นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 11 เม.ย. 2025 2:15 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ทำสมาธิภาวนา
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 08 ก.พ. 2025 11:52 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4886
"..การบวชเป็นพระตามหลักธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นการทรมานใจ ทรมานสันดานของคนมีกิเลสที่ชอบในสิ่งที่หลักศาสนาไม่ชอบ แต่กลับไม่ชอบในสิ่งที่หลักศาสนาสั่งสอนให้ชอบได้เป็นอย่างดี ความลำบากเพราะการฝืนกิเลสอาตมาก็ทราบ แต่ก็จำต้องเข้ามาบวชเพื่อทรมานหัวใจตัวเอง การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยทราบว่าลำบากทุกระยะที่ฝืนทรมาน แต่ก็จำต้องทรมานเพราะอยากดี และอยากหลุดพ้นจากกรรมอันลามก คือกิเลสตัวไม่ยอมลงรอยเหตุผลและอรรถธรรมของพระพุทธเจ้า แม้การมาพักบำเพ็ญประพฤติตัวเป็นคนเหลือเดน ไม่คิดคุณค่าในชีวิตอยู่ในถ้ำเวลานี้ เพราะกลัวบาปกลัวกรรมนั่นแล มิใช่กลัวอะไรที่ไหน.."

ภูริทตฺโตธมฺโมวาท
พระครูวินัยธร (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต) วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
(พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๙๒) อ้างอิงหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ







“... ผู้มีศีลเป็นผู้ปลูกและส่งเสริมความสุข
บนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีล
เป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

... ฉะนั้นผู้เห็นคุณค่าของตัวจึงควรเห็น
คุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน
ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ไม่ตก
ต่ำ เพราะอำนาจศีลธรรมคุ้มครองรักษาและสนับสนุน

... จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ เมื่อจากอัตภาพนี้จะมีสวรรค์เป็น
ที่ไปโดยไม่ต้องสงสัย ธรรมที่สั่งสอนแล้ว
ควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงสมบัติทุกอย่างในอัตภาพ ที่จะมาถึงใน
ไม่ช้านี้แน่นอน ...”
______________________________________
#พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
(พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒) จากหนังสือประวัติ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ฉะนั้น เราจะเข้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งโดยแท้ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงพระธรรม พระพุทธเจ้าปรินิพพานนานแล้วก็จริง แต่ธรรมะเป็นอมตะ ไม่ได้หายไปไหน เหมือนนำ้ที่อยู่ใต้ดิน ใครยอมขุดดินอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคย่อมมีสิทธิ์ดื่มรสพระธรรม และการดื่มรสพระธรรมนั้น เปรียบเสมือนการกราบพระพุทธเจ้า

พระอาจารย์ชยสาโร









"..ชีวิตที่จะมีความสุขอันแท้จริงในโลกมันไม่มี แต่เราเข้าใจว่ามี ถ้ามองให้ลึกซึ้งอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแล้ว ไม่มีเลยความสุขในโลก ความสุขอันนั้นเป็นความสุขอันเจือไปด้วยความเร่าร้อนกระสับกระส่าย อย่างมีเงินมากๆ ก็กลัวเขาจะจี้ปล้น กลัวเขาจะมาแย่งมาชิงไปเรียกค่าไถ่ สารพัดสารเพ ต้องเป็นทุกข์กังวลรักษา ฝากที่นั่นที่นี่ก็ไม่ดี พกไปมากก็ไม่ดี กลัวจะถูกจี้ จะถูกปล้น จะถูกฆ่าตาย...นี่...สารพัด สารเพ กลัวคนอื่นจะแย่ง คนนี้จะแย่ง พี่น้องอย่างนั้นอย่างนี้ สารพัดใจนั้น คิด ไปทุกแง่ทุกมุม นั่น...ใจอย่างนั้น ใจมันก็กังวล ใจเดือดร้อนวุ่นวายอย่างนั้น ไม่ใช่ใจที่สงบ.."

