พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 21 ต.ค. 2023 6:50 am
“ หลักของสติ “
…หลักของสติก็คือ ปัจจุบัน ให้จิตอยู่ในปัจจุบัน อยู่กับการกระทำของร่างกาย ถ้าอยู่กับการกระทำของร่างกายก็จะมีสติ ถ้าปล่อยให้ร่างกายอยู่ไปตามลำพัง ส่วนจิตไปคิดเรื่องอื่นก็จะไม่มีสติ ถ้าไม่มีสติก็จะไม่สามารถทำใจให้สงบได้ เพราะใจไม่อยู่กับที่ ไปที่โน่นมาที่นี่ คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้
.พวกเรามีสติกันน้อยมาก มีพอกับการดำรงชีพ มีสติอยู่กับการกระทำเพียงแวบเดียว แล้วก็ไปคิดเรื่องอื่น แล้วก็กลับมาที่การกระทำ ไม่ได้อยู่กับการกระทำอย่างต่อเนื่อง ใจจึงไม่นิ่ง มีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น ตามความคิดปรุงแต่งต่างๆ .
…………………………………………
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
จุลธรรมนำใจ ๒๖ กัณฑ์ที่ ๔๒๗
วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๔
"..ต่อไปนี้ญาติโยมทุกคนทั้งหญิงทั้งชาย เฒ่าแก่ เด็กเล็กเด็กน้อยก็ตาม (ให้) พากันสวดมนต์ทำวัตรทั้งเช้าทั้งเย็น ให้ผู้ใหญ่ในครอบครัว พ่อแม่เป็นผู้พาทำ ทำที่บ้านใครบ้านมัน ทำทุกครัวเรือน ถ้าทำได้อย่างนี้จะเป็นบุญเป็นกุศลแก่พวกเรา ความเดือดร้อนต่าง ๆ มันก็จะหายไปเอง.."
ภูริทตฺตธมฺโมวาท
พระครูวินัยธร(หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร(พ.ศ.๒๔๑๓–๒๔๙๒)
“คงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะรักกัน
แต่ทุกคนก็งดเว้นจากการเบียดเบียนกันได้
ถึงจะไม่รักกัน เราก็เคารพซึ่งกันและกันได้
แล้วอย่างน้อย ก็ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน”
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
"การรู้ธรรมในขั้นพระโสดาบัน
และการปฏิบัติ เพื่อบรรลุอรหัตตมรรค
การรู้...โดยไม่คิดนั่นเอง
คือ การเดินวิปัสสนาที่ละเอียดที่สุด
ตราบใดที่ยังเห็น ว่า...
จิต คือตัวเรา เป็นของ ของเรา เราที่ต้อง
ช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้น...
ตัณหา หรือสมุทัย ก็จะสร้างภพของจิตว่าง
ขึ้นมาร่ำไป
ขอย้ำว่า...
ขั้นนี้จิต จะดำเนินวิปัสสนาเอง
ไม่ใช่ ผู้ปฏิบัติจงใจกระทำ
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า...
ไม่มี ใครเลยที่จงใจ หรือตั้งใจบรรลุมรรคผล นิพพานได้ มีแต่...
จิต เค้าปฏิวัติตนเอง เท่านั้น
การรู้ธรรม ในขั้นพระโสดาบัน
และการปฏิบัติ เพื่อ...บรรลุอรหัตตมรรค
เมื่อจิต ทรงตัวรู้...แต่ ไม่คิดอะไรนั้น
บางครั้ง...
จะมีบางสิ่งผุดขึ้นมา สู่...ภูมิรู้ ของจิต
แต่จิต...ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่า...มันคืออะไร
เพียงแค่ รู้...เฉยๆ ถึงความเกิด-ดับ นั้น...
เท่านั้น
ในขั้นนี้...
เป็นการเดินวิปัสสนา ขั้นละเอียด ที่สุด
ถึงจุดหนึ่ง...จิต จะก้าวกระโดดต่อไปเอง
การเข้าสู่มรรคผล นั้น...
รู้...มีตลอด แต่...ไม่คิด และไม่สำคัญมั่นหมาย ในสังขารละเอียด ที่ผุดขึ้นมานั้น...
บางอาจารย์จะสอนผิดๆ ว่า...
