Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ร่างกายไม่ใช่ของเรา

อาทิตย์ 04 ก.ค. 2021 8:49 am

" เกิดแล้วแก่ เจ็บ ตาย
สังขารร่างกายเป็นของไม่เที่ยง
กลัวอะไรล่ะปิดจมูกอยู่ทุกวันนี้
กลัวเจ็บไข้..
ไปซ่อนอยู่ในรู ในถ้ำเหวที่ไหนซ่อนได้ไหม..
หนีความเจ็บป่วย ถ้าเกิดมาแล้วต้องแก่ เจ็บ ตาย
หรือท่องเล่นเฉยๆ
ไม่ท่องเอาเข้าถึงหัวใจหรอ.."

โอวาทธรรม
พระราชพัชรญาณมุนี
หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญฺโญ








"การที่ใครๆ จะมากล่าวว่า
ถ้าจะปฏิบัติธรรมะแล้ว
ต้องทิ้งบ้านเรือน เปิดหนีเข้าป่า
ก็เป็นการกล่าวตู่พุทธศาสนา
ด้วยคำเท็จอย่างยิ่ง เพราะสถานที่ใด
ที่มีการพิจารณาธรรมะได้
ที่นั้นก็มีการศึกษา และปฏิบัติธรรมะได้"

ท่านพุทธทาสภิกขุ






เรื่องที่สุดของโลก

ตัณหาทำให้เกิดทุกข์ ตัณหาคือความอยาก เป็นกระแส การกระโจนไป หรือเรียกทะยานอยาก เคลื่อนไปหาอารมณ์ จิตเราเคลื่อนที่ไหลไปจนเป็นกระแส นี่แหละคือตัณหา เกิดขึ้นมีองค์ประกอบคือ เมื่อตาเห็นรูป รูปคือตัณหา หูได้ยินเสียง เสียงคือตัณหา นั่นคือ รูป รส กลิ่น เสียง นี่แหละคือตัณหา

คนที่จะดับตัณหาได้จิตจะต้องไม่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ การไปของจิต เกิดจาก ตา รูป ความจงใจหรือความใส่ใจ ถ้าเราไม่มีความจงใจหรือความใส่ใจ การเกิดขึ้นของวิญญาณจะไม่มี การดับกิเลสจะต้องดับด้วยปัญญา ไม่ใช่สมาธิ

สมาธิเป็นแค่ผลการดับของปัญญา ขณะที่เราเข้าสมาธิจะสงบและไม่มีอารมณ์ เราจะอยู่ในภาวะปราศจากตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตเข้าไปพัก แต่เข้าสมาธิก็มีออกสมาธิ จิตเราก็มาสู่สภาวะเดิม ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตวิ่งไปสู่อารมณ์ต่างๆเหมือนเดิม

ดังนั้นสมาธิจะฆ่ากิเลสภายนอกไม่ได้เลยเป็นเพียงแค่การเอาจิตไปหลบหลีกให้นิ่งสงบชั่วคราวเท่านั้น

เราจะต้องมีการจัดการกิเลสแบบอื่น ต้องสู้กิเลสไม่ใช่หนีกิเลส อาวุธที่จะใช้ในการต่อสู้คือ ปัญญา ซึ่งต้องเข้าใจถึงอริยะสัจ4 รู้ปัญหามาจากตัณหา ตัณหาก็มาจากตาหูจมูกลิ้นกายใจ เมื่อมีผัสสะ ก็เกิดอารมณ์แล้วทำให้เกิดเวทนา เสบียงของตัณหาคือนิวรณ์5

เราต้องตัดกำลังหรือตัดเสบียงของตัณหา กำลังตัณหามี 3อย่าง ราคะ โทสะ โมหะ กำลังตัณหามาจากการเพิ่มพูนความคิดหรือคิดซ้ำๆในแต่ละครั้ง มันจะเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้กับตัณหาและเป็นการให้อาหารกับตัณหา เพราะฉะนั้นเราต้องอย่าคิดซ้ำ ภาพเป็นเครื่องหมายของความคิด ทำให้กิเลสรุนแรงขึ้น

นิวรณ์ข้อ1คือ กามฉันทะ หญิง คิดถึง ชาย, ชาย คิดถึง หญิง ภาพเป็นเครื่องหมายของความคิด เห็นภาพเขากิเลสก็เกิด ยิ่งเห็นภาพเขาบ่อยๆ ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ ภาพเป็นอาหารของกิเลส

ข้อ2 โทสะ เราไม่พอใจเขา ครั้งแรกคือความโกรธ จิตจะมีการผูกโกรธเอาไว้ คือพยาบาท หรืออาฆาต ภาพคืออาหารของกิเลสเหมือนเดิม นั่นคือแค่คิดถึงภาพคนที่เราเคยโกรธก็ยิ่งเพิ่มความรุนแรงของกิเลสขึ้น ,โมหะ อารมณ์กลางๆคิดไปทางโลก คิดไปดูหนังฟังเพลง การคิดแต่ละครั้งก็มีภาพ เป็นการเพิ่มความรุนแรงของจิต

นิวรณ์ข้อ3 การง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจ เป็นอุปสรรคของการทำสมาธิ

นิวรณ์ข้อ4 ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ

นิวรณ์ข้อ5 ความลังเลสงสัยต่างๆ

การส่งจิตออกนอก ทำให้นิวรณ์5 งอกงาม เราต้องงดอาหารให้ตัณหา ซึ่งต้องใช้มรรค มีองค์8 มาแก้ไขปัญหา เป็นทางเส้นใหม่ที่จะดับกิเลส นั่นคือให้คิดถึงแต่ตัวเราเองเท่านั้น เห็นแต่ภาพของเราเอง จะไม่เกิดราคะ โทสะ โมหะ นิวรณ์ก็จะไม่เกิด เป็นการตัดเสบียงกิเลส ด้วยการฆ่าภาพเขาด้วยภาพเรา พิจารณาตัวเองให้เห็นแจ้งเป็นของไม่สวยงาม ให้เห็นตับไตไส้พุง หรือการพิจารณาอสุภะ เอาจิตมาดูตัวเรา ถึงแม้จิตจะออกไปทางตาหู แต่การจงใจของจิตไม่มี เพราะฉะนั้นอารมณ์จะไม่เกิด เราจะพ้นทุกข์ได้นั่นคือพระนิพพาน การสร้างภาพตัวเองก็ต้องหาอุบายจากคนอื่น เช่นคนตาย แล้วพยายามนึกถึงตัวเองเป็นภาพนั้นเพื่อใช้เป็นเครื่องอยู่ให้จิต ฆ่าภาพเขาด้วยภาพอสุภะของเราเองจะทำให้เบื่อหน่ายตัวเราเองก็จะเกิดความเบื่อหน่ายสิ่งอื่นด้วย จะเกิดเป็นเนกขัมมะ(การออกจากกาม) จะพบกับความสุขที่แท้จริง

พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ









.

จงอย่ายกตนข่มท่าน
อย่าสนใจในจริยาของผู้อื่น
นึกถึงความตายไว้เสมอ
เห็นว่าร่างกายนี้สกปรก
และร่างกายไม่ใช่ของเรา

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๘ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ หน้า ๔๑
คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์







.

#คนที่จะได้ดี

คนที่จะได้ดีต้องมีความไม่ประมาท
ต้องมีความรู้สึกว่าตนเองเลวอยู่เสมอ
นี่เป็นเรื่องใหญ่

ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
อัตตนา โจทยัตตานัง
จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวเองไว้เสมอ
ความจริงพุทธสุภาษิตนี่ ผมพูดปีหนึ่ง
เห็นจะเกิน ๓๖๕ ครั้ง เตือนให้มีความรู้สึก ทำไมถึงพูด ที่พูดก็เพราะทราบว่าท่านมีความประมาทอยู่มาก
มีอยู่บางท่านก็เหลิงในความดีของตน
ความจริงผลมันยังไม่ได้ คนที่ได้ผลนี่
เขาไม่เหลิง เขามีแต่การระมัดระวังตน

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔๓๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ หน้า ๕๒
คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์
ตอบกระทู้