พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 10 เม.ย. 2021 9:06 am
ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทาน ที่สุดของคนคือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข...
ท่าน ว.วชิรเมธี
โรคมันไม่ได้มาจากอะไรนะ มันมาจากมนุษย์ไม่มีศีลไม่มีธรรม ดูเอาง่าย ๆ ที่มันติดเชื้อกันมาเพราะอะไร ไปเที่ยวแหล่งสถานการพนัน ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอบายมุขนั่นเอง ศาสนามีคุณค่าขนาดไหน แผ่ขยายไหน มันยังว่าพิสูจน์ไม่ได้ พิสูจน์ตรง ๆ ให้เห็น ๆ เลยนี่
โลกมันทำหน้าที่ของมันอยู่แล้ว ความเกิดแก่เจ็บตายมันก็ทำหน้าที่ของมันเหมือนกัน ไม่มีมนุษย์หน้าไหนจะยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ไม่พ้นกรรม จะเลวทรามขนาดไหนก็ไม่พ้นกรรม พระพุทธเจ้าว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เพราะฉะนั้น #ถ้าไม่มีกรรมต่อกันยังไงมันก็ไม่เป็น #เป็นแล้วยังไงมันก็ไม่ตาย ถ้ากรรมมันหมดแล้ว กรรมมันไม่เหลือแล้ว ไม่เป็นโรคหนึ่งก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ไม่ตายโรคหนึ่งก็ตายอีกโรคหนึ่งล่ะ วาระสุดท้ายเมื่อเป็นกรรมเรามันก็จบ แต่ความประมาทก็เป็นหนทางแห่งความตาย พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้อีก พูดไปตรงไหน ประโยคใด เจอแต่ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าบอกไว้หมดแล้ว เตือนพวกเราหมดแล้ว แต่พวกเราไม่เชื่อ เมื่อพวกเราไม่เชื่อมันก็เจอเอาเจอเอาอย่างนี้ล่ะ
เพราะฉะนั้น ทางที่ดี #จะฟันฝ่าวิกฤตช่วงนี้ไปได้ให้มีสติ พยายามประคับประคองตัวเจ้าของ จิตใจของตัวเอง ให้มันผ่านพ้นไปได้ ในช่วงวาระวิกฤตนี้ ไม่มีอะไรจะดีเท่ากับธรรม เราบอกเพียงเท่านี้...
โอวาทธรรม
พระอาจารย์โสภา สมโณ
วัดแสงธรรมวังเขาเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๓
...กิเลสสู้ไตรลักษณ์ไม่ได้
กิเลสทุกตัวไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียด
“ แพ้ไตรลักษณ์หมด “
.จึงไม่ต้องกลัวกิเลส
“ เรามีอาวุธที่ยอดเยี่ยมแล้ว “
อย่าไปเสียดายกิเลส
.เรื่องกลัวก็ไม่กลัว ..
แต่เสียดาย จะขาดเพื่อนอย่างนี้
ก็เป็นกิเลสอีกแบบหนึ่ง
.ไปอยู่คนเดียวก็คิดว่า
เรานี้เห็นแก่ตัวหรือเปล่า
ทิ้งเพื่อนฝูงไปหรือเปล่า
“ เป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น “
.อยู่กับเพื่อนแล้วเป็นอย่างไร
จมไปด้วยกัน จมไปในกองทุกข์
พอหนีออกมาแล้ว..ได้หลุดพ้น
.คนที่จะหลุดพ้นได้
ส่วนใหญ่หลุดพ้นด้วยการอยู่คนเดียว
อยู่ตามลำพัง
..ไม่ได้หลุดพ้นด้วยการอยู่ร่วมกัน
.ต้องปลีกวิเวก ต้องอยู่ตามลำพัง
จึงอย่าไปกลัวกับการปลีกวิเวก อยู่ตามลำพัง
“ เป็นการอยู่ที่ดีที่สุด ..ของนักปฏิบัติ ”.
...........................................
