“เป็นคนจริง ซื่อสัตย์ คนจริงนี้ทำอะไรสำเร็จหมด แต่ถ้าไม่มีซื่อสัตย์เป็นคุณหนุนหลังชอบทำสิ่งที่เป็นโทษ ท่านจึงว่าอกุศลมูล มูลเหตุที่จะทำให้มนุษย์ตกต่ำคือทำกรรมที่ไม่ดีนี่แหละ และเป็นเหตุให้ทุกข์ยากลำบาก ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา”
โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระฉนฺทกโร หลวงปู่ปรีดา หลวงปู่ทุย วัดป่าดานวิเวก(ดงสีชมพู) บ้านแสงอรุณ ต.ศรีชมภู อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
เมื่อวานไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้ จึงมีวันพรุ่งนี้ให้เราได้ทำสิ่งดีๆ ต่อไป คุณคนเดียวเท่านั้น ที่จะช่วยให้คุณผ่านทุกปัญหาได้ก็คือ ''ตัวคุณเอง''
พระโอวาท เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
ครูบาอาจารย์สายวัดป่ามักจะเลี่ยงศัพท์เทคนิคและพยายามสอนธรรมะด้วยภาษาง่ายๆ ธรรมดา บางครั้งท่านก็ใช้คำหรือวลีที่ใช้กันอยู่ทุกวันเพื่อสรุปหลักคำสอนสำคัญๆ ให้ฟังดูแปลกใหม่ ท่านจะใช้คำนั้นต่อเนื่องไปสักระยะ พอเริ่มเก่าหรือล้าสมัย ท่านก็หาคำใหม่มาแทน
ในช่วงบั้นปลายที่หลวงพ่อชายังพูดสอนได้ ท่านชอบใช้คำว่า ‘ไม่แน่’ ถ้าใช้กับเรื่องอนาคต อาจสื่อความหมายได้ว่า "บางทีก็ใช่" หรือ "บางทีก็ไม่ใช่" แต่พอใช้กับเรื่องปัจจุบัน ก็จะชี้ไปยังความไม่มั่นคง ไว้ใจไม่ได้ซึ่งมีอยู่ในสิ่งทั้งหลายที่เกิดตามเหตุตามปัจจัย
การที่หลวงพ่อย้ำถึงความเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งปวงอันคาดเดาไม่ได้ ไม่ว่าภายในหรือภายนอก เป็นการแนะให้เราพิจารณาความไม่เที่ยงในมุมมองใหม่ ซึ่งหมายรวมถึงไตรลักษณ์อีกสองข้อที่เหลือด้วย สิ่งทั้งปวงล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่จะเกิดดับเมื่อไหร่ อย่างไรให้แน่ๆ นั้น เราไม่อาจเดาได้ นี่ก็คือความหมายของ ‘ไม่แน่’
ไม่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้ชี้นำหรือควบคุมสิ่งต่างๆ มีเพียงเครือข่ายโยงใยของเหตุและปัจจัยอันกว้างใหญ่สลับซับซ้อนเกินจะคิด ไม่มีส่วนใดในเครือข่ายนี้จะเป็นสรณะที่พึ่งอันแน่นอนได้ คำสั้นๆ ว่า ‘ไม่แน่’ ได้รวมเอา อนิจจัง ทุกขังและอนัตตาไว้ในนั้นเพียงคำเดียว
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ
#กรรมฐานที่หลวงปู่มั่นสอน
"...ด้านภาวนาสอนให้เลือกเอาตามจริตนิสัยที่สะดวกของจิต เป็นที่สบายของจริต ในกรรมฐานสี่สิบห้อง อันใดอันหนึ่งแล้วแต่สะดวก เมื่อบริกรรมและเพ่งอยู่พอ ก็ลงไปปรากฏรสชาติอันเดียวกันเช่น ขณิกสมาธิรวมลงไปขณะหนึ่งแล้วถอนออกมา อุปจารสมาธิรวมลงไปแล้วมักจะมีนิมิตต่าง ๆ เช่น แสงเดือนหรือดวงอาทิตย์ ดวงดาว ควันไฟ เมฆหมอก กงจักร ดอกบัว เทวบุตร เทวดา หรือร่างของคนปรากฏว่าพองขึ้น หรือเหี่ยวลง หรือปรากฏว่าเหาะเหินเดินอากาศโลดโผนต่าง ๆ นานา เหล่านี้เป็นต้น เรียกว่าอุปจารสมาธิทั้งนั้น
“จาระ” แปลว่าไปตามนิมิตแขกที่มาเกยมาพาด ภายหลังจากนิมิตเดิมที่เพ่งไว้
“ฌานัง” แปลว่า เพ่งอยู่ อุปจารสมาธินี้ หมดกำลังก็ถอนออกมาเหมือนกัน
อัปปนาสมาธิเข้าไปละเอียดกว่านั้นอีก แต่ไม่มีนิมิตแขกมาเกยมาพาด เป็นแต่รู้ว่าจิตอยู่ไม่วอกแวกไปทางใด และไม่สงสัยว่าขณะนี้จิตเราเป็นสมาธิหรือไม่หนอ ย่อมไม่สงสัยในขณะนั้น ไม่ปรากฏว่ามีกาย ปรากฏแต่ว่ามันรู้อยู่เท่านั้น ไม่ได้วิตกวิจารอันใดเลย แต่หมดกำลังก็ถอนออกมาอีก แต่นานกว่าอุปจารสมาธิ เพราะความหยุดอยู่แน่วแน่นิ่งกว่ากัน
ขณิกสมาธินี้ ภวังคบาทก็ว่า ขณิกภาวนาก็ว่า ขณิกฌานก็ว่า
อุปจารสมาธินี้ ภวังคจลนะก็ว่า อุปจารภาวนาก็ว่า อุปจารฌานก็ว่า
อัปปนาสมาธินี้ ภวังคุปัจเฉทะก็ว่า อัปปนาภาวนาก็ว่า อัปปนาฌานก็ว่า
แต่การเรียกชื่อใส่ชื่อลือนามนั้นเป็นรสชาติอย่างหนึ่ง ส่วนรสชาติของสมาธิแต่ละชั้นก็เป็นรสชาติไปอย่างหนึ่ง คล้ายกับลิ้น จิ๊บแกงน้อยก็รู้จักรสน้อย จิ๊บมากก็รู้จักรสมาก แต่มิได้สอนให้ติดอยู่เพียงแค่นี้ เพราะสมาธิชั้นนี้อยู่ใต้อำนาจไตรลักษณ์มีอนิจจังเป็นต้น แต่จัดเป็นฝ่ายเหตุ ฝ่ายมรรค ฝ่ายผลของเหตุผลของมรรคเป็นปุญญาภิสังขารทั้งนั้น เป็นของจริงขนาดไหนล่ะ จริงตามฐานะแต่ละชั้นแต่ละชั้นเช่น หนังก็จริงตามฐานะของหนัง เนื้อก็จริงตามฐานะของเนื้อ เอ็นก็จริงตามฐานะของเอ็น กระดูกก็จริงตามฐานะของกระดูกเป็นต้น จริงตามสมมติที่ใส่ชื่อลือนาม จริงตามปรมัตถ์เสมอภาค คือเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกสลายไป ไม่เกรงขาม ไม่ไว้หน้าใคร ๆ ทั้งนั้น
สติปัญญาขั้นนี้ก็ต้องพิจารณาให้แยบคาย ให้รู้ตามความเป็นจริงในขั้นนี้ลึกลงไปอีก มิฉะนั้นความหลงไม่มีหนทางจะร่อยหรอไป เพราะความหลงเป็นแม่ทัพของกิเลสชั้นที่หนึ่ง อันมีอำนาจเหนือกิเลสใด ๆ ทั้งสิ้น จึงบัญญัติว่าอวิชชา เพราะไม่ใช่วิชา แต่เป็นวิชชาที่พาท่องเที่ยวเสวยสรรพทุกข์ เป็นวิชชาของกิเลสมาร เพราะกิเลสมารมีอำนาจเหนือมารใด ๆ ทั้งสิ้น.."
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
เหตุที่การให้ธรรมเป็นการให้ที่สูงส่งกว่าสิ่งอื่น ด้วยเหตุที่ว่า อมิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ อาจช่วยเพียงให้มีชีวิตอยู่รอดได้ ทำให้อยู่ดีมีสุขขึ้นได้บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถ ทำให้เกิดความดับทุกข์ได้
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
เมตตาพอประมาณ เพราะบางอย่างก็เป็นกรรมของเขา เราก็ช่วยไม่ได้
สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
|