"อย่านั่งภาวนาด้วยการหลับ"
.... การนั่งก็ให้สังเกต ถ้าจะมีอาการโงกง่วง ให้รีบเปลี่ยนทันที ลงไปเดินเสียบ้าง เปลี่ยนสถานที่บ่อยๆ เปลี่ยนอาการของตน คือ อิริยาบถของตนเสมอ
อย่าปล่อยให้ง่วงอยู่เฉยๆ ถ้าปล่อยให้ง่วงเฉยๆ ง่วงแล้วก็หลับเท่านั้นเองไม่ไปอื่น จากง่วงก็หลับ
ถ้าตั้งใจหลับ ก็ให้หลับเสียด้วยการตั้งใจนอน
อย่านั่งภาวนาด้วยความหลับแล้วตื่นขึ้นมาว่าเรานั่งภาวนา นั่งภาวนาอะไร นั่งหลับ นี่อันหนึ่ง ก็ไม่เกิดประโยชน์เหมือนกัน .
"พระหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน"
กิ้งกือ คนมาอยู่กันมาก ๆ มันก็ปฏิบัติกันได้ง่าย ถ้ามีความเห็นถูกต้องตรงกัน เมื่อมาน้อมลงเพื่อละทิฏฐิอันเดียวกัน มันก็ลงสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เหมือนกัน จะว่ามีหลายองค์ มันจะเกะกะก็ไม่ได้ คล้ายๆ ตัวกิ้งกือ ตัวกิ้งกือมีหลายขา มองดูน่ารำคาญเหมือนกับว่ามันจะยุ่งกับขาของมัน แต่มันเดิน เดินไปเดินมา ความจริงมันไม่ยุ่ง มันมีจังหวะ มีระเบียบ ในทางพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติแบบสาวกของพระพุทธเจ้ามันก็ง่าย คือการเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ ตรง ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์และเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ถึงเราจะมีเป็นร้อยเป็นพัน เราจะมีมากแค่ไหนก็ช่างเถอะ มันก็ลงสายเดียวกันหมด
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) รวมธรรมอุปมา
พระพุทธองค์ชมว่า ผู้ที่เคยทำบาปกรรมในอดีต สำนึกผิดแล้ว เลิกทำแล้ว ตั้งอกตั้งใจพัฒนาชีวิตตามหลักคำสั่งสอนของพระองค์ ผู้นั้นย่อมดูงาม เขา “ส่องโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ”
พระอาจารย์ชยสาโร
...ที่บอกให้ทำบุญ ก็เพื่อจะได้ไม่นำเงินไปเที่ยว “ทำบุญก็เหมือนเป็นการฝากธนาคารไว้”
.เงินที่เราทำบุญนี้เราก็ได้บุญสะสมไว้ ชาติหน้าก็สามารถเบิกมาใช้ได้ ส่วนเงินที่ไปเที่ยวใช้แล้ว..ก็หมดไป.. . ...หรืออยากได้กระเป๋าใบใหม่(brandname) ก็ถุงนี่ไง... ใช้ได้เหมือนกัน
.วันนี้ใช้ brand Lotus พรุ่งนี้ brand Big C หรือ brand 7-eleven "brand ดังๆทั้งนั้น" ..ก็ใช้ได้เหมือนกัน. ................................................ ธรรมะหลังการแสดงธรรม ธรรมะบนเขา1/12/2560 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"ทำผู้อื่นสัตว์อื่นทุกข์ แล้วทุกข์จะไม่ถึงตนนั้นไม่มี"
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
"คิดดู การให้อภัยผู้อื่น มันเป็นการช่วยใคร ที่จริงเป็นการช่วยตัวเราเอง เราไม่ต้องเครียด ไม่ต้องเศร้าหมอง ไม่ต้องอึดอัดอีกแล้ว ถือว่าหมด มันหมดอยู่ที่ตัวเรา หมดอยู่ที่ในจิตใจของเรา"
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
"อย่าพากันไว้ใจในชีวิตตน ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ไม่แน่นอน วันนี้เรามีชีวิตอยู่ ยังหายใจอยู่ วันหลังมา ชีวิตจะเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ เราไม่อาจรู้ได้
วันนี้พวกเราทั้งหลาย เชื่อหรือว่า ชีวิตจะคงอยู่ตลอดวัน เพราะความตาย เป็นของไม่มีกาลเวลา มันจะตายเวลาไหนก็ไม่รู้ เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุดแท้แต่จะเป็นไป
เมื่อเรามีชีวิตอยู่ อย่าพากันประมาท จงพากันบำเพ็ญความดี ให้เกิดให้มีขึ้น ในดวงจิตของเราเสียแต่บัดนี้ เมื่อตายแล้ว เราจะทำอะไรได้เล่า มีแต่รับผลบุญผลบาป ที่ตัวเองสร้างไว้เท่านั้น"
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ
"ลมปากมนุษย์มันพอใจ มันก็ว่าให้ดี ที่ลมปากมนุษย์มันไม่พอใจ มันก็ด่าให้ ว่าให้ อย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อน ทำใจของเราให้วางเฉย พุทโธอยู่ในดวงใจ ให้จิตใจเย็นสบาย"
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
คั้นเอาความโลภ-ความโกรธ-ความหลงออก. มันสิเห็นใจเจ้าของ. มันบ่มีแนวบัง.