จุลธรรมนำใจ ๑๘ กัณฑ์ ๔๐๒
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"เราอย่าเป็นคนหูเบา เราอย่าไปพูดตรง
พูดขวานผ่าซาก เดี๋ยวจะหาเรื่องหาราว
ให้เขาเกลียด เราอย่าไปทำตามความสะใจ
ความรุนแรง เพราะว่าความรักความสามัคคี
เป็นเรื่องใหญ่ เราต้องรู้จักรักษาน้ำใจผู้อื่น
ไม่เกลียดผู้อื่น ถึงเป็นผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา
หรือคนยากจน เขาก็มีหัวใจเหมือนกัน
คนเรามันก็อยากจะเป็นเจ้านาย เป็นคนมีอำนาจ
วาสนาทุกคน แต่ถ้ามันกำลังจะแตกแยกกันแล้ว
ก็หาวิธีให้มันกลับมาเหมือนเดิม ที่มันกำลังจะ
แตกแยกให้หยุดไว้ก่อน"
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
"ที่เรียกว่าได้นั้น เป็นการเริ่มต้นของการเสียไป"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
" เมื่ออยู่ในฐานะวัยและกาล
ที่ยังรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้อยู่
จึงควรระวังตัวไว้แต่ต้นมือ
ที่เรียกว่า กันดีกว่าแก้
และดีกว่าที่คิดว่าแม้ทำชั่ว
แล้วกลับตัวทีหลังก็ยังได้
นั่นเป็นความคิดผิด จะทำให้
หลวมตัว ทำนองว่าตายแล้ว
เกิดมาทีหลังกลับตัวก็ยังได้
โดยลืมคิดว่าการตายและ
การเกิดใหม่ไม่ใช่เรื่องตุ๊กตา
พอจะปั้นเอาใหม่ได้ตามใจ
เมื่อแตกแล้ว "
โอวาทธรรม
หลวงตาพระมหาบัว
ญาณสัมปันโน
.
#บุญหรือบาป
การที่เราเกิดมาในชาตินี้รับผล ๒ ประการของชาติก่อน คือว่า
ในชาติก่อนถ้าทำความดีไว้มาก
ผลความดีก็สนองในชาตินี้
ชาติก่อนทำบาปไว้มาก
ผลของบาปก็สนองในชาตินี้
คำว่า "ความดี" และ "ความชั่ว"
"บุญ" หรือ "บาป" "กุศล" หรือ "อกุศล" ก็ตาม บุญและบาปที่เราได้รับในชาตินี้มันเป็นเศษ คือส่วนใหญ่ของบาปเราตายจากความเป็นคนชาติโน้น เราก็ตกนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานมาแล้ว มันก็ตามมาเบียดเบียนให้มีทุกข์ในชาตินี้
แต่ส่วนใดที่เป็นบุญกุศลในชาติก่อนก็ดลบันดาลให้เราเกิดเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง แล้วก็ดลบันดาลให้มาเกิดเป็นคนในชาตินี้
ก็รวมความว่าชาติที่เป็นคนรับผลของเศษ ๒ อย่าง เป็นเศษนะ ไม่ใช่เนื้อแท้นะ
คือเศษของบุญและก็เศษของบาป
ขณะใดที่เศษของบาปให้ผล
เวลานั้นเรามีความเดือดร้อน
ขณะใดที่เศษของบุญให้ผล
เวลานั้นเรามีความสุข
ฉะนั้น คนที่เกิดมาในโลกนี้จะมีทั้งความสุขและความทุกข์ เพราะกรรมที่เป็นบุญและบาปในชาติก่อนตามสนองในชาตินี้
มันจะแบ่งเวลากัน
บุญกับบาปนี่มันจะไม่มารวมกัน
เวลาไหนบาปให้ผล
เวลานั้นมีแต่ความทุกข์
ความสุขไม่มี บุญเข้าไม่ได้
เพราะบาปกับบุญนี่มันไม่ถูกกัน มันเข้ามารวมกันไม่ได้ มันเข้ามาคนละคราว ถ้าบาปเข้าสนองจิตใจหรือร่างกายของเรา ร่างกายก็มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็จะมีแต่ความทุกข์
คราวต่อไปถ้าบาปคลายตัว
บุญเข้ามาสนองจิตใจ
ร่างกายก็จะมีแต่ความสุข
ฉะนั้น ขอบรรดาญาติโยมโดยถ้วนหน้าจงสนใจในเรื่องความดีหรือความชั่ว บาปหรือบุญนี้ให้มากเพราะมันเป็นของมีจริง
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๓๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ หน้า ๙๓ - ๙๔
...ไม่ควรปล่อยให้เวลาผ่านไป
โดยไม่ได้ทำบุญทำทาน รักษาศีล
ฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
.เพราะจะเป็นการเสียโอกาส
“เสียเวลา ..เสียชาติเกิด
เกิดมาแล้วไม่ได้รับประโยชน์จาก
พระพุทธศาสนา” .
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
#การภาวนาเรื่องภาคปฏิบัติไม่ต้องมาสอน
“...ทุกวันนี้มีจดหมายมาบ่อย จดหมายมาเรื่อยๆ มาถามธรรมะนั่นแลไม่ได้มาเรื่องอื่น ก็ดีใจนะ ว่าเราก็ยังมีประโยชน์ให้กับโลกให้กับสงสารให้กับพระพุทธศาสนาบ้าง เพียงนิดหนึ่งก็ยังดี ไม่เสียแรงเปล่าที่เราทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจเพราะความบริสุทธิ์ของเรา เราสงเคราะห์สงหาโลกด้วยความเมตตาก่อนที่เราไม่กลับมาเกิดอีก คนนั้นก็มาถามธรรม คนนี้ก็มาถามธรรม เนี่ยเราต้องการสิ่งนี้ น้อมมาก็โอ้...เรามีประโยชน์ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าเราจะมีประโยชน์ให้แก่โลกให้แก่สงสารขนาดนี้ นี้ยิ่งกาลเวลายาวนานในการออกสงเคราะห์โลก ยิ่งทราบยิ่งรู้ว่าเราเริ่มมีประโยชน์ให้กับโลกให้กับสงสารมากขึ้นๆ ตามลำดับ พวกศิษย์พระเทวทัต พวกศิษย์ผ้าเหลืองห่มหมาก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายนะ
นี้พูดถึงผู้ที่มากราบมาไหว้ มาถามธรรมะและก็เขียนจดหมายมาถามธรรมะ ให้ตอบเป็นส่วนตัวก็มี ไม่ค่อยมีเวลารู้สึกว่าจะยุ่งยากมากขึ้น ก็จะตอบลูกหลานเป็นส่วนตัวอยู่ถ้าว่าง ไม่ใช่ว่าไม่ตอบ ก็เมตตาไปหมดนะ แต่พ่อไม่ออกชื่อลูกหลานหรอก เพราะความเคารพจึงเขียนจดหมายมาถามธรรม เพื่อขออุบายต่างๆ บางทีได้ติดในจิตในใจฝังแน่นมาหลายภพหลายชาติ ไม่ใช่ว่ามันเป็นหลายภพหลายชาติธรรมดา มันเป็นหลายอสงขัยหลายมหากัป มันฝังลึกเลย กิเลสหนาตัณหาหยาบพวกนี้ ลูกเขาก็เคยมากราบเราที่วัดได้ฟังธรรมะถามอรรถถามธรรมแล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติก็ได้ดิบได้ขึ้นมา ใจที่มันหมกมุ่น ใจที่มันเป็นเปรตเป็นผี ใจที่มันติดในบางสิ่งบางอย่างมันก็คลายออกมา ทำให้เห็นคุณค่าแห่งธรรมะที่พ่อได้บอกได้สอน จึงเขียนจดหมายมากราบก็ด้วยความเคารพยิ่ง
แต่นี้พ่อไม่เอ่ยชื่อลูกหลานเพราะลูกหลานไม่ต้องการที่จะให้พ่อนี้ออก ต้องการที่จะให้พ่อตอบกลับเป็นเรื่องส่วนตัว พ่อเห็นว่าธรรมะที่ลูกเขียนมาเนี่ยมันมีประโยชน์กับคนหลายคน ขอให้ลูกหลานเข้าใจด้วย ก็เหมือนพระมหาพระลูกพระหลานเปรียญสามประโยค ที่ถามธรรมะมาเรื่อย เราก็มีความพร้อมที่จะเป็นครูเป็นบาหรือเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกให้หลาน ได้กราบได้ไหว้ได้พักพิงอาศัย เมื่อข้องขัด ขัดข้องในจิตในใจ จะได้ถามในบางสิ่งบางอย่างที่ลูกต้องการถาม
พ่อประกาศแล้วว่าเรื่องการภาวนาเรื่องภาคปฏิบัติไม่ต้องมาสอน จะธรรมชั้นไหนสมาธิขั้นไหน ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงหรือสูงสุดในมรรคในผล เราไม่เป็นแล้วซึ่งอรหันต์ เราไม่ไปแล้วซึ่งพระนิพพาน ยุติแห่งสมมติ ใช้สมมติสุดท้ายว่าไม่กลับมาเกิดอีกตลอดอนันตกาล นี่สิ้นสมมติย่อมที่จะเข้าใจ ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องสมมติมันก็ติดสมมติ ติดสมมติว่าข้าพเจ้าเป็นโสดา ข้าพเจ้าเป็นสกิทาคา ข้าพเจ้าเป็นพระอนาคา ข้าพระเจ้าเป็นพระอรหันต์ นี่ผู้ที่ติดสมมติ ผู้ที่ไม่ติดสมมติก็ฟากไปแล้วไม่มีสมมติใดๆ รู้ทุกขณะจิตที่มันข้ามแต่ละจุดๆๆละต่อม แห่งโสดา สกิทาคา และอรหันต์ คือรู้ว่าละ วางภาระตลอดๆ ละได้แค่ใดละได้แค่ไหน ปฏิบัติเฉกเช่นไรมันจึงละได้ ติดจุดใดบ้างนี่คือพร้อมหมด ผู้ที่มีปัญญาย่อมที่จะเป็นอย่างงั้น
ผู้ที่เขียนมาก็เรียกว่าเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้กับคนหลายคน เป็นผลดี หลวงปู่หลวงตาจึงตัดสินใจอ่านจดหมายของลูกของหลาน แต่ไม่ได้เอ่ยชื่อลูกหลานนะ คิดว่าธรรมะที่ลูกเขียนอาจจะเป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติ ปิดไว้ทำไมในสิ่งที่ดี…”
พระธรรมเทศนา : องค์หลวงปู่น้อย ญาณวโร
วัดป่าห้วยริน ต.หัวนาคำ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น
๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔
เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่า จะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ
ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจ แล้วมันจะหมดกิเลส ไม่ใช่อย่างนั้น
ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีก ให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ
(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ธรรมะ คือ อะไร คือ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง..
ไม่มีอะไร ที่ไม่ใช่ธรรมะ..
ความชอบ ความไม่ชอบ ก็เป็น ธรรมะ..
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหน ก็เป็นธรรมะ..
เมื่อเราปฏิบัติธรรม..เราเข้าใจอันนี้ เราก็ปล่อยวางได้
ดังนั้น ก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า..
ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น ในสิ่งใด..
หลวงปู่ชา สุภัทโท
.
#จับลมหายใจแบบกรรมฐานสี่สิบ
สำหรับในด้านของ "กรรมฐาน ๔๐" เป็นกรรมฐานรวม ทั้ง "สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต"
ในเมื่อเป็นกรรมฐานรวมถึงอันดับสูงสุดต้องใช้กำลังจิตกล้ามาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้วางแบบไว้ต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับอัธยาศัยที่ควรจะใช้
อารมณ์ "วิชชาสาม อภิญญา" หรือ "ปฏิสัมภิทาญาณ อานาปานุสสติ" ในจุดนี้ท่านให้ตั้งไว้สามจุดคือ "ฐาน ๓ ฐาน"
"ฐานแรก" เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูกแล้วลมจะกระทบหน้าอก ลมจะกระทบศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออก ลมจะกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอกข้างในนะ
แล้วถ้าคนมีฝีปากเชิด จะกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มจะรู้สึกว่าลมกระทบที่ปลายจมูก แต่สำหรับการรับรู้อารมณ์ที่ท่านห้ามหายใจแรงเกินไป ยาวเกินไป สั้นเกินไป ปล่อยลมหายใจตามสบาย
อย่าฝืนอาการที่มันหายใจเพื่อความรู้สึกมันหายใจแรงหรือหายใจเบาปล่อยเป็นเรื่องของกาย
"ความรู้สึกนั่นต้องการสติสัมปชัญญะไม่ใช่ต้องการสัมผัสแรง"
สติมีความรู้สึกว่า เวลานี้หายใจออกหรือว่าหายใจเข้า หายใจออกยาวหรือสั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น
หรือว่าเวลานี้เราหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ ทั้ง ๓ ฐาน เวลาหายใจออก ลมกรทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบริมฝีปาก หรือว่าปลายจมูก
นี่ถ้าหากว่าในด้าน "กรรมฐาน ๔๐" ก็มีจิตเป็นเครื่องวัดอยู่ได้นิดหนึ่งคือว่าถ้าเราจับอารมณ์ ๓ ฐานไม่ได้ อันดับแรก ให้จับ "ฐานเดียว" คือ "เฉพาะที่จมูกหรือว่าริมฝีปาก"
หายใจเข้าลมกระทบจมูก หายใจออก ถ้าฝีปากเหยิน ฝีปากสูง ฝีปากเชิดขึ้นมา ลมจะกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มลมก็จะรู้สึกว่าลมกระทบจมูก
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๑๘ หน้า ๖๘
คนที่ทำอะไรไม่เหมือนที่โลกนิยม
ก็จะมีคนว่าบ้า โดยคนที่พูด
ไม่ได้เข้าใจโดยถ่องแท้ว่า
อย่างไรจึงบ้า อย่างไรจึงดี
.ท่านบอกว่าคนเราที่เกิดมานี้
มีหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งที่พึงกระทำ
คือการทำตนให้พ้นทุกข์
ถ้าไม่ทำก็เท่ากับว่า
ไร้ประโยชน์ในการเกิดมา
เพราะจะต้องเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นเอง
ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.