันคืนก็ล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้สู่ความตาย
ชีวิตเฮาใกล้ล่ะได่ ครูบาอาจารย์ที่ยังหนุ่มยังแน่นอาจสิคิดว่าเจ้าของยังบ่ทันเฒ่าบ่ทันแก่ อีกบ่ดนเด้ อีกบ่ดนที่เฮาสิตายจากโลกนี้ไป เฮาสิมีเวลาเลือกทางเดินของชีวิตได่น้อยหลายปานได่ พระพุทธเจ้าว่าในวัฏสงสารนี้ มีมนุษย์ ๑ สววรค์ ๖ พรหมอีก ๒๐ อบายภูมิอีก ๔ เฮาสิไปทางได่
สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ลูกหลานบ่สามารถเฮ็ดให้ได่ การฝึกหัดจิตใจเฮาต้องมาฝึกหัดเฮ็ดเอง จั่งสิสามารถจัดการกับจิตใจดวงนี้ได้ จัดการกับชีวิตของเฮาที่ได้เกิดมานี้เอง ฉะนั้นขอให้เฮาเข้าใจ ว่าเฮาสิไปทางได๋ เฮาอยากไปเป็นมนุษย์อีกบ่ หรือว่าสิไปเป็นเทวดา ไปเป็นพรหม หรือว่าสิว่าไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน สิไปรอยามตาย
อาตมาว่าเวลาคนเฒ่าคนแก่ตาย มานิมนต์พระมาสวด สวดหัว-สวดท้ายเพิ่นว่า...สวดบอกทางไปสวรรค์ ไปชั้นจาตุมฯเด้อ ไปชั้นดาวดึงส์ฯเด้อ ไปชั้นดุสิตเด้อฯลฯ
เพิ่นบอกว่าไปสวดบอกคนตาย เพิ่นสิฮู้ทางไปได้จั่งได๋ ขนาดตอนเพิ่นยังบ่ตายกะยังบ่ฮู้จักเทื่อ เพิ่นสิไปแปลได้บ่ภาษาบาลี
"ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา" /อยู่ไสน้อ ?
ถ้าแมนเพิ่นฮู้ความ "ตาวะติงสาฯ" /อยู่ไสน้อ ? สิเดินไปทางได๋น้อ มันบ่แมนสิมาบอกทางกันแล้วสิสามารถไปได้ดังใจ
ถ้าเฮาบ่สามารถสะสมบุญบารมีพอกพูนคุณงามความดี ให้เกิดขึ้นกับจิตใจดวงนี้ เฮากะบ่สามารถสิไปได้ เฮาอาจสิรู้อยู่ทางนี้ทางไปสวรรค์ ทางนี้ทางไปนิพพาน ทางนี้ทางไปสู่การมาเกิดเป็นมนุษย์
เฮาอาจสิฮู้ทาง แต่ว่า...เฮาสิสามารถไปได่บ่ เมื่อลมหายใจสุดท้ายสิ้นไป "ยมบาล" คือบาปกรรมหรือว่าสิ่งต่างๆที่เฮาเคยสร้างไว้อยู่ในจิตใจ สิพาเฮาไป
ถอดจากเทแพระธรรมเทศนา พระอาจารย์จรัญ อนังคโณ ประธานสงฆ์อุทยานธรรมดงยาง ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ (ทายาทธรรมหลวงปู่สมภพ โชติปัญโญ วัดไตรสิกขาทลามลตาราม อ.คำตากล้า จ.สกลนคร)
ถอดเทป/เรียบเรียง : นรินทร์ ศรีสุทธิ์
หลวงปู่มั่นสอน “ลิงติดตัง” . หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่มั่น ท่านไปสอนจนกระทั่งสมเด็จฯ สมเด็จฯ ท่านก็ไม่รู้ ท่านก็ไม่เชื่อ จะเชื่อได้อย่างไร เมื่อไม่เห็นเอง ต้องอาศัยการกระทำมันจึงจะเกิดขึ้นได้ . แม้ว่าองค์ท่านพระอาจารย์มั่นอายุได้ ๗๙ ปี บางวันท่านนั่งทั้งวันทั้งคืน บางครั้งก็สวดมนต์ ทางสวดได้มาก ธรรมบทไหน มีธรรมจักเป็นต้น ท่านสวดอยู่รูปเดียว ไว้พระสวดมนต์เช้าค่ำท่านสวดได้หมด . หลวงปู่มั่นท่านสอนหลวงปู่ศรีว่า . “ถ้าพูดให้มันฟังมันไม่เชื่อ เชื่ออยู่แต่ไม่ทำ ทำแต่ไม่เห็นได้ผล ถ้าเชื่อจริงๆ มันต้องทำได้สิ แต่นี่มันฟังเล่นเฉยๆ มันไม่เห็นคุณค่าของพระศาสนา ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ” . หลวงปู่มั่นเล่าว่า . “เราไปอยู่บนเขา ป่วยหนักยิ่งป่วยยิ่งนั่ง นั่งจนกระทั่งล้มลง ล้มลงแล้วลุกขึ้นมานั่งใหม่ พอรู้ตัวขึ้นมาสว่างโร่เลย เสียงนกเสียงหนูร้องรู้จักภาษาสัตว์หมดนกร้องก็รู้ได้ สว่างโร่เลย” . นี้เป็นตัวเหตุ ผู้ปฏิบัติจะอยู่เฉยๆ จะเกิดอรรถธรรมขึ้นมาเป็นไม่มีและมีไม่ได้ เหมือนเราหิวข้าว นั่งดูเฉยๆ จะอิ่มไม่ได้ เราต้องกินเท่านั้นถึงจะอิ่ม เราต้องลงมือกระทำใครๆ ก็เหมือนกัน . ท่านพระอาจารย์มั่นสอนว่า . “จิตใจคนเราก็เหมือน “ลิงติดตัง” ลิงอยากไปจับตัง (ยางไม้เหนียว) จับแล้วยางเหนียวมันก็ติดมือ ติดมือแล้วก็เอามาติดตา ก็ตัวเองนั่นแหละทำตัวเอง คนอื่นไม่ได้ไปทำ พอติดตาแล้วมองไม่เห็น ไปไหนก็ไม่ได้ แล้วจะไปตำหนิใคร ตัวทำเองทั้งนั้น ตังเองฆ่าตัวเอง ตัวเองทำลายตัวเอง ติคนอื่นไม่ได้หรืออย่างเกิดมารูปพรรณสัณฐานไม่สย หรือเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา จะหาว่าพ่อแม่ทำ ไม่ใช่เป็นกรรมของเราเองทั้งนั้น เกิดจากกรรมที่เราได้สร้างไว้แต่ปางก่อนทั้งนั้น จะไปตำหนิใครไม่ได้ ตัวเองทำตัวเองทั้งนั้น เหมือนลิงติดตังนั่นแหละ ตัวเองทำตัวเอง ก็คือใจนั่นเอง ลิงติดตังตัวนั้นก็คือใจหรือจิตเรานี้แหละ ใจมันสร้างความคิดขึ้นมาก็หลงความคิดตัวเอง สร้างอะไรก็หลงอันนั้น ตัวเองหลงตัวเอง ตัวเองบ้าเพราะตัวเอง” . ขณะเดียวกันผู้มีปัญญาท่านมองดู ท่านอยากหัวเราะเยาะเอา เป็นเรื่องขบขันไปเลย . พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต #ที่มา พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
#ปฏิปทาที่เหมาะสม
เบื้องต้นต้องหาทางทำยังไงจิตให้สงบ ทำให้ได้ ทำสมาธิภาวนา ๗ วัน ๑๐ วัน ทำให้ได้ แล้วก็ทรงสมาธิให้ได้
#ถ้าทรงสมาธิได้ จิตเป็นหนึ่ง เป็นเอกคัตตาจิตเนี่ยสบาย
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ความรู้สึกพอใจเกิดขึ้น หรือความรู้สึกตรงกันข้ามความไม่พอใจเกิดขึ้น
#สติมันเห็น #เพราะสติมันอยู่ที่จิต #อารมณ์ก็ออกจากจิต #กิเลสก็ออกจากจิต
เมื่อสติมันตั้งมั่นจากสมาธิเนี่ย สติมันเห็น มันรู้เท่าทัน เมื่อรู้เท่าทันมันมีพลังของปัญญา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส นั้นจะปล่อยว่างได้ในขณะจิตนึง ในปัจจุบันนั้นเลย
