นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 19 ม.ค. 2025 1:58 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ทาน ศีล ภาวนา
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 02 มิ.ย. 2023 5:29 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
เสื้อผ้าอาภรณ์ ที่คนนั้นสวมใส่ แม้จะสวยงามมีราคาขนาดไหน ยังไม่ได้บ่งบอกว่าคนนั้นเป็นคนดี บางคนแต่งตัวดูดี ยังหลอกคนอื่นได้ แต่อาภรณ์ที่จะทำให้คนสวยงามได้นั้น คือการรักษาศีลเท่านั้น คนมีศีลคือคนสวยงาม

โอวาทธรรม หลวงพ่อทองพูน กาญจโน
วัดป่าภูกระแต อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู







"คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด."

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล





"ทุกข์เพราะร่างกาย"

ขอให้ทุกท่านตั้งกำลังใจยอมรับนับถือกฎของความจริง นั่นก็คือให้รู้จักตัวเอง ว่าร่างกายของเรานี่ มันมีความเกิดขึ้นมาในเบื้องต้น แล้วก็มีความแก่ที่เราเรียกว่าเจริญขึ้นน่ะ เป็นหนุ่มสาวแล้วมันก็แก่ มีความแก่ติดตามมาขณะที่ทรงตัวอยู่ แล้วก็มีอาการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ

ขณะที่ทรงชีวิตอยู่ ก็ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เช่น พ่อตาย แม่ตาย ผัวตาย เมียตาย ลูกตาย น้องตาย พี่ตาย ข้าวของที่รักมันพัง มันเสียหาย อันนี้ต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา แล้วในที่สุดเราเองก็ต้องตาย

ในเมื่อสภาวะมันเป็นอย่างนี้ เราจะไม่สะดุ้งสะเทือนกับสิ่งเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้น เพื่อนตาย แม่ตาย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ผัวตาย เมียตาย ลูกตาย หลานตาย พี่ตาย น้องตาย เพื่อนตาย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนทุกคนเกิดมาจะต้องตาย

แต่ทว่าลองมองไปอีกมุมหนึ่งว่า....การเกิดมาเพื่อแก่เพื่อตายแบบนี้ มันเป็นเหตุของความทุกข์ ทุกข์มันมีอยู่ที่ขันธ์ 5 คือร่างกาย ถ้าร่างกายของเราไม่ป่วย มันก็ไม่มีทุกขเวทนา ร่างกายของเราไม่แก่ มันก็ไม่มีทุกขเวทนา

เราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่หิว
เราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่หนาว
เราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่ร้อน
เราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่แก่
ถ้าเราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่ป่วย
ถ้าเราไม่มีร่างกาย...มันก็ไม่ตาย

ไอ้ที่เกิดทั้งหลายเหล่านี้ ที่เป็นมาทั้งหมดมันเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว นั่นคือพระนิพพาน เราจะมีความสุขที่สุด

การปฏิบัตินี้ เขาปฏิบัติเพื่อพระนิพพานกัน ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อเที่ยวเห็นสวรรค์ เห็นนรก เห็นเทวดาเฉย ๆ

ที่ให้เห็นก็เพื่อว่า จะได้รู้ว่าตายแล้วมันมีสภาพไม่สูญ มันต้องมีความสุข มันต้องมีความทุกข์ที่เราจะพึงเสวยอีก เพราะฉะนั้นเพื่อจะดับความทุกข์มันซะเลย เราก็ตัดสินใจไปนิพพาน

การตัดสินใจไปพระนิพพานได้เขาทำอย่างไร ? เขาทำกันอยู่จุดเดียวคือ เวลานี้สมมติว่าเราจะต้องตายลงไปขณะที่นั่งกรรมฐานก็เชิญตาย คิดไว้เสมอว่า ร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก นั่งนึกดูในร่างกายของเรานี่มันเต็มไปด้วยอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำเสลด น้ำลาย

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรกทั้งหมด มันมีสภาพเหมือนกับไถ้ที่เขาใส่อุจจาระห่อไว้ ผูกหัว ผูกท้าย อุจจาระมันจะไม่หลั่งไหลออกมา เราก็คิดว่า ไถ้นี่สวยแบกได้ อุ้มได้ แต่ถ้าไอ้ของทั้งหลายมันหลั่งไหลออกมา เราก็ไม่กล้าแตะ

"ร่างกายของคน ร่างกายของเขา ร่างกายของเรา...มีสภาพเช่นเดียวกัน"

เวลาเราจะกิน เลือกอาหารแล้วเลือกอาหารอีก แต่ทว่าพอกินเข้าไปแล้วสิ พอถ่ายออกมาไม่อยากมอง

นั่นเราจะรู้ว่าสิ่งที่อยู่ในท้อง มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มันไม่ใช่แต่สกปรกอย่างเดียว มันทรุดโทรมไปทุกวัน มันมีทุกขเวทนาทุกขณะ ในที่สุดมันก็พังคือตาย ถ้าเราจะเกิดอีกมันก็มีสภาพแบบนี้ หาความที่สุดของความทุกข์ไม่ได้

เพราะฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงแนะนำว่า ทุกท่านจงอย่าสนใจในกาย คือกายของเรา อย่าสนใจในร่างกายของบุคคลอื่น อย่าสนใจในวัตถุธาตุใด ๆ

คือหมายความว่า ถ้ามันมีชีวิตอยู่ก็เลี้ยงมันไป ให้มันกินข้าว ให้มันอาบน้ำ ให้มันห่มผ้า แต่ว่าคิดว่าถ้าตายแล้วคราวนี้ จะไม่มีร่างกายอย่างนี้อีก จุดที่เราจะพึงไปนั่นคือพระนิพพาน

ตัดสินใจไว้แบบนี้นะ

พระราชพรหมยาน,ธัมมวิโมกข์ (2561)449,49-51









.
๑) ความเข้าใจผิด
เข้าใจผิดว่า ทำดี ต้องได้ดี ทำบุญต้องได้บุญ

ที่ถูก คือ ทำดีไม่ได้อะไร ได้แค่ละกิเลส ทำบุญ ได้แค่สบายใจ

๒) เข้าใจผิดว่า ดีกับใคร คนนั้นต้องดีตอบ

ที่ถูก คือ เรามีหน้าที่ดี ใครจะดีกับเรา ไม่ดีกับเรา ไม่ใช่เรื่องของเรา

๓) เข้าใจผิดว่า ให้อะไรใคร ต้องได้กลับคืน

ที่ถูก คือ การ “ให้” คือ ยินดีเสียสละ ให้แล้วคาดหวัง..ไม่ใช่การให้ อ้างบุญคุณไม่ได้

๔) เข้าใจผิดว่า แก่แล้วทำอะไรก็ได้

ที่ถูก คือ แก่แล้วต้องยิ่งสำนึก ทำชั่วไม่ได้ เวลาเหลือน้อย

๕) เข้าใจผิดว่า ต้องทำเพื่อความมั่นคงของชีวิตในภายหน้า

ที่ถูก ความมั่นคงไม่มีในโลก ตายได้ทุกเมื่อ

คำสอนท่านพุทธทาส ภิกขุ







จำไว้นะ ใครจะพูดอะไรก็ช่างเขา
กรรมมันอยู่ที่เขา ไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา
ไม่ต้องเอามันมาใส่ใจ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน






#ทาน #ศีล #ภาวนา

เมื่อเกิดอะไรขึ้น ทราบแต่ว่าทุกข์เหลือทน
ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนักและเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังใจจะสู้ไหว

ใจคือนักต่อสู้ ดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง
สู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้ง
คงไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง

ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ
ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ความอยากของใจ
จะพยายามหาทรัพย์ได้กองเท่าภูเขา ก็ยังหาความสุขไม่เจอ
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด
ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
ความทุกข์ทรมาน ความอดทน ทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง
ใจจะกลายเป็นของประเสริฐให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล
ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน
วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือ ภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร
ตรวจดูจิตว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต
คือนั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิดอะไรบ้าง
ในวันและเวลาที่นั่ง นั่งมีสารประโยชน์ไหม
คิดแส่หาเรื่องหาโทษขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิดถูกของตัวบ้างไหม

พิจารณาสังขารภายนอกว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง
สังขารร่างกายมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดลงไป
พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้
ตายแล้วจะเสียการ ให้ท่องอยู่ในใจเสมอว่า
เรามีความแก่ เจ็บ ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน
ป่าช้าอันเป็นที่เผาศพภายนอก และป่าช้าที่ฝังศพภายในคือตัวเราเอง
เป็นป่าช้าร้อยแปดพันเก้าแห่งศพที่นำมาฝังหรือบรรจุ
จะอยู่ในตัวเราตลอดเวลา ทั้งศพเก่าศพใหม่ทุกวัน

พิจารณาธรรมสังเวช พิจารณาความตายเป็นอารมณ์
ย่อมมีทางถอดถอนความเผลอเย่อหยิ่งในวัน ในชีวิต
และวิทยฐานะต่างๆ ออกได้
จะเห็นโทษแห่งความบกพร่องของตัวและพยายามแก้ไขได้เป็นลำดับ
มากกว่าจะไปเห็นโทษของคนอื่นแล้วมานินทาเขา ซึ่งเป็นความไม่ดีใส่ตน

นี่คือการภาวนา คือ วิธีเตือนตน สั่งสอนตน
ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่าควรแก้ไขจุดใด ตรงไหนบ้าง
ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อยๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง
ด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่างๆ บ้าง
ใจจะสงบเย็น ไม่ลำพองผยองตัวและความทุกข์มาเผาลนตัวเอง
เป็นผู้รู้จักประมาณในหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว
ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่างๆ

คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมาย ไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นได้

ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง ๓ นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา
ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้
มาอยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยสมบัติอย่างแท้จริง

(ภูริทตฺตธมฺโมวาท จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์)


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 82 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO