Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

บำเพ็ญจิตให้สงบ

พฤหัสฯ. 01 เม.ย. 2021 4:57 am

...วันมงคลนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า

“ เป็นวันพระ หรือไม่เป็นวันพระ “

...ขึ้นอยู่กับการกระทำว่า

“ เป็นมงคล หรือไม่เป็นมงคล “.
................................................
.
คัดลอกการสนทนาธรรม
ธรรมะบนเขา 17 / 1 / 2563
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี










มืออาชีพกับมือสมัครเล่นมันต่างกัน
ดูได้จากความเสียสละเพื่อส่วนรวม
ความสามัคคีทำงานให้สำเร็จลุล่วง

อย่าคิดทะนงตนว่าดีเด่นล้นฟ้า
งอแง ดีดดิ้น ตีโพยตีพาย
ไม่ชอบคนนั้น ไม่ถูกใจคนนี้
เขาอาจแย่จริงแต่เราไม่ควรแย่ด้วย

โบราณว่า “น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก”
โตแล้วต้องเป็นเกมและเดินเกมให้เป็น
อย่ายึดมั่นถือมั่นเกินไปจะมีความสุขมาก

โอวาทธรรม พระอาจารย์คม อภิวโร









“ก่อนที่จะเผยแผ่ธรรมไปสู่ผู้อื่น ผู้เผยแผ่ควรต้องบรรลุธรรมให้ได้ก่อน ถ้ายังไม่บรรลุธรรม อย่าเพิ่งไปสอนผู้อื่น เพราะจะทำให้ผู้อื่นหลงทางได้ และผู้สอนเองก็หลงทางไปด้วย ซึ่งถ้ายังไม่บรรลุธรรมแล้วกลับไปเข้าใจว่าตัวเองบรรลุธรรม ความคิดว่าตนบรรลุธรรมนั้นกับการที่ได้บรรลุธรรมจริงๆย่อมไม่เหมือนกัน ผู้สอนต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าตนได้บรรลุธรรมจริงๆ ตนได้กำจัดกิเลสคือความอยากต่างๆที่มีอยู่ในใจได้หมดสิ้นไปอย่างแท้จริงแล้ว ไม่มีความอยากอะไรหลงเหลืออยู่ภายในใจเราอีกต่อไปแล้ว เป็นที่แน่ใจว่าตนสามารถที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ สามารถสั่งสอนผู้อื่นได้ แต่ผู้ที่ไม่มีกิเลสความอยากหลงเหลือก็จะไม่มีความอยากที่จะสอนใคร เพราะคนที่ไม่มีความอยากหลงเหลือ อยู่เฉยๆมันก็สบายกว่าที่จะต้องไปสอนผู้อื่น”

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอน
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑








“ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ
ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา
จงเป็นคนฉลาด สงสารเห็นใจเขา
เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์

จงมีเมตตาเต็มเปี่ยม เหมือนหนึ่งว่า
เขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน
เพ่งอารมณ์เมตตา เป็นอารมณ์ภาวนา
แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก”

หลวงปู่ชา สุภัทโท









"การทำลายน้ำใจคน เป็นบาปเหลือหลาย
การให้กำลังใจคน เป็นกุศลมหาศาล"

หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน









#การภาวนามันต้องฝึกตัวเอง

ตัวสำคัญคือการฝึกใจตัวเอง ใจตัวนี้ล่ะ มันพาไปเกิด ไปแก่ ไปเจ็บ ไปตาย

#ให้มันรู้จักนะ_รู้จักตัวเอง

เดี๋ยวมันจะเอาโกรธ เอาโลภ เอาหลงมาใส่อยู่นั่น มันคล่องมากนะ. ถ้าไปทางนั้นน่ะ.

ถ้าไปทางภาวนานี่. มันไม่คล่องล่ะ. มันวิ่งตามอันนี้ล่ะ. อาฆาต จองเวร กันอยู่อย่างนั้น.

#วัฏฏะน่ะ_มันชำนาญนะ
#เรื่องที่จะแก้ให้ออกมันยากนะ

เหมือนกันกับปลาที่ตอนน้ำขึ้น มันก็เพลินล่ะ หาอยู่หากิน เพลินไปอยู่อย่างนั้น หากินมดกินปลวกเรื่อย

โน่นล่ะน้ำลดก็ไม่อยากลง รออยู่นั่น สนุกสนาน พอดีน้ำก็แห้งเข้าๆ จนนั่นล่ะ สุดท้ายก็ไปอยู่ที่หน้าไซของเขาล่ะ

จนน้ำแห้งเข้าๆ ถ้าไม่มีคนไปวิดน้ำเอาไปกิน ก็จะกลายเป็นเหยื่อมดในหนองน้อยๆนั่นล่ะ

#น้ำมาปลากินมด
#พอน้ำลดมดก็กินปลา มันก็เป็นเช่นนั้น

พวกเราก็เหมือนกัน ก็เพลิดเพลินอยู่อย่างนั้น ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส เพลินอยู่ในความเกิดแก่เจ็บตายอยู่อย่างนั้น ไม่มีเข็ดมีหลาบ

#ให้รีบแก้ตัวนี้

โอวาทธรรมหลวงปู่ลี กุสลธโร









" คำว่า "ความสงบ" กับ
"สมาธิ" นั้นไม่ได้เหมือนกัน

เมื่อพูดตามภาคปฏิบัติแล้ว
ความสงบ นั้นคือจิตสงบ
ลงไป หรือว่ารวมลงไป
หนหนึ่งแล้วถอนขึ้นมาๆ
เรียกว่าสงบเป็นครั้งคราว
ในเวลาจิตที่รวมลงไป
ถอนขึ้นมานี้เรียกว่า ความสงบ

ทีนี้เวลามันสงบลงไป
ถอนขึ้นมาหลายครั้งหลายหน
มันสร้างฐานแห่งความมั่นคง
ภายในตัวของมันขณะที่สงบ
นั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลาย
เป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

จากความสงบที่สั่งสมกำลัง
แห่งความแน่นหนามั่นคง
มาเป็นลำดับนั้น ติดต่อ
กันมาเรื่อยๆ เลยกลายเป็น
สมาธิขึ้นมาแน่นหนามั่นคง
นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

เวลาสงบแล้วถอนขึ้นมาๆนั้น
เรียกว่าจิตสงบ หรือว่าจิตรวม
พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว
จิตจะถอนขึ้นมา ไม่ถอน
ขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิต
คือความสงบนั้นแน่นปึ๋งๆ
ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่า
จิตเป็นสมาธิ "

โอวาทธรรม
หลวงตาพระมหาบัว
ญาณสัมปันโน









"..ไม่มีอำนาจใด
เปลี่ยนแปลงผลของกรรมได้

การให้ผลของกรรมนั้น
ใครจะเชื่ออย่างไรก็ตาม
เมื่อทำกรรมอันเป็นเหตุ
เช่นใดก็ต้องได้รับผลเช่นนั้น

ผลของกรรม ไม่เป็นไป
ตามความเชื่อ แต่เป็นไป
ตามความจริง ตามที่
พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้.."

พระโอวาทธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก










“..การบำเพ็ญจิตให้สงบ
จนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควร
ที่จะทำความสงบอย่างเดียว

เพราะถ้าทำแต่ความสงบ
ไม่พิจารณาทุกขสัจจ์
ก็จะเป็นเฉพาะฌาน
ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ
เป็นสมาธิผิด ไม่พ้นทุกข์

ต้องพิจารณาทุกข์
จึงจะพ้นทุกข์ คือต้องใช้
กระแสจิตที่เป็นกำลัง
อันเกิดจากความสงบนั้น
มาพิจารณา

เพราะกระแสนี้ ได้รับการ
อบรมจากสมาธิ แล้วเป็น
กำลังมหาศาล ซึ่งไม่ควร
นำไปใช้ทางอื่นเสีย

ควรใช้พิจารณาตัวทุกข์
คือร่างกายนี้ให้เห็นชัดเจน
จนกระทั่งเกิดนิพพิทาญาณ
ความเบื่อหน่าย

เจริญให้มาก กระทำให้มาก
ญาณเกิดขึ้นจนกว่าจะแก่รอบ..”

โอวาทธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตเถระ
ตอบกระทู้