พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 13 มิ.ย. 2009 9:02 am
"จิตตชรูป"
คือ "รูป" ที่เกิดจาก "จิตเป็นสมุฏฐาน"
มี ๖ กลาป คือ
๑. สุทธัฏฐกกลาป.
เป็น กลาป ที่มีแต่ อวินิพโพครูป ๘ รูป เท่านั้น
ไม่มีรูป อื่น ๆ เกิดร่วมด้วย เลย.
เมื่อ ปฏิสนธิจิต ดับไปแล้ว
ภวังคจิต เกิดสืบต่อ.........
"จิตตชรูป" ที่เป็น "สุทธัฏฐกกลาป"
เกิดพร้อมกับ อุปาทขณะ ของ ปฐมภวังคจิต
และ เกิดพร้อมกับ ทุก ๆ อุปาทขณะ ของ จิต.
เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง
ซึ่ง
ไม่มี "กำลัง" พอ
ที่จะเป็นสมุฏฐาน ให้ รูป เกิดได้.
.
"จิตที่ไม่เป็นสมุฏฐาน" ให้เกิด "จิตตชรูป"
มี ๑๖ ดวง.
คือ
อรูปฌานวิบากจิต
๔ ดวง.
ปฏิสนธิจิต
๑ ดวง.
ทวิปัญจวิญญาณจิต
๑๐ ดวง.
จุติจิต ของ พระอรหันต์
๑ ดวง.
รวม ๑๖ ดวง.
.
"อรูปฌานวิบากจิต"
๔ ดวง.
ไม่เป็นสมุฏฐาน ให้เกิด รูป ใด ๆ เลย
เพราะ เป็น ผล ของ อรูปฌานกุศล.
"อรูปฌานกุศล"
ซึ่ง เห็นโทษ ของ รูป
ว่า เป็น ธรรม ที่เกื้อกูล แก่กิเลส.
จึงมีการเจริญ
"อรูปฌานกุศล"
ซึ่ง
ไม่มี รูป ใด ๆ เกิดเลย ทั้งสิ้น.!
.
"ปฏิสนธิจิต"
๑ ดวง.
ไม่เป็นสมุฏฐาน ให้เกิด "จิตตชรูป"
เพราะ เป็น จิต ขณะแรก ในภพภูมิหนึ่ง
จึงยัง ไม่มี "กำลัง" พอ
ที่จะเป็นสมุฏฐาน ให้เกิด "จิตตชรูป" ได้.
.
"จุติจิต"
ของ พระอรหันต์
ไม่เป็นสมุฏฐาน ให้เกิด รูป
เพราะ เป็น "จิตดวงสุดท้าย" ของสังสารวัฏฏ์
ซึ่ง
สิ้นสภาพ ความเป็นปัจจัย ที่ทำให้ รูป เกิดได้.
.....................
๒. กายวิญญัตินวกกลาป
คือ
กลุ่มของ กายวิญญัติรูป
ซึ่ง มี รูป รวมกัน ๙ รูป.
คือ
อวินิพโภครูป ๘ และ กายวิญญัติรูป ๑
ย่อมเกิด พร้อมกับ
อุปาทขณะ ของ จิต ซึ่ง ต้องการให้รูป แสดงความหมาย.
.........................
๓. วจีวิญญัติสัทททสกกลาป
คือ กลุ่มของรูป รวมกัน ๑๐ รูป
ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘
วจีวิญญัติรูป ๑
สัททรูป ๑
ย่อมเกิด พร้อมกับ
อุปาทขณะ ของ "จิต" ซึ่งเป็น "สมุฏฐานของเสียง" คือ วาจา.
........................
๔. ลหุตาทิเอกาทสกกลาป
คือ กลุ่มของรูป รวม ๑๑ รูป
ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘
วิการรูป ๓
ย่อมเกิด พร้อมกับ
อุปาทขณะ ของ "จิต" ที่ต้องการให้ รูป เป็นไป ในอิริยาบถ ต่าง ๆ
.........................
๕. กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป
คือ กลุ่มของรูป ๑๒ รูป
ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘
วิการรูป ๓
ย่อมเกิด พร้อมกับ
อุปาทขณะ ของ "จิต" ที่ต้องการให้ รูป เป็นไป ในกิริยาอาการต่าง ๆ
ที่ แสดงความหมาย.
..............................
๖. วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป
คือ กลุ่มของรูป ๑๓ รูป
ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘
วิการรูป ๓
กายวิญญัติรูป ๑
ย่อมเกิด พร้อมกับ อุปาทขณะ ของ "จิต" ที่ต้องการให้เกิด "เสียงพิเศษ"
ที่ต้องอาศัย วิการรูป จึงจะเกิดเสียงนั้น ๆ
ที่ ฐาน ของ เสียง ได้.
.
.
.
"จิตตชกลาป"
ทุกกลาป.
ต้อง เกิด พร้อมกับ
อุปาทขณะ ของ "จิต" ที่เป็นสมุฏฐาน ให้ "จิตตชกลาป" นั้น เกิด.
และ
"จิตตชกลาป"
จะ ไม่เกิด ใน "ฐิติขณะ" และ "ภังคขณะ" ของ "จิต" เลย.!
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
เหตุละถีนมิทธะ
แต่ถีนมิทธะนั้น จะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายมี
อารภธาตุเป็นต้น. ความเพียรเริ่มแรก ชื่อว่าอารภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังกว่า
อารภธาตุนั้น เพราะออกไปพ้นจากความเกียจคร้านแล้ว ชื่อว่านิกกมธาตุ-
ความเพียรที่มีกำลังยิ่งกว่านิกกมธาตุแม้นั้น เพราะล่วงฐานอื่น ๆ ชื่อว่า
ปรักกมธาตุ (ก้าวไปข้างหน้า. บากบั่น). เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไป
มาก ๆ ในความเพียร ๓ ประเภทนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธาตุคือความเริ่มความเพียร ธาตุคือความออกพ้นไปจากความเกียจคร้าน ธาตุ
คือความก้าวไปข้างหน้ามีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละถีนมิทธะ
ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
๑. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน ๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๓. การ
ใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสำคัญว่าสว่าง ๆ) ๔. การอยู่กลางแจ้ง
๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
ในอรรถกถาท่านอธิบาดังนี้
เพราะว่า เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนพราหมณ์ที่ชื่ออาหารหัตถกะ
ที่ชื่อตัตรวัฏฏกะ ที่ชื่ออลังสาฏกะ ที่ชื่อกากมาสกะ และที่ชื่อภุตตวมิตกะ
นั่งในที่พักกลางคืน และ ที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะ
ย่อมมาท่วมทับได้เหมือนช้างใหญ่ แต่ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุที่เว้นโอกาส
บริโภค๔- ๕ คำแล้ว ดื่มน้ำดื่มยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ เพราะเหตุนั้น
เมื่อภิกษุกำหนดนิมิต ในโภชนะส่วนเกินอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ เมื่อภิกษุเข้า
สู่ถีนมิทธะในอิริยาบถใด เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็
ละถีนมิทธะได้. เมื่อภิกษุใส่ใจแสงจันทร์ แสงประทีป แสงคบเพลิง ในเวลา
กลางคืน แสงอาทิตย์เวลากลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี เสพกัลยาณมิตร
ผู้ละถีนมิทธะได้เช่นท่านพระมหากัสสปเถระก็ดีก็ ละถีนมิทธะได้. แม้ด้วยการ
เจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย ที่อาศัยธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่งเป็นต้น
ก็ละถีนมิทธะได้.
ขอสรุปคำอธิบายจากอรรถกถา คือ ในเรื่องของการกินอาหารนั้น ต้องกินแต่
พอประมาณ คือไม่ทานมากจนอิ่มแน่นท้อง เรื่องอาโลกสัญญาก็ชัดเจนแล้ว
การเจรจาแต่เรื่องของธรรมะ ที่ทำให้เกิดศรัทธา ให้เกิดวิริยะ ให้เกิดสติ
สติ สมาธิ ปัญญา ชื่อว่า เจรจาแต่เรื่องเป็นที่สบาย...
อาทิตย์ 14 มิ.ย. 2009 3:23 pm
ขอบคุณมาก ๆ ครับ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.