นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 9:50 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 06 ก.พ. 2022 5:23 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
…บุญบารมี
เป็นสมบัติที่แท้จริงของพวกเรา

.สมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น
วัตถุข้าวของเงินทองต่างๆ
บุคคลต่างๆ ไม่ได้เป็นสมบัติที่แท้จริง
เพราะเอาติดตัวไปไม่ได้เมื่อเราตายจากโลกนี้ไป

.บางทียังไม่ทันตาย ก็จากไปก่อนแล้ว
แต่ “ บุญบารมี “
จะติดอยู่กับใจของเรา
ไม่มีใครพรากจากเราไปได้
เป็นที่พึ่งที่ แท้จริง .
……………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
กำลังใจ๓๙ กัณฑ์ที่ ๓๕๘
๕ สิงหาคม ๒๕๕๐








"...การตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ กะคือกันกับเฮาโยนหินลงน้ำนิหล่ะ แฮงคลื่นมันกะค่อยกะเพื่อมออกไปจนสุดฝั่ง

อำนาจแห่งความเมตตากะคือกัน กระแสจิตเฮาฮอดใส เขากะได้ทั่วฮอดนั้น..."

โอวาทธรรม
หลวงปู่ปั่น สมาหิโต (อายุ ๙๖ ปี)
วัดป่าศิริดำรงวนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร







"การให้ธรรมที่แท้จริง
หมายถึงการทำตนเอง
ของทุกคนให้มีธรรม

พิจารณาจากความจริง
ที่ว่าผู้มีธรรมเป็นผู้ให้
ความเย็น ความสุขแก้ผู้อื่นได้
เช่นเดียวกันกับที่ให้
ความเย็นความสุขแก่ตนเอง
อาจเห็นได้ว่า การให้ธรรม
ไม่หมายถึงเพียงการพิมพ์
หนังสือธรรมแจก หรือการ
อบรมสั่งสอนด้วยวาจา
ให้รู้ให้เห็นธรรมเท่านั้น

แต่การให้ธรรมที่แท้จริง
ย่อมหมายถึงการทำตนเอง
ของทุกคนให้มีธรรม ให้ธรรม
ในตนปรากฏแก่คนทั้งหลาย
โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการ
แสดงออกเป็นการสั่งสอน
ด้วยวาจา หรือเช่นด้วยการ
แสดงธรรมแบบพระธรรม
เทศนาของพระ

การสั่งสอนธรรมหรือให้
ธรรมด้วยความประพฤติ
ปฏิบัติธรรมด้วยตนเองนั้น
มีความสำคัญเหนือกว่า
การแจกหนังสือธรรมเป็น
อันมากด้วยซ้ำ เพราะการ
ประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย
ตนเองอย่างสม่ำเสมอ
จนธรรมนั้นเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกับกายกับใจ"

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณสังวร






"เมื่อศรัทธาเจ้านายไม่ได้ ก็อย่าปล่อยให้ชีวิตผ่านไป
อย่างไร้ความหมาย คนอื่นจะเป็นอย่างไร เรื่องของเขา
หันมาทำตัวเอง ให้น่าศรัทธาก็พอ เวลาของคนเรา
มีน้อย อย่าต่อสู้ และต่อต้าน ในสิ่งที่เสียเวลา
ตัวอย่างมีให้เห็น เลือกเป็นในแบบที่เราศรัทธา"

ท่านพุทธทาสภิกขุ







"ถ้าใครภาวนา แล้วเบื่อหน่าย
ต่อครอบครัว อยากหนีไปบวช
มิจฉาทิฏฐิ กำลังจะกินแล้ว

ใครภาวนามีสมาธิดี
แล้วเบื่อหน่ายงาน
อยากทิ้งการทิ้งงานหนีออกไป
อันนั้น ความผิดกำลังจะเกิดขึ้น

ถ้าใครภาวนาเก่งแล้ว
สมมติว่า ครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์
รักลูกศิษย์มากขึ้น ลูกศิษย์ภาวนาเก่ง
แล้วรักครูบาอาจารย์
เคารพครูบาอาจารย์มากขึ้น

สามีภรรยาภาวนาเก่ง แล้วรักกันยิ่งขึ้น
รักลูก รักครอบครัว รู้จักประหยัด
รู้จักสิ่งที่ควร ไม่ควรดียิ่งขึ้น อันนี้
จึงจะได้ชื่อว่า เป็นการภาวนาได้ผลดี"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย





เราอาจเปรียบเทียบชีวิตของเรา
เหมือนภาชนะอันหนึ่ง เอาเเต่ของไม่สะอาด
ไปใส่ในกาย วาจา ใจของเรา ชีวิตของเรา
ก็เป็นภาชนะว่างที่กลายเป็น “กระโถน”

ถ้าเราตั้งภาชนะนี้ไว้ในที่ดี แล้วเอาดินใส่
เอาต้นไม้ใส่ รดน้ำพรวนดิน เสร็จแล้วภาชนะนี้
จะเรียกเป็นกระโถนไม่ได้ ต้องเรียกว่าเป็น “กระถาง”

พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ






#ธรรมทั้งหลายเกิดจากจิต
#ไปหาข้างนอกหาไม่เห็นหรอก

มันไม่มี
หาตรงไหน ไม่มี
จึงว่าหาลงไปที่จิต
หาลงไปที่จิต แล้วดับ
ดับที่จิตนั้น

ธรรมทั้งหลายเกิดจากจิต
ดับก็ดับที่จิตนั้น
ธรรมทั้งหลายเกิดจากจิต
และดับไปก็เพราะเหตุนั้น

เหตุคือจิต
ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นภายนอก
นอกจากจิต ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้

เรื่องธรรมทั้งหลาย
ธรรมที่เป็นอกุศล
ธรรมที่เป็นอกุศล
เกิดจากจิตทั้งนั้น

ธรรมที่เป็นฝ่ายบวก
ธรรมที่เป็นฝ่ายลบ
ธรรมที่เป็นฝ่ายสว่าง
ธรรมที่เป็นฝ่ายมืด
เกิดจากจิตทั้งนั้น

จึงว่าอะไรเกิดขึ้น
อะไรเกิดขึ้น
ให้มองหาจิต

จิตอันนี้ล่ะเป็นสมุฏฐาน
เป็นฐานที่เกิดของธรรมทั้งนั้น

พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร
(หลวงปู่แบน ธนากโร)
วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร







หลวงปู่จันทา ถาวโร...

” มันทุกข์ เพราะอะไร ? “

” ทุกข์ เพราะกิเลสมันเผาพระเจ้าข้า ส่วนร่างกายมันสุขอยู่ แต่ใจเป็นทุกข์เร่าร้อนอยู่ทั้งวันคืน เพราะกิเลสมันเผานั่นแหละ ขอพระองค์เจ้าทรงพระเมตตาพวกเกล้ากระผมในวันนี้ ทรงพระเมตตาดับไปใหญ่ ไฟ โลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา ดับให้ได้ในวันนี้ จะได้อยู่เย็นเป็นสุข “

