นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 7:03 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สภาวะธรรม
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 19 ม.ค. 2024 7:20 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4806
"เมื่อเรามีโอกาส และเวลา
คุณงามความดีใดๆ ในโลก
พอจะสามารถ และมองเห็น
เราก็ควรจะต้องรีบขวนขวาย
พยายามทำความดีนั้นเสียโดยเร็ว
ถ้าความตายเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้
เราจะไปเอาอะไร ไม่มีอะไรสักอย่าง"

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร





"ให้ระมัดระวังการกระทำของเรา
อย่าทำสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ดี
เป็นการทำลายตัวเอง
ต้องได้คิดได้อ่านเสียก่อนจะทำอะไร
เพราะทำแล้วไม่หายไปไหน
บาปกับบุญมันติดอยู่กับผู้ทำนั่นละ
ให้พากันระวังให้ดี”

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน








หมั่นสวดมนต์
พูดแต่สิ่งที่ดี...สิ่งที่เป็นมงคล
ไม่นินทาว่าร้าย
ไม่พูดสิ่งที่เป็นอัปมงคล
ถ้าทำได้เช่นนั้นบ้านนั้น
ก็จะมีแต่ ความเป็นมงคล

#โอวาทธรรม #หลวงพ่อลี






"การภาวนา...
จึงเป็นงาน เพื่อ...ผลในปัจจุบัน และอนาคต
การงานทุกชนิด
ที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนา จะสำเร็จลงด้วย
ความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ เล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ

เป็นผู้มีหลัก มีเหตุผล
ถือหลักความถูกต้อง เป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยาก อันไม่มีขอบเขต เข้ามาเกี่ยวข้องเพราะความอยากดั้งเดิม...
เป็นไปตามอำนาจ ของกิเลส ตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิดถูก ดีชั่ว พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วน ประมาณไม่ถูก
จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย

ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้ว
ของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย
ไม่มี...วันฟื้นคืนตัวได้

ฉะนั้นการภาวนา...
จึงเป็นเครื่องหักล้าง ความไม่มีเหตุผลของตน
ได้ดีวิธีภาวนานั้น...
ลำบาก เพราะ...เป็นวิธีบังคับใจ."
________________________
(หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)







"...หัดสังเกตจิตใจตนเองทุกวันๆ สังเกตบ่อยๆ
หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ตัวสมาธิคือตัวที่จิตตั้งมั่น
รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ มันเกิดถี่ขึ้นๆ มันมีกำลังมากขึ้น
ปัญญามันก็จะเกิด มันจะเห็นเลยว่า จิตรู้ก็ไม่
เที่ยง จิตหลงก็ไม่เที่ยง จิตรู้ก็ควบคุมไม่ได้
จิตหลงก็ห้ามไม่ได้ เราเห็นความจริงของจิต
จะรู้เลยว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ล้างความเห็นผิด
ว่าจิตเป็นตนได้ เราจะได้ธรรมะขั้นแรก
ได้เป็นพระโสดาบัน..."

#โอวาทธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕







จิตใจนี้ ก็เหมือนกัน
ที่มันผลิต ที่มันสร้างปัญหา
เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยขึ้นมานี่
มันมาจาก กิเลสนั่นแหละ
มันก็สร้างให้ผลิต
ความหลง ความโลภ ความโกรธ

ความไม่รู้ ความยึดมั่นถือมั่น
ทำให้เกิดการปรุงแต่ง
ปรุงแต่งก็คือมันตรึกนึกมันผลิต
จะเรียกว่ามันผลิต
ถ้าเป็นการสร้างวัตถุสิ่งของเขาเรียกผลิต
แต่ว่าในจิตใจท่านใช้ คำว่าปรุงแต่ง

ปรุงแต่งเหมือน กับเราทำอาหาร
เราก็ต้องปรุงแต่ง ปรุงแต่งรสชาติ
เราปรุงแต่งยังไง
ก็ต้องเอาสิ่งโน้นใส่สิ่งนี้ใส่
กวนไปกวนมา ปรุงแต่งทั้งหมด
มันจึงได้รสชาติอาหารไปต่าง ๆ
เป็นแกงส้ม แกงเขียวหวาน
เป็นแกงอะไรต่ออะไร
แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาปรุง
มันจึงเกิดเป็นอาหารต่าง ๆ

จิตนี้ก็เหมือนกัน มันเกิดทุกข์
เกิดโทษเกิดภัยเกิดความเดือดร้อน
ราคะ โทสะ โมหะ อะไรขึ้นมา
มันก็เกิดจากความปรุงแต่งขึ้นในจิตใจ
มันตรึกมันนึกมันสร้างสรรค์มันผลิต
ถ้าหากไปดูทัน
ไปรู้ตรงเข้าไปถึงจุดของจิตใจ
ที่กำลังปรุงแต่งอยู่ สลายได้
ความปรุงแต่งก็จะสลายตัว

พอจะผลิต พอจะปรุงขึ้นมารู้ทัน รู้ทัน
สลายไป เมื่อสลายไป
มันก็ไม่เกิดอะไรขึ้น
หรือว่าที่มันเกิดอยู่แล้ว
เหตุปัจจัยที่จะทำให้มันเกิด
สืบสายต่อเนื่องยืดยาวมันก็ตัดขาดลง
อาการที่มันเป็นอยู่ก็จึงคลายตัวลงไป
หรือว่าแสดงอาการดับวูบลงไปให้เห็น

ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ ที่คมกล้าจริงๆ
มันก็สามารถจะแสดงความดับทันที
ให้เห็นก็ได้ มันจะรู้สึกว่ามัน หวูบลงไป
สลายลงไปหรือเบาลงมาก็เห็นมันจางลง
ความโกรธก็ดี ความกลัวก็ดี
ราคะก็ดีมันจางลงๆ ก็ยังรู้อยู่
รู้อยู่จนกระทั่งมันหายไป สลายไป
ใจก็ว่างเปล่า แต่มันก็ไม่หยุดยั้งนะ
จิตนี้มันก็คอยจะปรุงอีก

.............................

‪‎ธัมโมวาท‬ โดยพระวิปัสสนาจารย์
‪‎ท่านเจ้าคุณ‬ ‪‎พระภาวนาเขมคุณ‬
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา






ธรรมะอรุณสวัสดิ์...รับวันใหม่
.............................
#หลักของวิปัสสนาข้อที่๑
#ระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ

ระลึกรู้มาที่กาย
ถ้าในใจเห็นเป็นรูปร่าง หน้าตา รูปทรงความหมาย
มันยังเป็นบัญญัติ เป็นสมมติ

ต้องรู้ไปถึงความรู้สึก
ความไหว ความกระเพื่อม
แข็ง อ่อน ร้อน เย็น สุข ทุกข์
อันนี้ถึงจะเป็นตัวสภาวะ

ถ้ามันมีทั้งรูปร่าง มีทั้งความรู้สึก
มันก็จะมีสมมติบ้างปรมัตถ์บ้าง
บัญญัติ ปรมัตถ์

จนกระทั่งมันทิ้งสมมติ
ไม่มีรูปร่างในใจ มีแต่ความรู้สึก
ไม่มีภาษา ไม่มีรูปร่าง ไม่มีความหมาย
มีแต่ความรู้สึก
ก็คือเรียกว่าอยู่กับปรมัตถ์ล้วน ๆ ของจริงล้วน ๆ
บอกไม่ได้ว่านั่งอยู่ที่ไหน เป็นใคร
อย่าไปตกใจ

การบอกได้คือเอาสมมติเข้ามาเติม
อยู่กับสภาวะจริง ๆ มันจะไม่รู้เลยว่านั่งอยู่ตรงไหน เป็นใคร
แต่มีสภาวะอยู่
อย่างน้อยก็มีจิตใจ
มีจิต มีตรึก มีนึก มีความรู้สึกอยู่
ให้รู้ไปที่จิตใจอย่างนี้

#หลักวิปัสสนาข้อที่๒
#วางใจให้ถูกต้อง

วางใจที่ถูกต้อง คือวางใจอย่างไร?
วางใจเป็นกลาง
กลางของอะไร?
ทางซ้ายทางขวา ยินดียินร้าย
ซ้ายยินดี ขวายินร้าย
เป็นกลางก็คือ อยู่ระหว่างไม่ยินดีไม่ยินร้าย
กำหนดดูอะไรก็เฉย ๆ
วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
แนวทางที่ถูกต้องต้องเป็นอย่างนั้น

เจอฟุ้ง ก็รู้ฟุ้งเฉย ๆ ไม่ว่าอะไร
อย่าไปโกรธเกลียด อย่าไปไม่ชอบชิงชัง
เจอปวด ก็รู้ปวดเฉย ๆ ไม่ว่าอะไร
อย่าไปอยากให้มันหายหรือไปโกรธไปเกลียด
ดูอะไรให้วางใจเฉย ๆ

กำหนดลมหายใจก็วางใจเฉย ๆ
กำหนดการยืน เดิน นั่ง นอน ก็วางใจเฉย ๆ ไม่ยินดีร้ายด้วย

เจอเสียงหนวกหูมา ก็รู้เสียง
สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ยินร้าย วางเฉย
เจอรสอาหารอร่อยก็วางเฉยหรือยินดี?
ยินดีก็เป็นโลภะ เป็นราคะ รสตัณหาอีก
ให้วางเฉย
เจอความสุขก็รู้ความสุข
เจอปีติ รู้ปีติเฉย ๆ
วางใจเป็นกลาง วางเฉยเป็นอย่างดี ไม่ยินดียินร้ายได้ไหม
ฝึกไป
ดูความฟุ้งอย่างวางเฉย
ดูความปวดอย่างวางเฉย

ในกรณีที่ปวด
จะฝึกจะวางใจอย่างไร? จะทำใจอย่างไร?
มันมีแบบประจัญบาน กับแบบชั้นเชิง
จะเอาอันไหน?

ประจัญบานก็ปวดตรงไหนก็ดูไปตรงนั้น
ดูปวดในปวด
ในปวดมันจะมีแรง มีค่อย
แต่มันจะทรมานเยอะ
เอาจิตเข้าไปดู มันจะเสวยอารมณ์นั้นมาก
มันก็จะปวดมาก
แต่อาศัยทน ดูความเปลี่ยนแปลงในนั้น
นั่งไปเป็นชั่วโมง ๆ ก็หายปวด
แต่มันจะผ่านทารุณเยอะ
ก็ดับได้
ตอนหลังก็เจอปวดอื่น ๆ ก็เรื่องเล็กแล้ว
เพราะมันเจอปวดใหญ่
มันจะเจ็บตัวเยอะ
บางทีก็บาดเจ็บ

วิธีที่ ๒ ก็คือชั้นเชิง
ไม่ไปเพ่งความปวด
แต่ไประลึกรู้อย่างอื่น
ไปดูลมหายใจเข้าออก
ไประลึกรู้ดูจิตใจ
โดยเฉพาะกำหนดดูใจ แล้ววางเฉย
ฝึกจิตให้วางเฉย

ปวดแล้วทำใจเฉย ๆ ได้ไหม?
เป็นไปได้ไหมที่ขาปวด แต่ใจเฉย?
โยมว่ามันเป็นไปได้ไหม?
ถ้าเชื่อว่าเป็นไปได้ก็ลองฝึกไป
เราก็คนหนึ่งเหมือนกัน
ต้องคิดอย่างนั้น
มันเป็นได้ก็ฝึกได้ เราก็คนหนึ่ง
ปวดไม่ต้องไปสนใจมัน ไม่ต้องไประแวงระวัง
ปล่อยมัน

สอนใจ
ปวดไม่ใช่เรา ปวดไม่ใช่เรา ปล่อย
ดูใจ รักษาใจ วางเฉย ปล่อยวาง วางเฉย
ฝึกแล้วฝึกอีก ใจมันก็จะมีโอกาสวางเฉยเป็น
แล้วก็จะเห็น เกิดปัญญารู้เห็นว่า
ความปวด … กับจิตใจที่รู้ปวด … เป็นคนละอย่างกัน
มันเห็นปวดเป็นอย่างหนึ่ง จิตใจเป็นอย่างหนึ่ง
นี่เป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๑ แยกสภาวะ

ฝึกสูงขึ้นไป
เห็นปวดไม่เที่ยง ปวดไม่ใช่ตัวเราของเรา
จิตใจไม่เที่ยง จิตใจไม่ใช่ตัวเรา
มันก็เป็นญาณปัญญาวิปัสสนาสูงขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้นต้องฝึก

#หลักวิปัสสนาข้อที่๓
#พิจารณาตามความเป็นจริง
กำหนดดูอะไร ก็สังเกตพิจารณาดูว่า
มันเปลี่ยนแปลงไหม มันหมดไปดับไปไหม
เปลี่ยนแปลงก็คืออนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนตลอด
ทุกขัง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เกิดดับ
อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
ก็จะเป็นญาณปัญญาของวิปัสสนา

วิปัสสนาจะเห็นอย่างนี้
จะเข้าไปรู้เห็นถึงความไม่เที่ยง
ความเปลี่ยนแปลงเกิดดับ
ความไม่ใช่ตัวเราของเรา
เป็นปัญญารู้เห็นอย่างนี้
ถ้ารู้เห็นอย่างนี้มาก ๆ ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัด
เมื่อคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้น

วิปัสสนาต้องมีญาณรู้เห็น
ปัญญาที่รู้เห็นแจ้ง ก็คือรู้เห็นตามความเป็นจริง
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

ถ่ายทอดสด พระธรรมเทศนา
คอร์สกรรมฐานสั้นเทศกาลปีใหม่ (๒๙-๑๒-๖๖)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 117 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO