#การวางตัวต่อข่าวพระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม
โยม: หลวงปู่เจ้าขาโยมรู้สึกเสื่อมศรัทธากับพระสงฆ์ทุกวันนี้จังเลยเจ้าค่ะ
หลวงปู่: ทำไมหล่ะ
โยม: ก็มีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระออกมาบ่อยจังเลย ทั้งมั่วสุม ทั้งเรื่องสีกา พระตุ๊ดเณรแต๋ว ล่าสุดมีข่าวพระมีเครื่องบินอีก
หลวงปู่: เขาเอาอะไรทำพระหล่ะ
โยม: ไม่เข้าใจเจ้าค่ะ
หลวงปู่: พระพุทธรูปเขาเอาอิฐ หิน ปูน ทราย ทองคำ เงิน ทำ พระเหล่านั้น...ไม่มีข่าวเรื่องนี้เลยใช่ไหม
โยม: เจ้าค่ะ
หลวงปู่: แต่พระอย่างหลวงปู่ เขาเอาคนทำ พระสงฆ์อื่นๆ เขาก็เอาคนทำจึงมีเรื่องแบบนี้ แต่คุณต้องเข้าใจนะเรื่องการปฏิบัติ เรื่องการพระศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล ใครทำดีผลดีย่อมสนอง ใครทำชั่วผลชั่วย่อมติดตาม คุณ...ความคิดหน่ะเป็นกรรมที่ไม่มีวิบากนะ แต่การพูด การกระทำ เมื่อพูดเมื่อทำออกไปแล้วย่อมมีวิบากไม่ดีก็เสีย...การที่เขาทำชั่วมันเป็นเรื่องของเขาไม่ใช่เรื่องของเรา...ถ้าเราไปวิจารณ์ ไปแสดงออกแล้ว เราย่อมมีส่วนในกรรมนั้น เพราะเราเอาใจส่งไปหาเขา แทนที่เขาจะตกนรกคนเดียว เรากับไปสมัครตกนรกกับเขาด้วย เหมือนที่โยมรู้สึกอยู่ตอนนี้
โยม: ยังไงเจ้าค่ะ
หลวงปู่: ก็โยมไม่รู้สึกทุกข์กับข่าวที่ได้รับหรือ
โยม: ทุกข์เจ้าค่ะ แต่ทุกข์เพราะห่วงศาสนานะเจ้าค่ะ
หลวงปู่: ทุกข์ไหมหล่ะ ทุกข์นั้นหล่ะนรกทางใจ อย่างที่อาตมาว่า ส่งจิตออกไปหาเขามันก็ทุกข์มันก็ตกนรก คุณจำไว้นะ ทุกคนล้วนเดินเข้าหาพระนิพพานเหมือนกันหมด ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับกำลังบุญ คือความพยายามทำความดี พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ เหมือนรถที่วิ่งไปกรุงเทพฯ นั้นหล่ะ จุดหมายคือกรุงเทพฯ จะเอารถอะไรไปมันก็ถึงกรุงเทพฯ คุณอาจจะมีบุญมากหน่อยถึงมีรถเก๋งขี่ไป แต่คนอื่นเขาอาจเดินไปแต่มันก็ถึงกรุงเทพฯ เหมือนกัน ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง สำคัญคือคุณต้องบังคับพวงมาลัยรถเรา อย่าไปออกคำสั่งรถคันอื่น ขับอย่างนี้ขี่อย่างนั้น ต่างคนต่างตั้งหน้าขับไป สักวันต้องถึงกรุงเทพฯ อย่ามัวแต่ไปวิจารณ์เขา พระก็ดีโยมก็ดี การปฏิบัติเป็นเรื่องของบุคคล เขาทำชั่ว เขาตกนรก โยมอย่าส่งใจไปร่วมกับเขา อย่าไปร่วมตกนรกกับเขา ตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่ของเรา
#พระเทพมงคลวชิรมุนี หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
“แม่” พระอรหันต์แท้ในบ้านเรา
หลักพื้นฐานของการเป็นอารยบุคคลมีคุณลักษณะอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. สิ้นราคะ 2. สิ้นโทสะ 3. สิ้นโมหะ หรือ การสิ้นแล้วซึ่งโลภ โกรธ หลง จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “พระอรหันต์” เปรียบเสมือน “แม่” ที่รักลูก เอ็นดูลูก มีจิตใจที่เมตตา และเป็นรักที่บริสุทธิ์
มีคนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับคนอื่นมากกว่า “แม่” แท้จริงแล้วเราควรให้ความสำคัญ ดูแลท่านให้ดีเหมือนทุกวันเป็นวันแม่ เวลาเจ็บป่วยต้องดูแล ไม่มองว่าเป็นภาระที่ต้องแบกหาม จงมองว่าเป็นโอกาสทองที่จะได้ดูแลท่าน ใครที่ติดค้างกับแม่ไม่ว่าจะโกรธ หรือทะเลาะ ก็หาโอกาสขอขมาลาโทษ...
#พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)
…คนที่ไม่ยอมเสียเปรียบ ไม่ยอมเสียสละ..จะเอาแต่ได้
.คนที่จะเอาแต่ได้นี้ “ จะทุกข์มาก เวลาสูญเสียอะไรไป “
.แต่คนที่เคยเสียสละอยู่เรื่อยๆ จะไม่รู้สึกเสียใจ และอาจจะมี ความรู้สึกสุขใจก็ได้..ถ้าคิดเป็น
.ถ้าคิดว่า..” เป็นการทำบุญ ทำทาน “. ……………………………………. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒
"แสงส่องใจ" คือ แสงที่ส่องให้ใจสว่าง และไม่มีแสงใดที่จะส่องใจให้สว่างได้ นอกจากแสงนี้ คือ ธรรมของพระพุทธเจ้า
ธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะส่องใจให้สว่างได้ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะอบรมให้ยิ่งปัญญา รู้วิธีคุ้มครองใจมิให้ความมืดมนเข้าปกคลุมใจ ให้ไม่ปรากฏความบริสุทธิ์ประภัสสร
จิตทุกดวงมีธรรมชาติบริสุทธิ์ประภัสสร คือ จิตทุกดวงมีความบริสุทธิ์เกิดขึ้นเองตามวิสัยของโลก แต่เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสจรมาบัง ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกั้นอุปกิเลสให้พ้นจากจิตได้ ยังความบริสุทธิ์ประภัสสร อันเป็นธรรมชาติของจิตให้ปรากฏได้ ธรรมของพระพุทธเจ้าจึงวิเศษแท้ ไม่มีอื่นเสมอ . พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
“ปฏิบัติตัวเองให้ดี ไม่ต้องรอพวงหรีด โลงแก้ว โลงทอง ไม่ต้องให้ใครมาอ่านประวัติ บวชมาเพื่อปฏิบัติให้ตัวเองพ้นทุกข์ไปเท่านั้น”
หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี คัดจากหนังสือ “ธรรมลี เศรษฐีธรรม”
#คำว่ากฐิน
ไม่เกี่ยวกับเงินล้านเงินแสน คนมีสตางค์น้อยก็เลยไม่กล้าทำกฐิน พวกมัคทายักษ์นี้ดูถูกนินทา โอ๊ย! กฐินกระจอกได้นิดเดียว คนมีสตางค์น้อยก็เลยไม่กล้าทอดกฐิน
ไม่ได้เกี่ยวกับเงินล้าน คำว่า กฐินะ เป็นชื่อไม้สะดึง เป็นไม้สี่เหลี่ยม ใช้กางเย็บผ้า คือสมัยโบราณ สมัยหลวงปู่มั่น ใช้การเย็บมือ ผ้าฝ้าย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม้สะดึงสำหรับกางเย็บผ้า ทำผ้าให้มันตรึง
#คำว่ากฐินนะ
อนุญาตให้ภิกษุเปลี่ยนผ้า เพิ่นกะเลยตัดจีวรแขบกัน สายวัดป่าเฮานี้ใช้ผ้าขาวตอนกฐินนี้ รับแล้วจงกาลด้วยผ้านี้ว่าซันเด๊ะ ผู้กล่าวคำถวาย เพิ่นกะเย็บ สิย้อม สิตัด ให้เสร็จภายในวันเดียว ผืนใดผืนหนึ่ง จีวร สบง สังฆา
#พระหลวงปู่ประเวศ #ปัญญาธโร #วัดป่าสามัคคีธรรมบ้านโจด ต.นาเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
#พระอริยบุคคล
พระโสดาบัน
๑. ความเป็นพระโสดาบันต้องทรงคุณธรรม ๓ ประการ จำไว้ให้ดีเป็นของไม่ยากคือ
ประการที่ ๑ มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นัก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี
ประการที่ ๒ งดการละเมิดศีล โดยเด็ดขาด เรียกว่ารักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล ๕ ประการนี้รักษาโดยเด็ดขาด
ประการที่ ๓ จิตใจของพระโสดาบัน มุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี้ไม่ต้องการผลตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียวทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกว่า พระโสดาบัน
