Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

มุ่งละกิเลส

อังคาร 16 ส.ค. 2022 5:51 am

“ความดี กับความไม่ดี
ขึ้นอยู่กับเหตุ คือ เราทำไว้
ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนพูด “

หลวงปู่ศรี มหาวีโร







"เห็นธรรมคือ
เห็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
ทำอย่างไรเรา
จะพ้นจากกองทุกข์

เห็นว่าของทุก
อย่างไม่ใช่เรา
เป็นอนัตตา แม้
ร่างกายที่อยู่ร่วม
กันก็ไม่ใช่เราเลย

มันอยากเจ็บมัน
ก็เจ็บ มันอยากแก่
มันก็แก่ มันอยากตาย
มันก็ตาย ห้ามมัน
ไม่ฟัง ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นไม่กลัวตาย
ตายเมื่อไรช่างมัน
ทำความดี ดีกว่า."

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร








“การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสเข้าสู่จิตเดิม”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

“..หลวงปู่มั่นสอนภาวนา หลวงปู่เจี๊ยะ “ฟังให้ดีนะท่านเจี๊ยะ....ปฎิภาคนิมิตนั้น อาศัยผู้ที่มีวาสนา จึงจะบังเกิดขึ้นได้ อุคคหนิมิตนั้นเป็นของไม่ถาวร ต้องพิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็นปฏิภาคนิมิต เมื่อชำนาญทางปฏิภาค ทวนกระแสเข้ามาเป็นตน ปฎิภาคนั้นเป็นส่วนวิปัสสนาสำหรับอุปจารสมาธิ สามารถรู้วาระจิตผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้ แต่โมหะคลุมจิต ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขั้นอุปจารสมาธิแล้ว จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อน จิตจึงจะไม่หวั่นไหว การที่จะสอนการดำเนิน สมถกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน โดยเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้ เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะการดำเนินจิตมีหลายแง่มุม แล้วแต่ความสะดวกนิมิตทั้งหลาย เกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงหลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม ถ้าทำอย่างนั้นได้ บางอย่างที่เรานั่งภาวนาอยู่ตามป่าเขา มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง เสือนั้นเป็นเทพนิมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอา เราไปกินแล้ว...”

ที่มา; ธรรมโอวาทหลวงพ่ออินทร์ถวาย








"เราทุกคน ควรมองซ้ายแลขวาว่า
ชีวิตของเรานั้นผ่านไปทุกวันๆ
ความเฒ่าแก่ชราภาพ ก็แก่ไปทุกวันทุกเวลา
พวกเราไม่เจริญภาวนาดูกันเอง
ก็ย่อมหลงมัวเมาในวัยของตนอยู่

ถ้าหากเราพิจารณาด้วยความรู้
เป็นผู้มีสติปัญญาเข้าใจ ก็จะรู้ได้ว่า
คนเราเกิดขึ้นมานั้น เป็นไปตามกาลตามสมัย
ย่อมมีความเฒ่าแก่ไปเรื่อยๆ ชราภาพไปเรื่อยๆ

จนถึงที่สุด ก็คือความแตกดับ หักพัง
ความแตกสลาย ความทำลายชีวิตลงไป
ก็คือความตาย นั่นเอง"

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป










"การทำบุญทำทาน
การรักษาศีล
เจริญเมตตาภาวนา
#เป็นหลักรักษาใจ"

การภาวนาไมใช่ว่า
จะทำวันหนึ่งวันเดียวได้
ต้องอาศัยทำบ่อย ๆ
ทำทุกวัน ทุกเวลานาที
ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา

ขอให้ลูกหลาน
"จงรีบเร่งสร้างความดีใส่ตน
#อย่าพากันประมาท"
เพราะสักวัหนึ่ง
เราต้องจากโลกนี้ไป ..

โอวาทธรรม ...
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป








"จาคานุสสติกรรมฐาน"

ตัวคิดอยากให้แต่ยังไม่ลงมือทำเป็น "จาคานุสสติกรรมฐาน" เข้าใจมันไม่ยาก ตัวอยากจะให้แล้วมันยังไม่ได้ให้ เห็นเดินไปเดินมาสุนัขตามข้างถนนมันท้องกิ่วมันหิว อันนี้ถ้าเรามีสตางค์เราจะซื้อขนม เรามีข้าวเราจะให้ มีของจะให้แต่มันยังไม่ให้

ไอ้ตัวอยากจะให้ เห็นคนขอทานก็อยากจะให้ เห็นพระสงฆ์เดินมาก็อยากจะถวาย มันเป็นแต่เพียงแค่อยากเฉย ๆ เรายังไม่ได้ให้ ตัวอยากตัวนี้เป็นจาคานุสสติกรรมฐาน คือคิดสงเคราะห์ คิดจะให้ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญนะ ตัวคิดอยากจะสงเคราะห์จะให้นี่คิดไว้เสมอนะ มันเป็นฌาน

อาการอย่างนี้จะเป็นฌานได้ต่อเมื่อความรู้สึกเกิดขึ้นทุกขณะ ขณะที่เห็นสัตว์มีทุกข์ คนมีทุกข์ พระมีทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เห็นเขาทุกข์ก็อยากจะสงเคราะห์ ความอยากมันเกิดขึ้นมาทันทีทันใดโดยไม่ต้องบังคับ อยากจะให้อย่างนี้ถือว่าเป็นฌานในจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นฌานแท้นะไม่ใช่ฝึก เป็นตัวแท้จริง ๆ

ถ้าจะถามว่าฌานในจาคานุสสติกรรมฐานเกิดขึ้นจะมีผลอะไรดีบ้าง ก็ขอตอบว่าเพียงแค่อยากยังจะไม่ให้หรือไม่ได้ให้ เห็นสัตว์หิวอยากให้ เห็นคนหิวอยากให้ เห็นพระหิวก็อยากให้ หรือแม้แต่สัตว์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ความอยากอย่างนี้ทรงตัว เห็นแล้วเดินไปถึงบ้านยังคงครุ่นคิดถึง

ถ้าบังเอิญคนประเภทนี้ถ้าตายไปแล้วนรกเขาไม่ต้องการ เขารังเกียจ คนแค่อยากยังไม่ทันลงมือให้ อยากสงเคราะห์แต่มันไม่มีเงิน ไม่มีทอง ไม่มีของจะให้ เพียงแค่นี้จิตเป็นมหากุศล

อย่างนี้ตายแล้วเข้าเขตนรกไม่ได้เพราะเขารังเกียจ เขาไล่ตี เพราะอะไร ?... เพราะจิตเป็นฌาน

พระราชพรหมยาน,ธัมมวิโมกข์








ทำให้ดีที่สุด
แล้วปล่อยวาง
ผลเป็นเรื่องของธรรมชาติ
ไม่ใช่เรื่องของเรา

#หลวงปู่ชา สุภัทโท








ตัดสักกายทิฏฐิไปนิพพาน

ก็รวมความว่า ถ้าเราต้องการจะไปนิพพานพระพุทธเจ้าก็สอนให้จับ
จุดไหน จะสังเกตได้ว่าทุกองค์ที่นิพพานที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้ตัดร่างกาย
ตัวเดียว คือว่าสังโยชน์มี ๑๐ แต่ให้ตัดข้อเดียวคือข้อที่ ๑ ที่เรียกว่า #สักกายทิฏฐิ

ตัวอย่างคือ “พระติสสะ” องค์อื่นก็เหมือนกัน พระพาหิยะก็เหมือนกัน
สำหรับ “ท่านพาหิยะ” พระพุทธเจ้าแนะนำว่า “พาหิยะ เธอจงอย่าสนใจในรูป รูปก็หมายถึงร่างกาย ท่านเข้าถึงอรหันต์เวลานั้น

การตัดกิเลสของพระอรหันต์เขาตัดรูปตัวเดียว
อย่าง “พระติสสะ” ซึ่งเวลานั้นท่านป่วยมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ติสสะ” ร่างกายของเธอไม่ช้าก็จะมีวิญญาณไปปราศแล้ว” คือหมายความว่าไม่ช้าก็ตายแล้ว “ในเมื่อตายแล้ว ร่างกายนี้เป็นสภาพที่บุคคลเขาทิ้ง เหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์”

ก็รวมความว่า การที่จะไปนิพพานได้ก็คือ #พระอรหันต์ก็ยึดร่างกายตัวเดียว
อย่างที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ฝึกการเจริญพระกรรมฐานหวังพระนิพพาน ถ้าหวังพระนิพพานก็อย่าภาวนาอย่างเดียว

ก่อนภาวนาหรือหลังภาวนาเมื่อจิตสบายแล้วก็นึกถึงร่างกายว่าร่างกายนี้มีสภาพไม่เที่ยงจริงไหม ถ้าใช้ปัญญานิดเดียวเราก็ทราบว่าไม่เที่ยง ในเมื่อไม่เที่ยง มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าเราใช้ปัญญานิดหน่อยก็เห็นว่ามันเป็นทุกข์ ความหิวเป็นทุกข์ ความกระหายเป็นทุกข์ หนาวเกินไป ร้อนเกินไปเป็นทุกข์ ประกอบกิจการงานต่างๆ เหนื่อยยากเป็นทุกข์ เป็นต้น

ก็รวมความว่า ร่างกายนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ใช่ความสุข แล้วร่างกายเป็นเรา เป็นของเราหรือเปล่า เราก็ถามตัวเอง ในสักกายทิฏฐิ ท่านพิจารณาว่าที่เรามีความทุกข์อย่างนี้เพราะเห็นว่าร่างกายเป็นเรา ร่างกายเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา นั่นหมายความว่า เราหลงธาตุ ๔ คือ ธาตุ ๔ มันมีสภาพเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลาง มีการสลายตัวในที่สุด สภาพของมันเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่คิดตามนี้ เราคิดว่ามันจะทรงวตลอดเวลา

#ความแก่มีเข้ามาทุกวัน #เราคิดว่าเราไม่แก่ #ความตายเข้าใกล้มาทุกวัน #เราคิดว่าเราไม่ตาย #อันนี้เป็นสักกายทิฏฐิ #พระพุทธเจ้าให้ตัดสักกายทิฏฐิ ให้เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะร่างกายเป็นแค่เพียงธาตุ ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
เข้ามาผสมกันในร่างกาย มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีการสลายตัวในที่สุด

ทีนี้คำว่า “ตาย” เกิดขึ้น มันตายเฉพาะร่างกาย #เราคืออทิสสมานกาย ย่อมไม่ตายไปด้วย ถ้ามีอารมณ์เป็นกุศลไปสู่สุคติ ถ้าเรามีอารมณ์เป็นอกุศลก็ไปสู่ทุคติ

ฉะนั้น ขึ้นชื่ออารมณ์อย่างนี้มันมีความแปรปรวน เราไม่ต้องการมันอีก #ถ้าร่างกายตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพานจุดเดียว นึกไว้อย่างนี้เสมอ แล้วบรรดาที่ญาติโยมพุทธบริษัทคิดอย่างนี้เป็นปกติ อารมณ์มันจะชิน #คําว่าชินก็คือฌานหรือฌานก็คือชิน

ทีนี้เมื่อเวลาที่ร่างกายป่วยจริงๆ อารมณ์เบื่อหน่ายร่างกายมันเกิดขึ้น มันจะมีความรู้สึกว่า ไอ้การป่วยอย่างนี้เพราะร่างกายอย่างเดียว ถ้าเราไม่มีร่างกายนี้ เราจะไม่มีอาการป่วย ถ้าจิตมันคิดอย่างนี้นะ เวลานั้นจิตก็เข้าถึงการวางเฉยในร่างกาย ไม่สนใจในร่างกายเกินไป #การเจ็บการปวดมีทุกขเวทนาย่อมเป็นของธรรมดา แต่ความต้องการในร่างกายของเราจะไม่มีเวลานั้น

ถ้าบังเอิญเวลานั้นจิตที่ต้องการร่างกายไม่มีจริงๆ เกิดขึ้น เวลานั้นท่านก็เป็นพระอรหันต์ แล้วก็นิพพานในวันนั้น

เอาล่ะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน พูดไปพูดมาก็คิดว่าจะไปไม่ไหวเพราะมันเจ็บคอมาก แล้วมันก็เป็นไข้ แต่ก็หมดเวลาพอดี

ต่อไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกคนตั้งใจสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐาน

พิมพ์หนังสือ”พ่อสอนลูก” หน้าที่ ๖๓~๖๕
คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี







"พอความหลงดี หรือติดดี
เกิดมากขึ้น ก็จะพาให้ลืมเป้าหมายการปฏิบัติ
ว่าแท้จริงแล้ว
เราทำไป ก็เพื่อ...ให้หมด ตัวเรา
แล้วยังจะมีเราที่เก่งกว่า ดีกว่า อีกหรือ ?

แล้วเจ้าตัวติดดีนี้
ก็จะทำให้เราเป็นชาล้นถ้วย ใครๆเตือน
ก็ไม่ฟังสำคัญว่า...
ฉันเข้าวัดมาก่อน
ฉันใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากกว่า
ฉันนั่งสมาธิ เดินจงกรมมากกว่า
ฉันรู้...ข้อธรรมะมากกว่า ฯลฯ

จงคอยเตือนตน ด้วยตนเองอยู่เสมอ ๆ
ว่าเราปฏิบัติเพื่อละโลภ โกรธ หลง
การจะให้ใครๆ มายกย่องว่า...
เราเก่ง เราดี อย่า...ให้มีในจิตใจ
หากมันผุดขึ้นมา
ก็ให้ละมันเสีย ด้วยการรู้...เท่าทัน

การมี การเป็น ไม่ใช่เป้าหมาย
มุ่งละกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวมานะ
ที่ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น จับผิดคนอื่น
ออกจาก...จิตใจ

บอกตัวเองว่า...
ฉันจะปฏิบัติ อย่างคนโง่ ไม่สำคัญตน
ว่า...ดีแล้ว รู้แล้ว."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต.
ตอบกระทู้