#สติ_สมาธิ_ปัญญาแหลมคม #จะละกิเลสได้ในปัจจุบันชั่วคราวนะ ละอารมณ์นี่มันชั่วคราว
#จะถอดกิเลสนะมันต้องคิดพิจารณากายในกาย
ตั้งแต่โสดาบันผล ถึงอนาคามีผล ตั้งแต่กายอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ๓ ระดับ กายอย่างหยาบก็โสดาบันผล กายอย่างกลางก็สกิทาคาผล กายอย่างละเอียดที่ละได้ก็อนาคามีผลนั้นล่ะ
#นี่แหละเป้าหมายของการพิจารณากายในกายเนี่ย #อันนี้เป็นทางที่ไม่ผิด #ไม่เชื่อก็ลองทำดู #แล้วจะเห็นประจักษ์ชัดด้วยใจของตนเอง
รู้เห็นธรรมขึ้นมาก็ด้วยใจของตนเอง ใจจะเป็นธรรมขึ้นมาก็ด้วยพิจารณากายในกายนี่แหละ พิจารณาอารมณ์นั้น ปล่อยวางชั่วคร่าวเท่านั้นแหละ
วันนี้ละรูปนี้ลงไป ละเสียงนี้ กลิ่นนี้ รสนี้ ออกไป พรุ่งนี้ รูปใหม่ รสใหม่ กลิ่นใหม่ สัมผัสใหม่ ไม่เหมือนเดิม สติปัญญาต้องทำงาน เหนื่อย เหมือนเดิมทุกๆวัน
#ละวางได้แต่เพียงชั่วคราวเท่านั้นแหละถ้าไม่ขุดรากถอนโคนรากเหง้าคืออุปาทานความยึดมั่นในกายตนแล้วเนี่ย อารมณ์ไม่มีทางระบาด
#ผู้ที่ดูจิต พิจารณาจิต พิจารณาอารมณ์ทั้งนั้น ไม่สามารถที่จะเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ เพราะไม่เห็นความไม่เที่ยงของกายนี้
#ถ้าผู้ใดไม่ผ่านทางการพิจารณากาย แล้วว่าตนบรรลุโสดาบันจนถึงอรหันต์นั้น อันนั้นด้วยความหลง ด้วยความวิปลาส วิปริต ต้องผ่านการพิจารณากายหมด
พระอริยะบุคคลเบื้องต้น จนถึงพระอนาคามี จึงจะพิจารณาจิตที่ละเอียด หรือ กิเลสที่ละเอียดได้
เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้ามาบวช อุปชาย์ท่านใดไม่ได้ให้พิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ทำให้กุลบุตรนั้นเป็นหมันจากมรรคผลนิพพานได้เลยในปัจจุบันชาติ เพราะไม่ชี้ทางไม่บอกทางแห่งมรรคผลนิพพาน
กรรมฐานทั้งหลายก็มีอยู่ สติปัฏฐาน ๔ ก็ขึ้นด้วยกายก่อน แล้ว เวทนา จิต ธรรม สังโยชน์ ๑๐ ก็ละสักกายะทิฐิ
#เรื่องของกายทั้งนั้น
#อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย #เป็นเรื่องถ่ายถอนกิเลส ทำให้ความโลภความโกรธความหลงเบาบางไปได้ จนดับความโลภ ดับความโกรธได้เลย ละความยินดีในกามทั้งหลายเรื่องของกายนี่แหละ เพราะฉะนั้นต้องฝึกซ้อมพิจารณา
#ท่านใดคิดจิตยังไม่สงบ เมื่อถึงเวลาเข้าที่เดินจงกรม ให้ทำความรู้สึกไว้ที่ต้นทาง ระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
ต่อไปนี้เราจะเดินจงกรมเพื่อที่จะฝึกสติของเรา อยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะเดินไปกลับ ๑๐ รอบจะไม่ให้คิดถึงสิ่งอื่นใดเลย นอกจากคำบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ หรือ กำหนดที่เท้าสัมผัส หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง เดินไปกลับ ๑๐ รอบ อย่าให้ความคิดใดมาแทรก หรือจะเดิน ๒๐นาที ครึ่งชั่วโมง
#ขจัดความคิดออกไปก่อน ตะเพิดกิเลสออกไปว่า เราคิดมาตลอดจะ ๒๔ ชั่วโมงแล้ว เวลานี้ไม่ใช่เวลาคิด อย่าไปตามกิเลส อย่าไปปล่อยให้จิตนึกคิดปรุงแต่ง สารพัดเรื่อง สารพัดอย่าง เป็นการเดินจงกรมเดินนึกคิดเอา ไม่ได้เดินทำสติทำสมาธิ
#ตามหลักผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น #ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต
#อย่าไปหลงกลกิเลส ปรุงแต่งส่งเสริมไป จะว่าบังคับจะว่าควบคุมก็ช่างเถอะ เราจะทำสติสมาธิก่อน
เห็นไหม #หลวงตามหาบัวเมื่อปฏิบัติเริ่มต้นใหม่ๆ เมื่อท่านทำจิตเสื่อมจากสมาธิท่านเจ็บใจอาฆาตแค้นกิเลส บอกจะไม่ทิ้งพุทโธเลย จะไม่ทิ้งคำบริกรรมภาวนาพุทโธเลย ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบท ยืนเดิน นั่ง นอน จะไม่ทิ้งคำภาวนาพุทโธเลย ใจให้แนบแน่นอยู่ตรงนั้น
#นั้นแหละการฝึกสติให้เป็นหนึ่งเดียว
#เมื่อเราจิตไม่สงบให้เดินจงกรมกำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เรากำหนดภาวนา จิตจะคิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ตัดออกไป ไม่ใช่เวลาคิดตะเพิดออกไป เดินไป ๑๐ รอบก็ให้มีสติอยู่กับพุทโธนั้นแหละ
#ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ หรือนั่งสมาธิก็ตามกำหนดระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา
จะกำหนดอาปานสติ หรือ พุทธานุสติ หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็แล้วแต่ ให้ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต เรื่องปัจจุบัน ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน
#ถ้าเรานั่งอยู่กับหมู่ ให้เราทำใจให้เหมือนนั่งอยู่บนท้องฟ้าคนเดียว กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานของเราเท่านั้นแหละ
ถ้าคิดเรื่องอดีต ก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่ คิดถึงเรื่องอนาคตก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับคำบริกรรมภาวนา
ทำอย่างนี้ไปก่อน สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตามไม่สนใจ เราจะควบคุมจิตใจเราให้ได้หนิ
#ปล่อยจิตใจมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว
เค้ายังฝึกช้างให้เชื่องได้ ฝึกม้าให้หายพยศ ฝึกหมาให้เชื่องได้ ทำไมใจตัวเราฝึกให้ดีไม่ได้ จะฝึกให้มันนิ่ง นิ่งไม่ได้เหรอ กำหนดอยู่ตรงนั้นแหละ
ถ้ามันเครียดตึง ปวดศรีษะ ปวดร่างกาย ปวดเส้น มันตึงไปก็รู้จักวางจิตให้เป็นกลางหน่อยผ่อนลงมาหน่อย อย่าไปเพ่งมากมายนัก พอผ่อนลงไปมากก็หย่อน เกิดนิวรณ์ อันนี้ก็หย่อนเกินไป กำหนดสติให้ถี่ขึ้นมาหน่อย
#หาความเป็นกลางให้ได้
ทำยังไงสมาธิจึงจะเกิดขึ้น หาความพอดีให้ได้ การนอนก็พิจารณาแล้วนอนขนาดไหนพอดี การฉัน ฉันขนาดไหนจึงจะพอดีพิจารณาแล้ว
ทีนี้เรื่องการทำความเพียร หาเวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิ สลับกันไปตลอดเป็นผู้ปรารถความเพียรอยู่เสมอ ว่างเข้าที่เดินจงกรม ว่างเข้าที่นั่งสมาธิ
พระอาจารย์ตั๋น วัดป่าบุญญาวาส จังหวัดชลบุรี ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่องปฏิปทาที่เหมาะสม เทศน์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
“ "พุทธะ ธรรมะ สังฆะ” ๓ รัตนะนี้ เมื่อรวมลงใน "พุทโธ" ก็เท่ากับเราเอาสบู่ ๓ ก้อนมารวมป็นก้อนเดียวกัน แล้วใช้สบู่ฟอกผ้า คือ "ดวงจิต" ของเราให้ขาวสะอาด
ธาตุทั้ง ๖ เปรียบเหมือนกับผ้า พวกธาตุดินมีกระดูกต่างๆ ธาตุน้ำมีโลหิตและน้ำดี ฯลฯ ธาตุไฟที่ทำความอบอุ่น ในกระเพาะอาหารและลำไส้ อากาศในช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ฯลฯ วิญญาณความรู้สึก ลมหายใจ เปรียบเหมือนกับชามอ่างซักผ้า
พุทโธเป็นสบู่ สติเป็นมือที่ไปจับก้อนสบู่
การซักเราจะต้องวางผ้าลง ให้ตรงในชามอ่าง มือก็จับ ให้ถูกก้อนสบู่และถูให้ถูกตรง ที่เปื้อน ทำเช่นนี้จึงจะได้ผล คือ ผ้าของเราก็ขาวสะอาด
ผ้าที่มิได้ซักฟอกย่อมจะมี น้ำหนักมากเพราะมันอมอยู่ ซึ่งเหงื่อไคล เมื่อเราซักฟอก แล้ว มันจะมีน้ำหนักเบาลงกว่าเดิม
เหมือนจิตของบุคคล ที่ฝึกหัดขัดเกลาแล้ว ย่อมเบาจากความยึดถือ จิตก็จะสูงขึ้นกว่าเก่า "
โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
" ใจเรานี้ บางครั้ง มันใหญ่กว่าภูเขา ใจเรานี้ บางครั้ง มันแกร่งกว่าเพชร ใจเรานี้ บางครั้ง มันกว้างกว่ามหาสมุทร
เพราะใจเรานี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณการ ขอให้พวกเรา เรียนรู้ เรื่องจิตใจ รู้เท่าทันจิตใจ ว่ามันคิดไปทางไหน ทางดีหรือทางร้าย
ใจใจใจเท่านั้น ที่ทำให้เรา เกิดภพเกิดชาติ ใจใจใจเท่านั้น ที่ทำให้เรา ตัดภพตัดชาติ
จงให้รู้ ทุกขณะจิตใจ ของเรา คิดอะไรอยู่ เรียนรู้และรู้ให้ทัน ว่าจิตใจเรานั้น มันคิดอะไรอยู่
คิดดีก็รู้ แล้วปล่อยวาง คิดชั่วก็รู้ แล้วปล่อยวาง ทั้งดีและชั่ว ปล่อยวางให้ได้ "
โอวาทธรรม หลวงปู่บุญส่ง ฐิตสาโร
|