Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

สมุทัย

อังคาร 28 ก.พ. 2023 7:18 am

"...จิตดวงนี้มันพยศ ต้องฝึก ต้องหัด ฝึกจังได่ กะต้องฝึกด้วยการนั่งสมาธิ ภาวนา ปัญญากะได้มาจากการนั่งสมาธินิละ

บ่ภาวนาก็บ่รู้ เว้าสู่ฟังกะบ่เข้าใจ ถ้าบ่เคยเฮ็ดเคยภาวนา ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายๆ กะคือ เฮาขับรถนิละ ถ้าเฮาเผลอบ่มีสติรถเฮากะสิไปตำเขา เฮาต้องมีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งๆ นั้น ฝึกเอา ทำเอา สวรรค์นิพพานสิว่าไกลกะบ่ไกล สิว่าใกล้กะบ่ใกล้ มันอยู่ใส่สั่น มันกะอยู่นำเฮานิ เเต่สิไปนิพพานหรือสวรรค์กะอยู่นำเจ้าของสิประพฤติปฏิบัติ เด้อลูกหลาน..."

โอวาทธรรม
หลวงปู่ปั่น สมาหิโต
สำนักสงฆ์ศรีอุทัย อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร







#ทุกสรรพสิ่งคือความว่าง

จิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก ถูกอารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกมากระทบกันเอง ส่วนหนึ่งของโลก คือ..จิตหรือร่างกาย อีกส่วนหนึ่งของโลก คือ..รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ มากระทบกันเข้าแล้วมันก็เหมือนกับลมกระทบผิวน้ำที่เรียบเหมือนกระจก ให้เกิดเป็นคลื่นเป็นลอนขึ้นมาในลักษณะต่างๆ กัน บางทีก็เป็นไปในรูปที่เรียกว่า..ราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง นี่เรียกว่า..สูญเสียความปกติ สูญเสียภาวะเดิมเสียแล้ว กลายเป็นภาวะใหม่เสียแล้วชั่วคราว ชั่วขณะ.

พระพุทธเจ้าตรัสว่า..เป็นไฟทั้งนั้น จนกว่ามันจะสงบไปในตัวมันเอง แต่ทีนี้มันทนไม่ไหว กว่าจะสงบไปในตัวมันเอง เราก็แย่แล้ว เพราะมันมาใหม่เรื่อย ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าในจิตเป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยคือ ตกนรกทั้งเป็นตลอดเวลาทนไม่ไหว ต้องหาวิธีทำให้จิตว่างอยู่ตามเดิม สู่สภาพเดิม คือให้จิตฉลาดขึ้นมาตามเดิมว่าโลกนี้เป็นของว่าง ไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตนหรือของตน ราคะ โทสะ โมหะ ที่กำลังเกิดอยู่ก็ดับวูบไปในทันที ถ้ามีสติพอมันไม่มีทางเกิดใหม่เราก็สบาย ได้รับสิ่งที่เรียกว่าบริสุทธิ์สะอาดที่สุด สว่างไสวแจ่มแจ้งที่สุดสงบเยือกเย็นที่สุด ที่เรียกว่าสาม ส. ส.หนึ่ง คือ สะอาด ส.หนึ่ง คือ สว่าง ส.หนึ่ง คือ สงบ ขณะใดมีสาม ส.ในจิตใจ ขณะนั้นสบายที่สุด เป็นยอดสุดของความสุข เป็นสิ่งดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้.

ทีนี้ก็ให้ระวังเรื่อ สาม ก.. ซึ่งเป็นข้าศึกแก่กัน มีอันตรายอย่างยิ่ง ก็คือ สาม ก. ก.คือ กิน เรื่องกินต้องระวัง หลังจากเรื่องกินแล้วก็เรื่อง กาม เรื่องกามแล้วก็เรื่อง เกียรติ ไปจำแนกดู.

เรื่องกินนี้ เป็นเรื่องใหญ่ที่มนุษย์มีปัญหามาก ถ้าไปยึดถือแล้วก็เป็นทุกข์อย่างยิ่ง พอหมดเรื่องกินแล้วก็

เรื่อง กาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเหล่านี้ พอมันครอบงำจิตเสียแล้วมันก็เป็นปัญหาที่ยากมาก ถ้ามีความรู้มีปัญญาพอก็ไม่เป็นอะไร.

ทีนี้ เรื่องเกียรติ คนเราบางทีหลงใหลในเรื่องเกียรติมันก็เป็นปัญหาได้มากเหมือนกัน บางทีนอนไม่หลับตลอดคืน

ฉะนั้น จึงให้ระวังเรื่องสาม ก.นี้ ซึ่งเป็นเหมือนนรกเผาไหม้อยู่ในตัวมันเอง เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องสิ่งเหล่านี้ด้วยจิตที่ปกติ คือจิตที่ไม่ลุ่มหลง สิ่งเหล่านี้เลยกลายเป็นเครื่องมือหรือเครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ เป็นบริวารไป ไม่มาเป็นนาย จิตที่มีสติสัมปชัญญะ เรียกว่าจิตว่าง คือว่างจากราคะ โทสะ โมหะ.

ฉะนั้น แม้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องกิน กาม เกียรติ ก็มีสติสัมปชัญญะ มันก็เลยไม่เกิดความทุกข์ ถ้าไม่ระวังเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรตินี้ จะเป็นทางมาของทุกข์ หรือเป็นตัวความทุกข์เองไปในที่สุด มันคือวุ่นไม่ว่าง ตกนรก ทั้งเป็น เพราะไม่เห็นว่าเรื่องกินเรื่องกาม เรื่อเกียรตินี้ เป็นของว่าง

ทีนี้เมื่อไปหลงว่าไม่ใช่ของว่าง ก็คือเป็นของยึดถือ พอเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ มากระทบจิต จิตก็กระเพื่อมเป็นราคะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นของว่าง เพราะไม่มีปัญญาพอ หรือเพราะมีสติไม่พอ ไม่ดึงเอาปัญญามาทันท่วงที ไม่รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องว่างเหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า..จงดูโลกโดยความเป็นของว่าง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หก อย่างนี้ คือ สิ่งที่เรารู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางผิวกาย ทางจิตใจ นั่นแหละคือโลกทั้งหมดนั้นเป็นของว่าง.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
คัดลอกมาจากหนังสือ…
พุทธวิธีชุบชีวิตในยามมีความทุกข์





ความปรุงของจิต พอปรุงขึ้นดีก็ดี ชั่วก็ดี ปรุงขึ้นแล้วดับ ปรุงขึ้นจากใจ ดับลงที่ใจ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาหนุนให้เกิดสังขารคือความคิดปรุง ความคิดปรุงนี้เป็นสมุทัย

เมื่อเราฝึกซ้อมอันนี้อยู่ตลอดๆ แล้วสังขารเกิดจากอวิชชานี้ มันจะวิ่งเข้าไปสู่อวิชชา เกิดดับที่อวิชชาๆ ฝึกซ้อม ซ้อมจนชำนิชำนาญแล้วก็เข้าถึงตัวอวิชชา

อวิชชานั่นละเป็นรวงรังแห่งสังขาร เพราะอวิชชาเป็นสมุทัย สังขารก็เป็นสมุทัยออกมาจากความผลักดันของอวิชชา เวลาพิจารณาหนักเข้าๆ มันก็เข้าถึงตัวอวิชชา

พอถึงตัวอวิชชาแล้วมันหากชำนาญไปเองนะ เกิดปั๊บดับพร้อม เกิดขึ้นมาจากใจ ดับลงไปที่ใจ นั่นละอวิชชาอยู่ที่ใจ เมื่อเวลามันถึงพร้อมของมันแล้ว มันจะดับลงที่ใจนั่นละ พออวิชชาดับเท่านั้น สังขารที่เป็นสมุทัยก็ดับหมด ก็มีแต่สังขารเป็นขันธ์ 5 ล้วนๆ เท่านั้น

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นขันธ์ล้วนๆ เมื่อจิตได้ผ่านนี้ไปแล้ว ขันธ์ 5 ก็เป็นขันธ์ล้วนๆ ไม่เป็นกิเลส เหมือนที่ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ยังฝังใจอยู่

เมื่อเข้าถึงตัวนี้ ทำลายอันนี้แล้ว ขันธ์ 5 ก็เป็นขันธ์ 5 ธรรมดา เป็นขันธ์ล้วนๆ ดังขันธ์พระอรหันต์ท่าน ท่านมีเหมือนกัน ความคิดความปรุง รูปก็มี ทุกข์ก็มีในทางร่างกาย เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ มี สัญญาความจดจำได้หมายรู้ สังขารมี ความปรุง ความคิด แต่ไม่เป็นกิเลส เป็นขันธ์ล้วนๆ ไป

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





"อย่าท้อ"
เราจะท้อ….ไปทำไม?
ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

โอวาทธรรม “พระธรรมสิงหบุราจารย์”
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
วัดอัมพวัน สิงห์บุรี






"ท่านให้"ปล่อย"
ทั้งชอบและไม่ชอบ
อย่าไปเกี่ยวข้องกับมัน
แต่ให้รู้ มีสติอยู่ สงบอยู่
เท่านั้นแหละ!"

หลวงพ่อชา สุภัทโท





"มิตรที่ดีที่สุด กับศัตรูที่น่ากลัวที่สุด
ไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย อยู่ที่กลางใจเรานั่นเอง"

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล





กรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลเพียงทางใจ ความเศร้าหมองก็จะเกิดแก่ตนเองทันที
.
กรรมคือ การกระทำ ทั้งกรรมดีคือกุศลกรรม และกรรมชั่วคืออกุศลกรรมหรือบาปกรรม ไม่เพียงถึงต้องลงมือกระทำทางกาย แม้เพียงคิดดำริก็เป็นกรรมแล้ว เป็นกรรมทางใจ หรือที่เรียกว่ามโนกรรม พูดออกมาก็เป็นกรรมทางวาจา หรือที่เรียกว่าวจีกรรม เมื่อลงมือทำจึงเป็นกรรมทางกาย หรือที่เรียกว่ากายกรรม เป็นกายกรรมเมื่อไร ก็เป็นกรรมที่สมบูรณ์พร้อมเมื่อนั้น ให้ผลเต็มพร้อม ดีก็ดีพร้อม ให้ผลชั่วก็ชั่วพร้อม แต่แม้ว่าจะเริ่มก่อกรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลเพียงทางใจ ความเศร้าหมองก็จะเกิดแก่ตนเองทันที เป็นความร้อนด้วยเจตนาบ้าง เป็นความเศร้าหมองขุ่นมัวด้วยเจตนาบ้าง เป็นความสลดสังเวชหวาดกลัวที่จะต้องกระทำบ้าง เหล่านี้รวมเป็นความเศร้าหมองทั้งสิ้น
.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร





“บุญนั้นคือความดีใจ อิ่มใจ เบิกบานใจ ในสิ่งที่เรากำลังคิด ในกิจที่เราทำ ในคำที่เรากล่าว ไม่เป็นโทษ ประกอบไปด้วยประโยชน์ ก็เรียกว่า บุญ

ส่วนกุศลนั้น หมายถึงความฉลาด เข้าใจข้อที่คิด ในกิจที่ทำ คำที่กล่าว จุดมุ่งหมายในการกระทำ ถ้าทำไปโดยไม่เข้าใจจุดมุ่งหมาย มันก็เลื่อนลอยลมๆแล้งๆ “

#หลวงพ่อใหญ่สมภพ_โชติปัญโญ





. #ถึงใจตนแล้ว..!!"

"...ได้ใจแล้ว​ คือ.. ได้ธรรม
... เห็นใจแล้ว​ คือ.. เห็นธรรม
... รู้ใจตนแล้ว​ คือ.. รู้ธรรมทั้งมวล
... ถึงใจตนแล้ว​ คือ.. ถึงพระนิพพาน..."

#หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร








อดีต
ผ่านไปแล้ว
หวนกลับมาไม่ได้
อนาคต
ก็คดๆ งอๆ
ไม่เที่ยงแท้
แต่!! การทำดีในปัจจุบัน
เป็นสิ่งที่ยึดถือได้โดยแท้จริง
เรา! ทุกคน! ต่างมีอดีต
อย่า! เอาอดีต มาตอกย้ำ
เพื่อ...ทำลายอนาคต

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ







ดับที่ใจดวงเดียว!!!
ไม่ต้องไปดับตา.ดับหู ดับจมูก
ดับลิ้น...ดับกาย
ดับที่ใจดวงเดียว ...แล้วดับหมด
เพราะทั้งหมด ...มันเกิดจากใจ!
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

...หลวงปู่ฝั้น อาจาโร...
ตอบกระทู้