พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 18 พ.ย. 2023 7:32 am
…เวลาของเราจะมีน้อยลงไปเรื่อยๆ
ถ้าไม่รีบทำเสียตอนนี้
พอเวลาของเราหมดก็จะไม่ได้ทำ
จะไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้บำเพ็ญต่ออีกเมื่อไหร่
เวลาของเราๆก็ไม่รู้ว่าเหลือมากน้อยเพียงไร
เพราะไม่ได้เป็นของตายตัว
ไม่ได้เป็นว่าทุกคนจะมีอายุถึง ๘๐ ปีทุกคน
บางคนอาจจะไปไม่ถึง ๘๐
บางคนอาจจะเลย ๘๐
ไม่มีใครรู้ว่าจะไปถึงเท่าไหร่
แต่สิ่งที่ควรคำนึง
หรือคิดไว้เพื่อความไม่ประมาทก็คือ
คิดว่าของเราอาจจะหมดในวันนี้ก็ได้
หรืออาจจะหมดพรุ่งนี้ก็ได้
ถ้าคิดอย่างนี้ ก็จะไม่ปล่อยเวลาอันมีค่า
นี้ให้ผ่านไปโดยไม่ได้บำเพ็ญภาวนา.
…………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
จุลธรรมนำใจ ๑๔ กัณฑ์ที่ ๓๘๓
“ ศาสนาแท้ คือการศึกษาพระธรรมวินัย แล้วปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ยิ่งจิตใจสงบ สงบอยู่ในศีล สงบอยู่ในธรรม ยิ่งถูกต้อง นี่แหละคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง “
โอวาทธรรมหลวงปู่เดช ฌานรโต
"เราไปที่ใด เกิดที่ใด ผลทานที่เราให้ไปนั่นแหละ
จะตามสนับสนุนเราให้เป็นคนมีความสุขความเจริญ
นึกอะไรก็ไหลมาเทมา เพราะเราเคยให้มาแล้ว
สิ่งที่ให้ไปนั้นคือมิตร คือสหาย สิ่งที่พึ่งเป็นพึ่งตาย
ของเรา เมื่อเรานึกถึงผลทานย่อมไหลมาเทมา
เมื่อนึกถึงบุญต้องมา
เพราะเป็นของของเราที่เคยสร้างไว้แล้ว
ให้ไปแล้วต้องกลับมาสนองตัวเรา โดยไม่ต้องสงสัย"
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
“อภัยทานนี้ เป็นคุณแก่ผู้ให้ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ
เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คือ
อภัยทาน หรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใส พ้นจากการ
กลุ้มรุมบดบังของโทสะ
โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธ
เพราะให้อภัยไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเอง
เป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด
แต่โกรธแล้วหายโกรธ เพราะคิดให้อภัย
เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับ
ของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
"พิจารณาให้เห็นตามเรื่องของธาตุของขันธ์ว่า
เรามาอาศัยเขาอยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น
เดี๋ยวธาตุก้อนนี้มันจะแตกสลายแปรสภาพอยู่แล้ว
แต่ในระยะนี้เราไม่ตื่นตกใจอะไรหรอก
โน้นเวลาเจ็บ เวลาป่วย เวลาไข้ขึ้นมา
ใกล้จะตายขึ้นมานั้นหละ จึงจะรู้สึกตัวจึงกลัว"
หลวงปู่ศรี มหาวีโร
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.