นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 18 ต.ค. 2024 11:48 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การปล่อยวาง
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 24 มิ.ย. 2024 6:14 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4715
…ปัญญาแบบสักแต่ว่าฟัง
ฟังได้คิดได้ แต่ทำไม่ได้
“เพราะมันไม่มีจุดปลงวาง”
จุดที่จิตปลงวางก็คือ..สมาธินั่นเอง

.ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่สงบ มันก็ปรุงแต่ง
พอปรุงแต่งก็จะมีอุปาทาน มีตัณหา
ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย

.ถ้าทำจิตให้สงบ
มันก็คิดไม่ได้ ปรุงไม่ได้
ตัณหาก็ทำงานไม่ได้
อุปาทานก็ทำงานไม่ได้.

…………………………………………
.
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี

จุลธรรมนำใจ ๖ กัณฑ์ที่ ๒๕๑
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙






.

#มุ่งพระโสดาบันก่อน

รวมความว่า
อันดับแรกขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
มุ่งพระโสดาบันก่อนอันนี้จำเป็นต้องทำ เพราะอะไร
เพราะว่าเราจะต้องไม่ลงอบายภูมิต่อไป

บาปกรรมทั้งหมดที่ทำมาแล้วในชาติก่อน
เท่าไหร่ก็ตาม
ถ้าทรงความเป็นพระโสดาบันแล้ว
ขึ้นชื่อว่าบาปกรรมทั้งหมด
ไม่สามารถจะดึงลงอบายภูมิได้เลย ปลอดภัยแน่

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
_______
จากหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ปีที่ ๓๗ ฉบับ ๔๑๙ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ หน้า ๔๖








#สันตุสสโกวาท ลำดับที่ ๘๓
#ธรรมะวันพุธ

“ใจอมทุกข์”

ความทุกข์มันไม่ไช่อยู่ที่ไหน...มันอยู่ที่ใจ
ถ้าหากว่าส่งเสริมใจตัวเองให้ลืมเนื้อลืมตัว
กระเสือกกระสนวุ่นวาย มันจะหาความสุขไม่ได้นะ
คนถ้ามองๆก็เหมือนมีความสุขนะ
แต่ส่วนลึกในจิตใจแล้วมันหาความสุขไม่ได้นะ
มันทุกข์ระทม อมทุกข์ว่างั้นเถอะ ใจอมทุกข์ว่างั้นเถอะ
ถึงจะมียศถาบรรดาศักดิ์
ลาภยศสรรเสริญสูงส่งขนาดไหนก็ตาม
มันไม่ปล่อยวาง มันลักษณะ จิตใจอมทุกข์
เหมือนกับกองไฟที่หมกด้วยขี้เถ้าอย่างนั้นแหละ
แต่มันมีถ่านไฟอยู่ข้างใน
แต่ขี้เถ้ามันกลบเอาไว้เท่านั้นเอง มันร้อนระอุอยู่อย่างนั้น
ถ้าเราไม่รู้จักปล่อยไม่รู้จักวาง ไม่รู้จักถอดถอน
ไม่รู้จักนำธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์
มาประพฤติปฏิบัติกับตนเองแล้ว
มันจะลักษณะอย่างนั้น มันใจอมทุกข์
เพราะฉะนั้นพวกเราทุกๆท่าน
สรุปแล้วก็คือให้ดูใจของตัวเอง
อย่าให้มันอมทุกข์ว่างั้นเถอะ
พยายามปล่อย พยายามวาง
พยายามกลั่นกรองด้วยเหตุและผล
จากนั้นก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น
เราอยู่ในสถานะไหนทำดีที่สุดในจุดนั้น
ทำดีแล้วอย่าไปยึด อย่าไปถือ
อย่าไปสำคัญว่านั้นคือเนื้อหนังของเรา
ตัวตนของเรา ลาภยศสรรเสริญของเรานะ
พอทำไปแล้วก็คือทำ ทำให้มันเป็นถูกต้อง
เราจะไปยึดทำไม ถ้ายึดก็เหมือนกับยึดลมยึดแล้ง
ขนาดร่างกายตัวเองเรายังยึดไม่ได้
จะไปยึดสิ่งเหล่านั้นจะไปยึดได้อย่างไร
คิดดูให้ดีคิดให้ลึกๆ ถ้าคิดลึกๆนั้นละ มันจะปล่อยมันจะวาง
ลึกๆในใจเหมือนกันนะ ถ้าปล่อยวางแล้วนั้นละ
มันจะมีความสุขลึกๆอีกเหมือนกัน
มันจะไม่อมทุกข์มันจะไม่ระทมทุกข์
ถ้าว่าพวกเราไม่ได้คิดอย่างนั้น
มีแต่เอาๆ มีแต่ต้องการสิ่งภายนอก
เข้ามาเสริมบารมีของตนเอง
เหมือนกับขี้เถ้ากลบบถ่านไฟ มันระอุอยู่ มันอมทุกข์ในลึกๆ
เพราะฉะนั้นพวกเราให้สังเกตนะ
ไม่มีใครสังเกตให้เรานอกจากตัวของเราเอง
ถ้าพวกเราสังเกตดูตัวของเราแล้วนั้นนะ
อะไรก็ได้ที่เป็นธรรม ไม่กระทบตนและผู้อื่น
ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนก็ต่างประพฤติ
ปฏิบัติธรรมดูใจของตนเอง
ปล่อยวางที่ใจของเราลึกๆ นั่นแหละ
ความสุขก็จะเข้าสู่ตัวของ

#สันตุสสโกวาท #ธรรมะวันพุธ
โดย หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
จากพระธรรมเทศนา “สามัคคีคือพลังฯ”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑




วิสัยทัศน์ ของ “ผู้มีปัญญา”
.
.... “ ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วหวังเพียงแค่มีชีวิตที่ยืนยาวเท่านั้น หากยังปรารถนาที่จะได้รับประโยชน์สุขจากชีวิตนี้ด้วย ในทัศนะของคนทั่วไปประโยชน์สุขที่พึงได้นั้นย่อมได้แก่ การมีทรัพย์สินเงินทอง สุขภาพ สถานภาพ รวมถึง การมีครอบครัวดี
.... แต่..อย่างไรก็ตามในทัศนะของพุทธศาสนา นั่นเป็นแค่ประโยชน์เบื้องต้น(ทิฏฐธัมมิกัตถะ)
.... คนเราทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงประโยชน์สุขที่ประเสริฐกว่านั้น(สัมปรายิกัตถะ) ซึ่งเป็นที่มาแห่งความสุขทางใจ ได้แก่ ความเจริญงอกงามทางธรรม อันเกิดจากการสร้างบุญกุศลเป็นนิจ เหนือขึ้นไปกว่านั้นซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุด(ปรมัตถะ)ที่พึงได้จากชีวิตนี้ก็คือ การเป็นอิสระจากกองทุกข์ทั้งปวง เพราะมีปัญญารู้ชัดในสัจธรรม จนไม่มีความยึดติดถือมั่นในสิ่งใด
.... แม้ผู้คนในยุคนี้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่วิสัยทัศน์เกี่ยวกับชีวิตกลับหดสั้นลง หวังเพียงแค่ประโยชน์สุขเฉพาะหน้า เวลาเกือบทั้งชีวิตจึงหมดไปกับการทำมาหาเงินและการแสวงหาความสะดวกสบายทางวัตถุหรือความเพลิดเพลินทางโลก ซึ่งให้ความสุขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่ตามมาด้วยความทุกข์ทางใจ อาทิ ความเครียด ความวิตกกังวล ความรุ่มร้อนเพราะอยากได้ไม่หยุดหย่อน มิหนำซ้ำเมื่อต้องพบกับความพลัดพรากสูญเสีย หรือความแก่ ความเจ็บ และความตาย อันเป็นธรรมดาโลก สิ่งต่าง ๆ ที่สะสมพอกพูนมาไม่ว่าเงินทอง ชื่อเสียง อำนาจ ก็มิอาจช่วยให้จิตใจคลายทุกข์ได้เลย
.... ผู้ที่มีปัญญาย่อมตระหนักดีว่า ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความผันผวนปรวนแปร หาความจิรังยั่งยืนมิได้ จึงมองพ้นความสุขเฉพาะหน้า ไม่ฝากความหวังไว้กับเงินทอง ชื่อเสียง และอำนาจ หากมุ่งบำเพ็ญธรรม หมั่นฝึกฝนพัฒนาตน เพื่อกายวาจาที่สะอาด จิตที่สงบ และปัญญาที่สว่างไสว มิใช่เพียงเพื่อความสุขในปัจจุบันเท่านั้น แต่เพื่อความสงบเย็นในยามที่ต้องเผชิญกับความพลัดพรากสูญเสียและความแปรเปลี่ยนในวันข้างหน้า
.... ความผันผวนปรวนแปรเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่เราไม่จำต้องเป็นทุกข์เพราะมันก็ได้ เราสามารถรักษาใจให้เป็นสุขได้ นี้คือประโยชน์ที่จะได้จากธรรมอันน้อมนำมาสู่ใจ และยังช่วยให้เราสามารถบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ได้อย่างไม่มีประมาณ ”
.
พระไพศาล วิสาโล


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO