Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

สติมั่นคง

จันทร์ 10 เม.ย. 2023 4:56 am

#อิทธิฤทธิ์

.....ฤทธิ์นี้นะ อย่างหลวงปู่แหวน ทำแสงสว่างเหมือนแสงนีออน ๔๐ วัตต์ อยู่ในกุฏิท่านก็ทำให้เห็น ทำเหมือนไฟไหม้ กุฏิลุกไหม้หมด ลูกศิษย์วิ่งไปหา หาว่าหลวงปู่แหวนตายไปแล้ว เดี๋ยวก็ไฟดับ...ออกมา...อะไร...ไฟไหม้หมดกุฏิ...เอ้ย...ไม่มีอะไรหรอก ท่านว่าอย่างนั้น นั่นทำให้ลูกศิษย์เชื่อมั่นว่า การฝึกจิตดีแล้วอธิษฐานเป็นยังไงบ้าง ท่านก็ทำ

อย่างหลวงปู่ชอบ ท่านคงเคยทำทำนบกั้นน้ำไว้มากเหมือนกัน เข้าใจในป่า เป็นเรื่องของหลวงปู่ขาว พูดไปด้วยกัน ไปในป่า ไม่มีน้ำจะฉัน ไม่มีน้ำจะอาบ มันอยู่ในดง ในป่า ในเขา หลวงปู่ชอบท่านก็แวบไปข้างหน้า โอ้ย...นี่น้ำเยอะแยะเลย ไปแล้ว น้ำอยู่เป็นเหลี่ยมคล้ายก้อนน้ำแข็งว่างั้นเถอะ เหมือนอย่างโต๊ะ ตักมาดื่ม มากรอง มากิน อาบเสร็จแล้วน้ำก็หายไป ท่านทำได้นะหลวงปู่

หลวงปู่นี้ตามความจริงหายตัวได้นะ ท่านไม่พูดธรรมะ ไม่เทศน์ให้ใครฟังหรอก แต่ท่านเอาเรื่องนั้นเป็นเรื่องให้ลูกศิษย์เชื่อ แต่ท่านเทศน์สั้น ๆ หลวงปู่ชอบ นี้ (เทศน์) สั้นที่สุด จนแปลเกือบไม่ได้ ทำนองนั้น อาตมาไปเฝ้าบีบขาอยู่ ๒ เดือน ได้ฟังหลวงปู่เทศน์ให้ลูกหลานฟังเมื่อตี ๑ กว่า ว่างั้นเถอะ ให้หมู่นวดขาอยู่ข้างบน

มีแต่ เกิดกับดับ เท่านั้นแหละ ท่านว่า

ได้แค่นี้แหละ ๒ เดือนที่เฝ้าอยู่ นั่นก็ยอดของธรรมะ ท่านให้นั้น จริงของท่านแหละ แต่มันไม่ได้อธิบายอะไรเลย ให้อย่างลึก อย่างต้น และก็อย่างสุดเลย เหตุกับผลเลย ว่างั้นเถอะ อาตมาได้รับจากท่าน

บัดนี้ตอนหนึ่งนี้เอาผ้าห่มท่านไว้ ห่มท่านไว้แล้วก็นั่งคุยกัน เปิดผ้าห่มดูไม่เห็นตัวเลย หลวงปู่ชอบนั้นน่ะ เปิดผ้าห่มไม่เห็นตัวหลวงปู่ หายไปไหน เห็นแต่ที่นอนนั่งคุยกัน เอาผ้าห่มอย่างเดิม เดี๋ยวสักหน่อยมาเปิดดู เห็นหลวงปู่นอนอยู่อย่างเดิม หลวงปู่ก็ทำได้

ตัวท่านไล่เราไปหนีไปห่าง ๆ ท่านจะแสดงตัวให้เห็นรัศมีออกมา ท่านไล่ออกไปนะ ถ้าไม่ไล่ ท่านจะทำให้ไม่เห็นตัว เห็นแต่ผ้าห่ม ท่านทำได้ น่าเลื่อมใสมาก ท่านทำฤทธิ์ ทำอะไรได้ แต่ท่านไม่ทำหรอก ทำสายสร้อย ทำตุ้มหูให้ใคร นาฬิกาให้ใคร ท่านไม่อยากลวงสิ่งเหล่านี้ เอาธรรมะที่แท้จริงออกมาใช้ ครูบาอาจารย์มีเยอะที่ท่านทำได้

....อิทธิฤทธิ์ พอรู้จักหลายองค์ที่อาตมาซุกซนหัวชุนไป ลาดตระเวนไป องค์ไหนดังกว่าเพื่อน ก็เข้าไปเลย ก็อยากเห็นความดีของท่าน หลวงปูคำดี ก็เคยอยู่ด้วยอันนี้ ท่านไปอย่างเรียบ ๆ

หลวงปู่ชอบก็ไม่ต้องเทศน์ เอาอิทธิฤทธิ์บังคับลูกศิษย์ เมื่อความเพียร

หลวงปู่แหวนนี้ก็เทศน์บ้าง อิทธิฤทธิ์มากบ้าง มาช่วยบังคับ

หลวงปู่ตื้อก็เอาเลย ถ้านั่งอยู่อย่างนั้น อย่างนี้นะ หลวงปู่ตื้อมีงวดหนึ่ง อาจารย์สุมาลี ๒๒ พรรษา ตอนนั้นอาตมาเพิ่งได้ ๘ พรรษา พอเทศน์ไป ๆ ได้สัก ๑๕ นาทีนี้นะ ชี้หน้าเลย มันจะประมาทนัก ลุกยืนเลย มาอยู่นี้มันขัดธรรมะ แหมนึกขัดไม่ได้เลย หลวงปู่เทศน์ไม่ชอบเลย นึกอยู่ในใจนะ ด่าจัง ๆ แล้วจึงเทศน์ต่อไป ดูวาระจิตมันเร็ว เทศน์อยู่ยังรู้ น่าคิดทีเดียว คิดขึ้นมาไม่ได้ อาตมาไปเยี่ยมดู

อย่างหลวงปู่แหวน อาตมาไปบีบขา พอบีบขาแป๊บ ขานี้ปลอมนี่ อาตมาว่า ขาหลวงปู่ปลอม ยิ้มเลย นึกอยู่ในใจ ท่านบอกว่าพิจารณาเรื่องสังขาร ว่าขาปลอมมันเจ็บ มันก็เจ็บ นึกอยู่...ยิ้ม

ทีนี้มาบีบขาอัมพาตหลวงปู่ชอบ พอบีบ ๆ ขา หลวงปู่ นี้มันเดินไม่ได้ มันขาปลอม มองยิ้มเหมือนกัน วาระจิตจะรู้จิตของเราเร็ว ลองทุกองค์ว่างั้นเถอะ องค์ไหนจะว่องไวกว่า มันชอบอย่างนั้น มันชอบว่าองค์ไหนจะช่วยเราได้มาก เราคิดไม่ดี ท่านจะด่าทันที เราต้องการอย่างนั้น เราต้องไปนี้เป็นข้อสำคัญ อันนี้มันมีมาก ถามอันใหม่ ดีกว่า อันนี้มันยาวมากมันหลายองค์ นี้ดีพอฟังเข้าใจแล้ว.....

จาก...หัวใจพุทธศาสนา ในหนังสือ “โสตถิธรรม" โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป






"'..พระสิทธัตถราชกุมารเราเสด็จออกจากหอปราสาท เหมือนกับเสด็จออกจากสวรรค์ตกลงแดนนรกคือไปที่สมบุกสมบัน ได้รับความทุกข์ความลำบากด้วยการอยู่การกินทุกอย่าง พระองค์ไม่ถือเป็นอารมณ์ มุ่งแต่ธรรมเป็นอารมณ์ จนกระทั่งถึงขั้นสลบ ทุกข์ไหมพิจารณาซิ มาถึงขั้นสลบนี้ก็พอแล้ว พอเป็นคติได้ดี เราไม่ได้ถึงขั้นสลบก็ตาม ก็ควรปฏิบัติตนให้เป็นลูกศิษย์ที่มีครูสอน เดินตามร่องรอยครูบ้างดี นี่ละท่านผู้ที่จะดี ท่านฝึกท่านทรมานท่านเป็นทุกข์ก่อน ท่านจึงเรียกว่า ทุกฺขสฺสานนฺตรํ สุขํ ทุกข์เป็นเครื่องหนุนให้เกิดความสุข

ทุกข์เพราะปฏิบัติความดีนี้เป็นเครื่องหนุนให้เกิดความสุข สุขสฺสานนฺตรํ ทุกฺขํ คนเอาแบบสุกเอาเผากินอะไรก็สุกก่อนห่าม กินสุกก่อนห่าม เอาความสุขสด ๆ ร้อน ๆ นี้แล้วก็เป็นทุกข์เมื่อภายหลัง นี่ท่านว่า สุขสฺสานนฺตรํ ทุกฺขํ ทุกข์มาเกิดลำดับจากสุขก่อนห่ามนั้นแหละ อย่าไปสงวน เสาะแสวงหามัน ให้อุตส่าห์พยายามบึกบึน นี่ครูของเราศาสดาของเราท่านปฏิบัติมาอย่างนั้น รู้อย่างนั้นแล้วได้ผลอย่างนั้น แล้วก็มาสอนพวกเราให้ฝึกฝนทรมานตน อย่านอนเป็นขอนซุงอยู่เฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร..'"

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด







เร่งเจริญ ทาน ศีล ภาวนา
ถึงจะได้สมที่เกิดมาเป็นคน
เกิดมาแล้วก็แก่ เจ็บ ตาย
แต่ก่อนตาย ทานยังไม่มี ก็ให้มีเสีย
ศีลยังไม่เคยรักษา ก็ให้รักษาเสีย
ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสีย
จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
ด้วยความไม่ประมาทนั้นละ
จึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน.

ธรรมโอวาทของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร






"'..คนตายตายไปแล้ว เราอยู่ก็ตาย มันจะกลัวตายไปทำไม ความตายมาถึงละหวั่นไหว พระพุทธเจ้าบอกไม่ให้หวั่นไหว ได้ความสรรเสริญก็ดีใจ แต่มันไม่เที่ยง ความนินทาติเตียนก็มีในโลกนี้มีแต่มันไม่เที่ยง ลาภเกิดขึ้นก็มีในโลก แต่มันก็เสื่อมไป ความสรรเสริญเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ความสุขเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ความนินทาเกิดขึ้นก็เสื่อมไป สิ่งไหนล่ะจะเอามาเป็นสาระแก่นสาร เราจะไปยึดไปถือทำไม ปล่อยวางให้หมด ทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียว ให้เป็นพุทโธ ๆ พุทโธคือผู้รู้ ให้ใจเราเบิกบาน อย่าให้ใจเราเศร้าหมอง ครั้นใจเราเศร้าหมอง ต้องชำระสะสางให้ใจเราเบิกบานอย่าให้ขุ่นมัว ให้ดูใจของตนนี่ เราจะได้บุญที่สุดก็เพราะจิตสงบวิเวก.."'

อนาลโยวาท
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู








กิริยาจิตที่แฝงอยู่_ตามอายตนะ
หรือ “ทวารทั้ง ๕” มีดังนี้

ตา_ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ
คือ การเห็น จะห้ามไม่ให้ตาเห็นรูปไม่ได้

หู_ไปกระทบกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ
คือ การได้ยิน จะห้ามไม่ให้หูได้ยินเสียงไม่ได้

จมูก_ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ คือ การได้กลิ่นจะห้ามไม่ให้จมูกรับกลิ่นไม่ได้

ลิ้น_ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ
คือ การได้รส จะห้ามไม่ให้ลิ้นรับรู้รสไม่ได้

กาย_ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือ กายสัมผัสจะห้ามไม่ให้กายรับสัมผัสไม่ได้

วิญญาณทั้ง_๕​ อย่างนี้ เป็น “กิริยาแฝงอยู่” ในกาย ตามทวาร ทำหน้าที่ “รับรู้สิ่งต่างๆ” ที่มากระทบ เป็น”สภาวะแห่งธรรมชาติ” ของมัน “เป็นอยู่เช่นนั้น”

ก็ “สักแต่ว่า” เมื่อ “จิต” “อาศัยทวารทั้ง ๕”
เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอก ที่เข้ามา
กระทบ แล้วส่งไปยัง “สำนักงานจิตกลาง” เพื่อรับรู้ เราจะ “ห้ามมิให้เกิด” “มีเป็น” เช่นนั้น “ย่อมกระทำไม่ได้”

การป้องกัน “ทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น” เราจะต้อง “สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕” ไม่เพลิดเพลินใน “อายตนะ” เหล่านั้น

หาก”จำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น” ประกอบการงานทางกาย
ก็ควรจะ “กำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต” เช่น “เมื่อเห็น” ก็ “สักแต่ว่าเห็น” “ไม่คิดปรุง” “ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน” “ไม่คิดปรุง” ดังนี้เป็นต้น

ไม่คิดปรุงหมายความว่า
ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นทั้งดี_ทั้งชั่ว

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์








"... ตายเสียด้วยทำความดีประเสริฐกว่า
ที่เป็นอยู่ด้วยความชั่ว
... เพราะว่าตาย ด้วยความดีนั้น จะมีสิ่ง
ที่ต้องเสียไป ก็แต่เพียงร่างกายเท่านั้น ..."
-----------------------------
#หลวงปู่ลี_กุสลธโร
วัดเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์​ (วัดภูผาแดง)
จังหวัดอุดรธานี








#ฝึกสติด้วยพุทโธ

ให้หาหลักผูกสติไว้ อย่าให้หลุดลอยเลื่อนไหลไปตามสบาย หลักสำคัญที่สุดเป็นหลักแห่งมหามงคลที่แท้จริง คือหลัก “พระพุทโธ” นั่นคือ พยายามให้ใจคือให้สตินั่นเองติดอยู่กับหลัก “พระพุทโธ” คือท่อง “พุทโธ” ไว้ให้ทุกเวลานาที ที่ไม่วุ่นวายหนักหนาอยู่ด้วยธุรกิจการงานที่ต้องใช้ความคิด ใช้สมอง นั่นแหละคือการฝึกสติ หรือฝึกใจให้อยู่กับที่ อยู่กับหลักพระพุทโธ

ทำไปเถิด สติจะมั่นคงขึ้นเป็นลำดับ การรู้ทันความคิดจะเกิดตามมาพร้อมกัน เป็นคุณสำคัญแก่ชีวิตอย่างแท้จริง.

พระคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก








#ถาม เวลาจิตสงบแล้วควรพิจารณาธรรมแบบไหนครับถึงจะได้เห็นธรรมแบบไม่เป็นสัญญาครับ?

#ถ้าเราจะเอาความจริงเป็นวิปัสสนาญาณเลยใช่ไหม?

ถ้าจิตสงบแล้วก็ไม่ต้องพิจารณาอะไร เราแค่ยอมรับกับสิ่งที่เราเห็นแค่นั้นเอง แต่ส่วนใหญ่เราจะไม่สามารถยอมรับกับสิ่งที่เราเห็นได้ สิ่งเนี้ยละเอียดมาก

กว่าเราจะไปเห็นโทษของความคิดเห็นอย่างเงี้ยโอ้ย อันนี้มันละเอียดไปนะ คือการเรียนรู้ รู้เฉยๆตัวนี้มันละเอียดมาก

จิตสงบแล้วเราก็เห็นตามความจริงอยู่แล้ว คือความจริงเราไม่ต้องไปหามัน นึกออกไหม ความจริงมันจริงอยู่แล้ว มันประจักษ์อยู่เฉพาะหน้าเราอยู่แล้วเนี่ยความจริงนี้น่ะ

อย่าไปหาในอดีต อย่าไปหาในอนาคตนะ นึกเอาก็ไม่ได้ด้วย พอนึกปุ๊ปก็เป็นเรื่องของสังขารแล้ว แต่เมื่อไหร่ที่จริงสงบเนี่ย มันจะสลัดสัญญา ขี้เกียจคิดด้วย อยู่ด้วยความอบอุ่นแน่วแน่แนบแน่น ทีนี้มันก็จะเห็นความจริงปรากฏขึ้นเรื่อยๆ

มันจะเห็นความสกปรกของใจตัวเองก่อน หลายคนไปเห็นความสกปรก เฮ้ยนี่ไม่ใช่เรา เราไม่ได้ชั่วขนาดนี้ เราไม่ได้คิดอย่างนี้อย่างเงี่ย ก็จะมีตัวหนึ่งมาคัดค้าน เห็นไหม ตัวที่คอยคัดค้านนั่นแหละ มันทำให้เราไม่สงบ เห็นไหมล่ะ คือมันมีคู่ต่อสู้อยู่

แต่ถ้าตัวหนึ่งมันแสดงตัว ความสกปรกของใจ แต่ไม่มีคนให้คะแนน ไม่มีคนไปให้ความเห็นอย่างเงี่ย โอ้ชั่วเหรอ ชั่วนั่นแหละ แต่มันยากที่เราจะยอมรับตัวนั้นได้

ท่านจึงบอกว่าคนที่ติดดีเนี่ยแก้ยาก โชคดีเราไม่ใช่คนดี เราก็เลยไม่ต้องแก้ เพราะเราเห็นตามความจริงอยู่แล้วไง

แต่ถ้าเรามีสัญญาที่ดี มีความคิดที่ดี มันอยู่ในใจเราอย่างเงี้ย เราก็จะเข้าใจว่า เราต้องปฏิบัติธรรมแล้วมันต้องไม่คิดชั่วไม่ใช่เหรอ ไม่ใช่

เราจะรู้เลยว่ารังของใจเรานั่นแหละ คือแหล่งของความสกปรกเลย แต่เราไปปรุงเอาเองว่ามันจะต้องสะอาด คือมันไม่มีอะไรเลยอ่ะ มันก็เลยมีความขัดแย้ง เพร่ะว่าไอ้สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับความเห็นเรามันขัดแย้งอยู่

แต่เมื่อไหร่ที่เราเห็น เราไม่เข้าไปให้คะแนน ไม่ตัดสินว่างั้นเถอะ เห็นเฉยๆนี่แหละ เห็นแล้วก็วางลง แค่เห็นแล้วก็วางลงเฉยๆนี่แหละ เมื่อไม่มีคนทะเลาะกันข้างในน่ะ ไม่มีความเห็นมาขัดแย้งกันข้างในนี่นะ มันก็สงบแล้ว

ก็ไม่มีเงื่อนของความทุกข์ที่บีบคั้นในใจด้วย มันสงบลงแล้วก็ ไม่มีทุกข์อะ เพราะมันไม่มีคนทะเลาะกันในใจเรา

มันก็ยอมรับได้แหละว่ามันสกปรก ก็มันสกปรกจริงๆ นี่ ก็มันคิดไม่ดีจริงๆนี่ พอเห็นบ่อยๆ มันก็จะค่อยๆหาย ไม่มีกำลัง ก็จะกลายเป็นเห็นแบบบริสุทธิ์ ก็จะกลายเป็นไม่เห็น ก็คืออะไรก็ช่างไม่รู้ จากรู้ๆอยู่ สุดท้ายก็เออ มันขี้เกียจรู้แล้ว เพราะว่ารู้นี่แหละ มันเลยทำให้เราเป็นบ้า เราก็เลยเลิกรู้แล้ว มันก็เลยวางไปเลย

แล้วมันเป็นเองนะตัวนี้ บังคับไม่ได้ด้วย มันจะเป็นของมันเองเลย เวลาที่มันวาง แต่ถ้าเราไปว่า เอ๊ะทำไมเราถึงคิดชั่วจังเลยอย่างเงี้ย เราก็ไปทะเลาะกันกับมันอย่างเงี้ย เราไม่ได้มาปฏิบัติเพื่อที่จะคิดชั่วนี่หว่า ทำไมมันคิดขั่วอย่างเงี้ย เอ้า ..นั่นแหละรังของมัน มันเป็นกิเลสตัวหยาบตัวละเอียดที่มันอยู่ในใจเรา

เรามีหน้าที่สำรวจเฉยๆ อย่าไปตัดสินอะไร เห็นความชั่วก็รู้จักความชั่ว แล้วก็ดูเฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไรมัน ตัวเนี้ยเป็นขั้นหนึ่งนะ

#พระอาจารย์ตะวัน #ปัญญาวัฒฑโก
#สำนักสงฆ์ถ้ำแจ้ง #ลำปาง






.....การแสวงหาในเรื่องทางโลก คือ มันต้อง "ได้" มันจึงจะเกิด "ผล"
...เมื่อได้มา ก็เกิดสุข แล้วไปหลงไปยึด
...เมื่อไม่ได้ ก็เกิดทุกข์ เพราะจิตคล้องคายึดติด
...เมื่อหลงติดสุขติดทุกข์ มันก็คือหลงติดอยู่กับโลก เรียกว่า หลงโลก เพราะกลลวงแห่งมายาของโลก ที่เรียกว่า โลกมายา
...เมื่อติดกับดักของโลกมายา เราก็ติดอยู่ในโลกโลกีย์ ที่มีแต่การเวียนวายตายเกิด แล้วมาทุกข์มาสุขอยู่ร่ำไปไม่สิ้นสุดสักที

.....การแสวงหาในเรื่องทางธรรม (ขอเน้นๆๆนะ)...ที่ถูกต้องนั้น คือ "การละ" "การปล่อย" "การทิ้ง" "การวาง" (ขอย้ำเน้นๆๆ ไม่ใช่เอาหรือได้นะ)...มันจึงจะเกิด #ผล#
...เมื่อรู้เห็นเข้าใจในเรื่องของธรรมตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้งแท้จริงแล้ว มันจะละปล่อยวาง ทิ้งทุกอย่าง แม้ตัวตนมันก็ทิ้ง สุขหรือทุกข์มันก็ไม่เอา อะไรๆมันก็ไม่เอาแล้ว เพราะไม่มีตัวตนไปยึดไปเอาสิ่งใด นั้นแหละมันหนีจากโลกโลกีย์ได้แล้ว มันจึงเป็นโลกุตตรธรรม (คือธรรมเหนือโลก) หรือ จิตสลัดทิ้งโลกที่มันเป็นธรรมตามความเป็นจริงของมัน มันเลยเป็นโลกุตตระ (คือจิตเหนือโลก)

.....โลกมันก็คือธรรม...ธรรมมันก็คือโลกที่มันเป็นจริง ที่มันย่อมเป็นไปตามความเป็นจริงของมัน
...ถ้าไปยึดโลก ก็คือยึดธรรม
...ถ้าไปยึดธรรม ก็คือยึดโลก
...เพราะจิตไม่รู้เห็นและเข้าใจจริง จิตจึงออกไปหลงแล้วยึด จิตจึงติดคล้องคาอยู่ในโลกในธรรม จิตจึงติดอยู่ในโลกโลกีย์ วนเวียนไม่จบสิ้นง่าย
...เมื่อจิตรู้เห็นและเข้าใจจริง จิตจะไม่ออกไปยึด คือไม่มีอัตตาตัวตนออกไปหลงไปยึดในโลกในธรรม จิตก็ไม่คล้องคาในโลกในธรรม การเวียนวายตายเกิดมันก็จบ จิตจึงเหนือโลกเหนือธรรม ซึ่งสมมุติเรียกว่า โลกุตตร ผู้อยู่เหนือโลก...เอวังฯ
.....หลวงปู่อุดร (พลศีล) โชติปัญโญ
ตอบกระทู้