Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตใจ

อาทิตย์ 07 เม.ย. 2024 7:27 am

“ความว่างที่แท้จริง” นั้นมันก็ไม่ได้ “สว่างขึ้น” เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และ “ความว่าง” ก็ไม่ได้ “มืดลง” เมื่อพระอาทิตย์ตก ความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง “จิต” ของ “พุทธ” และของิ “สัตว์โลก” ทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น
มีแต่ “จิตหนึ่ง” เท่านั้นและไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียว ที่จะ “อิงอาศัย” ได้ เพราะ “จิต” นั้นเองคือ “พุทธ”

“จิตหนึ่ง”... “สิ่งนี้” ไม่ใช่เป็นฝ่าย “นามธรรม” หรือ ฝ่าย “รูปธรรม” มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย
“จิตหนึ่ง” ไม่ใช่จิตซึ่งเป็น “ความคิดปรุงแต่ง” ... “สิ่งนี้” อยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง

เพียงแต่สามารถทำ “ความเข้าใจ” ใน “จิต” ของเราเองได้สำเร็จ แล้ว “ค้นพบธรรมชาติอันแท้จริง” ของเราเองได้ ด้วย “ความเข้าใจ” อันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้อง “แสวงหา” แม้แต่อย่างใดเลย

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์






จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา, กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล






".. #อย่าอิจฉาริษยากัน #อย่าใส่ร้ายป้ายสีกัน
#ยุยงให้เกิดความแตกแยก
#ถ้าใครที่รู้ตัวว่าเป็นอย่างนั้น #ให้เปลี่ยนตัวเองนะ

#เพราะผู้ที่ทำอย่างนี้
#หนีไม่พ้นที่จะได้อยู่ในที่มีภัยสงคราม
ถูกกับระเบิด ถูกปืนที่เขายิง ระเบิดที่เขาทิ้ง
จะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส
จะเป็นคนที่ทนทุกข์ทรมาน น่าเวทนาที่สุด

นี่แหละผลของกรรม
มันส่งให้เจ้าของผู้กระทำรับไปแต่ผู้เดียว
อย่าพากันคิดกันทำนะลูกหลาน
#อย่าพากันสร้างเหตุที่จะพาเราไปตกต่ำ.."

โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์
หลวงปู่ปรีดา(ทุย) ฉันทกโร
วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ







. จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์

ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ

จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ หลุดพ้นโดยบริบูรณ์

ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาสครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย

คำสอนพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม







#โรคเวรโรคกรรม
#หมอตรวจไม่พบ
#แต่กรรมฐานหายแน่นอน
เพราะเราชดใช้กรรมด้วย
การปฏิบัติกรรมฐาน
ข้อสำคัญ ต้องปฏิบัติด้วย
ความเคารพตัวเอง
อย่าโกหกตัวเอง
ตั้งใจแล้ว ต้องอย่าท้อ

#พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)









"..มนุษย์เวียนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดติดของเก่า กามาวจรสวรรค์ ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๑ มนุษย์ ๑ ท่านพวกนี้ติดของเก่า ... มีกิน ๑ มีนอน๑ สืบพันธ์ ๑ แม้ปู่ย่าตายายของเราล้วนแต่ติดของเก่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เมื่อท่านยังไม่ตรัสรู้ ก็ติดของเก่า เพลิดเพลินของเก่า ...ในรูป เสียง กลิ่น รสของเก่า...ทั้งนี้ไม่มีฝั่งไม่มีแดน ไม่มีต้น ไม่มีสายย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น.."

ภูริทตฺตวาท
พระครูวินัยธร(หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต)วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร(พ.ศ.๒๔๑๓–๒๔๙๒)







บุคคลใดมีลักษณะของคนเนรคุณ
ไม่รู้บุญคุณของผู้มีพระคุณ
และไม่พยายามสนองพระคุณแก่ผู้มีอุปการะคุณ
ก็เป็นบรรทัดฐานบอกได้ว่า คนเช่นนั้นจะมีคุณธรรมชั้นสูงต่อยอดขึ้นไปไม่ได้เลย
เพราะแม้แต่คุณธรรมพื้นฐาน
คือความกตัญญูกตเวที
ก็ยังไม่มีรองรับไว้เป็นรากฐานของจิตใจตน

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๒๐







“ภิกขุ คือ ผู้ขอ” ขออย่างสุภาพบุรุษ
ในนามของคณะสงฆ์วัดอรัญญบรรพต ขออนุโมทนาสาธุการ
ด้วยบุญกุศลที่พุทธบริษัททั้งหลายได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้
ก็จะได้เป็นพละปัจจัยส่งเสริมพระพุทธศาสนาในทางวิปัสสนาธุระให้เป็นไปได้

เพราะว่า ผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่เทวดาอินทร์พรหมที่ไหน
ก็เป็นคนเหมือนกันนี่แหละ แต่แล้วก็ได้สละบ้านเรือนออกมาบวช
ทำตัวเป็นคนผู้เดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าการขายการหาเงินหาทองอะไรเลย
เรียกว่า มีชีวิตเป็นอยู่เนื่องอยู่ด้วยชาวบ้านที่ท่านตั้งชื่อให้ว่า “ภิกขุ”

ภิกขุนี้แปลว่า “ผู้ขอ” อย่างนี้แหละ แต่ว่า “ขออย่างสุภาพบุรุษ”
ไม่ได้ขออย่างคนขอทาน เที่ยวภิกขาจารไป มีบาตรใบหนึ่ง
ผู้ใดมีศรัทธาก็ใส่ให้ ไม่มีก็แล้วไป ไม่แสดงกายวิญญัติ วจีวิญญัติ*
นั่นพระพุทธเจ้าทรงห้าม เช่น ไปแสดงอาการกวักมือเอาเขา
ให้เขามาทำบุญใส่บาตรอะไรอย่างนี้นะ ไปกล่าววาจาชักชวนให้ทำบุญกัน
บริจาคทานกันอย่างนี้ ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงห้ามเลย

****
*(เพิ่มเติม) วิญญัติ
๑. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
๑.๑) กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
๑.๒) วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
๒. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของ
ต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

จาก “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ตอบกระทู้