มีหลวงพ่อองค์หนึ่ง มีแต่ความสุข ไม่เคยมีทุกข์...
วันหนึ่ง โยมนิมนต์ไปเทศน์ แต่ไม่มาสักที ท่านบอกว่า “ไม่มาก็ดีเหมือนกันเนาะ ฉันข้าวเลยดีกว่า”
ฉันได้ไม่กี่คำ โยมก็มารับ กราบขอโทษว่ารถเสีย
หลวงพ่อจึงหยุดฉัน “ก็ดีเนาะ ไปฉันที่งานเนาะ”
ไปสักพักรถก็ดับ คนขับบอก “รถเสียครับ”
หลวงพ่อก็ว่า “ดีเนาะ ได้หยุดพักชมวิวเนาะ”
คนขับทำยังไงเครื่องก็ไม่ติด จึงขอร้องให้หลวงพ่อช่วยเข็นรถ แม้ท่านจะแก่แล้ว ข้าวก็ฉันไปไม่กี่คำ แต่แทนที่จะบ่น กลับยิ้มบอกว่า “โอ้ดีเนาะ ได้ออกกำลังเนาะ”
กว่าจะถึงงานก็เลยเที่ยงแล้ว หมดเวลาฉันอาหาร เป็นอันว่าวันนั้นหลวงพ่ออดข้าวทั้ง 2 มื้อ ขึ้นเทศน์เลย ท่านบอกว่า “ดีเนาะ มาถึงก็ได้ทำงานเลยเนาะ”
เทศน์จบ มีคนชงกาแฟถวาย แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน้ำตาล ท่านจิบแล้วก็บอกว่า “ดีเนาะ”
ตามธรรมเนียมของผู้ที่ศรัทธาเกจิอาจารย์ เวลาท่านฉันอะไรเหลือ ลูกศิษย์ก็อยากทานต่อ ถือเป็นมงคล แต่จิบกาแฟนิดเดียวก็พ่นพรวดออกมา
“เค็มปี๋เลยหลวงพ่อ ฉันเข้าไปได้ยังไง !”
“ดีเนาะ ฉันกาแฟหวานๆมานาน เค็มมั่งก็ดีเหมือนกัน”
ไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแย่แค่ไหน หลวงพ่อก็มองเห็นแต่แง่ดี จึงไม่มีความทุกข์เลย
เคยมีลูกศิษย์ทำผิด ถูกจับติดคุก ท่านก็ว่า “ก็ดีเนาะ มันจะได้ศึกษาชีวิต”
วันหนึ่งมีโจรบุกจี้หลวงพ่อบนกุฏิ “นี่คือการปล้น อย่าได้ขัดขืนนะหลวงพ่อ” ท่านกลับยิ้มบอกว่า “ปล้นก็ดีเนาะ”
โจรจึงถามว่า “ถูกปล้นทำไมว่าดีล่ะหลวงพ่อ”
หลวงพ่อตอบว่า ... “ทำไมจะไม่ดีล่ะ ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้าไอ้สมบัติ บ้าๆนี้ตั้งนานแล้ว เอ็งเอาไปเสียให้หมด ข้าจะได้ไม่ต้องเฝ้ามันอีก”
โจรตอบว่า “ไม่ใช่ปล้นอย่างเดียว ฉันต้องฆ่าปิดปากหลวงพ่อด้วย” หลวงพ่อก็ตอบ “ฆ่าก็ดีเนาะ”
โจรแปลกใจ “ถูกฆ่ามันจะดีได้อย่างไรล่ะหลวงพ่อ” ท่านตอบ “ข้ามันแก่แล้ว ตายก็ดี จะได้ไม่ทุกข์”
โจรเลยบอกว่า “ไม่ฆ่าแล้ว” หลวงพ่อก็พูด “ไม่ฆ่าก็ดีเนาะ”
โจรถามอีก “ทำไมฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดีอีก” ท่านตอบว่า “การฆ่ามันเป็นบาป เอ็งจะต้องใช้เวรทั้งชาติ นี้และชาติหน้า ตำรวจเขาจะต้องตามจับเอ็งเข้าคุก หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย ตายแล้วก็ยังตกนรกอีก”
โจรเลยเปลี่ยนใจ “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้นท่านแล้ว” หลวงพ่อก็ตอบว่า “ไม่ปล้นก็ดีเนาะ”
โจรเลยสำนึกบาปเข้ามอบตัว เมื่อพ้นโทษก็ขอบวชกับหลวงพ่อ
คนจึงให้ฉายาท่านว่า “หลวงพ่อดีเนาะ” มาจนทุกวันนี้
หลวงพ่อดีเนาะ .. เป็นผู้ที่มองเห็นข้อดีของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่าน มองคนอื่นในแง่ดีเสมอ ไม่เคยว่าหรือจับผิดใคร เจอปัญหาอะไรๆ ก็พูดว่า “ดีเนาะ”
ท่านได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น “พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที” ซึ่งแปลว่า...ผู้เปล่งอุทานเป็นธรรมะ
วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี อายุ 98 ปี (พ.ศ.2415 - 2513)
คำว่า “มนต์” แปลว่า ปรึกษา หรือตรึกตรอง ใช้ในความหมายของการใช้ความคิด คือเป็นหน้าที่ของจิตใจ การทำให้จิตใจมีพลังอำนาจ (พลังจิต) มนต์เป็นเครื่องมือทำให้จิตมีความเข้มแข็ง เสริมความเชื่อมั่นหรือศรัทธา โดยมีปัญญาเป็นตัวนำ สำหรับมนต์ในพระพุทธศาสนาสามารถตีความแห่งมนต์ไว้ 5 ประการ คือ 1. มนต์เป็นคำสำหรับสวดเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ 2. มนต์เป็นคำสวดสำหรับระลึกถึงพระรัตนตรัย 3. มนต์เป็นเครื่องสร้างกำลังใจหรือทำใจให้เข้มแข็ง 4. มนต์เป็นความขลัง น่าประทับใจ มีเสน่ห์ 5. มนต์เป็นเครื่องเตือนสติ ไม่ให้ประมาท
ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่า “มนต์” ก็ยังคงความขลังและศักดิ์สิทธิ์อยู่ตลอดไป พุทธบริษัททั้งหลายจึงควรท่องบ่นสาธยายมนต์อยู่เสมอๆ และเมื่อท่องบ่นสาธยายมนต์อยู่เสมอๆ จิตก็จะเกิดสมาธิ เมื่อสมาธิเกิดปัญญาในการแก้ปัญหาก็จะตามมา ความกังวลเป็นเหตุให้เกิดความเครียดต่างๆ ก็จะบรรเทาเบาบางลง ฉะนี้แล
“เจริญมนต์ให้มาก ถ้าไม่อยากกังวล หัวใจมีมนต์ ความกังวลไม่มี”
“พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า-เย็น หรือชาวพุทธ ทุกคนสวดพุทธคุณ หากระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล พูดสวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุด อเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึง ชั่วขณะหนึ่งครู่หนึ่ง” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
"เวลาความสุขมาถึงเข้า เราจะไปเอาความสุข ในความสรรเสริญเยินยอ มั่งมีศรีสุขอย่างเดียว แต่เราหารู้ไม่ว่า.. ความสุขมีที่ไหน ความทุกข์ก็มีที่นั่น"
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
"ความดีนั้น เราต้องทำอยู่เสมอ ให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค คือทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดี
ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้ว ให้ไปรับศีล เช่นนี้ เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด
เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจใยดี กับศีลได้ เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้"
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
"มีบางคน ชอบพูดคะนองปากว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป พูดอย่างนี้ผิด พูดไม่รู้จริง เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนี้ เราต้องใจเย็น คอยดูผลตลอดชีวิต อย่าดูในระยะสั้นๆ ต้องดูไปเรื่อยๆ ในระยะยาว อย่าใจร้อน
การทำดี เพื่อจะให้ดีนั้น เราต้องทำให้ถูกหลัก คือ ทำให้ถูกดี ทำให้ถึงดี ทำให้พอดี อย่าทำเกินพอดี ทำให้ถูกบุคคล ทำให้ถูกกาลเทศะ
การต้องการ ผลดีตอบแทนนั้น อย่าหวังผล แค่ด้านวัตถุท่าเดียว ต้องหวังผลทางใจ คือความสบายใจ ความสุขใจด้วย"
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
|