Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ขันธ์ 5

พุธ 17 มิ.ย. 2009 9:07 am

พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ ว่า

อริยสาวกใด เห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว

โดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปในนิพพาน ตามความเป็นจริง เพราะภวตัณหาหมดสิ้น

ไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้น กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพน้อย และ

ภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิดแห่งอัตตภาพ

ที่เกิดแล้ว เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมา

แล้ว ฉะนี้แล


นี่เป็นข้อความในพระสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรงอนุเคราะห์ ทรงอุปการะ ผู้ที่

อาจจะเข้าใจไขว้เขว คลาดเคลื่อนในเรื่องของการปฏิบัติ ไม่ว่าในสมัยใดทั้ง-

สิ้น เพราะพระองค์ทรงมีพระมหากรุณา ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณรู้ว่า หลัง

ปรินิพพาน พระสัทธรรมนั้นย่อมเสื่อม ย่อมคลาดเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นจึงได้

ทรงแสดงธรรมอนุเคราะห์ไว้ด้วยประการต่าง ๆ แม้ในเรื่องของการเจริญสติ เห็นขันธ์

๕ ที่เกิดแล้ว เวลานี้ กำลังนั่งอยู่ที่นี่ ขันธ์ ๕ ใดปรากฏ ย่อมเป็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่เกิดจะปรากฏไม่ได้ การเจริญสติ ระลึกรู้ลักษณะของขันธ์ ๕

ที่เกิดแล้วปรากฏในขณะนี้ อย่าน้อมไป โน้มไปด้วยอวิชชาและอภิชฌา ถึงขันธ์ ๕ ที่

ยังไม่เกิด ถ้าเป็นโดยลักษณะนั้นแล้วล่ะก็ ไม่ใช่การเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว


ถ. ...........


สุ. จำอะไรไม่ได้ ความจริง จำแล้วทีละนิดทีละหน่อย ก็เลยรู้สึกว่าน้อย จนกระทั่ง

บางครั้งเหมือนจำไม่ได้ แต่ความจริงในขณะที่เห็น มีสภาพนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่ง

เกิดพร้อมกับจิต แล้วก็จำอารมณ์ที่ปรากฏในขณะนั้น พอถึงทางหู ขณะที่จำได้ ไม่

ใช่รูป รูปเย็น รูปร้อน รูปอ่อน รูปแข็ง รูปไหว รูปตึง แต่ว่าสภาพที่จำได้นั้น เป็น

นามธรรมชนิดหนึ่ง ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้จำได้ตลอดเวลา จำทางหูก็ดับไป ในขณะ

นั้นมีสติเกิดขึ้นระลึกรู้ว่า ที่จำนั้นก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง แล้วก็หมด ไม่ได้จำอยู่

ตลอดเวลา ก็มีนามอื่น รูปอื่นต่อไป ที่นึกนั้น ก็เป็นนามธรรม มีสติระลึกรู้ลักษณะ

ของนามและรูป อะไรก็ได้ ขณะไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทุกอย่างตามปกติ ไม่ว่าจะนั่ง

จะนอน จะยืน จะเดิน จะพูด จะคิด จะยิ้ม จะขับรถ ท่านก็เป็นผู้เจริญสติ รู้ลักษณะของ

นามและรูป มากขึ้น จนกระทั่งหมดความสงสัยในลักษณะของนามและรูป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

ธรรมสังคณี

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกา

ติกมาติกา ๒๒ ติกะ

[๑] ๑. กุสลติกะ

กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล

อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล

อพฺยกากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต

๒. เวทนาติกะ

สุขาย เวทนา สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

ธมฺมา

๓. วิปากติกะ

วิปากา ธมฺมา ธรรมเป็นวิบาก

วิปากธมฺมธมฺมา ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก

เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก


๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ

อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์

ของอุปาทาน

อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็น

อารมณ์ของอุปาทาน

อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็น

อารมณ์ของอุปาทาน

๕. สังกิลิฏฐสังกิเลส

สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส
อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส
อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลส



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ชื่อว่า อิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา) และอนิฏฐารมณ์ (ที่ไม่น่ปรารถนา) ที่แยก

กันในโลกไม่มีเลย แต่ก็พึงจำแนกแสดง.แต่เมื่อจะจำแนกก็จำต้องยกพระเจ้ามหาสมมติ

ปฐมกษัตริย์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะและพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นต้น จำแนกแยกแยะ

จริงอยู่อารมณ์แม้สำเร็จจากทิพย์ ก็ปรากฏว่าไม่สมพระทัยของกษัตริย์เหล่านั้น แต่ไม่

พึงจำแนกโดยยกเอาข้าวน้ำที่หายากสำหรับคนเข็ญใจอย่างยิ่ง. จริงอยู่คนเข็ญใจ

อย่างยิ่งเหล่านั้น เมล็ดข้าวสวยปลายเกวียนก็ดี รสเนื้อเน่าก็ดี ก็มีรสอร่อยเหลือเกิน

เสมือนอมฤตรส.แต่พึงจำแนกโดยยกคนปานกลางเช่นหัวหน้าหมู่มหาอำมาตย์เศรษฐี

กุฎุมพีและพาณิชเป็นต้น ซึ่งบางคราวก็ได้สิ่งที่น่าปรารถนา บางคราวก็ได้สิ่งที่ไม่น่า

ปรารถนา ก็แต่ว่าสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนานั้น ก็ไม่อาจกำหนดชวนจิต

ในอารมณ์ได้.จริงอยู่ชวนจิตย่อมยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี

ยินร้ายในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มีในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี. ด้วยว่าวิบากจิตย่อมกำหนด

อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาโดยอารมณ์อันเดียวกัน.จริงอยู่พวกมิจฉาทิฏ

ฐิเห็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสงฆ์ก็ดี อารมณ์อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นก็ดี ย่อมปิดตา

ประสบความเสียใจ ได้ยินเสียงแสดงธรรมก็ปิดหูทั้งสอง แต่จักขุวิญญาณและโสต

วิญญาณก็เป็นกุศลวิบากของพวกเขา. สุกรกินคูถเป็นต้นได้กลิ่นคูถก็เกิดความดีใจว่า

เราจักกินคูถดังนี้ ก็จริงอยู่ถึงกระนั้นจักขุวิญญาณของมันในการเห็นคูถ ฆานวิญญาณ

ในการดมกลิ่นคูถนั้น และชิวหาวิญญาณในการลิ้มรส ย่อมเป็นอกุศลวิบากโดยแท้.

ในชีวิตปุถุชน [ผู้มากไปด้วยเรื่องราว]

เมื่อลืมตาตื่นก็เปิดประตูทั้งหก

รับรู้อารมณ์ต่างๆแล้วก็ปรุงปั่นไป

ตามบทบาทการสะสม

เสพคุ้นบ่อยๆเนืองๆ จนเคยชิน

ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้ ทุกอย่างเป็นของเรา

คราบฝังแน่นชนิดที่โอโมก็ขอบาย

เกิดพร้อมกับคำว่า ยึดติด ติดยึด

ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ

และเมื่อความรู้สึกเป็นใหญ่ว่า ของๆเรา

คน-สถานที่-ศาสนา ฯลฯ ของ เรา

แล้ว เขา คือ ใคร

เมื่อยังเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ย่อมเป็นเรื่องราวต่างๆตามมา

เมื่อยังไม่สามารถระลึกรู้ตามจริงได้

จึงเกิดการกระทำ ตามกำลัง

พลันได้รับเวทนาเสียบแทงใจให้ผล สุ(ก) ร้อน

ถูกโลกสันนิวาสครอบงำ (ตามเคย)

ก็นะ...ถึงเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก

Re: ขันธ์ 5

พุธ 17 มิ.ย. 2009 2:11 pm

เห็นด้วยเลยครับ ขอบคุณครับ :P
ตอบกระทู้