ปุถุชนมักอยากจะให้ตัวเองดูดีที่สุดในสายตาของคนอื่น เห็นภาพลักษณ์เป็นเรื่องสำคัญ จะพูดจะทำอะไรก็เพื่อสร้างหรือปกป้องภาพลักษณ์ตนเอง มักจะต้องคิดมากว่า จะต้องพูดอย่างไร ทำอย่างไร เพื่อให้ตัวดูดี จะพูดทั้งหมดไหม หรือจะพูดแค่บางส่วน ปิดบังบางส่วนไว้ หรือพูดเกินจริง ถ้าพูดอย่างนั้นอย่างนี้ เขาจะเสียความเคารพในตัวเราหรือเปล่า พูดอย่างไรจึงจะทำให้คนแปลความหมายสิ่งที่เราทำหรือสิ่งที่เกิดขึ้นให้ตัวเราดูดีที่สุด เหมือนมีการใช้โฟโต้ชอป (photoshop) อยู่ตลอดเวลา เอารูปตัวเองเข้าโฟโต้ชอป photoshop ใส่ฟิลเตอร์ (filter) ใส่อะไรๆ ให้มันดูแล้วดีที่สุด โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง
การมีสัจจบารมีเป็นอุดมการณ์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดมากว่าจะพูดหรือไม่พูดอย่างไร เพราะคนมีสัจจะย่อมพูดแต่สิ่งที่จริง สิ่งที่ไม่จริงไม่พูด อย่างไรก็ตาม สัจจะไม่ได้หมายความว่าจะต้องพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในใจ อย่างเรื่องส่วนตัวของเราเอง ก็ไม่จำเป็นต้องพูด แต่อย่าให้มีการปิดบังอำพรางในสิ่งที่ควรเปิดเผย เพราะมันจะเป็นมลทินอยู่ในใจ
พระอาจารย์ชยสาโร
…ชีวิตของเราข้างหน้า เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา
.ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีกันอยู่ในวันนี้ ที่เราทำกันอยู่ในวันนี้ “ อาจจะไม่มีในวันข้างหน้าก็ได้ “
.เพราะฉะนั้น อย่าประมาท ตอนนี้มีเวลาที่จะแบ่ง “ มาเติมบุญบารมีให้แก่จิตใจ “ ก็ควรที่จะแบ่งปันเวลามากัน
.เพราะบุญบารมีนี้ “ มีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งต่างๆ “ ที่เราแสวงหากันในโลกนี้. …………………………………….. . ธรรมะหน้ากุฏิ ๖ มีนาคม ๒๕๖๔ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
#พวกเรามัวทำอะไรกันอยู่
"ไปดูซิ ในสัมพุทเธฯ พระพุทธเจ้ามีตั้งกี่พระองค์ เป็นแสน เป็นล้านองค์ แล้วพวกเรานี่ มันมัวไปทำอะไรที่ไหนกันอยู่"
หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
"..ถ้าเห็นแจ้งแทง ตลอดธรรมทั้งหมด อะไรก็เป็นธรรมะ ธรรมดา, รู้ธรรมชาติ แจ้งในธรรมชาติ หรือธรรมะ มันก็สบาย ความเห็นอย่างอื่น มันก็ดับไป
พร้อมกันนั้น ความเห็นผิดมันก็ดับ ทุกข์ก็ดับพร้อมก็ สบายขึ้นตามธรรมดา ไม่ต้องมหัศจรรย์อะไรหรอก มันเป็นธรรมชาติ
ถึงจะรู้ว่าไฟ ไม่ไปจับมัน มันก็ ไม่ร้อน ถ้าไม่รู้มัน ก็จับอยู่อย่างนั้น.."
โอวาทธรรม หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
"กรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อยๆ ให้ผลก่อนกรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้น ทำมาทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกข์บ้าง สลับกันไป
ผู้ที่มีสุขมาก ก็เพราะกรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อยๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มาก ก็ตรงกันข้าม
และในปัจจุบันนี้ ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดีอย่างหนัก หรือบ่อยๆ กรรมดังกล่าวนี้ จะสนองผลให้ก่อนกรรมชั่ว ในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่า ก็ไม่มีโอกาสให้ผล
ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วย ให้มีความสุขความเจริญสืบไป"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
"บุญ บาป เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ใครจะมาว่าเรา เป็นเรื่องปากเขา จิตเรามีหน้าที่ภาวนา ยืนให้มีสติ เดินให้มีสติ ทำอะไร พูดอะไร ให้มีสติ รู้ภายนอกรู้ไปทำไม รู้ภายใน รู้กาย รู้จิต ของตัวเองดีกว่า"
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
-ถ้าอยู่กับสติปัญญาไม่ทุกข์ แต่ถ้าเผลอสติเมื่อไหร่ ทุกข์ทันที
- มัวแต่จ้องจะไปกราบพระองค์นั้นองค์นี้ ที่นั่นที่นี่ มัวแต่ไปชื่นชมปัญญาผู้อื่น ทั้งๆที่ตัวเองก็ทำปัญญาให้เกิดขึ้นเองได้ทำไมไม่ทำ พอถึงเวลาท่านไปนิพพาน แล้วเราล่ะ ยังไม่แน่เลย
- สมองจดจำว่าอนิจจัง กับจิตรู้ซึ้งถึงอนิจจังต่างกันเยอะเลย (ความรู้สมองกับความรู้ของจิตต่างกัน)
- ใช้ร่างกายเป็นอุปกรณ์ในการเรียนรู้ธรรมะ
- ร่างกายก็ไม่เป็นกิเลส จิตก็ไม่เป็นกิเลส แต่เมื่อไหร่ที่เราไม่มีสติปัญญากิเลสมันขึ้นมาทันทีเลย (จิตไม่ได้มีกิเลสตลอดเวลา บางทีก็ว่างจากกิเลส ต้องมีสติกำหนดรู้ภายใน เรียนรู้กาย รู้จิต)
-ถ้าไม่ปรุงแต่งต่อ รู้แล้วก็ดับไป
-สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดเป็นอนัตตา
-วางโลกไปทั้งหมด เหลือแต่จิตล้วนๆ
-เพียรเพ่ง เพียรทำ การเกิดมาของเราจะไม่สูญเปล่าเลย
-นิพพานในปัจจุบันทำได้ ว่างในปัจจุบันทำได้
-เพียรรักษาจิตให้มีความชัดเจน รื่นเริง จิตจะเกิดปีติสุข แต่ต้องไม่หลงปีติสุข แต่จะต้องเอาปีติสุขมาใช้ให้เกิดประโยชน์
-ให้ตั้งมั่นอยู่กับความชัดเจนภายในจิต
-ฟังแล้วจะถึงได้ ต้องลงมือปฏิบัติให้ต่อเนื่อง
-เมื่อวิปัสสนาญาณเกิด ไม่ต้องอาศัยความคิดเลย
-เราภาวนาเพื่อวาง เราไม่ได้ภาวนาเพื่อยึด
-สติอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีปัญญาเข้าไปพิจารณาด้วย
-พิจารณาความตายเรื่อยๆ เพื่อสร้างความเพียรในปัจจุบัน
-จงรู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าติดในรู้นั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มันดับหมดเลย
-พอปฏิบัติไปถึงที่สุดจะกราบพระพุทธเจ้าด้วยความกตัญญูรู้คุณในพระคุณอันประเสริฐของพระองค์
เรียบเรียงจากการฟังเทศน์พระอาจารย์คม อภิวโร ณ คณะแพทยศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 29 03 2565
ถ้าหากต่างคนก็ต่างออกไป ปฏิบัติ ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องคุยกัน เพราะต่างคนก็ต่างแบกทุกข์มาด้วยกันทั้งนั้น ต่างคนก็ต่างแบกธาตุ แบกขันธ์มาด้วยกัน