พระพุทธเจ้า ก็ตรัสเทศน์ เรื่อง ขันธ์ ๕ รูปัง อนิจจัง รูปไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ อันรูป คือ ร่างกาย จะเกิดขึ้นก็เพราะกิเลส กิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดขึ้น รูปสังขารอันนี้เป็นผลดอก แต่ถึงแม้นว่ามันจะเป็นอย่างไร รูปัง อนิจจัง แปรปรวนแปลี่ยนแปลงอยูเป็นนิจ แต่แล้วเจ้ากิเลสก็เผาผลาญให้เร่าร้อน จิตใจนั้นไม่มีความผาสุขได้ เธอทั้งหลายจงพิจารณารูป คือ ร่างกายนี้ไม่เที่ยงแปรปรวน เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ
รูป เปรียบเหมือนกับต่อมน้ำ ธรรมดาว่าต่อมน้ำเมื่อเม็ดฝนตกจากบนฟ้ามากระทบน้ำข้างล้างมันก็พองขึ้นเป็นโพรง ๆ ไม่นานหนอก็แตกเป๊าะหายไปเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาเห็นเป็นอย่างนั้นอย่าได้เห้นว่ารูปเป็นเรา เราเป็นรูป รูปมีในเรา เรามีในรูป มันจะผิดหวังไม่ได้ตามใจหมาย รูปัง อนิจจัง รูปไม่เที่ยง รูปัง ทุกขัง ลำบากกายจิต รูปัง อนัตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ภิกษุทั้งหลายจงพิจารณาดูนะ
เวทนา สุข ทุกข์ เฉย ๆ เปรียบเหมือนคลื่นน้ำในห้วยหนอง คลองบึง น้อยใหญ่ ลมพัดมาเกิดเป็นคลื่นแล้วมันก็ดับไปเท่านั้น เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูเปรียบเหมือนคลื่นน้ำ นั่นแหละ
สัญญา อนิจจา สัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่เที่ยงรู้แล้วก็พลอยหลงไปดับไป เปรียบเหมือนพยับแดดในฤดูร้อน
สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง เปรียบเหมือนต้นกล้วย ธรรมดาว่าต้นกล้วย เมื่อมันออกปลีให้ผลแก่ผลเจ้าของตัดเอาไปกินแล้ว ลำต้นก็เปื่อยเน่าลง ถมทับแผ่นดินเท่านั้น ไม่มีสาระแก่นสารอะไร เธอจงเห็นเป็นอย่างนั้น
วิญญาณัง อนิจจัง วิญญาณ เป็นผู้หลอกให้หลงในรูป ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปรียบเหมือนนักเล่นกลอยู่บนถนน ๔ แพร่ง บุรุษไปมาทั้ง ๔ ทิศ ก็หลงไปตามมายาสาไถย์ ของนักเล่นกลนั้น วิญญาณเปรียบเหมือนนักเล่นกล ถนน ๔ แพร่ง ได้แก่ ธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เจ้าวิญญญาณก็หลอกลวงให้หลงว่า ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ นี่ของเราหมดเสียสิ้น นี่แหละ เธอทั้งหลาย จงเห็นเป็นอย่างนั้น
ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระหนัก เธอทั้งหลายจงปล่อยว่างเสีย ภาระหนกอย่างเพิ่งยึดถือไว้
นัตถิ ขันธะสมา ทุกขา ทุกข์อื่นหมื่นแสนเสมอแม้นด้วยขันธ์ ๕ นี้ไม่มี
ภาระ หาโร จะปุคคะโล โลกคือหมู่สัตว์ ภิกษุทั้งหลาย พากันแบกไปซึ่งภาระอันหนัก เมื่อไหร่จะปล่อยวางนะ ถ้าไม่เจริญธรรม ไม่มีหวังจะพ้น จะปล่อยวางได้ ภาระหนักปล่อยวางเสียเถิด เราตถาคตปล่อยวางได้แล้ว ภาระหนักไม่มี ทั้งตัวเหตุและผล
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในโลกภิกษุทั้งหลายปล่อยวางเสียเถิด อย่าเพิ่งยึดไว้ถือไว้ เป็นทุกข์
ภาระนิกเขปะนัง ทุกขัง โลเก จงรื้อถอนปล่อยวางภาระตัวเหตุหมดแล้ว ผลนั้นก็ไม่มี ตัวเหตุได้แก่อะไรภิกษุทั้งหลาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อวิชชา สังโยชน์ ๑๐ ปัจจัย ๑๐ อันนี้แหละตัวเหตุ พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย ปล่อยวางเสียแล้ว ด้วยการบำเพ็ญสมถวิปัสสนาธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ขยำเสียซึ่งกิเลส หมดเหตุ หมดปัจจัย แล้วจึงได้นามว่า ภาระนิกเขปะนัง สุขัง โลเก เป็นสุขในโลกนี้ภิกษุทั้งหลายโลกเบื้องหน้าไม่มี หมดเพียงแค่นั้น ไม่ไป ไม่มา ไม่อยู่ ไม่ขึ้น ไม่ลง หมดเพียงแค่นั้น จึงให้นามว่า นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง ความสุขอื่นเสมอด้วยจิตสงบไม่มี จิตสงบจากกิเลส กิเลสสงบจากจิต ลงเอยกันหมดเสียสิ้น มันก็เป็นสุขเท่านั้น นี่แหละ ข้อสำคัญมั่นหมาย
นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายท่านไม่ห่วงใยอาลัยในกิเลสทั้งหลายทั้งปวงแล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ ไม่เข้าไปยึดถือสิ่งอื่นเป็นภาระอีกต่อไป เพราะเห็นว่าเป็นทุกข์ หมดแล้วนักปราชญ์ผู้ผ่องแผ้วเบิกบานเลื่อมใส พ้นไปแล้วจากกิเลสเหล่านั้น
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ เธอทั้งหลายจงรื้อถอนเสียซึ่งตัณหานั้น เพราะเป็นตัวเหตุ สมุทัยเป็นแดนที่เกิดของทุกข์ ปล่อยวางเสีย อย่ายึดไว้ ถือไว้
นิจฉาโต ปะรินิพพุโตติ ผู้หมดความอยากและความหลงนั่นแหละ ได้ชื่อว่า พระนิพพาน โลกสงสารไม่มีอีกต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ยินได้ฟังเท่านั้นแหละ ถึงใจใจถึงธรรม แล้วก็จิตสงบเฉียด ๆ เท่านั้นแหละ ก็ปัญญาวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น รื้อถอนตัณหา อวิชชา สังโยชน์ ๑๐ ปัจจัย ๑๐ ขาดจากใจหมดในขณะนั้น ได้บรรลุวิมุตติวิโมกข์ธรรมอันยิ่งใหญ่
ต่อแต่นั้น ก็เสร็จสิ้นทุกอย่าง กะตัง กะระณียัง กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วหมดไม่มีอะไร เป็นขีณาสพสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แบบแล้ว วุสิตัง พระ หมะ จะริยัง ได้ทำพรหมจรรย์ถึงที่สุดวิมุตติหลุดพ้น คือพระนิพพานแล้ว นั่นแหละ ไม่มีสิ่งใดต่อเนื่องภพชาติต่อไปอีก อะยะมันติมา ชาติ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายเห็นแจ้งชัดทั้ง ๓๐ รูป ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นในขณะนั้น หมดเพียงแค่นั้น อะกุปปา เม วิมุตติ จิตของภิกษุทั้ง ๓๐ รูป นั้น เป็นอกุปปธรรม ธรรมไม่กำเริบอีกต่อไปแล้ว หมดเพียงแค่นั้น นั่นแหละ นัตถิทาน ปุนัพภะโวติ ปัจจเวกขณญาณ เกิดขึ้นที่จิตของท่านทั้ง ๓๐ รูป นั้น ชาติความเกิด อดีตชาติก็สูญแล้ว ปัจจุบันก็สูญ อนาคตก็สูญหมด ไม่มีภพชาติ ไม่ไป ไม่มา ไม่อยู่ ไม่ขึ้น ไม่ลง หมดเพียงแค่นั้น อะนิมิตตัง ไม่มีนิมิตเครื่องหมายว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย ไม่มี อัปปะฎิสนธิ ไม่มีการถือปฏิสนธิในโลกทั้งสาม หมดเพียงแค่นั้น อะนุปาวาสัง ไม่ประมวลมาซึ่งทุกข์อีก หมดเพียงแค่นั้น อัปปะฏิวัตติ จิตนั้นพ้นจากโลกสงสาร เมื่อดับขันธ์แล้วเข้าพระนิพพาน โลกทั้งสามไม่กลับมาอีก อะนุตตะโร เป็นธรรมยอดเยี่ยม ไม่มีธรรมอื่นใดจะเสมอเหมือน โลกัสสันโต เป็นที่สิ้นสุดแห่งโลกทั้งสาม กามโลก รูปโลก อรูปโลก หมดเพียงแค่นั้น นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ขันธ์ ๕ ให้ดับไฟโลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา เครื่องร้อยรัด เครื่องจองจำเครื่องเผาผลาญให้เร่าร้อนหมดไปสิ้นไป เหมือนกันกับเขาเทน้ำใส่ไฟ ไฟลุกโพล่งอยู่ ก็ดับไป มอดไป หมดเสียสิ้น สบาย

หลวงปู่จันทา ถาวโร





เราทำบุญทุกอย่าง ตั้งใจไว้จุดเดียว คือนิพพาน

หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 158 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO