Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ขวนขวายทำความดี

ศุกร์ 04 ต.ค. 2024 5:51 am

"..ความจริงของความจริงมีอยู่ทุกแห่งทุกหนและทุกเวลาอกาลิโก ขอแต่ปฏิบัติให้ถึงความจริงทำจริง ต้องรู้ตามความสามารถและภูมิวาสนาของตนแน่นอน ไม่ว่าธรรมภายในคือสัจธรรม และธรรมภายนอกคือความรู้แขนงต่าง ๆ ตามภูมินิสัยวาสนาของแต่ละรายที่สร้างมา และความปรารถนาที่ตั้งไว้ไม่เหมือนกัน แต่ผลส่วนใหญ่คือมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อถึงแล้วเหมือนกัน.."

ภูริทตฺตธมฺโมวาท
พระครูวินัยธร (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต) วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
(พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๙๒) อ้างอิงหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ








"เมื่อเรามีโอกาส และเวลา
คุณงามความดีใดๆ ในโลก
พอจะสามารถ และมองเห็น
เราก็ควรจะต้องรีบขวนขวาย
พยายามทำความดีนั้น เสียโดยเร็ว
ถ้าความตายเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้
เราจะไปเอาอะไร ไม่มีอะไรสักอย่าง"

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร






บางวัดสอนให้ญาติโยม หลงในบุญ หลงในความรวย ขนาดตั้งชื่อพระพุทธรูปก็เอากิเลสตัวเองมาตั้งอย่าง หลวงพ่อรวย หลวงพ่อทันใจ หลวงพ่อพันล้าน มันเอากิเลสตัวเองมาตั้ง ถ้ามันเอากิเลสตัวเองมาตั้งขนาดนี้ทำไมมันไม่ตั้งว่า หลวงพ่อบอกหวยไปเลย

แทนที่พระจะสอนญาติโยมว่าพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนของพระพุทธเจ้าเรานะ เรากราบ เราไหว้ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ให้ละชั่ว ทำดี ละอายต่อการทำบาป ไม่ละ มันกลับไปสอนว่าไหว้ขอพรหลวงพ่อรวย กราบไหว้ ซื้อดอกไม้ ธูปเทียนไปไหว้แล้วรวย มันจะไปรวยอะไร ถ้ามันไม่ทำงาน หาเงิน รู้จักเก็บ จักใช้ คนที่รวย ก็พวกขายดอกไม้ ธูป เทียน

โอวาทธรรม หลวงปู่ชนะ อุตตมลาโภ
วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร







หลวงพ่อนี่รับภาระการงานอย่างลูกหลานได้เห็น ไม่รู้เรื่องอะไรต่อเรื่องอะไร เรื่องสร้างเจดีย์ เรื่องอะไรต่อมิอะไร แต่หลวงพ่อเสร็จ หลวงพ่อก็วางในใจนะ หลวงพ่ออินทร์เอ๊ย อีกสักวันหนึ่ง สิ่งเหล่านั้นก็เป็นภาระภายนอก เราทำประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน แต่ถึงยังไงอีกสักวันหนึ่งนะ เอาไปด้วยไม่ได้สักอย่างหลวงพ่ออินทร์ ทิ้ง มันรู้ในจิตในใจของหลวงพ่อเองตลอดเวลา

หลวงพ่อนี่มองดูตนเอง เพราะฉะนั้นจึงทำอะไรลงไป ทำด้วยความไม่หนักใจ พูดง่าย ๆ ทำไปเรื่อย ถึงที่ไหนก็ที่นั่นแหละ โลกนี้มันไม่สำเร็จหรอก ใครว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ มันมีไหมในโลกนี้ ไม่มี พอสร้างตัวนี้จบก็ยังเหลือตัวนั้น สร้างตัวนั้นก็ยังจบตัวนั้น สร้างตรงนั้นก็ตรงนั้น มันมากมาย เพราะฉะนั้นเราทำได้ขนาดไหนก็ขนาดนั้นแหละ ไปหาทุกข์หาร้อนอะไรมากมาย แต่ว่าต้องทำ ทำให้ดีที่สุด คิดดี ทำดี พูดดี ในเมื่อทำดีแล้ว อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด อะไรจะดับมันก็ต้องดับ อะไรจะตายมันก็ต้องตาย อะไรจะมีมันก็ต้องมี อะไรจะจนมันก็ต้องจน แต่เราทำดีที่สุดแล้ว

นั่นแหละ ก็จบเพียงแค่นั้นนะลูกหลาน อย่าไปทุกข์ไปร้อนกับสิ่งที่มันมีมันเกิดมันเป็นไปไม่ได้ จะไปหาทุกข์หาร้อนกับสิ่งที่มันเกิดมันมีขึ้น รู้สึกปล่อย รู้สึกวางทุกผู้ทุกคน นอกจากตัวของเราแล้วจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นลูกเป็นหลาน เป็นสามีภรรยา เป็นใครก็ตาม มันไม่ใช่ตัวตนของเราทั้งนั้น จะให้ได้อย่างใจเรามันเป็นไปไม่ได้หรอกลูกหลานเอ้ย ถ้าจะให้ได้ดั่งใจเราทุกสิ่งทุกอย่างตลอดไป อย่าไปหวัง

ขนาดตัวเอง ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธินะ จะให้จิตสงบนะ พุทโธ ๆ นะ มันยังเถลเถลไปที่อื่น ก็เห็นต่อหน้าต่อตาอยู่ แล้วจะให้ใจมันเป็นไปอย่างใจของเราได้อย่างไรใช่ไหม ขนาดใจตัวเองก็ยังบังคับไม่อยู่ นี่แหละ ให้มองดู ไม่ต้องมองไกลนะ มองใกล้ ๆ มองตนเองนะลูกหลานนะ ให้อยู่กับพุทโธนะ พุทโธ ๆ ๆ เถลไถลถลำแถลกไปอีกแล้ว ขนาดใจตัวเองก็ยังไม่อยู่ในอาณัติสัญญา ไม่อยู่ในความต้องการที่ตัวเองอยากจะให้อยู่ แล้วจิตใจคนอื่นจะให้ได้อย่างใจเรามันเป็นไปไม่ได้ ถ้าคิดไปก็ยิ่งโง่ยิ่งทุกข์ใจนะ

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
จากพระธรรมเทศนา “ไม่อยู่ติดที่ ไม่ติดความสุข”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗








#อย่างโยมที่อายุมากบางทีเราป่วย #เราลุกไม่ได้ นอน
ถ้าเราเข้าใจ #เราก็สามารถนอนภาวนาได้
#นอนภาวนา #นอนปฏิบัติ

#คนป่วยถ้าไม่มีธรรมะก็จะกลุ้มใจเสียใจกระวนกระวาย
#แต่ถ้าเรามีธรรมะเราจะสงบจิตใจได้
#เพราะว่าการภาวนามันก็เหมือนกับการฝึกจิตให้ละวางให้ปล่อยวาง

สังขารเป็นทุกข์
กำหนดพิจารณาลงไปก็เห็นทุกข์ เห็นสังขารร่างกาย
แต่ว่าเราจะต้องฝึกจิตใจไม่ให้ทุกข์ด้วย

พระพุทธเจ้าก็สอน
อย่างคนแก่คนป่วยเคยไปถามพระพุทธเจ้า
ว่าโยมเป็นคนแก่คนป่วยจะปฏิบัติอย่างไร

พระพุทธเจ้าสอนว่า
คนแก่ คนป่วย
กายมันกระสับกระส่าย มันปวดมันเจ็บ
แต่ให้รักษาใจไม่ให้กระสับกระส่ายด้วย

เรามีสิทธิจะทำได้ถ้าเราฝึกไป
กายกระสับกระส่ายคือกายมันปวดมันเจ็บ
แต่รักษาใจไม่กระสับกระส่ายได้ด้วยมีสติ
มีสติมาดูแลรักษาจิต แล้วก็หัดวางหัดปล่อยไว้
ให้พิจารณาว่าความปวดความเจ็บ กายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เขาก็ต้องปวดต้องเจ็บเป็นไปตามของเขา
เราก็ปล่อยเขา
อย่าไปอยากว่าจะต้องให้มันหาย ให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
จิตเราก็จะกลุ้มมากขึ้นอีก

เรายอมรับกับมัน
มันเป็นสังขารที่บีบคั้น ไม่จีรังยั่งยืน
วางเขา
เอาสติมาดูจิต รักษาจิต
พิจารณาให้เห็นว่าความปวดกับจิตมันคนละอย่างกัน
ถือว่าเริ่มมีปัญญา

โดยปกติคนเราถ้าไม่ได้ปฏิบัติ
มันจะเห็นปนกันหมด
แล้วมันก็เห็นเป็นตัวเราด้วย
จิตใจกับกาย ความปวดกับใจ มันเป็นอันเดียวกันหมด แล้วก็เป็นตัวเราปวด

แต่ถ้าเรามาปฏิบัติธรรม เราเจริญสติแยกดู
พยายามดูใจ
ใจเราตอนแรกมันก็กระวนกระวาย
กายก็ปวด ใจก็กระวนกระวาย
พอเราฝึกหัดปล่อยวางละวาง
ดูไปดูมาความปวดกับใจมันคนละอย่างกัน

ความปวดมันอยู่ที่กาย ปวดขา ปวดหลัง ไม่สบาย
แต่มันไม่ใช่ใจ
จิตใจมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ดูไปก็จะเห็นว่าจิตใจมันไม่ใช่กาย จิตใจไม่ใช่ปวด ปวดไม่ใช่จิตใจ
เราก็ฝึกให้ใจมันเฉย ๆ
#พอฝึกไปฝึกมามันก็มีโอกาสมีปัญญา
#เห็นว่าปวดก็อย่างหนึ่ง #จิตใจก็อย่างหนึ่ง
#ใจมันก็เฉยๆได้

#แล้วก็มีปัญญาเห็นแจ้งขึ้นไปอีกว่า
#ปวดนั้นก็ไม่ใช่เรา #จิตใจนี้ก็ไม่ใช่เรา
#เรียกว่ามีปัญญาเกิดขึ้น
#ถ้าเห็นว่าไม่ใช่เรา #ไม่มีตัวเรา #ไม่ใช่ตัวตนของเรา
#เรียกว่าเป็นวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น
อย่างน้อยก็ลดความทุกข์ใจลงไปถ้าเราฝึก

ชีวิตเรามันต้องเจอความป่วยความเจ็บ
เราจะได้วางใจ จะได้บรรเทา
มันปวดเจ็บก็เฉพาะทางกาย
ใจเราไม่กระวนกระวายด้วย
แล้วจิตเราจะได้ไม่เศร้าหมองด้วย
ถ้าเราตายตอนเศร้าหมอง ไปอบายได้

ชีวิตหลังความตาย (ธรรมสุปฏิปันโน ๘)
.............................
ธัมโมวาท โดยหลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ตอบกระทู้