” สวยไม่สร่าง บานไม่รู้โรย “
…ต่อให้สวยทางร่างกายขนาดไหน เดี๋ยวไม่นานมันก็หนีความแก่ไม่พ้น
.เดี๋ยวต่อไปผมก็ต้องหงอก หนังก็ต้องเหี่ยว หลังก็ต้องค่อม แล้วตอนนั้นความสวยงามหายไปหมดแล้ว
.แต่ถ้ามีศีลอยู่ แก่ขนาดไหนก็ยังน่ารักอยู่เหมือนเดิม ศีลนี่เป็นความสวยแบบสวยไม่สร่าง ถ้าเป็นดอกไม้ก็บานไม่รู้โรย
.”ต้องสวยที่ศีล อย่าไปสวยที่เสื้อผ้าอาภรณ์“
………………………………………… . พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๑
หลวงพ่อชาเล่าว่า... ท่านเคยไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่กินรี
หลวงพ่อชาตั้งใจปฏิบัติมาก เดินจงกรม และ นั่งสมาธิทั้งวัน แต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่า หลวงปู่กินรีวัน ๆ ไม่ค่อยเดินจงกรม ไม่ค่อยนั่งสมาธิเลย ทำโน่นทำนี่ เกือบตลอดเวลา แล้วท่านจะเห็นอะไร แต่หลังจากที่ได้อยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่นาน ๆ และได้ฟังธรรมอันลุ่มลึกจากท่าน
หลวงพ่อชาก็รู้ว่า เป็นความเขลาของท่านเองที่คิดเช่นนั้น ท่านพูดถึงบทเรียนที่ท่านได้ จากประสบการณ์ครั้งนั้นว่า
“เรามันคิดผิด หลวงปู่ท่านรู้อะไร ๆ มากกว่าเราเสียอีก คำเตือนของท่านสั้น ๆ และไม่ค่อยมีให้ฟังบ่อยนัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึก แฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์กว้างไกลเกินปัญญาเราเป็นไหน ๆ
-ตัวแท้ของการปฏิบัติ คือ ความพากเพียร กำจัดอาสวกิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอกของครูบาอาจารย์เป็นเกณฑ์”
ท่านมาได้ตระหนักชัดอีกครั้งว่า...
- การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ
- แต่อยู่ที่การวางใจให้ถูกต้อง
- ไม่ว่าทำอะไร...ก็สามารถเป็นการภาวนาได้
คราวหนึ่งท่านนั่งปะชุนจีวรที่ขาดวิ่น ใจนั้นนึกถึงการภาวนาอยู่ตลอดเวลา อยากรีบปะชุนให้เสร็จเร็ว ๆ เพื่อจะได้ไปภาวนาต่อ
ขณะนั้นเองหลวงปู่กินรีเดินผ่านมา สังเกตเห็นอาการของพระหนุ่ม จึงพูดขึ้นมาว่า
“ท่านชา จะรีบร้อนไปทำไมเล่า”
“ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ ครับหลวงปู่”
“เสร็จแล้วท่านจะทำอะไรล่ะ”
“จะไปทำอันนั้นอีก”
“ถ้าเสร็จอันนั้นแล้ว ท่านจะทำอะไรอีกล่ะ”
“ผมก็จะทำอย่างอื่นอีก”
“เมื่อทำอย่างอื่นเสร็จแล้ว ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า”
เมื่อเห็นว่า ใจของหลวงพ่อชา ไม่ได้อยู่กับงานที่กำลังทำ แต่คิดถึงงานชิ้นอื่น ๆ ที่อยู่ข้างหน้า และรีบร้อนจะทำให้เสร็จไว ๆ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อไปภาวนาต่อ
หลวงปู่กินรีจึงเตือนว่า... “ท่านชา ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้าผืนนี้ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่าเป็นอย่างไร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด ความอยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตนอีก”
คำพูดของหลวงปู่กินรี กระตุกใจของหลวงพ่อชาอย่างแรง ทำให้ท่านได้สติ และ เกิดความเข้าใจชัดเจนว่า...
- ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร ก็ภาวนาได้ทั้งนั้น ขอให้หมั่นดูใจของตนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม -
นี้เป็นบทเรียนที่ประทับใจท่านมาก และถือเป็นหลักปฏิบัติของท่านตลอดมา เมื่อท่านไปตั้งสำนักปฏิบัติธรรมที่หนองป่าพง จึงทำให้มีกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง และมีเรื่องเล่าว่า ตอนนั้นหลวงพ่อชาอายุมากแล้ว มีเด็กหนุ่มมาถามท่านว่า...ทำไมพระจึงไม่นั่งสมาธิ พอหลวงพ่อชาได้ฟังน้ำเสียงแล้วรู้ว่า ไม่ได้ถามเพราะต้องการคำตอบที่แท้จริง ท่านจึงตอบว่า
“นั่งอย่างเดียวมันถ่ายไม่ออกว่ะ จะนั่งอย่างเดียวก็ไม่ได้ มันต้องปฏิบัติ กับการทำงานด้วย” และท่านก็บอกว่า...
- การปฏิบัติธรรมมันต้องมาดูกายและใจ ไม่ว่าทำอะไร ต้องให้รู้ทันกายและใจ ทำงานก่อสร้างก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้ อันนี้สำคัญมาก เดี๋ยวนี้นักปฏิบัติธรรมจำนวนมากคิดอย่างเดียวว่า เวลาปฏิบัติธรรมจะต้องเข้าวัด จะต้องหลบลี้หนี้หน้าผู้คน โดยไม่คิดว่า...
- การอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติธรรมได้ -
อยู่บนท้องถนน รถติดก็กำหนดลมหายใจไปด้วย หรือ เวลาเจอไฟแดง หงุดหงิดขึ้นมา...ก็ปฏิบัติธรรมได้ ถามว่าเวลารถติด ทำไมถึงหงุดหงิด นั่นก็เพราะใจมันไปอยู่ที่จุดหมายปลายทางแล้ว ใจมันอยู่ข้างหน้าแล้ว...
- ใจไม่อยู่กับปัจจุบัน -
จึงกลัวไปไม่ทัน กลัวไม่ทันประชุม เป็นต้น ดังนั้น -ให้พาใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน- จะตามลมหายใจด้วยก็ได้
การปฏิบัติธรรมก็คือ ติดไฟแดงทำอย่างไรจะไม่หงุดหงิด ทำอย่างไรเวลาถูกต่อว่าจะไม่หงุดหงิด เวลาเสียเงินจะไม่โมโห เวลาเงินหายก็หายแต่เงิน แต่ใจไม่หาย ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เรียกว่า...ปฏิบัติธรรมแล้ว!
เล่าโดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
"ทุกๆ คนทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆ ไปบ้าง ตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่างไร
ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูง และโยนสิ่งต่างๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ ใบหญ้าลงมา
ของที่มีน้ำหนักมาก ย่อมตกลงสู่พื้นดินก่อน ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่า หรือเบากว่า จะให้ผลตามหลัง"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
พวกเราเกิดมาภพนี้ชาตินี้ เขามาพูดจาหาเรื่องให้เรา ว่ากล่าวเรา มันก็คงเป็นวิบากกรรมของเรา เพราะพวกเราเกิดมาหลายภพหลายชาติ อาจเคยไปว่าคนอื่นเขา เขาก็แก้คืนบ้าง
แต่บางครั้งเขาอาจตั้งต้นใหม่ แต่ถึงเขาจะตั้งต้นใหม่ เราก็อย่าไปพยาบาทอาฆาตเขา ให้อภัย ถ้าเราให้อภัยแล้ว เรื่องทั้งหลายทั้งปวงก็จบลง ไม่มีอะไร
แต่ถ้าเราไม่ให้อภัย ผูกพยาบาทอาฆาตเขา เขากัดหางเรา เรากัดขาเขา กัดกันไปกัดกันมานัวเนียไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนหมากัดหมา
เวรย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร เวรจะระงับไม่ได้ ด้วยการจองเวร เพราะฉะนั้น พวกเราทุกท่าน อย่าไปจองเวรกับใครทั้งหมด
ให้อโหสิและให้อภัยและมีเมตตา ข้าพเจ้าจงเป็นสุข ผู้อื่นสัตว์อื่นวิญญาณอื่นทั่วไตรโลกธาตุก็ขอให้มีความสุขอย่างที่ข้าพเจ้าต้องการ อย่างที่ข้าพเจ้าปรารถนา ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ เราอยู่ที่ไหนก็เป็นสุขในใจ
ถ้าเรามีเมตตาอยู่ตลอด ถึงเขาจะก่ออย่างไรก็ไม่ติด เพราะเรามีน้ำคือเมตตาอยู่ในใจ เขาเอาไฟมาจี้ก็ดับไป แต่ถ้าเราไม่มี เขาจี้ขึ้นมาเราก็โพลงขึ้นมาสู้กัน
พวกเราอย่าไปผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรกับใครทั้งหมด ยินดีให้อภัย ให้พวกเราฝึกหัด หัดให้อภัยคนอื่นเขาให้ได้ นิดหน่อยก็ยังดี"
"สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นไปอยู่อย่างนี้ บางทีเขาก็มาเบียดเบียนเรา จะทําอย่างไรได้ ก็เรามาอยู่กับเขา เพราะเราก็ถูกขังอยู่ในตะกร้าใบเดียวกัน อยู่ในกรงเดียวกัน
ในโลกวัฏสงสารเดียวกัน จะไม่ให้กระทบกระเทือนกันเสียเลยก็เป็นไปไม่ได้ เมื่อกระทบกระเทือนกันแล้วก็อดทนอดกลั้น
แต่ถ้าอดทนอดกลั้นแล้วไม่ไหวก็เดินหนี ถ้าเดินหนียังไม่ไหว ก็ปิดหูตัวเอง ปิดใจตัวเองเข้าไปอีก พุทโธ พุทโธ สําทับเข้าไปอีก
อีกไม่นานต่างคนก็ต่างตายแล้ว ถ้าตายแล้วก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้ เขาก็เช่นเดียวกัน เขาก็ใช้กรรมของเขา เราก็ใช้กรรมของเรา ต่างคนต่างไป
เรามีอะไรไปนอกจากบุญกับบาป ไม่มีใครเอาอย่างอื่นไปได้ กระดูกของตัวเองก็ยังทิ้งไว้ในโลก ยศถาบรรดาศักดิ์ไม่ต้องพูดถึง ขนาดกระดูกยังเอาไปด้วยไม่ได้ คิดอะไรมาก
มันวางที่ใจนะ พยายามฝึกหัดวางที่ใจ ปล่อยวางที่ใจได้ ถึงจะวางไม่ได้ตลอดก็เถอะ วางได้ชั่วขณะหนึ่ง ก็เป็นบุญเป็นคุณอย่างมาก"
"สิ่งไหนก็ตาม ถ้ามีอยู่ในจิตใจก็อโหสิให้ซึ่งกันและกัน อย่าถือโทษโกรธเคืองให้กับใครทั้งหมด
ถ้าถือโทษโกรธเคือง เราก็เดินทางไม่ถึงไหน เพราะจิตใจของเราไปเกาะเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นอยู่
แต่ถ้าเราไม่เกาะเกี่ยว เราก็เดินไปข้างหน้า เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือเพื่อมรรคผลนิพพาน
ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารตามแนวแถวของพระพุทธเจ้าที่ท่านอบรมแนะนําสั่งสอน
โอวาทธรรม หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
การปฏิบัติให้อยู่ในกายนี้ ... ในใจนี้ เพราะเรากลัวตัวเอง กลัวอยู่กับตัวเอง ก็ต้องเดินออกนอกอยู่ตลอดเวลา ซัดส่ายไปตามอารมณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา เลยเป็นทาสของสิ่งภายนอกอยู่ร่ำไป สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ เราก็ขึ้นๆ ลงๆ ตามความเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น จิตใจของเราก็ไหวกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา ไหวกระเพื่อมจนกระทั่ง เราถือความวุ่นวายว่าเป็นความปกติ
พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
หลวงพ่อชาเล่าว่า... ท่านเคยไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่กินรี หลวงพ่อชาตั้งใจปฏิบัติมาก เดินจงกรม และ นั่งสมาธิทั้งวัน แต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่า หลวงปู่กินรีวัน ๆ ไม่ค่อยเดินจงกรม ไม่ค่อยนั่งสมาธิเลย ทำโน่นทำนี่ เกือบตลอดเวลา แล้วท่านจะเห็นอะไร แต่หลังจากที่ได้อยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่นาน ๆ และได้ฟังธรรมอันลุ่มลึกจากท่าน
หลวงพ่อชาก็รู้ว่า เป็นความเขลาของท่านเองที่คิดเช่นนั้น ท่านพูดถึงบทเรียนที่ท่านได้ จากประสบการณ์ครั้งนั้นว่า
“เรามันคิดผิด หลวงปู่ท่านรู้อะไร ๆ มากกว่าเราเสียอีก คำเตือนของท่านสั้น ๆ และไม่ค่อยมีให้ฟังบ่อยนัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึก แฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์กว้างไกลเกินปัญญาเราเป็นไหน ๆ
-ตัวแท้ของการปฏิบัติ คือ ความพากเพียร กำจัดอาสวกิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอกของครูบาอาจารย์เป็นเกณฑ์”
ท่านมาได้ตระหนักชัดอีกครั้งว่า...
- การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ
- แต่อยู่ที่การวางใจให้ถูกต้อง
- ไม่ว่าทำอะไร...ก็สามารถเป็นการภาวนาได้
คราวหนึ่งท่านนั่งปะชุนจีวรที่ขาดวิ่น ใจนั้นนึกถึงการภาวนาอยู่ตลอดเวลา อยากรีบปะชุนให้เสร็จเร็ว ๆ เพื่อจะได้ไปภาวนาต่อ
ขณะนั้นเองหลวงปู่กินรีเดินผ่านมา สังเกตเห็นอาการของพระหนุ่ม จึงพูดขึ้นมาว่า
“ท่านชา จะรีบร้อนไปทำไมเล่า”
“ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ ครับหลวงปู่”
“เสร็จแล้วท่านจะทำอะไรล่ะ”
“จะไปทำอันนั้นอีก”
“ถ้าเสร็จอันนั้นแล้ว ท่านจะทำอะไรอีกล่ะ”
“ผมก็จะทำอย่างอื่นอีก”
“เมื่อทำอย่างอื่นเสร็จแล้ว ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า”
เมื่อเห็นว่า ใจของหลวงพ่อชา ไม่ได้อยู่กับงานที่กำลังทำ แต่คิดถึงงานชิ้นอื่น ๆ ที่อยู่ข้างหน้า และรีบร้อนจะทำให้เสร็จไว ๆ ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อไปภาวนาต่อ
หลวงปู่กินรีจึงเตือนว่า... “ท่านชา ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้าผืนนี้ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่าเป็นอย่างไร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด ความอยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตนอีก”
คำพูดของหลวงปู่กินรี กระตุกใจของหลวงพ่อชาอย่างแรง ทำให้ท่านได้สติ และ เกิดความเข้าใจชัดเจนว่า...
- ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร ก็ภาวนาได้ทั้งนั้น ขอให้หมั่นดูใจของตนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม -
นี้เป็นบทเรียนที่ประทับใจท่านมาก และถือเป็นหลักปฏิบัติของท่านตลอดมา เมื่อท่านไปตั้งสำนักปฏิบัติธรรมที่หนองป่าพง จึงทำให้มีกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง และมีเรื่องเล่าว่า ตอนนั้นหลวงพ่อชาอายุมากแล้ว มีเด็กหนุ่มมาถามท่านว่า...ทำไมพระจึงไม่นั่งสมาธิ พอหลวงพ่อชาได้ฟังน้ำเสียงแล้วรู้ว่า ไม่ได้ถามเพราะต้องการคำตอบที่แท้จริง ท่านจึงตอบว่า
“นั่งอย่างเดียวมันถ่ายไม่ออกว่ะ จะนั่งอย่างเดียวก็ไม่ได้ มันต้องปฏิบัติ กับการทำงานด้วย” และท่านก็บอกว่า...
- การปฏิบัติธรรมมันต้องมาดูกายและใจ ไม่ว่าทำอะไร ต้องให้รู้ทันกายและใจ ทำงานก่อสร้างก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้ อันนี้สำคัญมาก เดี๋ยวนี้นักปฏิบัติธรรมจำนวนมากคิดอย่างเดียวว่า เวลาปฏิบัติธรรมจะต้องเข้าวัด จะต้องหลบลี้หนี้หน้าผู้คน โดยไม่คิดว่า...
- การอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติธรรมได้ -
อยู่บนท้องถนน รถติดก็กำหนดลมหายใจไปด้วย หรือ เวลาเจอไฟแดง หงุดหงิดขึ้นมา...ก็ปฏิบัติธรรมได้ ถามว่าเวลารถติด ทำไมถึงหงุดหงิด นั่นก็เพราะใจมันไปอยู่ที่จุดหมายปลายทางแล้ว ใจมันอยู่ข้างหน้าแล้ว...
- ใจไม่อยู่กับปัจจุบัน -
จึงกลัวไปไม่ทัน กลัวไม่ทันประชุม เป็นต้น ดังนั้น -ให้พาใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน- จะตามลมหายใจด้วยก็ได้
การปฏิบัติธรรมก็คือ ติดไฟแดงทำอย่างไรจะไม่หงุดหงิด ทำอย่างไรเวลาถูกต่อว่าจะไม่หงุดหงิด เวลาเสียเงินจะไม่โมโห เวลาเงินหายก็หายแต่เงิน แต่ใจไม่หาย ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เรียกว่า...ปฏิบัติธรรมแล้ว!
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
|