นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 3:29 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: กายกับสติ
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 16 มี.ค. 2022 7:59 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
...พวกเราในอดีต ได้บำเพ็ญศีลกันมา
ได้ทำบุญทำทานมา
จึงทำให้มาเกิดเป็น..มนุษย์

.เราจึงไม่ควร
ใช้บุญเก่าไปโดยเปล่าประโยชน์
ควรจะสร้างบุญใหม่ให้เพิ่มมากขึ้นไป

.เพื่อจะได้พัฒนาจาก
มนุษย์ปุถุชนธรรมดา
ไปเป็นเทพ เป็นพรหม
เป็นพระอริยบุคคล ตามลำดับต่อไป

.ด้วยการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา
เป็นทางเดียวเท่านั้น
ทำได้มากน้อยเพียงไร “ก็ขอให้ทำไป“ .
…………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน
วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘






มาวัด..เราวัดกิเลสในใจของเราเองว่าเหลือมากน้อยเท่าไหร่ ถ้ากระทบอะไรแล้วไม่พอใจอย่างเดียว ขอให้รู้ว่ากิเลสยังท่วมหัวอยู่ ตัวกูของกูยังเต็มที่อยู่ โอกาสที่จะหลุดพ้นไปพระนิพพานก็เป็นเรื่องยากสำหรับท่าน แต่ถ้ามาวัดแล้วพยายามลด พยายามละ พยายามเลิก ขัดเกลาตนเองให้กิเลสเหลือน้อยที่สุด ทำกาย วาจา ใจ ของเราให้ดีที่สุด ถ้าอย่างนั้น..ไม่ว่าท่านอยู่ที่ไหนก็เป็นวัด เพราะว่ารู้จักวัดใจตัวเอง

โอวาทพระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
วันศุกร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒






"สมาธิ" ไม่ได้เกิดจากนั่งสมาธิเท่านั้น

หลายคนตระหนักดีว่า การมีสมาธิเป็นสิ่งดี
แต่ก็มีปัญหาว่า แม้อยากนั่งสมาธิ
แต่ก็นั่งไม่ได้ เพราะใจไม่นิ่ง ไม่มีเวลา ฯลฯ

สมเด็จพระวันรัตฯ ท่านสอนเรื่องนี้ไว้ว่า
ก็ต้องไปทีละขั้น ถ้าชั้นอนุบาล ประถม มัธยมยังไม่ได้
จะข้ามไปมหาวิทยาลัยเลยก็จะยาก

ท่านสอนเรื่องนี้อยู่สองรอบ
วันหนึ่งมีแจกันอยู่ใกล้มือ ท่านบอกว่า
"ใจก็เหมือนแจกัน"
อีกวันนั่งฉันข้าวที่โต๊ะ มีชามข้าวใกล้มือ ท่านก็บอก
"ใจก็เหมือนชามข้าว "

ข้อคิดที่ท่านต้องการสอนคือ
ไม่ว่าจะใช้แจกัน หรือ ชามข้าว ก็ต้อง
"ตั้งให้มั่น"
เพราะถ้าไม่ตั้งให้มั่น ก็จะล้ม ใช้ใส่อะไรก็ไม่ได้

ท่านสอนไปก็ทดลองวางแจกัน
หรือชามข้าวไปเพื่อให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ด้วยตนเองว่า
ถ้าไม่ตั้งให้มั่นคงก็จะล้มแน่นอน
(การเปรียบเปรยของท่านก็ทำให้ผมแปลความเอาเองต่อไปว่า ใจที่ใหญ่ก็จะรองรับอะไรได้เยอะ
ใจแคบก็รองรับอะไรได้น้อย ใจคว่ำก็ไม่รับอะไรเลย)

ดังนั้น จะทำอะไรก็ต้อง "ตั้งใจ"
ก่อน ตั้งใจให้มั่นคง ไม่วอกแวก
ให้ใจจดจ่ออยู่กับ สิ่งที่กำลังทำ หรือสิ่งที่กำลังจะทำ

ถ้าจดจ่อเช่นนั้นได้ เรียกว่า "มีสมาธิ"
ถือเป็นสมาธิขั้นตั้น
แต่ถ้าทำเรื่องหนึ่งอยู่
ใจก็ไปคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง
อย่างนั้นเรียกว่าไม่มีสมาธิ
ถ้าไม่มีสมาธิ
การงานที่ทำอยู่ก็จะสำเร็จสมดังความประสงค์ได้ยาก

จึงควรเริ่มต้นจากเรื่องเหล่านี้ก่อน
จะเดิน จะนั่ง จะเรียน หรือจะทำงาน
ก็ให้มีสมาธิตั้งมั่นกับเรื่องที่กำลังทำ

การทำเช่นนี้เป็นการฝึกใจให้อยู่นิ่งให้เป็น
ไม่ให้ไหลเลื่อนลอยไปในที่ต่าง ๆ
เมื่อใจเริ่มถูกควบคุมให้อยู่นิ่ง
ให้ตั้งมั่นกับกิจกรรมที่ทำอยู่ได้จนเป็นนิสัยแล้ว
ต่อไปจะพัฒนาไปสู่สมาธิขั้นสูงก็ทำได้ไม่ยาก

