ความสุขอันลึกซึ้งซึ่งเกิดจากการปฏิบัติธรรมไม่ได้เกิดง่ายๆ หลวงพ่อชาจึงพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่าขันติความอดทนนั่นแหละ คือเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง วันหนึ่งท่านอบรมพระภิกษุสามเณรว่า “บางคนต้องการมาปฏิบัติเอาความสุขเฉยๆ สุขมันจะมาจากไหนก่อน อะไรเป็นเหตุมัน? ความสุขทั้งหลายนะ มันต้องมีทุกข์มาก่อนมันจึงจะมีสุข เราทำทุกสิ่งทำงานก่อนจึงจะได้เงินมาซื้อกินมิใช่หรือ ทำนาก่อนจึงจะได้กินข้าว มันต้องผ่านความทุกข์มาก่อนทุกอย่างนั่นแหละ”
พระอาจารย์ชยสาโร
เคยสังเกตดูไหม เวลาเราเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา ถ้าเราไปใส่ใจกับทุกขเวทนานั้น มันก็เหมือนมันกล้าหาญขึ้น แต่ถ้าเราช่างหัวมัน ไม่ใส่ใจในเวทนานั้น คือไม่ตั้งจิตใจกับเวทนา ให้ตั้งจิตใจไว้ที่อื่น เวทนานั้นมันจะจางไป มันจะหายไป มันจะเบาบางลง จนมันหายได้เลย อีกวิธีหนึ่งที่จะแก้เวทนา คือ ทางพุทธศาสนาให้จดจ่อดูที่เวทนา เราเจ็บที่ไหน...ให้ดูที่นั่น และดูความเปลี่ยนแปลงของเวทนา เพราะเวทนามันไม่อยู่นิ่ง เวทนามันอนิจจัง มันเหมือนเปลวไฟที่กำลังเกิดดับอยู่
พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธัมโม วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้ำเขียว นครราชสีมา
#พระอาจารย์ฝรั่ง
#มาหาพระก็มาหาแต่ของดี
"... ไม่รู้ว่า... ของดีอยู่ที่ไหน ไม่มี ของดีหรอก..!! ... ต้องรักษาเอา... มันถึงจะดี ... เราไม่ได้ทำความดี ... ถึงจะหาของดี... ก็ไม่ได้ดี ..." ——— หลวงพ่อชา_สุภัทโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
#พระอาจารย์ชยสาโร—- เราขาดสัมมาทิฐิข้อเดียว ปฏิบัติเท่าไหร่ เราอาจจะไม่ได้ผล หลวงพ่อชาบอกว่า เหมือนกับการจับปลาในหนองที่ไม่มีปลา จะขยันหมั่นเพียรเท่าไหร่ ถ้าไม่มีปลาอยู่ในที่นั้น ความเพียรก็จะเป็นหมัน
การทำทิฐิคือความเห็นให้ตรง หมายถึงการสั่งสมสัมมาทิฐิ ซึ่งต้องอาศัยการค่อยๆ ล้างความเชื่อเก่า ล้างความคิดเห็นเก่า ล้างค่านิยม ทัศนคติ ล้างท่าทีต่อชีวิตและโลก ที่ยังประกอบด้วยกิเลสตัณหาออกจากจิตใจ แล้วย้อมใหม่ด้วยสิ่งที่เกื้อกูลต่อการพ้นทุกข์ ฝึกหยิบใช้คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในลักษณะที่เป็นเครื่องมือพิจารณาชีวิตของตน ใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์คนอื่นให้สมบูรณ์
พระอาจารย์ชยสาโร
ผู้ใดทำใจให้ถึงซึ่ง “ความเป็นกลาง” ได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
/หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
การไม่กังวล. การไม่ยึดถือ. นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
#เป็นผู้มีวิหารธรรมอยู่ในใจ——- ผู้ปฏิบัติธรรมน่ะ แม้ว่าใครจะทำอะไรไม่พออกพอใจ เราก็ไม่ถือ ละทิ้งให้หมดไปเลย ไอ้ความไม่พอใจนั่นเป็นกิเลส
เรื่องที่เขาพูดมานั้นเมื่อจิตเราไม่หวั่นไหว ไม่ยึดถือซะแล้ว มันก็ดับไป มันไม่ใช่มีตัวมีตน เหมือนหอกดาบมาทิ่มแทงเอาอย่างนั้น หามิได้เลย
อืม ต้องให้เข้าใจ ต้องเรียนรู้ รู้ "กฎธรรมดา"เหล่านี้นะ ไอ้ความชั่วมันก็เป็นกฏธรรมดาอย่างหนึ่ง
ถ้าตนมีความชั่วอย่างนั้นอยู่ในใจ ตนก็ปล่อยออกไปกระทบกระทั่งผู้อื่น ถ้าผู้อื่นมีความชั่วอย่างนั้นอยู่ในใจ เขาก็ปล่อยออกไปกระทบกระทั่งผู้อื่น มันก็เป็นอยู่อย่างนี้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสอนให้รู้จักให้อภัยต่อกัน เพราะความพลั้งเผลอมันมี บุคคลละกิเลสยังไม่หมด เมื่อความพลั้งเผลอของใครเกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องระลึกเสมอ..อ่อ ผู้นี้เผลอแล้ว อย่างนี้เราก็ไม่ถือสา เราก็นิ่งเสียอย่างนี้นะ
นิ่งทางภายนอกด้วย ควบคุมจิตให้นิ่งอยู่ภายในด้วย ไม่ให้จิตมันหวั่นไหว แบบนิ่งแต่ภายนอก แต่ภายในจิตใจยังหวั่นไหวอยู่ มันก็ใช้ไม่ได้อีกเหมือนกัน
เหตุนั้นต้องให้มันนิ่งภายใน แล้วก็มันนิ่งภายนอกอีกด้วยกัน เช่นนี้มันจึงไม่กำเริบขึ้นมาอีก กิเลสเหล่านั้นน่ะ มันเป็นอย่างนั้น
นี่ล่ะขอให้พากันศึกษาให้เข้าใจ อย่าไปศึกษาแต่เรื่องศีล เอ้าตนมีศีลอยู่นี้ไม่ล่วงสิกขาบทนั้น เท่านี้แล้วไม่หวนนึกถึงธรรมะประกอบกันนี่ไม่ได้เลย เมื่อไม่มีธรรมะอยู่ในใจแล้วหน่อยนึงมันก็ทำลายศีลอีกแล้ว มันเป็นเช่นนั้น
เพราะศีลธรรมมันจึงว่าได้เป็นคู่กันนั่นแหละ เป็นคู่กัน ท่านจึงเรียกว่า เป็นผู้มี “วิหารธรรม” อยู่ในใจ อืม เป็นอย่างนั้น
-------------------- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "สติใคร่ครวญเสียก่อนจึงค่อยพูด ปี พ.ศ. ๒๕๓๖"
|