โอวาทธรรม
พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท) วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี (พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๕๔๗)





สติเป็นเรื่องของการระลึกรู้และจดจำไว้

ในชีวิตประจำวัน เมื่อถึงคราวจำเป็น ให้เราระลึกถึงศีล เช่น ระหว่างสนทนา เกิดความอยากจะโกหก สติก็ระลึกถึงศีลขึ้นมาทันที และปล่อยวางความอยากนั้นได้ ศีลจะปรากฏขึ้นทันท่วงทีในยามจำเป็นบ่อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราระลึกถึงศีลได้มากเพียงใด ในลักษณะนี้ สติในขณะปัจจุบันของเราจะบอกได้ด้วยศีล และศีลของเราจะเกิดขึ้นจริงด้วยสติในขณะปัจจุบัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ขณะนั่งสมาธิ เรากำหนดรู้อารมณ์กรรมฐาน และในเวลาที่เหมาะสม เราก็ระลึกถึงคำแนะนำของครูบาอาจารย์

ข้อธรรมต่างๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราระลึกถึงได้โดยให้ผลดียิ่ง หากจิตมีแนวโน้มจะติดกับดักของวิภวตัณหา (“ฉันไม่อยากได้อันนี้” “ไปให้พ้น” “ทำไมต้องเป็นฉัน“ “มันไม่ยุติธรรมเลย” “มันไม่น่าจะเป็นอย่างนี้” ฯลฯ) ข้อธรรมชั้นเยี่ยมที่พึงระลึกถึง คือ “มันก็เป็นอย่างนี้แหละ” ไม่ว่าเราจะอยากให้มันเป็นอย่างอื่นสักแค่ไหน ตอนนี้มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น มันก็เป็นของมันอย่างนี้แหละ

ต่อเมื่อจิตยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ต่อต้านเท่านั้น เราจึงจะเดินหน้าต่อได้ด้วยปัญญา

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ






สติเป็นเรื่องของการระลึกรู้และจดจำไว้

ในชีวิตประจำวัน เมื่อถึงคราวจำเป็น ให้เราระลึกถึงศีล เช่น ระหว่างสนทนา เกิดความอยากจะโกหก สติก็ระลึกถึงศีลขึ้นมาทันที และปล่อยวางความอยากนั้นได้ ศีลจะปรากฏขึ้นทันท่วงทีในยามจำเป็นบ่อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราระลึกถึงศีลได้มากเพียงใด ในลักษณะนี้ สติในขณะปัจจุบันของเราจะบอกได้ด้วยศีล และศีลของเราจะเกิดขึ้นจริงด้วยสติในขณะปัจจุบัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ขณะนั่งสมาธิ เรากำหนดรู้อารมณ์กรรมฐาน และในเวลาที่เหมาะสม เราก็ระลึกถึงคำแนะนำของครูบาอาจารย์

ข้อธรรมต่างๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราระลึกถึงได้โดยให้ผลดียิ่ง หากจิตมีแนวโน้มจะติดกับดักของวิภวตัณหา (“ฉันไม่อยากได้อันนี้” “ไปให้พ้น” “ทำไมต้องเป็นฉัน“ “มันไม่ยุติธรรมเลย” “มันไม่น่าจะเป็นอย่างนี้” ฯลฯ) ข้อธรรมชั้นเยี่ยมที่พึงระลึกถึง คือ “มันก็เป็นอย่างนี้แหละ” ไม่ว่าเราจะอยากให้มันเป็นอย่างอื่นสักแค่ไหน ตอนนี้มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น มันก็เป็นของมันอย่างนี้แหละ

ต่อเมื่อจิตยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ต่อต้านเท่านั้น เราจึงจะเดินหน้าต่อได้ด้วยปัญญา

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ







"..ธรรมหมุนได้รอบตัวรอบด้าน ต้านทานได้ทุกแง่ทุกมุมที่นำมาใช้มาช่วยตัวเอง จงอย่าเกรงธรรมที่นำไปสู่ทางดี แต่จงกลัวกิเลสที่จะนำไปสู่ทางชั่ว มั่วกับกองทุกข์ สุขไม่มีวันเจอ แบบคนหมดหวัง ทั้งที่ยังมีชีวิตลมหายใจอยู่ ไม่สมควรแก่เราอย่างยิ่ง จงอย่านิ่งนอนใจ อย่าเห็นภัยว่าเป็นคุณ อย่าเห็นบุญว่าเป็นบาป จงเข็ดหลาบกับความชั่วแลกองทุกข์ทั้งมวลเสียแต่บัดนี้ จะเป็นคนดี สุคโตเป็นที่ไป ไม่สงสัยในตัวเราเอง สมกับธรรมท่านสอนไว้ว่า พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว.."

จากหนังสือประวัติ
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภูโดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมปนฺโน







"..ฉะนั้นการทำสมาธิภาวนา จึงเป็นวิธีปฏิบัติต่อใจได้ดีและถูกทาง ยิ่งเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อด้วยแล้ว สติปัญญายิ่งมีความสำคัญมากในการตามรู้และรักษาจิต ตลอดการต้านทานทุกขเวทนาไม่ให้มาทับจิตในเวลาจวนตัว ซึ่งเป็นเวลาเอาแพ้เอาชนะกันจริง ๆ ถ้าพลาดท่าขณะนั้นก็เท่ากับพลาดไปอย่างน้อยภพหนึ่งชาติหนึ่ง เช่น ไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดใดก็ต้องเสียเวลานานเท่าชีวิตของสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ ขณะที่เสียเวลายังต้องเสวยกรรมในกำเนิดนั้นไปด้วย ถ้าจิตดีมีสติพอประคองตัวได้ อย่างน้อยก็มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่านั้นก็ไปเกิดในเทวสถาน ชมวิมานและเสวยทิพย์สมบัติอยู่นานปีถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เวลามาเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่ลืมศีลธรรมที่ตนเคยบำเพ็ญรักษามาแต่บุพเพชาติ ทำให้เพิ่มอำนาจวาสนาบุญญาภิสมภารขึ้นโดยลำดับ จนจิตมีกำลังแก่กล้าสามารถรักษาตัวได้ การตายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนร่างจากต่ำขึ้นไปสูง จากสั้นไปหายาว จากหยาบไปหาละเอียด จากวัฏจักรไปเป็นวิวัฏจักร ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนเครื่องเสวยมาเป็นลำดับ สุดท้ายก็หมดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอะไรต่อไปอีก เพราะจิตที่ได้รับการอบรมไปทุกภพทุกชาติจนฉลาดเหนือสิ่งใด ๆ กลายเป็นนิพพานสมบัติขึ้นมาอย่างสมพระทัยและสมใจ ซึ่งล้วนไปจากการฝึกฝนอบรมจิตให้ดีไปโดยลำดับทั้งสิ้น.."

ภูริทตฺตธมฺโมวาท
พระครูวินัยธร (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต) วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ. สกลนคร
(พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๙๒)






"ให้เราเข้าใจอย่างนั้น คือ เราไม่อยากเผ็ด
เราไปกินพริก มันก็เลยเผ็ดเลย ไม่อยากเค็ม
ไปกินเกลือ มันก็เลยเค็มเลย ของธรรมชาติ
มันมีประจำอยู่แล้ว รสชาติของมันมีแต่ไหนแต่ไรมา
ไม่อยากบาป แต่ไปสร้างบาป มันก็เลยเป็นบาปเลย"

หลวงปู่ศรี มหาวีโร







"สักวันหนึ่ง ความตายจะมาถึงเรา
มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง
ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้า
ให้มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไป
จะลำบาก"

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO