...ฝึกทำใจให้ยอมรับ ค่อยๆฝึกไปทีละเล็กทีละน้อย ในที่สุดก็จะยอมรับได้
.เมื่อยอมรับได้แล้ว “ความทุกข์ก็จะ ไม่มีปรากฏขึ้นมาภายในใจ “
.เช่นเวลาสูญเสียอะไรไป ก็ยอมรับว่าสูญเสียไปแล้ว เป็นเรื่องปกติ ..เป็นเรื่องธรรมดา เอากลับมาไม่ได้
.ถึงแม้เอากลับมาได้ พรุ่งนี้หรือในอนาคตข้างหน้า “ก็ต้องสูญเสียไปอีกอยู่ดี”
.เพราะเป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ไม่พลัดพรากจากกันในวันนี้ ก็ต้องพลัดพรากจากกันในวันหน้า อย่างแน่นอน
.เพราะนี่คือธรรมชาติ ของ..”สภาวธรรมทั้งหลาย ของสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ “
.”เป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น” เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ใจก็จะไม่ ไปยึดไปติดกับอะไรอีกต่อไป . ............................................. กำลังใจ ๑๑, กัณฑ์ที่ ๑๖๔ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
บ้านไหนมีบุญเรารู้ได้ คนในบ้านรู้จักเคารพพ่อแม่ เคารพผู้เฒ่าผู้แก่ ทำอะไรก็มีความสุข มีความหมาย คนไม่รู้จักบุญก็วุ่นวายอยู่นั่น จะทำบุญแต่ละครั้งต้องฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าวัว ไม่รู้จักเสียเลยจริงๆ บุญไม่ลำบากอย่างนั้นนะ ง่ายๆทำไปแล้วสบาย คิดขึ้นมาตอนไหนก็สบายใจ จะอยู่บ้านไหนเมืองไหนก็สบาย ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ถ้าเข้าถึงธรรมะแล้วเป็นอย่างนั้น
#ที่มาจากหนังสือกบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว จัดพิมพิ์โดย วัดหนองป่าพง โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
…ถ้าเป็นพระที่รู้จริง ๆ ท่านจะบอกวิธี สอนให้เราหายจากความทุกข์ ความไม่สบายใจได้
.อย่าไปหาหมอดู อย่าไปหาซินแส อย่าไปหาเข้าเจ้าเข้าทรงอะไรต่าง ๆ พวกนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นบัณฑิต
.พวกเขาเอง พวกเข้าเจ้าเข้าทรงเอง ซินแสเอง ก็ยังต้องทุกข์ ยังต้องเศร้าโศกเสียใจ ยังต้องร้องห่มร้องไห้อยู่เหมือนกัน
.” เมื่อเขายังแก้ทุกข์ของเขาเองไม่ได้ แล้วเขาจะมาแก้ทุกข์ของเราได้อย่างไร “
.ดังนั้นถ้าเรามีความทุกข์ใจ มีความไม่สบายใจ ..ขอให้เรา “เข้าหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เถิด”. …………………………………………… ธรรมะหน้ากุฏิ 2 กันยายน 2563 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
บุญเป็นอย่างนี้ ลักษณะของบุญคือ ใจเราดี ใจเรามีความสุข ใจเรามีความสบาย เย็นอกเย็นใจ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่วุ่นไม่วาย นี่แหละบุญ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ถ้าเรายอมรับสภาพความเป็นจริงของโลกแล้ว ความหลงจะมาจากไหน
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
#ตัวจริงของจิต
ถ้าเป็นน้ำก็แหวกลงไป แหวกจอกแหวกแหนลงไป เห็นแล้วน้ำใสสะอาดซ่อนอยู่ หลังความหมายมั่นสำคัญผิดนี่เอง แหวกความสำคัญทั้งหลายออก ออกให้หมด
ธรรมทุกประเภท อนิจจังก็แล้ว ทุกขังก็แล้ว อนัตตาก็แล้ว แหวกออก ๆ จนไม่มีอะไรให้แหวก ถึงน้ำใสบริสุทธิ์ ถึงจิตดั้งเดิม ตัวจริงของจิตเป็นแบบนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเจือปน ใสแท้
เห็นธรรมบรรลุธรรม เห็นกายก็จริง เห็นเวทนาก็จริง เห็นจิตจริง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างจริงไปหมด ฝึกแล้วฝึกเล่า ภาวนาแล้วภาวนาเล่า ทุกข์แล้วทุกข์เล่า พยายามแหวกสิ่งที่คนทั้งหลายเขาละเลยท่านเห็นอะไร ท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม
ได้ยินอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้กลิ่นลิ้มรสได้สัมผัสอะไรก็พินิจพิจารณาเป็นอยู่อย่างนั้น ถึงเอียงซ้ายเอียงขวามันก็ไม่เอียง ต้องปรับให้มันตรงอยู่เรื่อย ตรงความจริงอยู่เรื่อย
ในที่สุดก็แหวกออกหมด เหลือแต่ความจริงของจิต ทางภาคปฏิบัติ ปฏิบัติไป ๆ เหมือนกับจะไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรเลย เหมือนกับไม่มีวันถึงไหน
ถึง ต้องถึง นักปฏิบัติไม่หยุด ไม่ถอย ยังไงมันก็ต้องถึงเหมือนกับมืดสนิทไม่มีวันสว่างเลย เหมือนกับโง่ดักดาน จนไม่มีวันรู้เลย ไม่ใช่
มันจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ๆ จากการประพฤติปฏิบัติของเรา เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด จากชั่วเปลี่ยนเป็นดี จากมืดเปลี่ยนไปสว่างไปเรื่อย จากขุ่นมัวเปลี่ยนแปลงเป็นผ่องใสไป ๆ จากกิเลสก็เปลี่ยนเป็นธรรมขึ้นมา
"หยดน้ำบนใบบัว" แสงธรรมส่องทาง (๒๙๑) #ท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตโต #วัดภูสังโฆ หนองวัวซอ อุดรธานี
จุดหมายปลายทางคือทำความโง่(อวิชชา)ให้พ้นไปจากจิตโดยเด็ดขาด ไม่มีเรื่องที่จะมาสงสัยอีกแล้ว
การภาวนาเป็นกุศลสูงสุดเป็นกุศลชั้นเยี่ยม ฝึกหัดจิตให้เป็นสมาธิ เป็นบุญชั้นเยี่ยมยิ่งกว่าทานและยิ่งกว่าศีล
พระพุทธเจ้าทรงเรียกอริยทรัพย์ แจกเท่าไหร่ไม่หมด นึกแผ่ไป send good will to all ตั้งแต่ยอดพรหมโลก กว้างขวางแค่ไหนไปจนถึงก้นนรก
#หลวงปู่บุญฤทธิ์ #ปัณฑิโต
จงพยายามมีสติ และปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านจะสงบมากขึ้นๆ
หลวงปู่ชา สุภัทโท
#ผู้ใดมีบุญมากขึ้นมาแล้ว #ก็สงบ #ไม่ชอบวุ่นวาย
นี่เป็นลักษณะของผู้มีบุญมาก บุคคลผู้ที่เบื่อหน่ายต่อความวุ่นวาย ต่อความเละเทะต่างๆในโลก แล้วก็ยินดีแสวงหาความสงบทางจิตใจ นี่อันนี้จึงเป็นที่แน่นอนว่าเป็นคนมีบุญมากจริง
#โอวาทธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
"..การปฏิบัตินี้เป็นทาง ที่จะพาให้พ้นทุกข์ คือ มรรค 8
มรรค 8 ข้อต้นนั้นได้แก่ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 คืออะไร คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
มรรค คือ มรรค 8 ฉะนั้น เมื่อปฏิบัติสัมมาทิฐิ ข้อเดียว จึงเท่ากับ ปฏิบัติทั้งหมด 8 ข้อ
ทุกข์คืออะไร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครคือผู้เกิดผู้ตาย ร่างกายของเรานี้
ฉะนั้น ร่างกายของเรานี้ จึงเป็นตัวทุกข์ เพราะ จิตเข้าไปยึดมั่น ”
โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
|