อยู่ด้วยความวิเวก กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก เมื่อมันเกิดวามวิเวกขึ้นมา มันก็เกิดความสงบ ได้ จนกว่ามันจะเข้าสู่ความสงบ ที่ไปเห็นพุทโธ ไปรู้พุทโธ ไปเข้าใจในเรื่องของพุทโธ
พุทโธที่มันอยู่กับใจ ที่มันแนบแน่นอยู่กับใจ มันเป็นยังไง
เราจะเอาอะไรเป็นเส้นทาง ที่จะเข้าไปหาพุทโธให้ได้ เอาศรัทธาหรือเอาความเพียร
มันต้องหาช่องทางสำหรับตนเองที่จะทำความเพียร เมื่อมีโอกาสมีเวลาแล้ว ไม่ใช่ว่ามาปล่อยเวลาทิ้งไปวันๆคืนๆ เสร็จแล้วก็มาบอกว่า ทำไมมาปฏิบัติตั้งสามเดือนสี่เดือนก็ไม่เห็นผลอะไร
เราได้ปฏิบัติที่ตรงไหน ลองย้อนนับชั่วโมงดูสิ วันหนึ่งๆเราทำอะไรบ้าง เราได้เดินจงกรมภาวนาตามลำพังของเรานี่กี่นาที กี่ชั่วโมงต่อวัน
เราได้อยู่อย่างความวิเวก ที่มันเกิดความวิเวกขึ้นมาภายในจิตใจจริงๆวันหนึ่งกี่นาที กี่ชั่วโมง
ฉะนั้นถ้าเราไม่ตามดูอย่างนั้น มันไม่รู้ ทุกวันนี้มันอยู่ด้วยความไม่รู้ ในการพูดการคุยกัน อะไรต่ออะไร เดี๋ยวก็คนโน้นพูดกับคนโน้น เดี๋ยวก็คนนี้พูดกับคนนี้ พูดกันไปพูดกันมาตลอดเวลา ไม่มีวันที่จะจบ
แล้วส่วนการปฏิบัติมีแต่วันที่ห่างไกลออกไปในการปฏิบัติ
ฉะนั้นถึงว่าการปฏิบัติอย่าไปเข้าใจว่าทำไปเรื่อยๆ สบายๆ ใช่...สบายก็จริงอยู่ แต่ความสบายที่นี่น่ะ แล้วกิเลสมันว่ายังไง? มันมีกิเลสตัวไหนบ้างที่มันหลุดออกไป
ตั้งแต่เรามีศรัทธาเข้ามาปฏิบัตินี่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา อวิชชา ภพชาติต่างๆมันหลุดออกไปบ้างหรือยัง?
เราก็กำหนดใจของเราไปเรื่อยตลอดทั้งวันทั้งคืน มันไม่สงบมันจะไปไหน ถ้ามันถูกสติสัมปชัญญะเข้าไปควบคุมอย่างนั้น
นี่มันไม่มีสติสัมปชัญญะเข้าไป ควบคุมอย่างนั้น มันถึงปล่อยไปตามลมตามแล้ง
แล้วแต่มันจะเอาขยะจากที่ไหน มา ไปเอาขยะจากตรงไหนมามันก็ทิ้งกันไปตรงนั้น ต่างคนก็ต่างเอามาแหมะใส่กัน เพราะต่างคนมันก็ต่างหลงอยู่แล้ว
หลงในอารมณ์ของตัวเอง แล้วบัดนี้ก็จะชักชวนคนอื่นมาหลงแบบเดียวกันอีก มันก็เสร็จ
ฉะนั้น...การปฏิบัติมันถึงไม่เป็นไปอย่างทุกวันนี้ ถ้าจะให้มันเป็นไปได้ มันก็ต้องต่างคนมันก็ต้องต่างอยู่อย่างวิเวก
หลวงปู่สาคร #ธัมมาวุโธ
#น้อมจิตเข้านิโรธอย่างไร #หลวงปู่มั่น
“ได้เคยเล่าเรื่องการเข้านิโรธของพระอาจารย์ ลูกศิษย์ท่านองค์หนึ่งให้ฟัง ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่จำพรรษากับท่าน ท่านได้ประกาศให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายทราบทุกๆ องค์ว่า”
“ท่าน… จากกันไปนาน การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่”
ท่านอาจารย์องค์นั้นตอบถวายท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมเข้านิโรธอยู่เสมอๆ”
“เข้าอย่างไร?”
“น้อมจิต เข้าสู่นิโรธ”
#ท่านพระอาจารย์มั่น ย้อนถามว่า..?
“น้อมจิตเข้านิโรธ น้อมจิตอย่างไร”
ก็ตอบว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ ก็คือ ทำจิตให้สงบแล้วนิ่งอยู่โดยไม่ให้จิตนั้นนึกคิดไปอย่างไร ให้สงบและทรงอยู่อย่างนั้น”
“แล้วเป็นอย่างไร เข้าไปแล้วเป็นยังไง” ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม
“มันสบาย ไม่มีทุกขเวทนา”
#ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า..
“เวลาถอน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอาจารย์องค์นั้นตอบว่า “เวลาถอนก็สบายทำให้กายและจิตเบา”
#กิเลสเป็นอย่างไร
“กิเลสก็สงบอยู่เป็นธรรมดา แต่บางครั้งก็มีกำเริบขึ้น”
“พอถึงตอนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้ประกาศเรื่องนิโรธให้บรรดาสานุศิษย์ทราบทั่วกันว่า”
“นิโรธแบบนี้ นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติ เพราะเป็นนิโรธที่น้อมเข้าเอง ไม่มีตัวอย่างว่าพระอริยเจ้าน้อมจิตเข้านิโรธได้ ใครจะไปน้อมจิตเข้าได้
เมื่อจิตยังหยาบอยู่ จะไปน้อมจิตเข้าไปสู่นิโรธที่ละเอียดไม่ได้ เหมือนกับบุคคลที่ไล่ช้างเข้ารูปู ใครเล่าจะไล่เข้าได้ รูปูมันรูเล็กๆ หรือเหมือนกับบุคคลที่เอาเชือกเส้นใหญ่จะไปแหย่ร้อยเข้ารูเข็ม มันจะร้อยเข้าไปได้ไหม…?
เพราะนิโรธเป็นของละเอียด จิตที่ยังหยาบอยู่จะไปน้อมเข้าสู่นิโรธไม่ได้ เป็นแต่นิโรธน้อม นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติ นิโรธสังขาร นิโรธหลง…!”
# แล้วท่านก็เลยอธิบาย เรื่องนิโรธต่อไปว่า
“นิโรธะ” แปลว่า ความดับ คือ ดับทุกข์ ดับเหตุดับปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย
ดับอวิชชา ดับตัณหานั่นเอง จึงเรียกว่า เป็นนิโรธ อย่าไปถือว่าเอาจิตที่ไปรวมลงสู่ภวังค์ หรือฐีติจิต จิตเดิม เป็นนิโรธ มันไม่ได้
ท่านว่าจิตชนิดนั้นถ้าขาดสตอปัญญาพิจารณาทางวิปัสสนาแล้ว ก็ยังไม่ขาดจากสังโยชน์ ยังมีสังโยชน์ครอบคลุมอยู่ เมื่อถอนออกมาก็เป็นจิตธรรมดา เมืาอกระทบกับอารมณ์ต่างๆ นานเข้า ก็เป็นจิตที่ฟุ้งซ่านและเสื่อมจากความสงบหรือความรวมชนิดนั้น
#ท่านพระอาจารย์มั่นได้ประกาศให้ทราบว่า
“ผมก็เลยไปพิจารณาดูนิโรธพระอริยเจ้าดูแล้วได้ความว่า นิโรธ แปลว่าความดับ ดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย คือ ทำตัณหาให้สิ้นไป ดับตัณหาโดยไม่ให้เหลือ ความละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความสละ สลัด ตัด ขาด จากตัณหา นี้ จึงเรียกว่า “นิโรธ”
#นี่เป็นนิโรธของพระอริยเจ้า…
ท่านว่านิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็น “อกาลิโก” ความเป็นนิโรธ การดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไมาอ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่เหมือน “นิโรธ” ของพวกฤๅษีไพรภายนอกศาสนา
ส่วนนิโรธของพวกฤๅษีชีไพรภายนอกศาสนานั้น มีความมุ่งหมายเฉพาะ อยากแต่จะให้จิตของตนรวมอย่างเดียว สงบอยู่อย่างเดียว วางอารมณ์อย่างเดียว
เมื่อจิตถอนจากอารมณ์แล้ว ก็ไม่นึกน้อมเข้ามาพิจารณาให้รู้เห็นสัจธรรม คือ ให้รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ยินดีเฉพาะแต่จิตสงบหรือรวมอยู่เท่านั้น ว่าเป็นที่สุดของทุกข์
เมื่อจิตถอนก็ยินดี เอื้อเฟื้อ อาลัยในจิตที่รวมแล้ว ก็เลยส่งจิตของตนให้ยึดในเรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง ส่วนกิเลสตัณหานั้นยังมีอยู่ ยังเป็นอาสวะนอนนิ่งอยู่ภายในหัวใจ
ท่านอธิบายถึงนิโรธของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าต่อไปว่า
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ของพระอริยเจ้านั้น ต้องเดินตามมัชฌิมาปฏิปทา… ทางสายกลาง คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ ตั้งใจไว้ชอบ … นี่จึงจะถึงนิโรธความดับทุกข์ ดับเหตุให้เกิดทุกข์
นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็นนิโรธอยู่ตลอดกาลเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลานั้นจึงจะเข้านิโรธ กาลนี้จึงจะออกนิโรธ ไม่เหมือนนิโรธของพวกฤๅษีชีไพรภายนอกพระพุทธศาสนา
นี่เป็นคำสอนของท่านพระ อาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระที่แสดงไว้ ข้าพเจ้าจำความนั้นได้
#ที่มา_กุลเชฏฐาภิวาท [พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ]
|