๒. คนที่เขาเป็นพระโสดาบัน เขาทรงอารมณ์แบบนี้คือปรารภความตายเป็นปรกติไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าการเกิดมานี่ มันต้องตาย เมื่อคิดว่าจะต้องตายเขาก็ไม่ประมาท ไม่ยอมไปอบายภูมิ นั่นคือ เคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริงเป็นปกติ และก็มีศีล ๕ บริสุทธิ์ มีจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ การทำความดีทุกอย่าง ไม่หวังผลตอบแทนในปัจจุบัน คิดว่าผลความดีที่เราต้องการมีอย่างเดียวคือ พระนิพพาน เท่านี้เองความเป็นพระโสดาบัน
พระสกิทาคามี
๑. พระสกิทาคามี อารมณ์ทุกอย่างเหมือนพระโสดาบันทั้งหมด ตัดสังโยชน์สามเหมือนกัน แต่ว่ามีการบรรเทาความรักในระหว่างเพศ บรรเทาความร่ำรวย บรรเทาความโกรธ เมื่อสามอย่างนี้มันบรรเทาความหลงก็เลยบรรเทาด้วย กำลังใจของพระสกิทาคามี มีข้อสังเกตดังนี้
ประการที่หนึ่ง อารมณ์จะไม่มีความกำเริบในระหว่างเพศ จิตใจเยือกเย็นลงแต่ยังไม่หมด เบาลง
ประการที่สอง เรื่องความโลภ ความอยากรวย ความดิ้นรนของความอยากรวยเบาลง ความรู้สึกว่าพอเริ่มมี แต่การทำความดีความขยันหมั่นเพียรยังปรากฎ แต่ว่าจิตไม่ดิ้นรนเกินไป
สิ่งที่เราจะสังเกตได้ง่าย สำหรับพระสกิทาคามีนั่นก็คือ กำลังความโกรธลดลงมาก การถูกด่า ถูกนินทา โกรธเบา บางทีก็โกรธช้าไป
พระอนาคามี
๑. ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าสู่พระอนาคามีมรรคได้มันเข้ามาเอง ทำไป ๆ จิตมันก็โทรมลงมา คือว่า จิตหมดกำลังในด้านความชั่ว ทรงความดีมากขึ้น มีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศมีความสลดใจ คือถ้าจิตไม่มีความรู้สึกระหว่างเพศ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระอนาคามีมรรค ถ้าหากว่าจิตเราไม่พอใจในศีล ๕ มีความพอใจในศีล ๘ แล้วก็มีความมั่นคงในศีล ๘ อย่างนี้ ท่านถือว่าเริ่มเข้าอนาคามีมรรค เรียกว่าเดินทางเข้าหาพระอนาคามีต่อไป ถ้าจิตมีความเบื่อหน่ายในเรื่องระหว่างเพศ คือถ้าหมดความรู้สึกก็ถือว่าเป็น พระอนาคามีผล และต่อมาถ้าจิตลดจากความโกรธ ความไม่พอใจ ปฏิฆะ คืออารมณ์กระทบกระทั่งใจนิด ๆ หน่อย ๆ ความไม่พอใจการแสดงออกน่าจะมีสำหรับคนในปกครอง ถ้าทำไม่ดีต้องดุ ต้องด่า ต้องว่า ต้องลงโทษ อันนี้เป็นธรรมดา เป็นการหวังดี แต่ว่าเนื้อแท้จริง ๆ จิตคิดประทุษร้ายไม่มี เป็นการหวังดีแก่คนทุกคน คือตัดตัวปฏิฆะ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ถือว่าเต็มภาคภูมิของ พระอนาคามีผล
รวมความว่าจากพระสกิทาคามีแล้วจะเป็นพระอนาคามีก็คือ
• สังเกตว่าใจเราพอใจในศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ครบถ้วนจริง ๆ
• จิตตัดอารมณ์ในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึก
• ตัดความโกรธ ความพยาบาทได้เด็ดขาดอย่างนี้เป็น พระอนาคามีผล
พระอรหันต์
๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย
๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่
๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกับร่างกายของบุคคลอื่นด้วย ไม่สนใจกับวัตถุธาตุในโลกทั้งหมด คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ช้ามันก็สลายตัว ไม่มีอะไรดีสำหรับเรา เราไม่ถือว่ามันเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของเราและเราก็ไม่ถือวาทะของบุคคลอื่น ไม่ถืออารมณ์ของบุคคลอื่น ทำใจให้แช่มชื่นอยู่อย่างเดียวว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทรัพย์สินในโลกไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันพังเมื่อไรพอใจเมื่อนั้น ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ ๕ ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเรา ความเป็นเทวดาหรือพรหมจะไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการคือนิพพานนี่แค่นี้เท่านั้นแหละ ไม่เห็นมีอะไรยากถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ แต่ความจริงพูดกันมาเยอะ ทำอารมณ์ให้มันทรงตัวเถอะ มันก็ไม่ลำบากมันก็สำเร็จมรรค สำเร็จผล
#หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ #หลวงพ่อฤาษีลิงดำ #วัดท่าซุง
#การกระทำสำคัญที่สุด . หนังสือมันก็อ่านได้ท่องจำได้ แต่ใจมันไม่ได้รู้อย่างถ่องแท้ ถึงจะรู้ว่าแก้ไขอย่างนั้นอย่างนี้จากตำรา ก็พูดได้ แต่หัวใจของเรา มันไม่ได้ขาดจากความลังเลสงสัยเลย
เพราะฉะนั้น การกระทำมันจึงสำคัญที่สุด เหมือนอาหาร ถ้าเราไม่กินก็เท่านั้นแหละ ก็ไม่รู้จักรสชาด ให้พากันตั้งใจปฏิบัตินะ . #หลวงปู่ลี #กุสลธโร #วัดป่าภูผาแดง
อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เทศน์เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๘
#การปฏิบัติตั้งแต่ต้น #จนถึงพระนิพพาน #วิธีการพิจารณาธาตุ๔ขันธ์๕
เราจะได้ค้นคว้า พิจารณาร่างกายนี่แหละ ถ้าสมาธิดีแล้ว ดูกายแยกออกไปว่า ในร่างกายนี้มีอะไรบ้าง ร่างกายนี้มีรูป รูปคือขันธ์ มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ นี่ท่านเรียกว่าขันธ์ ๕
ขันธ์ แปลว่าผูก แปลว่ามัด แปลว่าถ่วง แปลว่าดึง แปลว่าทับ มันจึงหนัก มาพิจารณาแยกแยะออกจากรูปอันนี้ ร่างกายนี้มีอะไรบ้างอยู่ในรูปนี้
มันมีธาตุทั้ง ๔ มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม ประชุมกันอยู่นี่
ธาตุดิน มีขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ตับ ปอด หัวใจ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นต้น ธาตุเหล่านี้คือธาตุดิน
ธาตุน้ำ มีน้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร นี่เป็นธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ไฟยังกายให้อบอุ่น ไฟยังกายให้ทรุดโทรม ไฟยังกายให้กระวนกระวาน ไฟเผาอาหารให้ย่อย
ธาตุลม ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รวมทั้ง ๔ ธาตุที่มาประชุมกันเป็นก้อนสกนธ์กายขึ้นมา เรียกว่าสัตว์ เรียกว่าบุคคล
