Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การสร้างบุญ

พฤหัสฯ. 22 มิ.ย. 2023 5:57 am

มีคำถามที่น่าสังเกตว่า “#ถ้าไม่ทำกรรมใหม่อยู่ไปๆกรรมเก่าจะหมดไปเองไหม?”

#สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไป กรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเอง แต่ไม่หมดหรอก ไม่ต้องอยู่เฉยๆ แม้แต่จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไรๆ ก็ไม่มีทางหมดไปได้

เหตุผลง่ายๆ คือ
๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตาย ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ
๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะนี้มีอยู่ประจำในใจตลอดเวลา เพราะยังไม่ได้รู้เข้าใจความจริงถึงสัจธรรม

เมื่อรวมทั้งสองข้อนี้ก็คือ คนที่อยู่เพื่อใช้กรรมนั้น เขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้แต่โดยไม่รู้ตัว แม้จะไม่เป็นบาปกรรมที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโมหะ เช่นกรรมในรูปต่างๆ ของความประมาท ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อย

ถ้ามองลึกเข้าไปในใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ผุดโผล่ขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น เศร้า ขุ่นมัว กังวล อยากโน่นอยากนี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่าย กังวล คับข้อง ฯลฯ นี่ก็คือทำกรรมอยู่ตลอดเวลา แถมเป็นอกุศลกรรมเสียด้วย เพราะฉะนั้นอย่างนี้จึงไม่มีทางสิ้นกรรม ชดใช้ไปเท่าไรก็ไม่รู้จักสิ้นสุด มีแต่เพิ่มกรรม

“แล้วทำอย่างไรจะหมดกรรม?” การที่จะหมดกรรม ก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น คือแม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้น จากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากทำอกุศลกรรม เป็นทำกุศลกรรม และทำกุศลระดับสูงขึ้นไป จนถึงขั้นเป็นโลกุตตรกุศล

ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรม

พูดสั้นๆ ว่า กรรมไม่หมดไปด้วยการชดใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วยการพัฒนากรรม คือปรับปรุงตัวให้ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นขั้นของกรรมไป ถึงขั้นทำ แต่ไม่เป็นกรรม คือทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำหรือชักจูงด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จึงจะเรียกว่า พ้นกรรม

หนังสือ เหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท และกรรม หน้า ๑๙ – ๒๐






"ความดีนั้น เราต้องทำอยู่เสมอ
ให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต
ให้เป็นมรรค คือทางดำเนินไปของจิต
มันจึงจะเห็นผลของความดี

ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล
ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้ว ให้ไปรับศีล
เช่นนี้ เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด

เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา
ไฉนจะมาสนใจใยดี กับศีลได้
เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น
จึงจะระลึกได้"

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ





คนฉลาดย่อมรู้จัก การสร้างบุญทาน
ให้เหมาะกับฐานะของตน และทำโดยสม่ำเสมอ
ควบคู่ไปกับการสำรวม กาย วาจา ใจ
ให้อยู่ในศีลธรรม

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





"ความดีนั้น เราต้องทำอยู่เสมอ
ให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต
ให้เป็นมรรค คือทางดำเนินไปของจิต
มันจึงจะเห็นผลของความดี

ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล
ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้ว ให้ไปรับศีล
เช่นนี้ เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด

เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา
ไฉนจะมาสนใจใยดี กับศีลได้
เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น
จึงจะระลึกได้"

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ








. เรื่องที่ผ่านมานั้นไม่ต้องไประลึกถึงมัน อดีตมันก็คืออดีต ให้มีสติกำหนดระลึกภาวนาในใจให้เป็นปัจจุบันพอ

ไม่ว่าเราจะบริกรรมคำภาวนาว่าพุทโธ หรือจะกำหนดดูลมหายใจเข้าออกของตนเองก็ตาม ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใจของตนเองรักและถนัดในเรื่องนั้นๆ

สิ่งที่ใจเรารักใจเราถนัดนั้นคือ เวลาเรากำหนดหรือบริกรรมไปแล้ว ใจของเราจะเกิดความสุขุมเยือกเย็นสงบลงได้อย่างรวดเร็ว นั่นแหละ คือ ความถนัดที่มาจากวาสนาดั้งเดิมของตนเอง

ข้อสำคัญในการภาวนานั้น คือการมีสติอยู่กับจิตกับใจของตนเองอยู่ตลอดทุกเวลานาที ให้มีสติจดจ่อลงไปในคำบริกรรมของตนอย่างถี่ ๆ

พอสติเรามีกำลังเข้มแข็งอย่างเต็มที่แล้ว จิตมันก็จะนิ่งสงบลงไปในธรรมของพระพุทธเจ้า ถึงใจเราไม่อยากจะรู้ แต่จิตมันจะรู้

คำสอนหลวงปู่บุญญฤทธิ์
ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ จ.นนทบุรี
ตอบกระทู้