นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน อาทิตย์ 08 ก.ย. 2024 7:56 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การปล่อยวาง
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 08 มิ.ย. 2024 8:33 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4675
“ พวกนี้ยิ่งรู้ยิ่งเงียบ ”

ถาม : มีคนสมัยพุทธกาลที่ฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า แล้วก็สามารถบรรลุธรรมได้ ผ่านมา ๒ พันกว่าปี บุคคลเหล่านี้คงไม่มีในโลกนี้แล้ว

พระอาจารย์ : มี คนที่บำเพ็ญบารมีก็มีมาเกิดอยู่เรื่อยๆ อาจจะมีน้อย ไม่ปรากฏให้เราได้รู้เห็น ไม่อย่างนั้นจะมีพระปฏิบัติมาสั่งมาสอนพวกเราอยู่เรื่อยๆได้อย่างไร เพียงแต่ว่าคนที่มีบารมีไม่ปากโป้ง ไม่โฆษณา

ถาม : จริงๆแล้วอาจจะเกิดขึ้นกับครูบาอาจารย์ แต่ท่านไม่พูดเท่านั้นเอง

พระอาจารย์ : เกิดกับพวกเราบางคนก็ได้ ใครจะไปรู้ พวกนี้ยิ่งรู้ยิ่งเงียบ.

…………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี

จุลธรรมนำใจ ๑๑ กัณฑ์ที่ ๓๗๕
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐







"ตอนเป็นมนุษย์นี้ ยังขอความช่วยเหลือกันได้ ยังยืมกันกินได้

แต่เมื่อตายแล้ว จะมาขอกันกินเหมือนตอนมีชีวิตอยู่ไม่ได้นะ

จงรีบเร่งสร้างบุญกุศล ไว้เป็นที่พึ่งของตนเองเถิด"

โอวาทธรรมคำสอน
หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร







"กูดีใจที่เกิดมาเป็นคนจน
เพราะได้สร้างทานบารมี
ถ้ากูเกิดมาเป็นคนรวย
ป่านนี้คำว่า "บุญ" ก็ไม่รู้จักกัน"

หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา







รู้ จิต

"การรู้จิต จิตตานุปัสสนาฯ
ไม่ใช่ เป็นการรู้จัก...ผู้รู้ หรือ(รู้)จิตที่แท้จริง
แต่เป็นการเห็นจิตตสังขาร
คือความคิดปรุงแต่งที่กำลังปรากฏ เช่นจิตขณะ นั้น...
มีความโกรธ เกิดขึ้น
มีความใคร่ เกิดขึ้น
มีความหลงฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น
มีความผ่องใสเบิกบาน เกิดขึ้นเป็นต้น

แล้วก็จะเห็นอีก ว่า...
ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี
ล้วนเป็นเพียง...
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว...ก็ดับไป
มันไม่ใช่...จิต มันเป็น แค่...อารมณ์ ที่ถูกรู้

ทั้งนี้การดู...จิต หรือสังขาร
ในขณะที่รู้...ตัว หรือรู้...จิต
ผู้รู้ อยู่นั้น...จะเห็น จิตตสังขาร
เป็นไตรลักษณ์ อย่าง...ชัดเจนมาก

รู้ธรรม...
ถ้ารู้จักผู้รู้...อยู่นั้น หากสภาวะธรรมอันใด
ปรากฎขึ้น ก็จะเห็นสภาวะธรรม
ตามความเป็นจริง หรือรู้จิต ผู้รู้...นั้น...
จะเห็นจิต เป็นไตรลักษณ์ อย่างชัดเจนทีเดียว
เช่นเห็นว่า...เป็นของบังคับบัญชา ไม่ได้
มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง
เมื่อมันรู้ ว่า...
ทุกข์ มันก็จะปล่อยวาง ของมันเอง

รู้อารมณ์ที่กำหนด...
รู้อารมณ์ที่กำหนด ในขณะเดียวกัน ก็มี สัมปชัญญะ คือ...กำหนดรู้ตัว
หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้...กับสิ่งที่ถูกรู้
แยกออกจากกันแล้ว...
ตามเห็นความเกิด-ดับ ของอารมณ์ปรมัตถ์
อันนั้น...เป็นการทำวิปัสสนา
และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิต สามารถพลิกไป-มา ระหว่าง...
สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานได้

การรู้อารมณ์ที่เป็นสมมุติ เป็นสมถะ ฯ
การรู้อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ ถือเป็นวิปัสสนา ฯ
ในแง่ของนักปฏิบัติ แล้ว...ไม่ใช่ เพียงเท่านั้น การแยกอารมณ์สมถะ กับวิปัสสนา นั้น...
สามารถแยกได้ จากการ...ดำเนินของจิต

ถ้าจิตมีความแน่วแน่
อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง
อันนั้น...เป็นการทำสมถะ
และเมื่อทำไป จิต จับอารมณ์นั้นเอง
โดยไม่ต้องบังคับ หรือไม่ต้องตั้งใจ
แล้วจิตเกาะเข้า กับอารมณ์อันเดียว
เกิดความสุข ความสงบ อันนั้น...
เป็นฌาณ อันเป็นผลของการทำสมถะ

เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติ รู้...อารมณ์ เร็วขึ้น
ชัดขึ้นตามลำดับ นั้น...
อารมณ์ ก็ยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกัน
แต่ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่า...
จิต ก็ดี
อารมณ์ ก็ดี
สติ สัมปชัญญะ หรือสมาธิ ก็ดี
เป็นของที่อยู่...ในอำนาจไตรลักษณ์ เหมือนกัน

ดังนั้น...
เมื่อจิตละเอียดแล้ว ช่วงหนึ่ง...มันจะหยาบอีก
อย่า...ตกใจ เพราะนั่นมันเป็นธรรมดา
ให้ตั้งหน้าปฏิบัติไปเรื่อย ๆ
มันจะกลับดี และดีขึ้นตามลำดับ

เมื่ออารมณ์ละเอียดถึงที่สุด
จิต จะปรากฎเหมือนว่า จิต ว่าง...ไปหมด
ถึงจุดนั้น...
ผู้ปฏิบัติ อาจหลงผิดว่า...ตนสิ้นกิเลสแล้ว
ความจริงความว่าง...นั้น...
ก็คือ...อารมณ์อีกอันหนึ่ง
เพียงแต่...ละเอียด ถึงที่สุดเท่านั้นเอง

ทุกวันนี้
มีผู้ประกาศ ให้ดำรง ชีวิต...
ด้วยจิตว่าง ทั้งที่ยังไม่รู้จัก
จิต...ว่างเลย และไม่รู้ว่า จิตว่าง...นั้น...
ยังหาแก่นสาร เป็นที่พึ่งอะไร ไม่ได้
เพราะมันยังตกอยู่ ในอำนาจของไตรลักษณ์

จิต จะไม่จงใจรู้อารมณ์
จิต จะไม่จงใจ ประคอง ผู้รู้...
แต่จิต...สามารถเจริญ สติและสัมปชัญญะ
ได้เอง
อันนั้น...จิต เดินวิปัสสนาเอง โดยอัตโนมัติ
อันเป็น...วิปัสสนาแท้ ที่จิตเค้าทำของเค้าเอง

ถ้าเพ่ง...ความว่างเปล่าของจิต
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในจิต อันนั้น...เป็นสมถะ
หากรู้อารมณ์ปรมัตถ์ที่ เกิด-ดับ
ไปโดยจิต ผู้รู้...อยู่...ต่างหาก
นั่นเป็นการทำวิปัสสนา

การปล่อยวางอารมณ์หยาบ
เข้าสู่...ความว่าง
เมื่อดู...จิต จนชำนาญเข้า
อารมณ์ใด ผ่านเข้ามากระทบจิต
อารมณ์...นั้น...ก็จะดับไป
เหมือนแมลงเม่า บินเข้ากองไฟ
จิต จะปรากฎเหมือนว่า จิตว่าง...ไปหมด

ความจริงความว่าง...นั้น...
ก็คือ อารมณ์ อีกอันหนึ่ง
เพียงแต่...
ละเอียด ถึงที่สุดเท่านั้นเอง
เริ่มต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นแต่อารมณ์หยาบ
เช่นโกรธ แรง ๆ จึงจะดูออก

เมื่อปฏิบัติมากเข้า
แม้ความขัดใจเล็กน้อย หรือความพอใจ
เล็กน้อย เกิดขึ้นกับจิต ก็สามารถรู้เห็นได้
อย่างชัดเจน
เมื่อรู้อารมณ์ละเอียด แล้ว...
โอกาส ที่อารมณ์หยาบ จะเกิดขึ้นได้ยาก

เพราะอารมณ์หยาบ นั้น...
งอกงามขึ้นมาจาก...อารมณ์ ละเอียดนั่นเอง
ให้พยายาม รู้...อารมณ์ นั้น...
อย่าไปละอารมณ์ นั้น...เด็ดขาด
จะเดินทางผิดทันที เพราะอารมณ์ที่ปรากฏ
นั้น...เป็นตัวขันธ์ เป็นตัวทุกข์
ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่ รู้...เท่านั้น

อย่าอยาก หรือเกิดตัณหาไปละมันเข้า
จะผิดหลักการเกี่ยวกับกิจ ของอริยสัจ
ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่า...
ทุกข์ ให้กำหนดรู้
สมุทัย ให้ละ
เพราะยิ่งพยายามละ อารมณ์ นั้น...
ยิ่งหลงผิด มากขึ้น
เป็นการหางานให้จิตทำ จนวุ่นวาย

การปล่อยวาง ความว่าง...
เข้าสู่ธรรมที่แท้จริง เมื่อปฏิบัติถึงขั้นที่ละเอียด
เช่นนั้นแล้ว...
หลักที่จะปฏิบัติต่อไป ยังคงเหมือนเดิม
คือรู้...หรือดูจิต...ต่อไป
ไม่ต้องสงสัย
ไม่ต้องคิดค้น
วิพากวิจารณ์ ว่าทำอย่างไร
จะปล่อยวาง ความว่าง...นั้นได้

เพราะ แค่เริ่มคิดนิดเดียว
จิต ก็จะหลงทาง เข้าสู่...ความวุ่นวายสับสน
อีกแล้ว ผู้ปฏิบัติต้องรู้...
การรู้...โดยไม่คิดนั่นเอง เป็นวิปัสสนาที่แท้จริง และละเอียดที่สุด

ควรทราบ ว่า...
จิต จะหลุดพ้น ได้นั้น...
จิตเค้า จะต้องหลุดพ้นเอง
เพราะเค้า...เห็นความจริง

ความคิด...
การคิดใคร่ครวญด้วยสัญญา
มันเป็นเพียง...ความรู้...
ขั้นสัญญา ของตัวผู้ปฏิบัติ

แต่ความรู้จริง ของจิต นั้น...
จิต เค้าต้องเรียนรู้เอง
ผู้ปฏิบัติ เพียงแต่...
ทำสิ่งที่เอื้อต่อการ ที่จิตจะเรียนรู้ เท่านั้น

แยกรูปถอด คือ...
แยกความคิดปรุงแต่ง สู่...ความว่าง
แยกความว่าง...สู่...มหาสุญญตา."

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม.







“อย่าไปบ้ากับชีวิตให้มาก เพราะมันเป็นสิ่งสมมุติ
เพราะชีวิตมันไม่มีจริง มันเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลง
ของธรรมชาติ จงทำหน้าที่ให้ดี โดยไม่มีความทุกข์
ให้สงบ เย็น และเป็นประโยชน์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง
เราต้องคืนให้กลับสู่ธรรมชาติดังเดิม แม้แต่ร่างกาย
ที่เราเฝ้าดูแลก็ตาม”

ท่านพุทธทาสภิกขุ





"ความโลภ มันมิใช่อยู่ที่วัตถุ แต่อยู่ที่ใจ
คือ ความอยาก วัตถุมันจะมีมากสักเท่าไร
ก็แต่ความอยากมันไม่พอ มันก็ไม่พออยู่ดีนั่นเอง"

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO