Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

อวิชชา

จันทร์ 04 ก.ย. 2023 6:01 am

การดูลมให้เกิดวิปัสสนากรรมฐาน

1. มีสติกำหมดรู้ลม รู้สึกถึงลมที่ผ่านเข้ามาทางจมูกและรู้สึกถึงลมที่กระทบเพดานปาก และไหลลงมาที่หน้าอกและผ่านลงท้อง

2. ในขณะมีสติดูลมนั้น ก็เห็นว่าลมนั้นมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บ้างก็เข้ายาว บ้างก็เข้าสั้น บ้างก็เบาลง บ้างก็หายใจเข้าลึก สติกำหนดรู้การเปลี่ยนแปลงของลมอยู่เช่นนี้

3. มีอนัตตาเป็นอารมณ์ ในขณะดูลมหายในเข้าออกเห็นลมเป็นอนัตตาทุกเมื่อหรือเสมอๆ ในขณะลมเข้าลมออกเห็นลมเปลี่ยนสภาพเสมอ

4. ในขณะมีสติกำหนดดูลมแบบนี้หนึ่ง ในขณะก็เห็นกายที่มันเคลื่อนไหวด้วย ในขณะมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ก็เห็นลมเห็นการเปลี่ยนแปลง พร้อมๆกันคือเห็นไตรลักษณ์ทุกขณะจิตพร้อมกับดูลมและดูกายและเห็นความไม่เที่ยงพร้อม

5. มีสติตั้งมั่นอยู่เสมอ มีการกำหนดรู้ในรูปแบบของอริยมรรค คือมีสัมมาฐิทิพร้อมกับสติกำหนดรู้ ในขณะกำหนดรู้สิ่งใดก็มีความเข้าใจในไตรลักษณ์ของสิ่งนั้นๆ

6. เมื่อมีสติกำหนดตาม 5 สิ่งที่ว่ามานี้ สติของเราก็ย่อมตั้งมั่นมากขึ้น จนถึงขั้นที่ว่าสามารถเห็นลมหายใจ มีรูปร่างลักษณะ หรือเรียกว่าเข้าถึงนามกายนั่นเอง เมื่อสติกำหนดรู้พร้อมกับนามกายอยู่บ่อยๆ สติจะมาจับอยู่ที่อาการหรือลักษณะของนาม

7. พอสติมาจับที่นาม สติจะเห็นลักษณะอาการของจิตสังขารได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว ในขณะนี้สติกับกาย สามารถรับรู้ได้หลายอย่างพร้อมกันในขณะจิตเดียว คือรับรู้กาย รับรู้ลมเข้าออก รับรู้อารมณ์และความคิด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอของสิ่งนั้นๆ หรือเรียกว่าเห็นรูปนามเกิดดับอยู่ตลอดเวลา

8. สติมีการเท่าทันโดยอัตโนมัติ และเห็นภาวะแห่งไตรลักษณ์ได้อย่างชัดเจน เห็นการสลายไปของอารมณ์และความคิดปรุงแต่งตรงนี้เป็นฌานระดับสูงเรียกว่า ภังคฌาน

9. จิตสติกำหนดการพังหายไปของอารมณ์ความคิดเป็นอารมณ์ของสติอยู่เสมอ จิตจะถอดถอนสัญญาภายในจิตออกตลอดเวลาในขณะเดียวกัน

10. ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้เองว่าอารมณ์ความคิดความนึกปรุงแต่ง แทบไม่เกิดขึ้นมา นานๆถึงจะเกิด แต่การเกิดในขณะนั้นคือแค่มันแวบๆ มันยังไม่เป็นอะไรมันก็ดับแล้วแค่มันขยับมันก็ดับแล้ว เพราะมีภาวะการเท่าทันอยู่เสมอ

11. จิตมีความว่างเป็นอารมณ์จิตที่ตั้งมันกำหนดรู้ความว่าง เป็นอารมณ์จิตก็สามารถเข้าไปทรงอยู่ในอรูปฌาน 4 รูปฌานสี่ ได้ในขณะนั้นเรียกว่า ได้สมาบัติ8 ขึ้นมาในขณะนั้นอันนี้คือของแถมเฉยๆ อย่าหลงนะ และต่อจากนั้นจิตทรงอยู่อย่างนั้น จิตมีความชำนาญในการเข้าออก พอออกมาก็มาอยู่ในข้อที่ 10 เหมือนเดิม และเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือจะเข้าไปพังในอารัมมณูปนิชฌาน พอออกมาก็มาอยู่ในลักขณูปนิชฌาน ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ชื่อว่าได้สมาบัติ หรือได้สมาธิสองแบบ

12. พอจิตเป็นอย่างนั้นแล้วจิตจะมีความรู้มากขึ้นคือความรู้ภายในเช่นรู้ความรู้สึกคนอื่น หรือเห็นเรื่องที่มันยังไม่เกิดก่อน และรู้จิตคนอื่นหรือได้ยินคนอื่นคุยกัน หรือบางครั้ง มองทะลุกำแพง และก็ยังมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์เสมอ อันนี้ได้ชื่อว่า จิตมีอภิญญาเรียกว่า “ อภิญญาจิต “

13. ในขณะของจิตหยั่งทราบเหตุให้เกิดทุกข์ตลอดเวลาและวางอยู่เป็นเสมอภายในจิตตรงนี้ ท่านเรียกว่ารู้จักทำอาสวะให้สิ้นหรือเรียกว่า อภิญญา ข้อที่6

14. เป็นอิสระจากอวิชชา มีนิโรธเป็นที่ตั้ง คือดับทุกข์ไม่มีเหลือ โดยแจ้งแล้วในใจตลอด และเป็นพระอริยขึ้นมาเรียกว่าได้ ปฏิสัมภิทา พร้อมสมาบัติ8 และอภิญญา 6

กล่าวถึงภาคการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติ

โอวาทธรรม พระชินวัตร ฐิตโสภโณ (ครูบาแหวง)






“ใครจะว่าเราดีเราชั่วนั้น
ไม่ใช่อยู่ที่คนพูด แต่อยู่ที่
การกระทำของเราต่างหาก
ถ้าหากเขาว่าเราดี แต่เราไม่ดีจริง
ก็ไม่มีความหมาย”

หลวงพ่อเกษม เขมโก







• ความหมายของคำว่า..กรรมฐาน •

ถ้าเรียกว่า "กรรมฐาน"เฉยๆเขารวมเรียกทั้ง"สมถะและวิปัสสนา" โปรดทราบไว้ด้วยนะว่าคำว่า "กรรมฐาน" ถ้าพูดถึงเจริญกรรมฐานเฉยๆ เขารวมทั้งสมถะด้วยวิปัสสนาด้วย ถ้าจะแยกออกก็ต้องเรียก "สมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา"

รวมความว่า การเจริญพระกรรมฐานต้องครบทั้งองค์ ๓ ประการคือ "ศีล สมาธิ และปัญญา" จะไปแยกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

การสมาทานศีลไปแล้ว จิตคำนึงอยู่เป็นปกติ ไม่ยอมให้ศีลคลาดไปจากจิตอย่างนี้ เขาจึงจะเรียกว่าเจริญกรรมฐานในด้าน "สีลานุสสติกรรมฐาน" ถ้าพวกลูบคลำศีลไม่เกี่ยว

"ลูบคลำศีล" ก็หมายความว่า ต้องการสมาทานจากพระ ต้องการให้พระให้ศีล พอลุกจากที่ศีลหล่นอย่างนี้เขาเรียกว่า "ลูบคลำศีล" หรือใจหล่นจากศีล

ถ้าจิตคำนึงถึงศีลอยู่เป็นปกติ เราจะไม่ยอมให้ศีลพร่องไปจากจิตอย่างนี้ถ้าแม้ว่าเราไม่หลับตาเลย อย่างนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ทรงฌานใน "สีลานุสสติกรรมฐาน"

คำว่า "ฌาน" ไม่ได้หมายถึงว่าหลับตา
"ฌานัง" แปลว่า "การเพ่ง" คืออารมณ์ตั้งอยู่ในจุดนั้นโดยเฉพาะ ชื่อว่า "ฌาน" ถ้าเราจะใช้ศัพท์ภาษาไทยจริงๆ ก็คือว่าจิตคิดถึงเรื่องนั้นจนชิน จนกระทั่งไม่ลืม อย่างนี้ถือว่า "ฌาน"

ก็รวมความว่า การเจริญกรรมฐานต้องอาศัยเหตุ ๓ ประการร่วมกันคือ "ศีลต้องบริสุทธิ์ สมาธิต้องทรงตัว" คำว่า "วิปัสสนาญาณ" คือใช้ปัญญารู้ตามความเป็นจริง เรียกว่าไม่ใช้อารมณ์ฝืนความจริงไอ้ที่เราเป็นทุกข์ทุกวันนี้เพราะอารมณ์เราฝืนความเป็นจริง

เกิดมามันต้องแก่ เราก็ไม่อยากแก่ เกิดมาเราต้องป่วย มันไม่อยากป่วย พอป่วยขึ้นมาแล้วจิตใจไม่สบาย พอแก่ขึ้นมา จิตใจก็ไม่สบาย เพราะเราไม่ชอบ

เราเกิดมาเพื่อความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ในเมื่อถึงการพลัดพรากจากของรักของชอบใจจริงๆก็เสียใจ ไม่ชอบ

แล้วเราเกิดมาเพื่อตาย พอความตายเข้ามาถึง พอพูดถึงความตายก็หนักใจ ไม่อยากจะตาย มันก็เป็นทุกข์ ใช่ไหม

ถ้าเราไม่ฝืนมันเสียอย่างเดียว รู้ตัวไว้เสมอว่าเราเกิดมาเพื่อแก่ เกิดมา ๑ วันมันก็แก่ไป ๑ วัน เกิดมา ๑ เดือน มันก็แก่ไป ๑ เดือน เกิดมา ๑ ปี มันก็แก่ไป ๑ ปี มันแก่ทุกวัน ความแก่หรือกาลเวลาที่เคลื่อนไปมันหมายถึงว่า "เคลื่อนไปหาความตาย"

ก็รวมความว่า เราเกิดมาเพื่อแก่ เพื่อป่วย เพื่อพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เพื่อตาย ก็ต้องจำไว้เสมอว่า ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์สักกี่ครั้งมันก็มีสภาพแบบนี้ และการเกิดแต่ละชาติ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน แต่ละวันนี่ทุกคนมีแต่ความทุกข์ จะหาความสุขจริงๆมันไม่ได้

#หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
หนังสือธัมมวิโมกข์๑๕๑ก.ย.๓๖ หน้า ๔๗-๔๘







คิดดี พูดดี ทำดี เป็นศรีเป็นพรสูงสุดไม่มีพรเทพ พรมนุษย์
เปรียบประดุจ “ความดีที่ทำเอง”

-สมเด็จพระญาณสังวร ฯ-
ตอบกระทู้