เมื่อมันแตกออกจากกันแล้ว ดินไปสู่ดิน น้ำลงไปสู่น้ำ ไฟไปสู่ไฟ ลมไปสู่ลม เมื่อมันแตกออกจากกันแล้วก็ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีรูปร่าง มีแต่ดวงรู้ ทีนี้ร่างกายมันแตกเป็น มันแปรปรวนเป็น ร่างกายนี่มันเป็นอนิจจัง มันเป็นทุกขัง มันเป็นอนัตตา มันแปรปรวน เปลี่ยแปลง มันไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ และสิ่งใดเป็นทุกข์ ตรงนี้จำเอาไว้ให้ดีว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตน" ถ้ามีแต่ตนของตนล้วนๆ อยู่แล้ว มันไม่มีอะไรอยู่ในนั้น มันไม่มีสุข มันไม่มีทุกข์ มันไม่มีร้อน มันไม่มีหนาว มันไม่มีมืด มันไม่มีสว่าง ถ้าเข้าไปถึงดวงใจจริงๆ นั่นล่ะ มันเป็นอย่างนี้
แต่นี่เรามันหลง หลงมายึดกาย กายนี่มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสุข พาให้เกิดทุกข์ พาให้ร้อน พาให้หนาว พาให้เย็น พาให้วุ่นวาย พาให้เจ็บนั่นเจ็บนี่ ปวดนั่นปวดนี่ เพราะกายนี่ ถ้ามีแต่จิตล้วนๆ มันไม่มีอะไรอยู่ในนั้น ทีนี้จิตเรามายึดกาย ตรงนี้แหละทำให้เกิดทุกข์ เกิดเวทนา เวทนา ก็มีสุข มีทุกข์ มีเฉยๆ ทำให้เกิดราคะตัณหา เกิดโทสะ เกิดโมหะ เกิดอวิชชาตัณหา เกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง โกรธเพราะมันมีกาย ถ้าไม่มีกายมันก็จะไม่มีอะไร
เพราะฉะนั้นท่านถึงให้มาปฏิบัติค้นคว้า มาดูกาย แยกแยะถอนจิตออกจากกาย ทำลายกายออกจากจิต แยกเป็นส่วนๆ อย่างอาการ ๓๒ แยกเอาผมมากองไว้ที่หนึ่ง เอาขนมากองไว้ที่หนึ่ง เอาเล็บมากองไว้ที่หนึ่ง เอาฟันมากองไว้ที่หนึ่ง เอาหนังมากองไว้ที่หนึ่ง เอาเนื้อมากองไว้ที่หนึ่ง เอากระดูกมากองไว้ที่หนึ่ง เอาตับมากองไว้ที่หนึ่ง เอาไตมากองไว้ที่หนึ่ง เอาม้ามมากองไว้ที่หนึ่ง เอาเอ็นมากองไว้ที่หนึ่ง เอาตับไตไส้พุงเอาไปแยกเป็นกองๆ ไว้ อาการ ๓๒ นี้ ทั้งน้ำ น้ำดีก็ไปกองไว้ที่หนึ่ง น้ำเสลดก็ไปกองไว้ที่หนึ่ง น้ำเหลืองก็ไปกองไว้ที่หนึ่ง น้ำหนองก็ไปกองไว้ที่หนึ่ง น้ำเลือดก็ไปกองไว้ที่หนึ่ง กองให้มันเรี่ยรายออกไป แล้วเราก็ดูกำหนดไปแต่ละอย่างๆ พอกระจายออกไปแล้วทีนี้ก็เอารวมเข้ามาอีก แล้วก็แยกกระจายออกไปอีก เล่นอยู่อย่างนั้นแหละ ให้มันชำนิชำนาญ
เมื่อจิตมันทำได้อยู่อย่างนี้ ก็แปลว่า จิตของเราก็เป็นสมาธิอยู่โดยปริยาย
พิจารณาอยู่อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิอยู่กับการที่เราพิจารณานี้ นี่ท่านเรียกว่า ใช้ปัญญาพิจารณา เมื่อเราพิจารณาดูกายของเราได้ชัดเจนแล้ว ทีนี้ของภายนอกก็อย่างเดียวกัน สัตว์ก็อย่างเดียวกัน ต้นไม้ก็อย่างเดียวกัน ภูเขาก็อย่างเดียวกัน เพราะมันเป็นวัตถุอย่างเดียวกัน มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีแปรปรวนในท่ามกลาง และมีแตกสลายในที่สุด มันเป็นอยู่อย่างนั้น ให้ยกขึ้นมาพิจารณาให้จิตมันรู้ ให้มันเห็น ให้จิตมันถอนออก ไม่ให้จิตมันหลง หลงรัก หลงชัง ไม่ให้จิตมันหลงยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ แยกแยะดูกาย วันนี้ก็ดู วันหน้าก็ดู ดูมันอยู่นั่นแหละ จนให้จิตมันถอนออกหรือคลายออก อันนั้นมันจะเป็นไปของมันเอง
เมื่อมันรู้แล้วมันจะวางของมันเอง วางตรงไหน รู้ตรงไหน เห็นว่าไม่ใช่เรา เห็นว่าไม่ใช่ตน เห็นว่ามันเป็นดิน เห็นว่ามันเป็นน้ำ เห็นว่ามันเป็นไฟ เห็นว่ามันเป็นลม เห็นมันเป็นอาการ ๓๒ อยู่เฉยๆ มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ดูมันอยู่นั่นแหละ ให้มันชำนิชำนาญ ให้มันเร็วขึ้น พอเห็นรูปปั๊บ ถ้ามันเห็นเกิดความสวยงามขึ้นมา เราก็กำหนดเข้ามา เข้ามาดูกายของเรา เมื่อดูกายของเรามันเห็นอย่างเดิม ที่เราได้พิจารณาค้นคว้าอยู่แล้ว มันก็จะหายจากความกำหนัดยินดีในรูป
ดูภายนอกและก็ดูภายใน ภายนอกก็คือ คนอื่น สัตว์อื่น ต้นไม้ เถาวัลย์ ภายในก็คือ ร่างกายของเรา มันก็อย่างเดียวกัน ถ้ามันแจ้งภายใน มันก็แจ้งภายนอก เพราะฉะนั้นท่านถึงให้มาปฏิบัติให้รู้แจ้งโลก โลกนอกก็คือ คนอื่น สัตว์อื่น ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ โลกในก็คือ ร่างกายของเราและจิตใจของเรา
ถ้าจิตใจของเรายังยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี่อยู่ว่าเป็นตัวเป็นตนอยู่มันก็ยังเป็นโลกอยู่ มันยังไม่เป็นธรรม ถ้ามันถอนออกมาว่า จิตเป็นจิต กายเป็นกาย มันก็จะถอนออกมาจากโลก มันถึงจะเป็นธรรมตรงนี้ ตรงที่มันถอนออกมา ธรรมคือตัวรู้ ตัวรู้คือดวงใจของเรา พอมันแยกออกมาเป็นตนของตนแล้ว ศีลก็อยู่ที่นี่ อันเดียวกันนี่ที่ดวงใจของเรานี่ ดวงใจคือดวงรู้ของเรานี่ สมาธิก็คือดวงรู้ ปัญญาก็คือดวงรู้ นิโรธะ คือ ความดับทุกข์ มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ศีล-สมาธิ-ปัญญา ก็คืออันเดียวกันอันเดิมนี่ล่ะ สรุปแล้วมารวมอยู่จุดเดียวคือ "ดวงใจ" อะไรๆ อยู่ที่นี่ เกิดขึ้นที่นี่ ดับลงที่นี่ รักก็เกิดที่นี่ ชังก็เกิดที่นี่ โกรธก็เกิดที่นี่ โลภก็เกิดที่นี่ หลงก็อยู่ที่นี่ มันรวมอยู่ที่จิต ถ้าจิตเรารู้เแล้วก็พยายามบำรุงตัวรู้ ตัวสติให้มันเด่นขึ้นมา เมื่อตัวรู้ ตัวสติมันเด่นขึ้นมา ความไม่รู้-ความหลงคืออะไร ความไม่รู้-ความหลงก็คือตัวอวิชชา ตัวอวิชชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้นี่แหละมันพาให้เราเกิด มันพาให้เราแก่ มันพาให้เราเจ็บ มันพาให้เราตายอยู่ในโลกนี้
ท่านจึงว่า "อวิชชา ปัจจยาสังขารา" เมื่อมันมีอวิชชาคือความไม่รู้นี่มันพาให้เกิดเป็นสังขาราขึ้นมา ถ้ามันรู้แล้วมันจะมีอะไรพาให้เกิดขึ้นมา เมื่อมันรู้แล้วมันไม่หลงแล้ว ความหลงก็คือความมืด ถ้าความมืดความหลงมันตกไปหมดของเราแล้ว มันก็ไม่กลับมามืดไม่กลับมาหลงอีก มันก็จบแล้วที่นี่จะให้มันเป็นอะไรอีก
หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
#โยม : ขอโอกาสครูอาจารย์ครับ พระโสดาบัน ต้องภาวนาบ่ครับ ถึงจะได้ธรรมชั้นโสดาบัน
#พระอาจารย์ : ฮ่วย...มันต้องภาวนาละเว้ย..ภาวนาจนจิตใจมันสงบระงับ ใจเห็นสรรพสิ่งเป็นธรรมพุ้นตั้ว จิตใจบ่เอนเอียงหนีจากพระรัตนตรัย มั่นคงต่อศีลห้า พุ้นล่ะ
หรือสิเอาแต่ว่า พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 นั้นติ สักกายะทิฏฐิ นั้นติ วิจิกิจฉา นั้นติ สีลัพพตปรมาส นั้นติ
#คันบ่ภาวนามันสิเอาธรรมหยังละสังโยชน์3อยู่หั่น
คันสิเอาตะควมเว้า ควมนึกคิดไปเอง มันกะเป็นบ่ได้เด้พระโสดาบัน มันกะสิเป็น โสเดา โสดาเดา ไปซั่นตั้ว..หาเว้า. ............................. พระอาจารย์โสภา สมโณ
|