แต่ถ้าเรื่องง่าย ๆ แบบนี้ทุกๆ วัน
ยังทำไม่ได้จะข้ามไปนั่งสมาธิเลยทันที
ก็จะเหมือนข้ามขั้นจากอนุบาลไปมหาวิทยาลัย

เมื่อฝึกสมาธิอย่างง่ายทุกวันจนทำให้ใจนิ่งเป็นระยะ ๆ ได้แล้วจึงค่อยขยับมาสู่การฝึก
"สมถกรรมฐาน"

หรือการนั่งสมาธิ (ซึ่งไม่ได้แปลว่าต้องนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ หากแต่ต้องนั่งในท่าที่สบาย ๆ นั่งเก้าอี้ก็ได้ คือนั่งในท่าที่ไม่ทำให้ใจพะวงกับความเมื่อยล้า แต่ก็ไม่ใช่สบายเกินไปจนใจเลื่อนไหลไปสู่ความง่วงจนผล็อยหลับไป)

วิธีทำให้ใจนิ่ง ก็คือการนำใจไป
"เพ่ง" กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เพื่อทำให้ใจเราจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นมากที่สุด
วอกแวกน้อยที่สุด
สงบนิ่งเร็วที่สุด
จะเพ่งดิน เพ่งน้ำ เพ่งลม เพ่งไฟ เพ่งสี
หรือเพ่งอะไรก็ได้ที่ต้องกับจริตของตน
(หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง สมถกรรมฐาน 40 กอง)

เมื่อใจสงบนิ่งมีสมาธิ
ก็สามารถหยิบเรื่องราวมากมายที่ผ่านเข้ามา
ในชีวิตแต่ละวันมาพิจารณา
ถ้าใจเราเหมือนชามข้าว
ทุกวันก็เหมือนเราตักอาหารหลายอย่างใส่ลงไปในชามข้าวเรา ประสมปนเปกันไปหมด

เมื่อใจที่รับสิ่งเหล่านั้นเข้ามาแล้ว
ก็ต้องหาเวลาสงบที่จะพิจารณาให้ธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้น ให้แยกแยะคุณประโยชน์ หรือโทษที่แท้จริงของ
มันทำเช่นนั้น ก็จะขยับจาก "สมถกรรมฐาน" ไปสู่ "วิปัสสนากรรมฐาน"

อันเป็นการขยับจากการสร้าง "สมาธิ"
ให้เกิด "ความนิ่ง"
ไปสู่ "การพิจารณา"
เพื่อให้เกิด "ปัญญา" ในที่สุด

ความสำคัญของสมาธิอยู่ตรงที่
เมื่อใจตั้งมั่น ใจสงบ ใจมีสมาธิ

ก็จะเป็นเงื่อนไข หรือเป็นสภาพที่ทำให้สามารถเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ได้กระจ่างแจ้งมากขึ้น
แยกแยะผิดชอบชั่วดีได้อย่างถ่องแท้มากขึ้น อันนี้
แหละที่เราเรียกว่า

"ปัญญา" ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับ "ความรู้"

แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่จะมาสนทนากันในตอนต่อไป

#อาหารบำรุงชีวิตสูตรสมเด็จ
#สมเด็จพระวันรัต






" พระพุทธเจ้าท่านทรงปฏิบัติอย่างไรทรงสอนไว้อย่างไร ตั้งใจปฏิบัติอย่างนั้น อันความศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยมด้วยสิริมงคลล้ำเลิศของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งเหลือเชื่อ แต่ก็เป็นจริง เพียงตั้งจิตดังกล่าวให้แน่วแน่จริง ก็จักได้รับพระพรที่ไม่มีพรใดเปรียบเสมอ..."
.
--- พระคติธรรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร







“สติเหมือนกับราวสะพาน
เช่นเราไต่สะพาน เวลามันเซลง
เราก็จับราวสะพานได้
เราไม่ต้องปล่อยตัวเอง
ให้มันตกลงไปในความคิด
ในอารมณ์ต่างๆ

สติเหมือนกับราวสะพาน
เกาะเอาไว้กับกายของเรา
กายของเรากับสติ เหมือนเรา
เดินไต่สะพานที่มีราวจับ
ยากที่จะพลัดตกลงไป

ถ้าเราใช้กายใช้สติเพื่อการนี้
ไม่มีทางไปที่อื่น นี่ท่านเรียกว่า
อารมณ์ของกรรมฐาน”

หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ






“สิ่งที่มากระทบเรา สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา
จะทำให้เราเจ็บปวด หรือขุ่นเคืองหรือไม่
อยู่ที่ใจเรา

เพื่อนร่วมงานจะไม่น่ารัก ดินฟ้าอากาศจะไม่เป็นใจ
แต่มันทำให้เราทุกข์ไม่ได้ ถ้าหากว่าใจเราใหญ่
เหมือนแม่น้ำ

จะสุข หรือทุกข์นั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพจิตของเรา
คนที่ใจแคบ ใจเล็ก คิดถึงแต่ตัวเอง เจออะไร
มากระทบก็ทุกข์ โกรธ ไม่พอใจไปหมด

แต่คนที่ใจกว้างใหญ่ แม้จะมีเรื่องใหญ่ๆ เกิดขึ้น
เขาก็สามารถรักษาใจให้เป็นปกติได้”

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO