นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 2:52 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การทำบุญ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 04 เม.ย. 2023 5:50 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
สิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบ แล้วเราไม่พอใจทั้งหมด เพราะเราวางใจไม่ตรงกับความจริง

ครูบาฉ่าย คัมภีรธัมโม






วิบัติ 4 ประการที่เกิดขึ้นจากการทำบุญไม่ถูกวิธี

ทุกวันนี้เราไม่เข้าใจวิธีทำบุญที่ถูกต้องเหมาะสมในทางพระพุทธศาสนา ท่านจัดไว้ว่าการทำความดีที่ไม่ถูกต้อง 4 ประการ เป็นเหตุทำให้วิบัติ เป็นทางเสื่อม ไม่เจริญ ได้แก่ ทำความดีไม่ถูกที่ ทำความดีไม่ถูกบุคคล ทำความดีไม่ถูกกาลถูกเวลา และทำความดีแล้วไม่ตามความดี ของตน

1. การทำความดีไม่ถูกที่

ท่านว่าการทำความดีไม่ถูกที่ ก็คือ เราจัดอะไรต่างๆ เช่นอาหารการกิน เครื่องใช้สอยต่างๆ ว่าเอาไปทำบุญ บูชาบวงสรวงผีสางนางไม้ ไร่นาเรือกสวน ต้นไม้ ภูเขา หอผี ศาลพระภูมิ ทำเอาไว้ในสถานที่ต่างๆ เราก็คิดว่าเราพากันไปทำบุญที่ถูกต้อง แล้วเราก็จะได้บุญ ตามที่คณะศรัทธาญาติโยมทั้งหลายพากันทำอยู่เป็นส่วนมาก แต่นักปราชญ์ทั้งหลายมี พระพุทธเจ้าเป็นต้น ตรัสว่า เราทำบุญบูชาไม่ถูกต้อง เราจะไม่ได้รับผลบุญนั้นเลย เพราะเราพากันทำบุญไม่ถูกที่นั้นเอง

2. การทำความดีไม่ถูกบุคคล

คือ ตัวบุคคลผู้รับสิ่งของที่เราให้เขานั้นไม่ดี เราก็ทำความดีกับเขา ตัวอย่างเช่นบุคคลเหล่านั้นเป็นคนพาล โจรขโมยปล้นจี้ฆ่าเจ้าของเอาสิ่งของ สูบกัญญา ยาฝิ่น แค็ป เฮโรอีน ผงขาว ยาเสพติดให้โทษ ทำให้เสียสติมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ จิตใจหยาบช้า ทุกตี ฆ่าฟันรันแทงกันอยู่ในทุกวันนี้ ให้มีความเดือดร้อนไม่สงบอยู่ทุกมุมเมืองทั่วไป บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าคนพาล ถ้าหากพวกเราท่านทั้งหลายไปสงเคราะห์ทำความดี ขวนขวายช่วยเหลือดูแลอุปถัมภ์บำรุง ส่งเสริมให้กำลังแก่คนพาลเหล่านี้นั้น เช่น พวกเราเอาอาหารการกินไปบำรุงให้กินอิ่ม เอายาเสพติด สุรายาเมา กัญญา ยาฝิ่น แค็ป เฮโรอีน ผงขาว ให้เขาดื่มกิน สูบสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ หรือ เราเอาอาวุธยุทโธปกรณ์ ปืน ระเบิด ของแหลมคม เครื่องมือใช้เปิดงัดแงะขโมยสิ่งของต่างๆ เรานำเอาสิ่งของดังกล่าวมานี้ ไปให้เขา ช่วยเขา บำรุงส่งเสริมให้เขามีกำลังมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งทำให้คนพาลทั้งหลายเหล่านั้นมีกำลังมากขึ้นทุกๆ วัน ภัยอันตรายทั้งหลาย และความวุ่นวายไม่สงบสุขอยู่ทุกมุมเมืองทั่วทุกประเทศในโลกนี้ ไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์เป็นผล แต่ทุกคนเราก็คิดว่าเรากระทำความดีกับเขาทุกคน เพราะเราไม่เข้าใจในการทำความดีนั้นเอง เหตุนั้นบัณฑิตเจ้าทั้งหลายจึงเรียกว่า เราทำความดีผิดคน

3. การทำความดีถูกกาลถูกเวลา

ได้แก่การที่เราจะไปเลี้ยงพระ เราก็ดูว่าเราจะไปเวลาไหน จึงเตรียมของอะไรไปถวายบ้าง เช่น น้ำส้ม น้ำหวาน และเราเองจะไปทำอะไรบ้าง เช่น น้ำส้ม น้ำหวาน และเราเองจะไปทำอะไรบ้าง เช่น ไปทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ไปฟังเทศน์ ตามกาลตามเวลาที่มีอยู่ เราควรรู้ว่าสิ่งของอะไรบ้างที่จะถวายพระในตอนเช้าได้ หรือสิ่งของอะไรบ้างที่จะถวายพระในตอนบ่ายได้ เช่น ถ้าเราเอาอาหารไปถวายพระตอนบ่าย เราไม่ต้องไปประเคนท่าน เพราะหากว่าท่านรับประเคนอาหารนั้นแล้ว ในวันต่อไปพระท่านจะฉันอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้วนั้นไม่ได้ เพราะผิดศีลของพระ เหตุฉะนั้น ญาติโยมจึงควรนำอาหารเหล่านั้นไปเก็บไว้ที่โรงครัว เพื่อจะได้ให้โยมวัดนำเอาอาหารมาถวายพระในวันต่อไป อย่าไปบังคับให้พระท่านรับประเคนไว้ ส่วนมากแล้วญาติโยมทั้งหลายยังไม่เข้าใจ เรื่องการถวายสิ่งของต่างๆ กับพระ ไม่รู้อะไรควรประเคนพระในตอนเช้า ไม่รู้ว่าอะไรควรประเคนในตอนบ่ายแล้วไป อะไรพระฉันได้ทุกกาลทุกเวลา เราต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจว่าอะไรที่เป็นอาหาร เราก็ประเคนพระในตอนเช้าไปถึงแค่เที่ยงวัน สิ่งที่ประเคนพระได้ตั้งแต่ตอนบ่ายไปจนถึงเที่ยงคืนก็คือ “น้ำปานะ” เภสัชที่รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ 7 วัน คือ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลทราย เนยใส เนยข้น แต่เภสัชอย่างอื่นรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต สิ่งที่ควรประเคนพระได้ทุกกาลทุกเวลา ก็คือ ยารักษาโรคทุกชนิด

4. การทำความดีแล้วให้ตามความดีของตน

ถ้าเราไม่เคยไปทำบุญในวัดเลย แต่เราเคยสร้างถนนหนทาง เราเคยทำความสะอาด แนะนำสั่งสอนลูกหลาน และเพื่อนฝูงที่ไม่ดีให้ทำความดีอยู่เรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้เข้าวัด เราเคยสงเคราะห์คน ให้เงินทองข้าวของอาหารการกินแก่คนอื่น หรือพี่น้องทั้งหลาย เราควรที่จะมีเมตตาเจือจานสงเคราะห์เขาไปเรื่อยๆ เช่น สงเคราะห์คนจนเป็นต้น โดยที่ยังไม่ได้เข้าวัด เมื่อเห็นคนอื่นได้รับความวิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ทรัพย์สินเสียหายหมด ไฟไหม้บ้านเรือน เราก็ช่วยกันสงเคราะห์เขา ถ้าเขาขาดอาหารการกิน เราก็ช่วยเขา นี่เป็นการทำบุญนอกวัด ยังไม่ได้เข้าวัด ก็เรียกว่าเป็นบุญด้วย สมควรที่เราจะค่อยๆ ทำไปตามกำลังความสามารถที่เราจะช่วยเหลือกันได้ ถ้าเรามาทำในวัด เราเคยทำ ทำตามกำลังของเรา เราก็พยายามสร้างบุญกุศลไปเรื่อยๆ เราเคยรักษาศีล เราก็พยายามจะรักษาศีลของตนเพื่อให้ดีมากขึ้น ที่เคยรักษามาแล้วไม่ได้ละทิ้งให้เสื่อมลงไป ศีลข้อไหนยังไม่ดี ก็พยายามรักษาปรับปรุง เพื่อจะให้ดีขึ้นให้เป็นผู้มีศีลธรรมขึ้น ก็รักษาศีล 5 เรามีศีล 5 บริสุทธิ์แล้ว ต่อมาเราอยากได้ศีล 8 เราก็พยายามที่จะรักษาศีล 8 ให้เราเป็นผู้มีศีล มีฐานะสูงขึ้น เป็นศีลพรหมจรรย์ ได้แค่วันหนึ่งก็เอา มันยังไม่ได้มาก ต่อมาลงมาอยู่ศีล 5 ออกจากวัดมา ประคองศีล 5 ไว้ ถึงวันพระ วันโกน ก็ไปตั้งใจรักษาศีล 8 อีกต่อไป ให้พากันพยายามขวนขวายรักษาศีลตามกำลังของตน

พอมีศีลดีแล้วก็ฝึกทำสมาธิ ถ้าจิตใจของเรายังไม่สงบเป็นสมาธิ เราก็พยายามฝึกไปเรื่อยๆ ต้องการให้จิตใจของเราสงบเป็นสมาธิ หมั่นเดินจงกรมอยู่เสมอ พอจิตใจสงบเป็นสมาธิเพียงขณิกสมาธิ ก็พยายามให้ได้ถึงอุปจารสมาธิ และจิตใจของเราสงบ เป็นอารมณ์หนึ่งอารมณ์เดียว เราก็พยายามรักษาจิตใจของเราให้สงบเป็นสมาธิอยู่บ่อยๆ เพื่อให้จิตใจของเราสงบเป็นสมาธิอยู่ทุกเวลา เมื่อจิตใจสงบหนักแน่นมั่นคงดีแล้ว เราก็ไม่ละความเพียรของตน ต่อไปเราจึงจะได้พิจารณาธรรมะ ถ้าพิจารณาธรรมะยังไม่เห็นแจ้งชัดในธรรมะนั้น เราก็ทำไปเรื่อยๆ เหมือนกับคนซักผ้าขาวที่เปรอะเปื้อนสกปรก ถ้าผ้ายังไม่สะอาดดี ก็เพียรซักอยู่นั่นแหละ ถูมันอยู่นั่นแหละ เอาน้ำล้างมันอยู่นั่นแหละ พยายามอยู่จนผ้านั้นสะอาดตามความประสงค์ของตน ยกตัวอย่างเช่นคนเราเกิดมาหลายปีแล้ว ยังไม่ได้เข้าวัดชำระกิเลสออกจากจิตใจของตน พากันซักแต่ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ล้างแต่มือเจ้าของ แต่ใจไม่ล้างสักที เราก็มาพยายามฝึกฝนอบรมจิตใจของเรา มันเคยมีโลภะมาก เคยโกรธคนนั้นคนนี้ เกลียดคนนั้นคนนี้ เราก็จะมาดูจิตใจของตน เพื่อซักล้าง โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจให้สะอาดหมดจด คนมีความเพียรอยู่ตลอด เรียกว่าตามความดี ก็ย่อมมีความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนเอง

พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่






"...ฌานนี้มีอยู่ ๒ อย่าง อารัมมณูปนิชฌาน จิตสงบ
แล้วนิ่งว่าง ไม่มีสิ่งรู้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นิ่งว่างอยู่
อย่างนั้นตลอดเวลา อีกอันหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน
พอจิตสงบลงไปแล้วเกิดความรู้ความคิดปรุงแต่งขึ้น
มาตลอดเวลา จิตที่นิ่งว่างเป็นสมาธิในฌานสมาบัติ
จิตที่นิ่งว่างแล้วเกิดความรู้ผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมา เป็น
สมาธิวิปัสสนา ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนี้จะสลับสับเปลี่ยนกัน
ไปแล้วแต่จังหวะที่มันจะเป็น

ในเมื่อสมาธิมันเป็นสมาธิตามธรรมชาติของสมาธิ
จริงๆ แล้วนี่ เราจะไปตกแต่งให้มันเป็นอย่างนั้น
ให้มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ แม้แต่คิดจะน้อมจิตไป
พิจารณาอะไร มันก็ไม่มีแล้ว นอกจากว่าจิตเขาจะ
น้อมของเขาไปเองโดยอัตโนมัติ..."

#ที่มา หนังสือ สดใส หน้า ๕๙
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)








เรือที่นายช่างต่อดีแล้วอย่างแข็งเเรง
เมื่อถูกคลื่นทะเลแล้ว ไม่เสียหายฉันใด
จิตของบุคคลใด เมื่อฝึกฝนให้ดีแล้ว
คลื่นของกิเลสกระทบเข้า
ย่อมไม่หวั่นไหวฉันนั้น

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 95 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO