#ทำเต็มที่ผลก็เต็มที่
"... ใจมันถือธาตุขันธ์ ก็วนเวียนเกิดตาย ใจมันถือทุกข์ ... ก็เป็นทุกข์ ใจถืออะไร ก็เป็นอย่างนั้น ใจถือสมถะ ... ใจถือวิปัสสนาก็ได้มรรค แต่ยังไม่ได้ผล ผล จะสมบูรณ์ได้ ... เมื่อสมถะพอเต็มที่ วิปัสสนาพอเต็มที่ เมื่อเต็มที่แล้ว ก็สมบูรณ์บริบูรณ์ ..."
#รูปก็ธรรม_นามก็ธรรมเป็นธรรมปฏิบัติตรงต่อนิพพาน #ต้องถือต้นทางให้ถูกต้อง_รู้การยึดการถือ_ในใจนี้ก่อน"
#หลวงปู่จาม_มหาปุญฺโญ
ขอรักษาความดีได้ อย่ายุ่งไม่พูดแน่นอนนะ เข้าตลาดอย่าลืม “ขอบคุณด้วย” เซเว่นอีเลฟเว่นอันนี้ไม่ทราบ แต่ใครช่วยขอแสดงความยินดีด้วย
ดูซิโยม ใส่ที่ปิดปาก(แมสก์) แต่ตาเรายังยิ้มได้ และมุสาไม่มี ดีมาก แสดงความยินดี และถ้าจะกินข้าว รอก่อน มีหลายคนที่อยู่ในงานนั้น เขาจะกินข้าวก่อน อย่าสนใจ แต่เราต้องสนใจแม่เรา แม่เราเป็นยังไง มีน้ำกินไหม แม่ต้องนั่งก่อน อันนี้สมควร เบอร์1ของเรา
หลวงปู่เชอรี่ อภิเจโต วัดป่าบ้านตาด
#ทุกอย่างเกิดที่จิด_และดับที่จิต
#ไม่มีอะไรจริง... เท่ากับจิต #ไม่มีอะไรปลอม... ยิ่งกว่าจิต #ไม่มีอะไรดี... เท่ากับจิต #ไม่มีอะไรเลว... ยิ่งกว่าจิต #ไม่มีอะไรละเอียด... เท่ากับจิต #ไม่มีอะไรร้อน... เท่ากับจิต #และไม่มีอะไรเย็น_ยิ่งกว่าจิต
#หลวงตามหาบัว_ญาณสัมปันโน
โยมมาทำบุญกับเรา
เราขอบคุณมาก แต่ต่อไปไม่ต้องก็ได้ ไม่ต้องเป็นเงินสด ไม่ต้องเป็นสิ่งของ เอาเข้าวิทยุนะ เป็นการช่วยชาติด้วยโยม (วิทยุเสียงธรรม)
หลวงปู่เชอรี่ อภิเจโต วัดป่าบ้านตาด
บุญทำมากเท่าไหร่ ก็เรียกว่า.. "สะสมบุญ" บุญเหล่านี้แหละ เมื่อทำมากเข้าๆ มันก็กลายเป็น "วาสนา" เมื่อวาสนามากเข้าๆ เขาก็เรียกว่าเป็น "บารมี"
โอวาทธรรม หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร
#วินัยของสมณะที่จะพึงรักษาและปฏิบัติก็คือการสำรวม_๔_ประการ_ได้แก่
#๑_อินทรียสังวรศีล ได้แก่ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน ให้เป็นไปด้วยความงดงามและควรแก่สมณเพศ
#๒_อาชีวปาริสุทธิศีล สำรวมในการเลี้ยงชีวิต หมายถึง การแสวง หาเครื่องอุปโภค บริโภคโดยสุจริต ไม่มีโทษ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น
#๓_ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในศีลพระปาฏิโมกข์ และสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้โดยไม่มีการล่วงละเมิด
#๔_ปัจจเวกขณศีล ให้พิจารณาในปัจจัยสี่ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ให้เป็นไปตามมี ตามได้พอสมควร ไม่ประกอบไปด้วยความละโมบ มิฉะนั้นก็จะไม่ใช่นักบวชแต่เป็นนักเบียด เสียด เบียดเบียนพระศาสนา
ผู้เป็นสมณะ จะต้องประพฤติตามโอวาทที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ สิ่งใดที่ทรงห้ามต้อง ไม่ทำ สิ่งที่ทรงสั่งให้ทำต้องทำ เมื่อผู้ใดได้กระทำตามคำสอน ดำเนินตาม แบบอย่างของพระองค์ ย่อมได้ชื่อว่า “#ศากยปุตโต” คือ เป็นลูกผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ซึ่งเป็นตระกูลกษัตริย์วงศ์ศากยะ มีมารยาทงดงามสูงกว่าคนธรรมดาสามัญ และถ้าใครสามารถปฏิบัติจิตใจให้สูงเหนือ ขึ้นไปอีกจนถึงขั้นอริยะ ผู้นั้นก็เลื่อนขึ้นเป็น อริยวงศ์ สูงเหนือขึ้นไปจากสกุลกษัตริย์อีก นับว่าเป็นสกุลอันประเสริฐกว่าสกุลทั้งหลายอื่น
"อาหารทุกอย่างมันก็ดีแต่ร้อนๆ เท่านั้น ถ้าทิ้งไว้นานหน่อยมันก็บูดเน่าหนอนขึ้น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีสาระแก่นสาร เป็นของลมๆ แล้งๆ ของที่คนอื่นนำมาให้มันไม่วิเศษวิโสอะไร เหมือนกับของที่มีขึ้นในตัวของเราเอง ใครไปยินดีหลงเพลิดเพลินกับสิ่งเหล่านี้ ก็ จะมีแต่โทษกับทุกข์เท่านั้น เราเองไม่เคยสนใจกับสิ่งเหล่านี้ ใครจะนั่งสรรเสริญหรือนินทาอยู่ ๑๐ วัน ๑๐ คืนก็ไม่เห็นแปลกอะไร... "
#แสดงโอวาทอบรมพระภิกษุสงฆ์_ตอนค่ำ #พระวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ #พระอาจารย์ลี_ธมฺมธโร [วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ]
#คัดลอกมาจาก_หนังสือแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน_๒. ชมรมกัลยาณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑. ปี ๒๕๕๓, หน้า ๗๐-๗๑
เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องทุกข์ เรื่องสุข ล้วนเป็นเรื่องของโลก เราจะเป็นโลก หรือ จะเป็นธรรม
#หรือบางคนหนักเข้าที่สุด “ร้องบอกอยากไปนิพพาน” ก็ดี…ให้อยากไว้ละดี อยากไว้แล้วมันจะขวนขวายตั้งใจ ใส่ใจในการดับอยากนั้น แต่…ต้องอยากให้พอดี อย่าอยากเกินไป อย่าให้อยากนั้นมาแต่งใจ ให้ใจแต่งอยาก
ทางอื่นที่จะดับอยาก ดับเกิดตาย ไม่มีหรอกนอกเสียจาก – ๑ – ทาน – ๒ – ศีล – ๓ – ธรรมะ – ๔ – ปัญญา
ธาตุที่เป็นก้อนกายเราเดี่ยวนี้ มันมิใช่ของเราน่ะ อย่าหลงตัวเอง
เรามาเกิดก็มาใช้วานกับมันเท่านั้น พอเราตายไป ก็ต้องคืนแก่โลก จึงว่า ธาตุเป็นของกลาง รูปนามเป็นของกลาง เราต้องวางคืนแก่โลกให้หมด จึงจะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
อันนี้มันวางไม่เป็น ไม่รู้ที่จะวาง ก็เลยเป็นบ้ากาย บ้าใจ
ธาตุขันธ์อายตนะ เรามายืมโลกเขาใช้ อย่าหลงว่าเป็นตนเป็นตัว ยืมเขาใช้อย่างทุกข์ยากลำบากก็ไม่รู้ มันเที่ยงไหมล่ะ คิดนึกให้ดี บังคับบัญชาได้ไหมล่ะ
จิตใจ ไม่เป็นตนเป็นตัว เป็นแต่คิด เป็นแต่นึก เป็นความรู้สึกอันหนึ่งมีอยู่
คิดดีก็จิต คิดร้ายก็จิต ด้วยเหตุนี้ จึงให้เอาสติรักษาจิต
ถ้าหากเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตก็ไม่ได้ เป็นทุกข์ เร่าร้อน
อย่าให้จิตไปในทางทุกข์ ให้จิตไปในทางสุข
สุขพาให้เป็นกุศล คือ ความฉลาด ทุกข์พาให้เป็นอกุศล คือ ความโง่ความเมาหลง
เพราะตัวเรามีจิตนี้เอง ศีล – สมาธิ – ปัญญา – ธรรมะ เราจึงสามารถทำได้
ตัวใจ ตัวแก้นั้นเป็นของกกลาง คือ ไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรชั่ว ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน ไม่นึกคิดปรุงแต่งในดีชั่วหรืออะไรทั้งหมด
เป็นแต่ธรรมชาติ ธรรมดาอย่างหนึ่ง ท่านว่ามีธรรมชาติเป็นของผ่องใสอยู่ มีความรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันธรรมเท่านั้น ดี แล ชั่วนี้ เป็นเพราะอาการของใจฉายออกมาแล้วมียึดถือยินดี
ยินดีพอใจตามอารมณ์ของจากอายตนะผัสสะเท่านั้น
เราหัดภาวนารักษาใจก็เพื่อให้ใจผ่องใสเช่นเดิม ให้เป็นที่รู้ทันตามอาการ
อะไรเป็นบาทต้นของสติปัฏฐาน ๔ องค์พระพุทธเจ้าทรงบอกกัมมัฏฐาน ๕ ให้แล้ว พิจารณา รูป กายนี้ก่อน เพราะ… เวทนามันก็เกิดที่กาย ปรากฏที่กาย แม้จากใจก็ตาม จิตจะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ก็เพราะ มารู้เวทนา มารู้ทันกาย
คำว่า “รู้ทัน” แปลว่า รู้อะไรกุศล รู้อะไรอกุศล ก็มารู้ทันในธรรมะนี้เอง
ให้พิจารณากายตัวเค้าต้นให้ชัดแจ้งเสียก่อน
คำว่า “พิจารณา” คือ ให้อบรมสติ เอาสติมาตั้งลงที่กาย ตั้งลงที่เวทนา ตั้งลงที่จิต ตั้งลงที่ธรรม ตั้งลงอย่างรู้ พิจารณาอย่างแจ่มแจ้งเข้าใจ
การรู้ตัวเองนี้แหละ เป็นของสำคัญที่สุด
รู้จักใจของตน รู้ว่าตนดี รู้ว่าตนชั่ว คนจะดีได้จะประเสริฐได้ต้องรู้จักเรื่องของตน
ภาวนาก็ให้รู้ตัว กิริยาใดๆ ก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ อันใดบาป อันใดบุญ
อันใดควรเจริญ อันใดควรละ ควรเว้น ควรเลิก
สติวินโย ทาตพฺโพ ผู้มีสติสมบูรณ์แล้วย่อมนำชั่วออกไปได้หมด คำว่า “รู้เท่าทัน” แปลว่า มีผู้รู้ – ๑ – มีเรื่องมีเหตุให้รู้ทัน – ๑ –
คือ รู้แล้วก็รู้อย่างพอดี ไม่รู้อย่างขาด ไม่รู้อย่างเกิน รู้เข้าหาทรงอยู่ในตัวใจ ดับกิริยาอาการจิตทั้งหมดได้
รู้ตรงนี้ สติอยู่ตรงไหนก็ใจอยู่ตรงนั้น เรียกว่า อยู่ด้วยกับ ณ ที่เดี่ยวกัน
รู้อย่างนี้เป็นผู้รู้ได้หมายเท่าทัน ชั่วจะเข้ามาก็รู้ ดีจะเจริญขึ้นก็รู้ กิริยาใดๆ มีผู้รู้กำกับอยู่
แต่นี่ก็ยังเป็น ความรู้ขั้นต้น เป็นแต่ต้อง สงบรู้อยู่ภายใน
ผู้รู้ชัดแจ้งอยู่เสมอแล้ว ก็รู้เท่าทันได้ ความรู้เท่าทันนี้มั่นคง ทำกิเลสให้สงบอยู่ ทำกิเลสมิให้กำกับ หมายถึงระงับกิเลสตัวหยาบ ยังเหลือตัวละเอียดภายใน
อบรมความรู้ได้หมายทันให้มั่นคงยิ่งๆ ขึ้น จนที่สุด “รู้แจ้งแทงตลอด”
รู้ทันเพราะใจสงบ อย่างหนึ่ง รู้แจ้งแทงตลอดเพราะ ปัญญาภายใน อย่างหนึ่ง คำว่า “รู้แจ้งแทงตลอด” แปลว่า เป็นความรู้ชัดรู้แจ้งของผู้รู้
รู้ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด รู้ถ่องแท้ในสภาวธรรมใดๆ ทั้งหมด รู้อย่างระงับกิเลสภายในอันละเอียดมีอยู่
ฉะนั้นทั้งสมถะและวิปัสสนา อย่าไปทิ้งผู้รู้ ................................................................................................................................. ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือคุรุแก้วปณิธาน #หลวงปู่จาม #มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม คำชะอี จ.มุกดาหาร
#ให้ลูกหลานสร้างบุญกุศล #คุณงามความดีเจ้าของไว้หลายๆ
ยามตายไป บ่ต้องถ่าไผทำให้ อุทิศให้ดอก บ่ได๋ยากนำไผ ทำไว้เองเมิดแล้ว
ยามตายไปมันเฮ็ดบ่ได๋เด้ มีแต่ใช้กรรมบุญบาปจะของทำไว้
พระพุทธเจ้าให้เพิ่งโตจะของเป็นหลัก อัตตาหิ อัตตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บ่ประมาทในบุญกุศล ในศีลธรรม
ต่อไปพระกะสิส่งบุญให้คนตายยาก ย้อนมันบ่สมบูรณ์ ศีลบ่ครบ ศีลธรรมบ่บริสุทธิ์ พระกะมีแต่พระนักเรียนนักอ่านเอา บ่มีผู้หัดนำป่านำดง เฮียนฮู้นำเจ้าของบ่มี
นับมื้อเบิดไป ไกลไปหน้า โลกทางหน้า คนกะมีทั้งคนดี ทั้งคนบ้า อยู่นำกัน คนกะสิอายุสั้นลง
ปรารภในองค์หลวงปู่ #บุญมา #กัลยาณคุตโต
“คนเราจะดี ต้องอาศัยการฝึกฝน การอดทน ลำบากไปก่อน มิใช่อยู่เฉยๆ แล้วจะดี ต้องฝึกฝน ต้องอดทนศึกษาเล่าเรียน ทนความลำบากไปก่อน มันถึงจะสุขทีหลัง ถ้าสุขก่อน มันก็จะมาทุกข์ทีหลัง”
หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม
|