นิพพานปรมัตถ์
.
ปรมัตถธรรม อีกประเภทหนึ่ง
คือ
นิพพานปรมัตถ์.
.
พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่า "นิพพาน"
เพราะ......ออกจาก "ตัณหา" คือ วานะ.
.
นิพพานปรมัตถ์
เป็น
สภาพธรรม ที่ ดับทุกข์.
.
จิต เจตสิก รูป....เป็นทุกข์
เพราะ ไม่เที่ยง
เกิดขึ้น แล้ว ดับไป.
.
การที่จะ "ดับทุกข์" ได้ นั้น
จะ ต้อง ดับ........"ตัณหา"
เพราะ
ตัณหา.........เป็น สมุทัย
เป็น "เหตุ" ให้เกิด ทุกข์
เป็น สมุทัย ให้เกิด ขันธ์.
ขันธ์ ซึ่ง ได้แก่
จิต เจตสิก รูป
.
การที่จะ ดับ ตัณหา ได้นั้น
ก็ ด้วย
"การอบรมเจริญปัญญา"
จน รู้ แจ้ง ชัด..........ใน
"ลักษณะการเกิดดับ"......ของ จิต เจตสิก รูป
แล้ว............."ละคลาย"
ความยินดี ความยึดมั่น ความเห็นผิด....ใน จิต เจตสิก รูป
ด้วยการ........."รู้แจ้งนิพพาน"
ซึ่ง เป็น
"สภาพธรรม ที่ ดับตัณหา ดับทุกข์ ดับขันธ์"
.
"นิพพาน"
จึง เป็น "ธรรม"........ที่ มีจริง.
เป็น "ปรมัตถธรรม"
เป็น สภาพธรรม....ที่ รู้แจ้ง ได้.
. . .
นิพพานปรมัตถ์
.
นิพพานปรมัตถ์
โดย ปริยายแห่ง "เหตุ"
มี ๒ อย่าง
คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
.
คำว่า..............."อุปาทิ"
เป็น ชื่อ ของ "ขันธ์ ๕"
คือ......จิต เจตสิก รูป
.
ส อุปาทิ เสส นิพพาน
คือ
ความสิ้นไป ของกิเลส ทั้งหมด
แต่
ยังมี "ขันธ์" เกิด ดับ สืบต่ออยู่.
.
อนุปาทิ เสส นิพพาน
คือ
การดับ "ขันธ์" ทั้งหมด.
คือ การปรินิพพาน ของ พระอรหันต์.
.
คำ ว่า โดย "ปริยายเหตุ"
คือ
การอ้างถึง
ความมี "ขันธ์" เหลือ
และ
ความ "ไม่มีขันธ์" เหลือ
ซึ่ง เป็น "เหตุ" ในการบัญญัติ
"นิพพาน ๒"
.
เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์
พระองค์ ทรงบรรลุ "สอุปาทิเสสนิพพาน"
.
"กิเลส"
และ
"ธรรม" (ซึ่งได้แก่ จิต และ เจตสิก อื่น ๆ) ที่เกิด ร่วมกับ "กิเลส"
ดับ หมดสิ้น และ ไม่เกิด อีกเลย.
แต่
ยังมี "ขันธ์" คือ
จิต และ เจตสิก (ที่ปราศจากกิเลส) และ รูป
ที่ เกิด ดับ สืบต่อ อยู่.
.
พระผู้มีพระภาค
ตรัสกะพระภิกษุทั้งหลาย ว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
ก็ "สอุปาทิเสสนิพพาน" เป็นไฉน
ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็น พระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบ พรหมจรรย์
ทำกิจ ที่ควรทำ เสร็จแล้ว
ปลงภาระ ลงได้แล้ว
มีประโยชน์ตน อันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพ สิ้นรอบแล้ว
"หลุดพ้นแล้ว"
เพราะ......รู้ โดย ชอบ.
ภิกษุนั้น
ย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจ และ ไม่พึงใจ
ยังเสวยสุข และ ทุกข์ อยู่
เพราะ...ความที่ "อินทรีย์ ๕" เหล่าใด
เป็น ธรรมชาติ...ไม่บุบสลาย
"อินทรีย์ ๕" เหล่านั้น ของเธอ
ยังตั้งอยู่.....นั้น เทียว
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไป แห่งราคะ
ความสิ้นไป แห่งโทสะ
ความสิ้นไป แห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น.............
นี้ เราเรียกว่า
"สอุปาทิเสสนิพานธาตุ"
.
"อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
คือ
นิพพาน ที่ "ไม่มีขันธ์เหลือ"
.
เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงดับขันธปรินิพพาน ระหว่างไม้สาละคู่
เป็น
"อนุปาทิเสสนิพพาน"
คือ การ ดับขันธ์หมดสิ้น โดยรอบ
คือ การ ดับสนิท ซึ่ง ภพทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวง.
.
ดับ จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด
"ไม่มีการเกิด"
อีกเลย.
. . . นิพพานปรมัตถ์
.
พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
เป็น
"พระเสกขบุคคล"
เพราะ ยังต้อง ศึกษา เจริญธรรม ยิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อ ดับ กิเลส...ที่เหลืออยู่
ให้หมดไป.
.
ส่วน พระอรหันต์
เป็น
"พระอเสกขบุคคล"
เพราะ ดับกิเลส ทั้งหมด เป็น สมุจเฉท แล้ว
ไม่ต้อง "ศึกษาเพื่อดับกิเลส" อีก.
.
นิพพานปรมัตถ์
ว่าโดย
"ความแตกต่าง แห่ง อาการ"
มี ๓ อย่าง
คือ
สุญญตะ ๑
อนิมิตตะ ๑
อัปปณิหิตะ ๑
.
พระนิพพาน ชื่อว่า
"สุญญตะ"
เพราะ เป็น
"สภาพ ที่สูญจากสังขาร ทั้งปวง"
.
ชื่อว่า
"อนิมิตตะ"
เพราะ
"ไม่มี นิมิต คือ สังขารทั้งปวง"
.
ชื่อว่า
"อัปปณิหิตะ"
เพราะ
"ไม่มีที่ตั้ง คือ สังขาร ทั้งปวง"
. . .
เมื่อ บุคคล
"มนสิการสภาพธรรม"
โดยเป็น
"สภาพที่ไม่เที่ยง"
ย่อม "หลุดพ้น" ไป
คือ
การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ด้วย อนิมิตตวิโมกข์.
.
เมื่อ บุคคล
"มนสิการสภาพธรรม"
โดยเป็น
"สภาพที่เป็นทุกข์"
ย่อม "หลุดพ้น" ไป
คือ
การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ด้วย อัปปนิหิตวิโมกข์.
.
เมื่อ บุคคล
"มนสิการสภาพธรรม"
โดยเป็น
"สภาพธรรมที่เป็นอนัตตา"
ย่อม "หลุดพ้น" ไป
คือ
การรู้แจ้งอริยสัจจธรม ด้วย สุญญตวิโมกข์.
. . .
วิโมกข์ ๓
ย่อมมี
"ในขณะต่างกัน" ด้วย "อาการ ๔"
คือ
๑. "ด้วยความเป็นใหญ่"
บุคคล
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง
อนิมิตตวิโมกข์ ย่อม เป็นใหญ่.
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นทุกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่.
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่.
. . .
๒. ด้วยความตั้งมั่น
บุคคล
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง
ย่อมตั้งจิตไว้มั่น
ด้วยความสามารถ แห่ง อนิมิตตวิโมกข์.
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นทุกข์
ย่อมตั้งจิตไว้มั่น
ด้วยความสามารถแห่ง อัปปณิหิตวิโมกข์.
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นอนัตตา
ย่อมตั้งจิตไว้มั่น
ด้วยความสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์.
. . .
๓. ด้วยความน้อมจิตไป.
บุคคล
เมื่อ
มนสิการ โดย เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง
ย่อมน้อมจิตไป
ด้วยสามารถแห่ง อนิมิตตวิโมกข์
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นทุกข์
ย่อมน้อมจิตไป
ด้วยสามารถแห่ง อัปปณิหิตวิโมกข์
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นอนัตตา
ย่อมน้อมจิตไป
ด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์.
. . .
๔. ด้วยความนำออกไป.
บุคคล
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง
ย่อมนำจิต ออกไปสู่นิพพาน อันเป็นที่ดับ
ด้วยสามารถ แห่ง อนิมิตตวิโมกข์
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นทุกข์
ย่อมนำจิต ออกไปสู่นิพพาน อันเป็นที่ดับ
ด้วยสามารถแห่ง อัปปหิตวิโมกข์.
.
เมื่อ
มนสิการ โดย ความเป็นอนัตตา
ย่อมนำจิต ออกไปสู่นิพพาน อันเป็นที่ดับ
ด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์.
. . .
|