ในเวลาบรรลุมรรคผล จิตดับ ความรู้หายเงียบ
ไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า..."นิพพานัง
ปรมัง สูญญัง" สูญ อย่างนั้น...
เป็นการสูญหายไปแบบ"อุทเฉทฐิฏฐิ"
สภาพของมรรคผล ไม่ได้ เป็นเช่นนั้น
การที่จิตดับความรู้นั้น...เป็นภพชนิดหนึ่ง
เรียกว่า..."วิสัญญี" หรือที่คนโบราญเรียก
ว่า...พรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
เมื่อจิต...ถอยออกจากอริยมรรค
เเละอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า...ธรรม เป็นอย่างนี้...
สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป
ธรรมชาติบางอย่าง มีอยู่...แต่...ก็ไม่มี
ความเป็นตัว ตน สักอณูเดียว
นี่เป็นการรู้ธรรม ในขั้นของพระโสดาบัน
คือไม่เห็น ว่า...สิ่งใด สิ่งหนึ่ง
แม้...แต่ตัวจิตเอง เป็นตัวเรา แต่...ความยึดถือ ในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะ...
ขั้นความเห็น กับความยึดนั้น...มันคนละขั้นกัน
เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติ ว่า...
พระโสดาบันแล้ว ผู้ปฏิบัติ ยังคงปฏิบัติอย่าง
เดิม นั่นเอง
แต่ตัวจิต ผู้รู้
จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุ
พระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้...จะเด่นดวงเต็มที่
เพราะพ้นจากอำนาจ ของ...กาม
การที่จิตรู้ อยู่...กับจิตเช่นนี้ แสดงถึงกำลังของ...สมาธิ อันเต็มเปี่ยม
เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิ
คือ...กาม
ได้ถูกล้างออก จาก...จิต หมดแล้ว
ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้...หากตายลง
จึงไปสู่พรหมโลกโดยส่วนเดียว ไม่สามารถ
กลับมาเกิดในภพ ของมนุษย์ได้อีกแล้ว
นักปฏิบัติจำนวนมาก ที่ไม่มีครูบาอาจารย์
ชี้แนะ จะคิดว่า...เมื่อถึงขั้นที่จิต ผู้รู้...หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มี ทางไปต่อแล้ว
แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไป
อีกว่า...
พบ ผู้รู้ ให้ทำลาย ผู้รู้
พบ จิต ให้ทำลาย จิต
จุดนี้...
ไม่ใช่ เล่นสำนวนโวหาร ที่จะนำมาพูดเล่นๆ
ได้
ความจริง ก็คือ...
สอนว่า...ยังต้องปล่อยวาง ความยึดมั่นจิต
อีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจน
ผู้ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่า...มีอะไรจะต้อง
ปล่อยวางอีก
เพราะความจริงตัวจิต ผู้รู้...นั้น
ยังเป็นของที่ตกอยู่ในอำนาจของ ไตรลักษณ์
บางครั้ง...
ยังมีอาการหมองลงนิดๆ พอให้สังเกตเห็น
ความเป็นไตรลักษณ์ ของมัน
แต่ผู้ปฏิบัติ ที่ได้รับการอบรม
เรื่องจิต มาดีแล้วจะเห็นความยึดมั่นนั้นแล้ว
ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่...รู้ทัน...เท่านั้น
จิต จะประคองตัวอยู่ที่รู้ โดยไม่คิดค้นคว้า
อะไร มันเงียบสนิท จริงๆ
ถึงจุดหนึ่ง...
จิต...จะปล่อยวาง...ความยึดถือจิต
จิต...จะเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยว
กับอารมณ์ใดๆ ที่จะพาไปก่อเกิด ได้อีก
แยกรูป ถอด คือ...
ความคิดปรุงแต่ง สู่...ความว่าง
แยกความว่าง สู่...มหาสูญญตา."
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปูดูลย์ อตุโล)
ที่มา : ข้อธรรมจาก พุทธมหาเจดีย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ภูผาแดง
“คงเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะรักกัน
แต่ทุกคนก็งดเว้นจากการเบียดเบียนกันได้
ถึงจะไม่รักกัน เราก็เคารพซึ่งกันและกันได้
แล้วอย่างน้อย ก็ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน”
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.