นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 12:42 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: นิพพานปรมัตถ์ 2
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 18 มิ.ย. 2009 6:09 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
นิพพานปรมัตถ์



สงเคราะห์ปรมัตถธรรม ๔


.


จิต เจตสิก รูป นิพพาน

เป็น

"ปรมัตถธรรม"

เป็น สภาพธรรม ที่มีจริง

ที่รู้ว่า จิต เจตสิก รูป เป็น สภาพธรรม ที่มีจริง

เพราะ จิต เจตสิก รูป

เกิด-ดับ.........สืบต่อกัน

จึง "ปรากฏ" ให้รู้ ได้.


เช่น

ขณะที่ เห็นรูป ได้ยินเสียง และ คิดนึก

เป็นต้น.



.



"จิต" เกิด-ดับ สืบต่อกัน

ทำ "กิจ" การงาน ต่าง ๆ


เช่น

จิต บางดวง.........เห็นสี

จิต บางดวง ได้ยินเสียง

จิต บางดวง.......คิดนึก

เป็นต้น.



.



ทั้งนี้ "จิต" เกิดขึ้น เป็นไป

ตามประเภทของจิต

และ

ตาม "เหตุปัจจัย"

ที่ทำให้เกิด "จิต" นั้น ๆ



.



การเกิด-ดับ สืบต่อกัน ของจิต เจตสิก รูป นั้น

เป็นไป อย่างรวดเร็วมาก

จนทำให้ไม่เห็น การเกิด-ดับ.


ซึ่ง เป็น "เหตุ"

ทำให้ เข้าใจว่า "รูป" ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป


และ

ทำให้ เข้าใจว่า "จิต" เกิด

เมื่อ คน หรือ สัตว์ เกิด.


และ เข้าใจว่า "จิต" ดับ

เมื่อ คน หรือ สัตว์...ตาย.



.



เพราะฉะนั้น

ถ้าไม่ศึกษา ไม่พิจารณา ไม่อบรมเจริญสติ และ ปัญญา

ให้ รู้ "ลักษณะ"

ของ จิต เจตสิก รูป

ที่ "กำลังปรากฏ"


ก็ จะ ไม่รู้ "ลักษณะ" ของ นามธรรม และ รูปธรรม

คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง

ซึ่ง เกิด-ดับ สืบต่อกันอยู่ ตลอดเวลา.



.



สภาพธรรมใด เกิดขึ้น

สภาพธรรมนั้น ต้องมี "ปัจจัย" ปรุงแต่ง ให้เกิดขึ้น

เมื่อไม่มี "ปัจจัย" ก็ ไม่เกิด.



.



ท่านพระสารีบุตร

เกิดความเลื่อมใส ในคำสอน ของพระผู้มีพระภาค

ก็เพราะได้เห็น ท่านพระอัสชิ

ซึ่ง เป็น พระภิกษุรูปหนึ่ง....ใน ภิกษุปัญจวัคคีย์.



.



ท่านพระสารีบุตร

เห็น ท่านพระอัสชิ มีความน่าเลื่อมใส เป็นอันมาก

จึงได้ตามท่านพระอัสชิไป

และ ถามท่านพระอัสชิ ว่า



ใคร เป็น ศาสดา

และ ศาสดา ของท่าน สอน ว่า อย่างไร.?



ท่านพระอัสชิ ตอบว่า



เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต (อาห)

เตสญฺจ โย นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ



ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ

พระตถาคต ทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น

และ ความดับ แห่งธรรมเหล่านั้น.





พระมหาสมณะ

ทรงสั่งสอน อย่างนี้.



.



ถ้าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงแสดงธรรม ที่พระองค์ทรงตรัสรู้

พร้อมทั้ง "เหตุปัจจัย" ของธรรมนั้น ๆ



ก็จะไม่มีผู้ใด รู้ ว่า ธรรมใด.....เกิดจาก เหตุปัจจัย ใด

ไม่มีผู้ใด รู้ ว่า จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์

แต่ละประเภทนั้น เกิดขึ้น...เพราะมี ธรรมใด เป็นปัจจัย.



พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ธรรมทั้งปวง

พระองค์จึงได้ทรงแสดง ว่า



ธรรมทั้งหลาย....ที่เกิดขึ้นนั้น

มีเหตุปัจจัย ปรุงแต่งให้เกิด

จึงเกิดขึ้น.


และ

ทรงแสดง "เหตุปัจจัย"

ที่ทำให้เกิด ธรรม นั้น ๆ



ธรรมทั้งปวง..........ที่เกิดขึ้นนั้น

จะเกิดขึ้น โดยไม่มีปัจจัย ไม่ได้.
นิพพานปรมัตถ์



สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง


.


สังขารธรรม ทั้งหมด ไม่เที่ยง

ความเสื่อม ความไม่เที่ยง ของ รูปธรรม นั้น

พอจะปรากฏ ให้เห็นได้


แต่

ความไม่เที่ยง ของ นามธรรม นั้น...รู้ยาก.!



.



ดังที่ พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย

ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ว่า


"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

ปุถุชน ผู้มิได้สดับ

จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง

ใน ร่างกาย อันเป็นที่ประชุม แห่ง มหาภูตทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้น เพราะเหตุไร.



เพราะว่า

ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี การตายก็ดี

ของ ร่างกาย

อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้

ย่อมปรากฏ.



แต่ ปุถุชน ผู้มิได้สดับ

ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต

เป็นต้น นั้น...ได้เลย

ข้อนั้น เพราะเหตุไร.



เพราะเหตุว่า

จิต เป็นต้น นี้....อันปุถุชน ผู้มิได้สดับ

รวบรัด ถือไว้ ด้วย ตัณหา

ยึดถือ ด้วย ทิฏฐิ ว่า

นั่น ของเรา...นั่น เป็นตัวตนของเรา ดังนี้

ตลอดกาล ช้านาน

ฯลฯ



จิต เป็นต้น นั้น

ดวงหนึ่ง เกิดขึ้น...ดวงหนึ่งดับไป

ในกลางคืน และ ในกลางวัน.



.



แม้ว่า.....จิต เจตสิก รูป

จะเกิด-ดับ อยู่ตลอดเวลา

ก็ ยาก ที่จะรู้

หรือ เบื่อหน่าย ละความยินดี ความยึดถือ

ใน นามรูป นั้น.


ต้องพิจารณา "เห็นด้วยปัญญา"


ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า


สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ


.


สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ


.


สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ


.


เมื่อใด

บุคคล พิจารณา เห็น ด้วยปัญญา ว่า

สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง

เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์

นี้ เป็น หนทาง แห่งความบริสุทธิ์.


.


เมื่อใด

บุคคล พิจารณา เห็น ด้วยปัญญา ว่า

สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์

เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์

นี้ เป็น หนทาง แห่งความบริสุทธิ์.


.


เมื่อใด

บุคคล พิจารณา เห็น ด้วยปัญญา ว่า

ธรรมทั้งปวง เป็น อนัตตา

เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์

นี้ เป็น หนทาง แห่งความบริสุทธิ์.



.



ผู้ใด

ที่ไม่เห็น ความเกิดขึ้น และ ดับไป

ของ นามธรรม และ รูปธรรม

จน ละคลาย.

ผู้นั้น

จะบรรลุอริยสัจจ์ ๔

เป็น พระอริยบุคคล

ไม่ได้.



.



พระอริยบุคคล

เห็น ความเป็น "พุทธะ" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดย "เห็นธรรม" ที่พระองค์ทรงตรัสรู้.



ไม่ใช่เพียงแต่ ศึกษาพระธรรม

ที่พระองค์ ทรงเทศนา เท่านั้น.



พระอริยบุคคล

หมด "ความสงสัย" ใน "ธรรม"

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้.



เพราะ พระอริยบุคคล

ได้บรรลุ "ธรรม" นั้น.



และได้ "ประจักษ์"

ในความเป็น "พุทธะ" ว่า

พระธรรม ที่พระองค์ ทรงแสดงนั้น

ไม่ใช่ โดย คาดคะเน

แต่

โดย "ตรัสรู้" ธรรมทั้งปวง

ตามความเป็นจริง

ของธรรม นั้น ๆ



.
.
.




"ผู้ใด เห็นธรรม...ผู้นั้น ย่อมเห็นตถาคต"



ผู้ใด

ศึกษา และ ปฏิบัติ เพื่อให้ "รู้แจ้งธรรม"

ผู้นั้น

ย่อมสามารถ "รู้แจ้งธรรม" และ "ดับกิเลส"

เป็น พระอริยบุคคล ตามลำดับ คือ ตั้งแต่

พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

จนถึง

พระอรหันต์.


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: นิพพานปรมัตถ์ 2
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 18 มิ.ย. 2009 7:12 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 14 ก.ย. 2008 6:00 am
โพสต์: 6586
ขอบคุณครับ

_________________
ถ้าเราไม่อยากได้อะไรจากใคร ก็จะไม่มีอะไรให้หมางใจกัน


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: นิพพานปรมัตถ์ 2
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 19 มิ.ย. 2009 12:14 am 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
:shock: :shock:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 182 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO