“ธรรมะที่จะดับ ความกลัวตาย ก็คือการยอมตาย”
#คติธรรม #พระจุลนายก พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
"... ทุกวันนี้ มีแต่คนชอบทำบุญ เป็นนัก แสวงบุญ ..!!
... แต่ไม่มีคนละบาป บุญก็ทำ บาปก็ไม่ทิ้ง นั่นคือคน ..!! #ไม่รู้จักดี_ไม่รู้จักชั่ว ..."
#หลวงพ่อชา_สุภัทโท
ขณะที่จิตกำลังจะออกจากร่าง โดย หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เราไม่สงสัยและเข้าใจชัด เวลาป่วยหนัก ๆ เป็นยังไง ที่ว่าจิตจะออกจากร่างไปจริง ๆ ทุกขเวทนากล้าขึ้นถึง ๙๙% ความรู้อันนี้จะปล่อยเข้ามาหมด ปล่อยความรับผิดชอบนะ เพราะจิตได้ถอดถอนอุปาทานหมดแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ล้วน ๆ แล้ว ความรับผิดชอบทางสัญชาตญาณเป็นยังไง เราจะเห็นตัวอย่างที่ชัด ๆ เช่น เวลาเราเดินไปที่ลื่น ๆ มันจะหกล้ม แต่จิตจะช่วยตัวเองอย่างเต็มที่ คนมีกิเลสเต็มหัวใจก็ตาม พระอรหันต์ก็ตามนะ จะช่วยเจ้าของอย่างเต็มที่ในเวลานั้น ไม่ยอมให้หกล้มง่าย ๆ จนกระทั่งสุดกำลังแล้วถึงจะยอมล้ม หรือเดินไปจะเหยียบรากไม้เข้าใจว่าเป็นงูจะกระโดดทันที นั่นเป็นกิริยาแห่งสัญชาตญาณรับผิดชอบตัวเองของพระอรหันต์ ไม่ใช่อุปาทาน
ที่ต่างกันอยู่คือ จิตของปุถุชนจะร้อนวูบเพราะตกใจกลัว มันจะสะเทือนมากภายในใจ ส่วนจิตของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว เพียงแต่แสดงอาการแย็บ ๆ เท่านั้น เพียงแต่รับทราบว่าจะเป็นอันตรายต่อขันธ์ นี่เป็นกิริยาของสัญชาตญาณผู้รับผิดชอบตัวเอง เป็นอย่างนี้ด้วยกัน ไม่ว่าปุถุชนหรือพระอรหันต์เป็นเหมือนกัน ส่วนจิตที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วเป็นหลักธรรมชาติประจำใจ คือ รับผิดชอบตัวเองทั่วสรรพางค์ร่างกาย คือ ต้องรู้เจ็บรู้ปวด รู้ร้อนรู้หนาว นี่รับทราบตลอด เพียงแต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ซึมซาบเข้าสู่ใจได้เท่านั้น
นี้เป็นหลักธรรมชาติ เป็นอฐานะ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ซึมซาบ ไม่กระเทือนถึงจิต อันนี้เรียกว่าเวทนาจิต ในจิตพระอรหันต์ไม่มี คือไม่มีเวทนาจิต มีเฉพาะเวทนาทางกายอย่างเดียว สุขไม่มี ทุกข์ไม่มี ไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ที่จะเข้าไปสัมผัสภายในจิต เพียงแต่รับทราบเท่านั้น แต่ไม่ซึมซาบเข้าสู่ใจ คือไม่ประสานกัน ทีนี้เวลาจิตถึงขั้นที่จะปล่อยตัวจากร่างกายที่ครองตัวอยู่ คือจะปล่อยความรับผิดชอบ จิตจะหดตัวเข้ามาหมด
ตาไม่ใช่ตาบอด เลยบอดไปแล้ว เป็นยังไงเลยบอด คือเหมือนท่อนไม้ท่อนซุงไปหมด ไม่มีความหมายทั้งสิ้นเลย นี่เรียกว่า ๙๙% ถ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ จิตนี้ก็ขยับออกจากร่างนี้ก็เรียกว่าตายแหละ คือ ๙๙% เตรียมแล้วที่จะออก จากนั้นก็ออกจากร่าง ถ้าไม่ออกก็ย้อนเข้ามาสู่ความรับผิดชอบ ให้พากันจำไว้นะ จิตดวงนี้เป็นอย่างนี้นะ ลึกลับมาก โดยทั่วไปแล้วจิตนี้ลึกลับมาก แต่ถ้าหลักวิชาของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามหลักวิชาของพระพุทธเจ้าและรู้ตามท่านแล้ว จะไม่มีอะไรลึกลับเลย พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ยังไง ใจจะทะลุถึงกัน ๆ เพราะทรงสอนไว้แล้วเพราะทรงทะลุมาแล้วถึงมาสอนโลก จึงไม่มีอะไรที่ผิดเรียกว่าสวากขาตธรรม เราสวดอยู่ทุกวันว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วชอบแล้ว คือชอบอย่างนี้เอง ปฏิบัติเข้าไปก็ยอมรับเรื่อยไปเลย นี่เราหมายถึงจิตที่จะออกจากร่างนะ ทีนี้เวลาจิตหมดความรับผิดชอบนะ ทุกขเวทนาในร่างกายจะมีมากขนาดไหน ถึงขนาดที่ว่าจะอยู่ไม่ได้
เวลานั้นทุกขเวทนาทั้งหมดดับไป พร้อมกับร่างกายหมดความหมาย ตา หู จมูก ร่างกายเป็นท่อนไม้ท่อนซุงฉันใด ทุกขเวทนาก็ไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอันว่าระงับหมด จะเหลือแต่ความรู้เท่านั้น ถ้าขยับก็ไป ผู้รู้จะไม่มีทุกขเวทนาทางกายให้รับทราบเลย มันดับหมด ขณะเดียวกับร่างกายหมดความหมายนั่นแล ความรับผิดชอบของจิตจึงหดตัวเข้ามาในจุดจุดเดียว
ถ้าว่าจุดนะเข้ามาอยู่ในนั้น ร่างกายหมดความหมายไปเลย ไม่มีว่าเจ็บว่าปวด ได้ยินโน่นนี่ไม่มี ดับหมดทวารนี่ เหลือแต่ความรู้เท่านั้น ถ้าขยับก็ไป คนเราถ้าหากว่ามีสติอยู่แล้ว เวลาจะตายจริง ๆ ทุกขเวทนาทางกายจะต้องดับหมด ก่อนเวลาจิตออกจากร่าง ส่วนพวกเรามันไม่เป็นอย่างนั้น มันทิ้งเนื้อทิ้งตัวตกเตียงตกที่นอน และวุ่นวายตั้งแต่ยังไม่ตาย ยังไม่จวนจะตายก็ดิ้นไปก่อนแล้ว มันเป็นอย่างนั้นนะ นี่เราไม่อยากพูดไปมากมันกระเทือนลูกศิษย์หลวงตาบัวนั้นแหละมันไม่ไปไหน มันติดตรงนี้แหละ พูดได้แค่นั้น
นี้พูดถึงเรื่องจิตตภาวนามันสำคัญมากอย่างนี้นะ เวลาท่านอยู่ในป่าเขา ท่านมาปรุงมาคิดยุ่งอะไรกับหยูกกับยา เวลาจำเป็นจริง ๆ ใจท่านจะหมุนติ้วเข้ามาข้างในเลย เป็นอะไรก็ตามท่านจะไม่กลัวคำว่าเป็นว่าตาย ดูความจริงเท่านั้นว่าเป็นยังไง เอาให้ถึงขีดถึงแดนในเวลายังไม่ตายดูกันให้ชัดเจน เวลาตายแล้วก็หมดวิสัยที่จะดู เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วกำลังจิตของท่านผู้บริสุทธิ์จะเด่นผึง ๆ เลยนะ เรื่องความทุกข์ทั้งหลายจะไม่มีอำนาจเหนือจิตเหล่านั้นเลย จิตนั้นจะฟอกตลอด #เพราะฉะนั้นท่านจึงว่าโรคหายได้ด้วยธรรมโอสถคือการพิจารณา #เวลาตายก็ตายอย่างอาจหาญ
เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน
"ความรักที่มีเงื่อนไขมาก ก็นำไปสู่ทุกข์มาก ความรักที่มีเงื่อนไขน้อย ก็ทุกข์น้อย ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข นี่จะไม่ทุกข์เลย"
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
"การคิดถึงใจตนเอง เมื่อยามทุกข์ร้อนนั้น เป็นวิธีที่จะทำให้เราเข้าใจ ซาบซึ้งในความทุกข์ ของผู้อื่นได้ เราทุกข์เป็นอย่างไร คนอื่นก็ทุกข์เช่นเดียวกัน"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
"รักวัว ต้องผูก รักลูก ต้องตี รักมี ต้องค้า รักหน้า ต้องคิด รักมิตร ต้องเตือนกัน"
หลวงปู่จรัญ ฐิตธัมโม
#ตัวยินดียินร้ายดีใจเสียใจ_อันนี้ล่ะลูกน้องของอวิชชาตัณหา
"..ถ้าย่นเข้ามามันไม่มากนะ ความหลงนี้ก็นิดเดียว ถ้าสมมุติว่าแผ่นดินใหญ่ๆ ก็ย่นเข้ามาให้มันเหลือดินเม็ดเดียว ถ้าเป็นจิตก็เป็นจิตดวงเดียว ถ้าจะเปรียบจิตใจเท่ากับวัตถุ
แต่จิตใจมันไม่เป็นวัตถุ มันติดกันอยู่นี่ จะทิ้งหรือไม่ทิ้งดินเม็ดเดียวนี้ #ทิ้งได้มันก็จบแล้ว
ถ้าไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มี เมื่อมันวกเข้ามาหาความจริง รูปก็คือจิต
ถ้ามันจะย่นเข้ามาหาตัวผู้รู้ รูปก็คือตัวผู้รู้นี่ เวทนาก็คือตัวผู้รู้ สัญญาก็คือตัวผู้รู้ สังขารก็คือตัวผู้รู้ วิญญาณก็คือตัวผู้รู้
นี่มันหดเข้ามานี่แล้ว มันมีไหมพวกนี้ รูปขันธ์ เวทนา มีไหม เวทนาไม่มี รูปไม่มี สัญญามีไหม สัญญาไม่มี รูปก็ไม่มี สังขารมีไหม สังขารไม่มี รูปก็ไม่มี
ทีนี้อยู่ในขันธ์ห้านี้ มันจะไปรวมอยู่ที่ตัววิญญาณคือตัวรู้ ตัววิญญาณ วิญญาณรู้ไปตามขันธ์รู้ไปตามอาการ อันนี้ล่ะท่านให้ชื่อว่าวิญญาณ
ถ้าไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่มีพวกนี้ ขันธ์ไม่มี ขันธ์หายไป มันก็มาเหลืออยู่แต่ดวงจิต
เมื่อเหลืออยู่แต่ดวงจิต ท่านก็ให้ย้อนเข้ามาดูจิต มันมีอะไรตกค้างอยู่บ้างไหม มากำหนดดูอยู่ที่นี่ ให้รูปมันเกิดขึ้นที่นี่ ให้มันดับลงที่นี่
เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วจิตใจมันยินดีไหม จิตใจมันยินร้ายไหม จิตใจมันดีใจไหม จิตใจมันเสียใจไหม
ถ้ามีพวกนี้ ก็แปลว่าตัวยินดียินร้าย ดีใจเสียใจ อันนี้ล่ะลูกน้องของอวิชชาตัณหา คนงานของเขา ถ้าเทียบกับทหาร ก็เป็นทหารของอวิชชาตัณหา
ดีใจเสียใจ รัก ชัง กลัว หลง ที่มันมีอาการเกิดขึ้นภายในจิตใจนี้ใช่ทั้งนั้น ที่ท่านให้ชื่อว่าตัวเจตสิกหรือตัวสังขารจิตใช่ทั้งนั้น ทหารของมันทั้งนั้น
ถ้าเราไม่รู้ก็ต้องรู้ น้อมเข้ามาหาดวงจิตดวงใจ ค้นดูพิจารณาดู มันก็ดีกว่านอน นอนแล้วได้อะไร ทำไมมันจึงสนใจหนักหนา
ค้นหาแต่ความสุขในร่างกาย ความสุขทางจิตใจทำไมไม่เอา ทำไมไม่ส่งเสริม ทำไมไม่สนับสนุน มันเป็นอะไร มันเป็นเพราะอะไร ให้พิจารณากันดู.."
ตราบใดที่ยังมี. ความโลภ. โกรธ. หลง. มันก็จะมาวนเวียน. อยู่ในโลกสมมตินี้. ต่อไป.
โอวาทธรรมหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
#หลวงตามหาบัว #นี้แลเรียกว่าวิปัสสนาอันละเอียด
เมื่อจิตมีความสงบเป็นอารมณ์สืบต่อกันโดยลำดับเรียกว่า จิตมีความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิตเรียกว่า สมาธิ แต่จะเป็น สมาธิประเภทใดนั้น แล้วแต่ความสงบของจิตเป็นประมาณ
สมาธิทั้งสาม คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ ในสมาธิทั้งสามนี้เป็นบทบาทแห่งวิปัสสนา ได้ตามขั้นแห่ง วิปัสสนา ซึ่งมีอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด เหมือน กันกับสมาธิ
จิตรวมได้ชั่วครู่ชั่วขณะเรียกว่า ขณิกสมาธิ รวมได้ นานกว่านั้นเรียกว่าอุปจารสมาธิ รวมได้อย่างละเอียดแนบแน่น และอยู่ได้นานๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ
การพิจารณารูปกาย ซึ่งเป็นส่วนหยาบยังไม่ชำนาญ ได้บ้างเสียบ้าง จัดเป็น ปัญญา หรือ วิปัสสนาขั้นหยาบ การพิจารณากายส่วนหยาบด้วยปัญญาปานกลางโดยวิธีทำเป็น ปฏิภาค แยกขยายส่วนแห่ง กายได้ตามต้องการทุกเวลาและรวดเร็ว จนเกิดความเบื่อหน่าย ในรูปกายด้วยปัญญาพร้อมทั้งความรู้เท่ากายทุกส่วน ทั้งเป็น ไปในทางอสุภะ คือความเห็นว่าไม่งามแห่งกาย ทั้งเป็นไปใน ทางสุภะ คือความงามแห่งกาย
เพราะมาเห็นชัดด้วยปัญญาว่า ความเห็นว่ากายเป็นของงามก็ดี และความเห็นว่ากายเป็นของ ไม่งามก็ดี ทั้งสองนี้เป็นอาการของจิตเห็นรูปด้วยจักษุเป็นเหตุ แล้วปรุงขึ้นหลอกตนให้หลงรัก หลงชังไปตามเงาเจ้ามายา ความพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า ปัญญาปานกลาง
การพิจารณานามธรรม ๔ อย่างคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมด หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นโดยความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแห่งขันธ์ ๔ นี้ แม้แต่อย่างเดียว ก็หยั่ง ทราบในความจริงของขันธ์อื่นๆ ว่าเป็นลักษณะอย่างเดียวกัน สรุปความเห็นรวมลงใน ไตรลักษณญาณ อย่างชัดเจน
พร้อมทั้งการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นที่อาศัยของขันธ์เหล่านี้ ให้เห็นว่า ขันธ์ทั้ง ๔ นี้ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ พร้อม ทั้งจิต ซึ่งเป็นรังไข่ของอวิชชา ตัณหา เป็นต้น ว่าเป็นความจริง แต่ละอย่าง
ตั้งแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ตลอดถึงจิต ว่าเป็นสภาพแห่งความจริงเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโดยความจริง
ตลอดหน้าที่การงานของขันธ์และจิตว่าเป็นธรรมมีสิทธิ์เสมอกัน ไม่ยกยอใครว่าเป็นใหญ่กว่าใคร และไม่เหยียบย่ำใครว่าเป็นน้อยกว่าใคร
เห็นเสมอภาคกันไปหมด ทั้งธรรมภายนอก ทั้งธรรมภายใน ทั้งใจผู้รู้ธรรมทั้งหลาย ผู้เป็นองค์ของธรรมทั้งหลายด้วย
มรรค - รวมลง ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ดี อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคก็ดี เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาเสมอกันหมด มิได้กดทุกข์สมุทัยลงเบื้องต่ำ และมิได้ ยกยอนิโรธ มรรคขึ้นเบื้องบน เห็นเป็นความจริงตามหน้าที่ของ อริยสัจเสมอกัน
แม้ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นองค์ของมรรค ๘ แท้ ก็เห็นตามเป็นจริงเสมอกันกับธรรมอื่นๆ มิได้ติและชมในธรรมทั้งหลาย และมิได้ถือมั่นในธรรมทั้งปวง จะเป็นธรรมฝ่ายเหตุแห่งทุกข์ก็ดี ธรรมฝ่ายเหตุแห่งสุขก็ดี พร้อมทั้งไม่ถือมั่นในจิตด้วย นี้แลเรียกว่าวิปัสสนาอันละเอียด
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
#จิตที่สงบในขณะจิตรวมลงพัก #กับจิตสงบในเวลาถอนขึ้นมาแล้วเป็นจิตธรรมดา #ต่างกัน
…เมื่อปรากฎว่าจิตหยั่งลงสู่ความสงบมีอารมณ์เดียวตามใจหวังด้วย เมื่อถอนออกมาจากความสงบแล้ว แม้จะมีการคิดนึกตามธรรมดาของจิต แต่ก็ไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย และเชื่องต่ออารมณ์ด้วย ทั้งเป็นไปในความสงบทุกอิริยาบถด้วย กำหนดเวลาใดมีจุดผู้รู้เป็นความสงบสบายอยู่โดยเฉพาะด้วย
ต่อจากลำดับนี้ไป เราจะบริกรรมเพื่อความรื่นเริงของจิตในขณะจะ หลับนอนก็ได้ หรือจะพึงปล่อยวางเสีย เหลือแต่ผู้รู้อันสงบนั้นก็ได้
แต่พึงสังเกตจิตที่สงบในขณะจิตรวมลงพัก กับจิตสงบในเวลาถอนขึ้นมาแล้วเป็นจิตธรรมดา ต่างกัน
จิตสงบในขณะรวมพักอยู่ไม่คิดปรุงอะไร จิตสงบธรรมดามีความคิดนึกปรุงแต่งเป็นธรรมดา แต่ไม่วุ่นวายกับอารมณ์ใดๆ นี้เรียกว่า จิตสงบเหมือนกัน
หลวงตามมหาบัว ญาณสัมปันโน
|