..ในชีวิตที่เราได้กระทำความดี ก็ไม่ขาดทุนที่ได้เกิดมา ไม่ว่าเกิดมาในภพไหนชาติใดก็ดี ถ้ายังเวียนว่ายเกิดในวัฏสงสารอยู่ บุญกุศลที่ตนเองได้กระทำมาแล้วก็จะรู้สึกผูกพันจิตใจเรา ให้เรารู้ว่ามีวาสนาอย่างไร จิตบริสุทธิ์อย่างไรบ้าง จิตใจมั่นคงในพระพุทธศาสนาหรือไม่..ให้มองดูซิ..ว่าเราเชื่อมั่นในคุณค่าของพระพุทธศาสนา ..พระธรรมเกิดจากเหตุดับเพราะเหตุ เหตุดีผลก็ดี เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี เราก็เห็นกันอยู่เต็มหน้าเต็มตา ไปที่ไหนก็ดี บ้านไหนเมืองใดก็ดี ถ้าเรารู้จักพินิจพิจารณาดูแล้วก็จะเข้าใจ..
..#โอวาทธรรมหลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป..
ผู้ รู้ ทุ ก ข์
เอ้า ทุกข์เกิดขึ้นมากน้อยก็เป็นเรื่องของทุกข์ ทุกข์จะดับไปก็เป็นเรื่องของทุกข์ เราเป็นผู้รู้ รู้ทั้งที่ทุกข์เกิดขึ้น ทั้งทุกข์ตั้งอยู่ ทั้งทุกข์ดับไป
#ธรรมชาตินี้เป็น “ผู้รู้” ไม่ใช่ผู้เกิดผู้ดับ จะกลัวความเกิดความดับ กลัวความล่มความจมในจิตอย่างไรกัน มันจะล่มจมไปไหน
#พิจารณาอย่างนี้_เพื่อจะฟื้นฟูจิตใจขึ้นมาจากตมจากโคลน
เพื่อให้ใจได้เห็นชัดรู้ชัดตามความจริง จิตใจจะล่มจมไปไหนถึงกลัวนักหนาในขณะจะตาย มันหลอกกันเฉยๆ นี่! ตามความเข้าใจของท่านของเรา ถ้าพูดถึงว่าหลอกกันนะ แต่ไม่มีใครจะมีเจตนาหลอกใครแหละ ตายๆๆนี่น่ะ
#โลกเขาสมมุติกันมาอย่างนั้นนับกัปกัลป์ไม่ได้แล้ว
เมื่อพิจารณาเข้าถึงความจริงแล้ว “โอ๋ นี่มันหลอกกัน” ความจริงไม่มีอะไรตาย! ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายลงไปแล้วก็ไปอยู่ตามธาตุเดิมของเขา จิตที่กลัวตายนี้ยิ่งเด่น มันไม่ได้ตายนี่ เห็นชัดๆอย่างนี้ อะไรเป็นสาเหตุให้จิตตายไม่มี เห็นชัดๆ อยู่ว่าไม่มี ใจยิ่งเด่น ผู้ที่รู้ที่พิจารณาสิ่งทั้งหลายนั้นยิ่งเด่น เราไม่หวงอะไร จะไปก็ไป เมื่อถึงคราวแล้ว ผู้ที่รู้ก็รู้ตามเหตุตามผล ไม่ถอยในเรื่องรู้ ผู้ที่สลายก็สลายไป ไม่อาลัยไม่เสียดาย ไม่หวง หวงทำไม? มันหนัก ยึดไว้ทำไม? สิ่งเหล่านี้เป็นของหนักมาก #การรู้ตามเป็นจริง
ปล่อยวางตามสภาพของมัน นั่นแลคือความจริง ไม่กังวล ถึงอยู่ไปอีก มันก็จะตายอย่างนี้ อยู่เพื่อตาย! อยู่เพื่อแตก!
เวลานี้ พิจารณาให้เห็นความแตกดับเสียก่อนตั้งแต่ยังไม่แตก นี่เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้มีปัญญา นี่ขั้นสำคัญ !
#ผู้พิจารณาเช่นนี้จะเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
เห็นชัดตามเป็นจริง ที่ชื่อว่า “เวทนา”นั้น มันเป็นอะไร มันก็เวทนานั่นแล มันเป็นเราเมื่อไร มันเกิดขึ้นมันดับไป เราทำไมจะเกิดขึ้นดับไปอยู่วันยังค่ำคืนยังรุ่งเช่นนั้น
ถ้าเวทนาเป็นเรา ถ้าเวทนาเป็นเราแล้ว เอาที่ไหนเป็นที่แน่ใจว่า “เป็นเรา” หรือสาระอะไรว่าเป็นเราได้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ว่าเราเกิดขึ้น ทุกขเวทนาดับไปก็ว่าเราดับไป มีแต่เราเกิดเราดับอยู่วันยังค่ำคืนยังรุ่งหาความแน่นอนที่ไหนได้!
#ถ้าเราจะไปเอาเรากับทุกขเวทนา_มาบวกกันมันไม่ได้เรื่อง_เหลวไหลทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเพื่อความจริง เพื่อความไม่เหลวไหลต้องให้ทราบ ทุกข์มันเกิดขึ้นมากน้อย ต้องให้ทราบว่าทุกข์เกิดขึ้นคือเรื่องของทุกข์ มันตั้งอยู่ก็คือเรื่องของทุกข์ มันดับไปก็คือเรื่องของทุกข์ เราผู้รู้ทั้งทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของความรู้นี่!
“#สัญญา” #จำได้แล้วมันดับ
เราเห็นไหม มันเกิดมันดับอยู่อย่างนั้น เป็น “เรา”ได้อย่างไร เอาความแน่นอนกับมันได้ที่ไหน ท่านจึงว่า “สญฺญา อนิจฺจา สญฺญา อนตฺตา” “#สังขาร” #ปรุงดีปรุงชั่ว
ปรุงเท่าไร มันก็ดับไปพร้อมกันทั้งนั้น ถ้าเราจะเอา“เรา” เข้าไปสู่สังขาร มันเกิดดับวันยังค่ำ หาความสุขไม่ได้เลย “#วิญญาณ”
มันกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบเมื่อไรมันรู้ ๆ รู้แล้วดับไปพร้อมๆ กัน ทั้งขณะที่เกิดที่ดับมันขึ้นในขณะเดียวกัน เราจะเกิดดับ ๆ เกิดดับอยู่อย่างนั้น หาความแน่นอนเที่ยงตรงได้อย่างไร
#เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้_จึงเป็นอาการอันหนึ่งๆเท่านั้น
ผู้ที่รู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แลคือใจ ความรู้เป็นสิ่งที่แน่นอน เป็นสิ่งที่ตายตัว ขอให้รู้สิ่งภายนอกอันจอมปลอมทั้งหลายนี้ ว่าเป็นสภาพอันหนึ่งๆ เท่านั้น จิตนี้จะตั้งตัวได้อย่างตรงแน่วไม่หวั่นไหว จะเกิดขึ้นก็ไม่หวั่นไหว จะไม่เกิดขึ้นก็ไม่หวั่นไหว จะดับไปก็ไม่มีอะไรหวั่นไหว
#เพราะจิตรู้เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างบรรดาอาการที่อาศัยกันอยู่
และรู้ทั้งตัวจริง คือธรรมชาติของจิตแท้ว่าเป็นตัวของตัวแท้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยปัญญาซักฟอกด้วยดีแล้ว
ผู้นี้เป็นผู้แน่นอน นี่แหละท่านผู้แน่นอน คือท่านผู้รู้ธรรมชาติที่แน่นอน และรู้ถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลายตามความเป็นจริง ปล่อยวาง สลัดปัดทิ้งออกตามส่วนของมัน ส่วนไหนที่จริงให้อยู่ตามธรรมชาติแห่งความจริงของตน เช่น จิต เป็นต้น
#นี่หลักความจริง
หรือหลักวิชาที่เรียนมา เพื่อป้องกันตัว เพื่อรักษาตัว เพื่อความพ้นภัย เปลื้องทุกข์ทั้งหลายออกจากตัว
นี่คือหลักวิชาแท้ เรียนธรรมเรียนอย่างนี้เรียนเรื่องของตัวเอง เรียนเรื่อง “ความรู้” ความคิดต่างๆ เรียนเรื่องกาย เรื่องเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็น “อาการ ๕ อย่าง” นี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับใจ ถึงกับเหมาว่า นี่เป็นตนเป็นของตน
#ให้รู้ตามความเป็นจริงของมันทุกอาการ_แล้วปล่อยวางไว้_ตามสภาพแห่งอาการของมัน
นี่ เรียกว่า “เรียน” เรียกว่า “ปฏิบัติ” เรียกว่า “รู้” รู้ก็ละก็ถอน!
#ถ้ารู้จริงแล้ว_ต้องละต้องถอน
เมื่อละถอนแล้ว ความหนักซึ่งเคยกดถ่วงจิตใจ ที่เนื่องมาจาก “อุปทาน” ก็หมดไป ๆ เรียกว่า “จิตพ้นจากโทษ” คือความจองจำจากความสำคัญมั่นหมายที่เป็นเหตุให้จองจำ
#พ้นอย่างนี้แลที่ว่า_จิตหลุดพ้น
ไม่ได้เหาะเหินเดินฟ้าขึ้นไปที่ไหน พ้นตรงที่มันข้องนั่นแหละ ที่มันถูกจองจำนั่นแหละ ไม่ได้พ้นที่ไหน รู้ที่มันหลงนี่แหละ สว่างที่มันมืดนั่นเอง นี่จิตสว่าง คือสว่างที่ตรงมืดๆ มืดมนอนธการ มืดอยู่ภายในตัวเอง
#ทีนี้เวลาพิจารณาปฏิบัติไป_สติปัญญาเกิดขึ้น ๆ
ส่องแสงสว่างให้เห็นความจริงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตน ทราบว่าเป็นเพียงสิ่งที่เกี่ยวข้อง สลัดออกได้โดยลำดับๆ เมื่อความสว่างรอบตัว ก็ปล่อยได้หมด “ธมฺโม ปทีโป” จะหมายถึงอะไร ถ้าไม่หมายถึง “จิต” ดวงที่สว่างรอบตัวไม่มีอะไรเจือปนเลยจะหมายถึงอะไร! นี่เรียกว่า “ธรรมแท้”
#ธรรมแท้ที่เป็นสมบัติของเรา
หมายถึงธรรมนี้ ที่เป็นสมบัติของเราแท้ ที่เป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า ก็ที่ประทานไว้เป็นตำรับตำรา!
#เราเรียนเท่าไรก็มีแต่ความจำ
ไม่ใช่เป็นตัวของตัวแท้ เอาความจำนั้นเข้ามาปฏิบัติให้เป็นความจริง จนปรากฏขึ้นเป็น “ธมฺโม ปทีโป” เฉพาะภายในใจเรานี้เป็นสมบัติของเราแท้ นี้แลคือ “ธรรมสมบัติ” ของผู้ปฏิบัติ
#พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์อย่างนี้
ที่ประทานศาสนาไว้ ให้รู้จริงเห็นจริงตามนี้“สนฺทิฏฺฐิโก” ไม่ทรงผูกขาด ผู้ปฏิบัติจะพึงรู้เองเห็นเอง “ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ” ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะพึงรู้เฉพาะตน คือหมายถึงรู้อย่างนี้”
#นี่เป็นผลของการปฏิบัติธรรม
เมื่อได้ผลเต็มที่แล้ว อยู่ไหนก็อยู่เถอะ แสนสบาย หมดกังวล โลกจะมีมากมีน้อยเพียงใด มีความวุ่นวายขนาดไหน ผู้นี้ไม่วุ่น เพราะผู้นี้ไม่เป็นโลก ผู้นี้ไม่หลง #เรื่องโลกมันกว้างขวางมาก_ไกลจากตัวของเราออกไป
เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งวันทั้งคืน ก็คือ “ขันธ์ห้า” กับ “จิต” นี่แหละ มันเกี่ยวข้องกันจนจะแยกกันไม่ออก แต่นี้เรายังสามารถแยกออกได้ ทำไมเราจะไปหลงว่าเป็น “โลก” ด้วยกัน #นี่แหละการปฏิบัติ
ผลเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้แน่นอนไม่เป็นอื่น ขอให้ผลิตขึ้นมา พิจารณาขึ้นมา ปัญญาหุงต้มกินไม่ได้ ใช้ได้แต่แก้กิเลส ใช้แก้ความงมงายของเจ้าของเท่านั้น
#ให้พิจารณาเรียนตรงนี้แหละเรียนธรรม
อย่าไปเรียนที่อื่นให้มากมายก่ายกอง เพราะพิษอยู่ตรงนี้ โทษภัยก็อยู่ตรงนี้ แก้ตรงนี้แล้ว คุณค่าอันสำคัญก็เกิดอยู่ที่นี่เอง!
หลวงตามหาบัว
#ความสมมุติของโลกว่า #สิ่งนั้นเป็นนั้น #สิ่งนี้เป็นนี้ #ไม่มีสิ้นสุด
แม้จะสมมุติว่าสิ่งใดเป็นอะไรก็ยึดถือในสิ่งนั้น รักก็ยึด ชังก็ยึด เกลียดก็ยึด โกรธก็ยึด อะไรๆ ก็ยึดทั้งนั้น
เพราะเรื่องของโลก ก็คือกิเลสเป็นสำคัญ มีแต่เรื่องยึดและผูกพัน ไม่มีคำว่า “ปล่อยวาง” กันบ้างเลย
ความยึดถือเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์กังวล โลกจึงมีแต่ความทุกข์ความกังวลเพราะความยึดถือ
ถ้าความยึดถือเป็นเหมือนวัตถุมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อแล้ว มนุษย์เราแบกหามกันทั้งโลกคงดูกันไม่ได้ เพราะบนหัวบนบ่าเต็มไปด้วยภาระความแบกหามพะรุงพะรัง ที่ต่างคนต่างไม่มีที่ปลงวาง ราวกับเป็นบ้ากันทั้งโลกนั่นแล
ยังจะว่า “ดี มีเกียรติยศชื่อเสียง” อยู่หรือ จนปราชญ์ท่านไม่อาจทนดูได้ เพราะท่านสงสารสังเวชความพะรุงพะรังของสัตว์โลกผู้หา “เมืองพอดี” ไม่มี ภาระเต็มตัวเต็มหัวเต็มบ่า
#ธรรมท่านสอนให้รู้และปล่อยวางเป็นลำดับ
คือปล่อยวางภาระความยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นภาระอันหนัก เพราะความลุ่มหลงพาให้ยึด พาให้แบกหาม ตนจึงหนักและหนักตลอดเวลา
ท่านจึงสอนให้รู้ทั่วถึงตามหลักธรรมชาติของมัน แล้วปล่อยวางโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการได้ยินได้ฟังมาจากพระพุทธเจ้าแล้วนำไปปฏิบัติ จนกลายเป็น “ปฏิเวธ” คือความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นโดยลำดับ
ครั้งพุทธกาลท่านสอนกันอย่างนี้เป็นส่วนมาก สอนให้มีความหนักแน่นมั่นคงในการประพฤติปฏิบัติยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด
พระในครั้งพุทธกาลที่ออกบวชจากตระกูลต่างๆ มีตระกูลพระราชา เป็นต้น ท่านตั้งหน้าบวชเพื่อหนีทุกข์จริงๆ จึงสนใจอยากรู้อยากเห็นธรรมด้วยการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ทั้งตั้งใจฟังทั้งตั้งใจปฏิบัติด้วยความจดจ่อต่อเนื่องในทางความเพียร
พยายามสอนตนให้รู้เห็นธรรมก่อน แล้วจึงนำธรรมนั้นมาสั่งสอนโลก ท่านเป็น “พระธรรมกถึก” เพื่อองค์ท่านเองก่อนแล้วจึงเพื่อผู้อื่น ธรรมท่านจึงสมบูรณ์ด้วยความจริงมากกว่าจะสมบูรณ์ด้วยความจดจำ
#หลวงตาพระมหาบัว #ญาณสัมปันโน เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙
ลูกเอ๋ย….ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้น… ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน.. ความแข็งแรงของร่างกายที่เคยมีก็ลดลง… ใจน้อย โกรธง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม… จิตใจก็หมดความสดชื่น…
ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่… เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ…
เจ้าช่วยท่านให้ได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอน อันเป็นความสุขทางกายเท่านั้น… แต่จิตใจของท่านหาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่…
…..เจ้าจงจำไว้ว่า….. การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ…. การให้ธรรมะ…ด้วยการสอนหลักธรรมง่ายๆ ให้พ่อแม่ของเจ้า…พาท่านไปทำบุญทำทาน…
สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา… สวดมนต์…ภาวนา…แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ… ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด… เจ้าจงจำไว้นะลูกเอ๋ย….ฯ
โอวาทธรรม สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)) #ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ
“มหัศจรรย์แห่งบุญ” ความดีเมื่อทำมากๆเข้าก็จะกลายเป็นบุญวาสนาบารมี เมื่อมีบุญวาสนาบารมีมากๆเข้า จะคิดจะทำสิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งที่ดี จะสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ความดีคือบุญ
วันนี้ก็จะได้มาคุยกันถึงเรื่อง "บุญ-วาสนา-บารมี" เราได้ยินคำนี้มาอยู่ตลอดแล้วเราก็คิดว่าใครที่เขามียศฐาบรรดาศักดิ์สูง ร่ำรวยเงินทอง อะไรเหล่านี้ก็ว่าเขามีบุญ วาสนา บารมี
ถ้าหากว่าใคร..ยากๆ จนๆ หรือว่าทำงานก็ไม่ค่อยก้าวหน้า อะไรต่างๆ เหล่านี้เขาเรียกว่าเป็นไม่มีบุญ ไม่มีวาสนา ไม่มีบารมี แล้วก็พูดกันมาเท่านี้เราก็พอเข้าใจ แต่จะเข้าใจให้ละเอียดได้นั้นก็จำเป็นต้องรู้ว่า บุญนี้คืออะไร
อันดับแรก บุญก็คือ "ความดี" ความดีที่เราได้ทำเอาไว้ ในแต่อดีตชาติหรือปัจจุบันชาติ ความดีต่างๆ เหล่านั้นเราจะใช้คำว่า "ทำบุญให้ทาน" เหมือนกันกับเรามีลูกมีหลานบวชก็เรียกว่าบุญ ช่วยเป็นศาสนทายาท หรือมีเงินทองข้าวของก็บริจาคตามอัธยาศัย ตามความสามารถ
หรือว่ามีเรี่ยวมีแรงก็ไปช่วยในการทำสาธารณประโยชน์ หรือว่า มีอำนาจวาสนา เราก็ใช้อำนาจวาสนานั้น ไปทำประโยชน์ในทางที่สร้างบุญกุศลเป็นวัดวาอารามบ้าง เป็นโรงเรียนบ้าง เป็นโรงพยาบาลบ้าง หรือว่าส่วนใดที่จะเป็นประโยชน์นั้นเราก็ทำ อันนี้เรียกว่าเป็น "บุญ"
ทำมากเท่าไรก็เรียกว่า "สะสมบุญ" บุญเหล่านี้แหละเมื่อทำมากเข้าๆมันก็กลายเป็น "วาสนา" ยังไม่มากเท่าไรยังไม่ใช่ชื่อว่าเป็นวาสนาแต่ถ้าหากว่าทำบุญบ่อยๆ ถ้าบุญมากๆหลายภพหลายชาติก็เรียกว่า วาสนา เมื่อเป็นวาสนาแล้ว เมื่อวาสนามากเข้าๆเขาก็เรียกว่าเป็น "บารมี"
บารมีก็เช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี พระองค์ทำทั้ง "บุญ" และทำทั้ง "วาสนา" ในที่สุดก็เป็น "บารมี" เมื่อบารมีเต็มที่ ปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น
เมื่อพระพุทธเจ้าปรารถนาเมื่อก่อนแต่ที่พระองค์จะมาปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ยังเป็นคนธรรมดา เมื่อปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ก็สะสมบุญ เมื่อบุญมากเข้าๆ ก็เป็นวาสนา เมื่อวาสนามากเข้าก็กลายเป็นบารมี แล้วก็ทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าที่เราได้พากันกราบไหว้อยู่ในปัจจุบัน
และพวกเราทั้งหลาย ในขณะนี้เรามีพระพุทธศาสนาที่เป็นที่พึ่งทางใจที่เราพากันพึ่งอยู่ในเวลานี้ เราก็จำเป็นที่จะต้องหา "ผลประโยชน์" ในพระพุทธศาสนานี้ให้แก่เรา การที่หาผลประโยชน์นั้น ไม่ใช่ว่าไปคดไปโกง หรือว่าไปหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่เราหาผลประโยชน์ด้วยการที่เราสร้างบุญ มีเงินมีทองมีข้าวมีของ มีกำลังสติปัญญา เราแค่ใช้สิ่งเหล่านี้สร้างบุญขึ้นมา เมื่อสร้างบุญขึ้นมาแล้วเนี่ย ถึงแม้ว่าเราจะไม่ปรารถนา หรือเราจะไม่ปรารถนาอะไร แต่ว่าบุญก็จะต้องตามส่งเขาผู้นั้นอยู่ตลอด
Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจากการถอดความมาจากพระธรรมเทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวชิโรดม วิ. (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) ในหัวข้อ "บุญ วาสนา บารมี" เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ วัดราชธรรมวิริยา #ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ
#ทาน "คือ เครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ ผู้มี่จิตใจสูง มีเมตตาจิตต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ด้วยการให้ การ เสียสละแบ่งปัน มากน้อยตาม กำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ ที่มีอยู่ จะเป็น วัตถุทาน ธรรมทาน หรือ วิทยาทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจาก กุศล คือ ความดีที่ได้รับจากทานนั้น เป็นสิ่งตอบแทนที่เจ้าของทานได้รับ อยู่โดยดีเท่านั้น"
#อภัยทาน "ควรให้แก่กัน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาด หรือล่วงเกิน คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่า ผ่าเผย และเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพ รักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อม.. ไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือ ผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตน ย่อมไม่เป็นคน ล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ ผู้ มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลก ให้ชุ่มเย็น การเสียสละจึงเป็นเครื่อง ค้ำจุนโลก การสงเคราะห์กันทำให้ โลกมีความหมายตลอดไป ไม่เป็น โลกที่ไร้ชาติ ขาดกระเจิง เหลือแต่ ซากแผ่นดิน ไม่แห้งแล้ง แข่งกับทุกข์ ตลอดไป" #พระอาจารย์มั่นภูริท้ตโต
|