หลวงปู่คูณ สิริจันโท
พิจารณาให้เห็นทุกข์ซะก่อน. ถ้ามันบ่เห็นทุกข์. มันบ่หนีเด้.
หลวงปู่คูณ สิริจันโท
ท่านพ่อลี สอนว่า ...... ให้พึงรักษา ๘ คำนี้ไว้
"สัจจะ จริงใจ กตัญญู รู้คุณ มั่นคง ไม่คดโกง ซื่อตรง ซื่อสัตย์.
ธรรมของฆราวาสพึงรักษา ๘ คำนี้ได้ อยู่ที่ไหนก็เจริญ รักษาไม่ได้จะเป็นกรรมชั่วติดในใจเจ้าของผู้กระทำ และจะตามติดตัวผู้กระทำเปรียบเสมือนเงาตามตัว เปรียบเสมือนกระจกเงาเมื่อส่องดูก็จะพบเห็นสิ่งที่กระทำลงไปอยู่ตลอดเวลา
สุดท้าย สิ่งที่ได้ทำลงไปจะย้อนมาหาตัวเจ้าของเอง"
ท่านพ่อลี
#ธาตุรู้ #ซึ่งให้นามว่า #จิต
นี้ทรงไว้ซึ่งความรู้ คือหลับก็รู้ หลับสนิทก็รู้ ตื่นก็รู้ และฝันเรื่องอะไรก็รู้ กระทบอารมณ์ซึ่งจะเป็นเหตุให้ดีใจเสียใจก็รู้ รับรู้ไว้หมดไม่ลำเอียง กิริยาที่ลำเอียงเป็นธาตุแทรก หรือความรู้ที่แทรก
ความรู้สึกเดิมนี้ถ้าเปรียบเทียบ เหมือนเหล็กหรือเงินทองทั้งดุ้น ซึ่งยังไม่ได้ถลุง หรือเจียระไนให้เป็นของควรแก่เครื่องประดับที่จะพึงซื้อขาย หรือใช้ประโยชน์ได้ตามความนิยม จะยังใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ เพราะยังไม่ได้รับการอบรมให้ควรแก่เหตุ เหมือนทารกซึ่งยังไม่รู้เดียงสา แม้จะถูกน้ำร้อนหรือไฟไหม้ ก็จะรู้สึกแต่ความเจ็บปวดเป็นทุกข์เท่านั้น ไม่รู้วิธีที่จะหาทางออกจากอันตรายให้พ้นภัยไปได้
ความรู้เดิมนี้เป็นธรรมชาติที่ไม่รู้จักดับ แต่สิ่งแวดล้อมที่เรียกว่ากิเลสยังมีอยู่ตราบใด ก็เป็นเหตุให้ท่องเที่ยวไปตามกระแสของ วัฏฏะ ตราบนั้น
หมุนไปเวียนมา ออกจากร่างนี้เข้าสู่ร่างนั้น ซึ่งให้นามว่า เกิด ตาย จะเป็นกำเนิดหรือฐานะต่ำต้อยเลวทรามอย่างไร ก็ไม่อาจจะพึงเลือกได้ สิ่งแวดล้อมที่มีกำลังเหนือกว่าจะขับไล่ไสส่งไปไหนก็ต้องไปทั้งนั้น เหมือนทารกปราศจากพี่เลี้ยงย่อมเป็นไปตามยถากรรม จะตกน้ำเข้าไฟ ตกเหวตกบ่อแล้วแต่ขาพาไป ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ฉะนั้น
เมื่อกายแตก จิตออกจากร่างไปถือปฏิสนธิก่อรูปร่างขึ้นใหม่ สวยงามบ้างไม่สวยงามบ้าง กำเนิดสูงบ้างต่ำบ้าง เป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาอินทร์พรหมบ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่จะคว้าถูกมือ เหมือนคนตกน้ำคว้าหาที่พึ่งเพราะกลัวความตายฉะนั้น
แม้ขณะที่จะเข้าสู่ปฏิสนธิในกำเนิดต่าง ๆ ก็หารู้ไม่ว่าเป็นกำเนิดประเภทใด ถ้าเป็นกำเนิดมนุษย์ ก็ต้องรู้ภาวะเดียงสาแล้ว กาลใดจึงจะรู้ว่าตนเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลนั้น ๆ
ถ้าเป็นสัตว์ก็ไม่รู้เลยว่าเป็นอย่างไร เมื่อปรากฏเป็นตัวผลขึ้นมาแล้ว จะแก้ไขก็ไม่ได้ เป็นของเหลือวิสัยเพราะสายไปเสียแล้ว แม้จะสูงหรือต่ำโดยกำเนิด โดยชาติหรือตระกูล ก็จำเป็นให้ยินดีในภพชาติและตระกูลของตน
จะมีจะจน จะสุขจะทุกข์ก็แล้วแต่กรรมพาให้นิยม ตลอดอาหารในภพนั้น ๆ ก็พึงยินดีและบริโภคตามฐานะแห่งกำเนิดของตน ๆ
ต่างกำเนิดต่างก็ยินดีในกรรมและวิบากแห่งกรรมของตนเอง ซึ่งพอที่จะอำนวยชีวิตให้เป็นไปในภพนั้น ๆ
เนื่องจากจิตที่ไม่รู้จักเกิดตายเป็นตัวเหตุให้ สังสารจักร หมุนไม่หยุด จึงเป็นเหตุให้มนุษย์และสัตว์ได้รับความลำบากทั่วหน้ากัน
ในเมื่อไม่รู้จักวิธีแก้ไขที่พอเหมาะพอดีแก่การหักห้าม วัฏจักร ให้หยุดในการท่องเที่ยวหมุนเวียน ทั้ง ๆ ที่ธรรมชาติอันนี้จะเป็นเจ้าโลกเจ้าธรรมอยู่นั่นเอง แต่ก็ยังฟุบตัวลงเป็นเขียงเท้าของสิ่งแวดล้อมอย่างโงหัวขึ้นไม่ได้
เหตุทั้งนี้ก็เพราะปล่อยใจให้เป็นไปตามยถากรรมเกินไป เมื่อใจได้รับความยับยั้งหรืออบรมด้วยธรรม ซึ่งเป็นสวากขาตธรรมแล้ว จิตจะเป็นอย่างนั้นไปไม่ได้ แต่สิ่งอื่นที่จะสามารถบังคับยับยั้งจิตไม่มี นอกจากจิตจะยับยั้งตนเองด้วยธรรม
#ธรรมคู่แข่งขัน1 #หลวงตามหาบัว
" ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น แหละ กรรมของใครของมัน วิ่งมาให้ผลของมันเอง ไม่ต้องไปผูกเวรผูกภัย กับใครหรอก ให้เขาเป็นสุข มีความเจริญซะ
ให้ปรับตัวใหม่ อย่าไปผูกเวร ผูกภัยกับเขา ถ้าไปผูกเวร ผูกภัยแล้วเราจะขาดทุน ถ้าไม่ผูกเวรผูกภัยแล้ว เขาก็ทำอะไรเราไม่ได้หรอก "
โอวาทธรรม หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
" ต้นไม้ทุกต้นก็เป็นต้นไม้ ต้นเดียวกัน เพราะว่ามัน เหมือนกันโดยอาการที่มัน เกิดขึ้นมาแล้วมันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วก็แปรไป แล้วมัน ก็เปลี่ยนไป หายไป เสื่อมไป ดับสิ้นไปเป็นธรรมดา
มนุษย์เราทั้งหลายก็เหมือน กัน ถ้าเป็นผู้มี 'สติ' อยู่ รู้อยู่ ศึกษาด้วย 'ปัญญา' ด้วย 'สติ สัมปชัญญะ' ก็จะเห็นธรรม อันแท้จริง คือเห็นมนุษย์เรานี้ เกิดขึ้นมาเป็นเบื้องต้น เกิดขึ้น มาแล้วก็ตั้งอยู่ เมื่อตั้งอยู่แล้ว ก็แปรไป แล้วก็เปลี่ยนไป สลายไป ถึงที่สุดแล้วก็จบ
ทุกคนเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น คนทุกคนในสากลโลกนี้ ก็เป็นอันเดียวกัน ถ้าเราเห็น คนคนเดียวชัดเจนแล้ว ก็เหมือนกับเห็นคนทั้งโลก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น "
โอวาทธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท
"..'ครูบาอาจารย์' เป็นแนะนำสั่งสอน ตัวเราเองต้องฝึกฝน ปฏิบัติเอง เดินจงกรม ภาวนา ขัดเกลาจิตใจ ถ้าไม่ฝึกฝนจิตใจ จะเป็นอะไรเมื่อตายไปแล้ว
หมั่นเอาคำสอน ครูบาอาจารย์ ไปฝึกฝน อบรมตัวเอง ใครจะทำให้เราได้ ต้องทำเอง ไม่ทำก็ไม่ได้
ถ้ามีความพากความเพียร ขันติอดทน ก็เห็นมรรคเห็นผล.."
โอวาทธรรม หลวงปู่สมบูรณ์ กันตสีโล
|